Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
15 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 12

บทที่ 12
ตัวแบบสินค้าคงคลัง

12.1.1 สินค้าคงคลัง คือสิ่งของหรือ สินค้าที่ ธุรกิจเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในอนาคต
เพื่อเป็นส่วนประกอบในการผลิตหรือเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อจำหน่าย
มีความสำคัญคือ
1. ช่วยให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
2. ประหยัดต้นทุน
3.ช่วยรักษาระดับการผลิต/หารจ้างงาน
4. ช่วยลดการเสียโอกาสการจำหน่ายสินค้า
5.ช่วยรองรับความเสี่ยงในของการดำเนินธุรกิจ
12.1.2 ต้นทุนสินค้าคงคลัง 4 ประเภท
1.ต้นทุนเก็บรักษา
2.ต้นทุนการสั่งซื้อหรือผลิต
3.ต้นทุนเมื่อสินค้าขลาดแคลน
4. ต้นทุนของตัวสินค้า
12.1.3 อาจารย์ไม่เน้น ผมข้ามไปนะครับ
12.2.1 EOQ นี่ออกสอบแน่นอน ฟังธงครับ
หลักการของเรื่องนี้ คือต้องการต้นทุนรวมต่ำสุด Tc ต่ำสุดครับ
กรุณาจดจำครับ ตามรูปหน้า 12-22 มีกราฟ และมี อักษรเขียนว่า EOQ ครับ
ตรงนั้นแหละ เป็นสุดที่มีต้นทุนต่ำสุดครับ เป็นคำตอบ ถ้าเขาออกกราฟมาถามเรา

มาดูสูตรกัน สูตรหน้า 12-24 ครับ สูตรแรกนี่ต้องจำครับ
จำว่า สูตรนี้ใช้เพื่อตอบอะไร
ตอบ... ใช้เพื่อตอบ “จำนวนเงิน”ของต้นทุนรวมครับ
ต้นทุนรวม ในชั้นนี้เป็นต้นทุนรวม ของการสั่งซื้อและการเก็บสินค้าเท่านั้น
ไม่รวมถึงต้นทุนสินค้านะครับ ถ้าจะคิดรวมไปถึงต้นทุนสินค้า จริงๆ
เราต้องเอาราคาต่อหน่วยของสินค้า X กะปริมารสั่งซื้อทั้งปีเสียก่อน
ได้แล้วก็เอามารวมกะ Tc ของ EOQ ครับ < - - ตรงนี้เคยออกสอบ
คือเขาถามว่า ถ้า ซื้อมาเยอะขึ้น แล้ว ได้ราคาถูกลง จะเอาไหม
หรือ ถามว่า จะได้ต้นทุนต่ำลงมาเท่าใด ซึ่ง ตาม คำถามข้อ 8 ก่อนเรียน หน้า 82 ครับ
ที่ตอบ 96,800 บาทนั่นแหละ ข้อนี้เราจะเอาสูตร Tc ในหน้า 12-18 มาใช้ครับ
แล้วคำนวณหา Tc มา ได้แล้ว
ก้อเอา ราคา โหลละ 500 บาท มาบวกเข้ากับ ต้นทุนTc ในข้อ 5 พักไว้ก่อน
หลังจากนั้น ก็คำนวณ Tc ของข้อ 8 อีกทีหนึ่ง
ได้แล้ว จึงนำราคา โหลละ 400 มาหาเงินรวมที่ต้องจ่ายไป มาบวกเข้ากับ Tc ของข้อ 8
ได้ตัวเลขมาสองชุด นำมาหาผลต่าง จะได้ ตัวเลข 96,800 ครับ

มาดูตัวเลขของจริงกัน ข้อ 5 เรา มี D = 1,000 โหล
C = 10 บาท และ O = 200 บาทต่อครั้ง

EOQ = sqrt(2 DO/C)
= sqrt (2 x 1,000 x 200 / 10)
= sqrt(40,000)
= 200 มีหน่วยเป็นโหล
ตอบ ข้อ ค. (ข้อ 5 ก่อนเรียน หน้า 81 )

Tc = C[Q/2] + O[D/Q]
= 10 x (200/2) + 200 x (1,000/200)
= 1,000 + 1,000
= 2,000 บาท (มีหน่วยเป็นบาท)
ตอบ ข้อ ข. (ข้อ 6 หน้า 82 ก่อนเรียน)

ข้อ 7 ปริมาณใหม่ คือD = 2,000 โหล
จากเดิมในข้อ 5 ที่มีเพียง 1,000 โหล
มาหา EOQ กัน
EOQ = sqrt(2 DO/C)
= sqrt (2 x 2,000 x 200 / 10)
= sqrt(80,000)
= 200sqrt2 มีหน่วยเป็นโหล
หรือ 282.8 โหล

เขาถามว่า EOQ ใหม่เป็นกี่เท่าของของเดิม
ก้อเอาของใหม่ เป็นตัวตั้ง เอา ของเดิมเป็นตัวหาร
ตรงนี้ต้องจำให้แม่นนะครับว่า เอาของเดิมเป็นตัวหาร
ทำอย่างนี้ครับ 282.8 / 200 = 1.414 หรือ sqrt2 นั่นเอง
ค่า sqrt2 นี้ ถ้าเรายังไม่ลืมครั้งเรียน ม.ต้น หรือม.ปลาย นั้น
มันมีค่าเป็นตัวเลข คือเลข 1.414 ครับ ถ้าเขาออกข้อสอบมา ค่าของคำตอบ
จะตอบ ในรูปแบบเดียวกะของ ข้อ 7 หน้า 82 คือ จ. ครับ

กรุณาจดจำรูปแบบนี้ไว้ครับ ออกไม่ออก ให้จำไว้ก่อนครับ ปลอดภัยกว่าเยอะ

ทีนี้มาดูข้อ 8 กัน เราซื้อของมา 1,000 โหลครั้งเดียว เป็นเงิน = 1,000 x 400
= 400,000 บาท
เราก็มาหา ค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้า กะ ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ( ก็ Tc นั่นแหละ )
Tc = ค่าใช้จ่ายในการเก็บสินค้าทั้งปี + ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ(ข้อนี้เราซื้อครั้งเดียว ก็จ่ายสองร้อย)
(ค่าเก็บในโกดัง โหลละ 10 บาท หนึ่งพันโหล เก็บตอนต้นปีวันแรกมีหนึ่งพันโหล
พอปลายปี ของหมดพอดี เฉลี่ยแล้วทั้งปีเป็นห้าร้อยโหล คิดเป็นเงินห้าพันบาท)
= 10 x [1,000/2] + 200
= 5,000 + 200
= 5,200
มาบวกกับต้นทุนสินค้าอีก 400,000 บาท
ได้ตัวเลขรวมออกมาเป็น 405,200 บาท

เอาหละ หาก เราจะทำแบบเดิมไม่เปลี่ยนนะ คือ ทำตามข้อ 5 เราจะจ่ายเงินดังนี้
= Tc + ต้นทุนสินค้า
= 2,000 + ( 1,000 x 500)
= 502,000
แบบเดิม คือ ข้อ 5 เราจะมีต้นทุนห้าแสนเศษ
ผลต่างคือ 502,000 – 405,200 = 96,800 บาท
ตอบ ข้อ ก. ครับ ( ข้อ8 หน้า 82 )

12.2.2 EOQ เมื่อไม่ได้รับสินค้าทันที
อาจารย์ ไม่เน้น ผมขอข้ามนะครับ
12.2.3 EOQ เมื่อยอมให้สินค้าขาดแคลน
อาจารย์ ไม่เน้น ก็ขอผ่านอีก
12.2.4 EOQ เมื่อมีส่วนลดเชิงปริมาณ
ดูตัวอย่างหน้า 12-47 ครับ

D = 2,000 เครื่อง ราคาซื้อมา ตัวละ 20 บาท
ต้นทุนการสั่งซื้อ 50 บาทต่อครั้ง
ต้นทุนเก็บรักษา(ค่าเช่าโกดังนั่นแหละคร้าบบบบ) 25% ของราคาสินค้า
คิดเป็นเงินไว้ก่อน ได้เป็นตัวเลขคือ 5 บาท ตรงนี้เป็นค่าของตัว C ในสูตร
(เราไม่ต้องใช้สูตร ตามตัวอย่างครับ เราใช้สูตรแรกสูตรเดียวพอ ไม่ยุ่งยากดี)
ก็คือสูตรหน้า 12-18 นั่นแหละ
เอาตัวเลขมาแทนค่าในสูตรกัน
EOQ = sqrt(2 DO/C)
= sqrt (2 x 2,000 x 50 / 5)
= sqrt(40,000)
=200

มาดูต้นทุนรวมกัน
ข้อนี้เขาใช้คำว่า Tc เป็นต้นทุนรวมสองอย่าง ซึ่งมันต่างจาก หน้า 12-18 นะครับ
ช่างเขา เราเข้าใจของเรา ถือว่า OK แล้ว
เขียนเป็นภาษาชาวบ้านได้อย่างนี้ครับ
ต้นทุนรวมทั้งหมด = ต้นทุนค่าเช่าโกดัง + ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ + ต้นทุนสินค้า
= 5 x (200/2) + 50 x (2,000/200) + 2,000 x 20
= 500 + 500 + 40,000
= 41,000 บาท

จะเห็นว่า แบบของผม ง่ายกว่าหนังสือเยอะ เพราะอิง จากหน้า 12-18 ครับ
ใช้ได้เช่นเดียวกัน ตัวเลขออกมาเท่ากัน

ทีนี้ คนขายเขาจะลดราคาให้ 3 % ถ้าสั่งครั้งละ 1,000 ชิ้น (จะเอาไหม?)
เราก็มาคิดแบบเดิมอีก (เสียเวลาหน่อยครับ ไม่มีทางเลือกลองทำกันดู)
ราคาของใหม่จะเหลือเป็น 19.40 บาท (ลดจากเดิม ที่ขายให้ 20 บาท)
ค่าเก็บรักษาสินค้า 25% ของ 19.40 บาท คิดเป็นเงิน ค่ารักษาสินค้า 4.85 บาท
มาหาเงินที่ต้องจ่ายกัน
ต้นทุนรวมทั้งหมด = ต้นทุนค่าเช่าโกดัง + ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ + ต้นทุนสินค้า
= 4.85 x (1,000/2) + 50 x (2,000/1,000) + 2,000 x 19.40
= 2,425 + 100 + 38,800
= 41,325 บาท
เอาตัวเลขสองตัวนี้มา เทียบกัน จะเห็นว่าแบบหลัง แพงกว่าแบบแรก
41,325 - 41,000 = 325 บาท

อย่างนี้ไม่เอาดีก่าาาา ก็ปฏิเสธเงื่อนไขนั้นไปซะ

แบบนี้เราก็สามารถนำวิธีคิดแบบนี้ไปคำนวณ ข้อ5 หน้า 83 หลังเรียน
กะข้อ 8 หลังเรียนหน้า 84 ได้แล้วคร้าบบบบบ

ที่เหลือ รายละเอียด ข้อ 7 หน้า 84 ผมเขียนไว้ใน blog นี้ครับ
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nonlimited&month=04-2009&date=06&group=1&gblog=25

ถ้าเข้าไม่ได้ ให้เข้าไปที่ blog กลางก่อน คือ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=nonlimited
แล้วเข้าไปที่ ช่องข้างๆ ทางซ้ายมือครับ ที่เขียนว่า
สอนเสริม#3 หน้า 30 ข้อ 5-6 <- - เนี่ยครับ แล้ว click เข้าไปครับ

12.3 ความไวของตัวแบบ EOQ
ความไวของตัวแบบ หรือค่า EOQ เปลี่ยนแปลงไป ให้ดูตารางหน้า 12-51 ประกอบไปด้วยครับ
คือว่า มันจะเพิ่มหรือจะลดนั่นแหละหากเรามีปริมาณสินค้าทั้งปีเพิ่มมาเป็น 2 เท่าของปีที่แล้ว
ตอบ........... จำนวน EOQ ที่เพิ่มมาจะเท่ากับ 1.414 ของของเดิม
ตัวเลข 1.414 นี้คือ ค่า สแควรูทสองนั่นเอง ลองกดเครื่องคิดเลขดูครับ
น้องๆ ที่เคยติวกะผม ที่ผมให้ท่อง น่าจะจำได้ ว่าค่านี้คืออะไร โดยไม่ต้องกดเครื่องคิดเลข
มาดูตัวอย่าง หรือตัวเลขของจริง ที่เขาทำมาเป็นตัวอย่างกัน
สมมุติ ปีที่แล้ว เรามีสินค้าที่จะต้องสั่ง อยู่ 20,000 ชิ้น
สมมุติคำนวณ EOQ ได้เท่ากับ ครั้งละ 2,000 ชิ้นพอดี
หากปีใหม่ เรามีลูกค้ามากขึ้นเป็นสองเท่า เราก็จะต้อง สั่งซื้อเพิ่มขึ้นทั้งปีอยู่สองเท่าด้วย
แต่ เราจะสั่ง EOQ เพิ่มขึ้นจาก 2,000 มาเป็น 2,828 ชิ้นเท่านั้น
ในการสั่งแบบนี้ เราจะต้องสั่งบ่อยครั้งขึ้น
ตัวเลข 2,828 ชิ้นนี้ เป็น สแควรูทสองคูณด้วย 2,000 ตรงนี้ต้องจำครับ เคยออกสอบ
ปีนี้ อาจออกซ้ำ ดูแบบฝึกหัดก่อนเรียน หน้า 82 ข้อ 7 ครับ
คำตอบคือ จ. เพิ่มขึ้น Sqrt 2 เท่าครับ

เอาหละที่ยากกว่านี้ (หวังว่าคงไม่ออกสอบ)
คือ ถ้าปริมาณ จากเดิมที่เคยสั่งทั้งปี 20,000 ชิ้น
แล้วมาปีใหม่ลดลงเหลือเพียง 10,000 ชิ้นล่ะ (เหลือครึ่งเดียว จากเดิมสองหมื่น)
ปริมาณ การสั่งแบบ EOQ นั้นจะเหลือเท่าใด
ตอบ..... จะลดจาก 2,000 ชิ้น มาเหลือเพียง 1,414 ชิ้น
หรือ เท่ากับ 2,000/ sqrt2 ครับ
ดังนั้นของใหม่จะเป็น (sqrt2)/2 เท่าของของเดิม
ตรงนี้จะเข้าใจยากนิดหนึ่ง สำหรับคนที่ไม่ชอบเลข
ส่วนคนที่ชอบเลข พอเห็นตัวเลขแล้วจะเข้าใจทันที
หวังว่าคงไม่ออกสอบ นะครับ

การวิเคราะห์ ABC ให้จำสองอย่างนี้ครับ คือ กฎสัดส่วน 80/20 กะชื่อ พาเรโต ครับ
เคยออกสอบ จำไว้ให้แม่นๆ ดูภาพ 12.9 หน้า 12-53
ควบคู่ไปด้วยครับจากภาพสินค้ากลุ่ม A
เป็นสินค้าที่เจ้าของกิจการต้องให้ความสนใจให้มาก เคยออกสอบครับ

คำถาม จาก web board
ข้อ 9 เขาให้ ตัวเลขสุ่มมาดังนี้

027098 910894 781701 057410 052759

042234 124939 899141 441348 378922



ลูกเต๋ามี 6 หน้า จะมีเลขที่ออกคือ 1 2 3 4 5 6

โจทย์ บอกว่าเริ่มจาก ตัวแรก คือ เลขชุด 027098

ให้ใช้หลักที่สอง

027098 910894 781701 057410 052759

042234 124939 899141 441348 378922



นำเลขที่ทำเครื่องหมายไว้ ออกมาจากกลุ่มมาเรียงกัน

ได้ 9 9 0 1 5 3 3 4 4 2

แล้วเลือกตัวที่ใช้ได้ (คือให้มันอยู่ใน เลข 1 – 6 ตาหน้าลูกเต๋า)

9 9 0 1 5 3 3 4 4 2

ตัวที่ใช้คือ เลขที่เป็นสีฟ้า ทั้งหมด คือ 1 5 3 3 4 4

ส่วน ตัวหมายเลขสี่ ตัว ที่ผมระบายสีเขียวไว้นั้น

เป็นตัวเลข ที่เป็นตัวแทนของการทอดลูกเต๋า ครั้งที่ 5

จึงเลือก เลข 4 นี้มาเป็นคำตอบ ของโจทย์ ข้อนี้



ข้อ 10 P 88 ข้อนี้ขอให้เปิดหน้า 88 แล้วดูตารางที่เขาให้มาควบคู่

กับคำอธิบายที่ผม เขียนมานี้ครับ

เลือกตัวเลข ตัวสุดท้าย ของ ชุดนี้มา ห้าตัวในหน้า 87

(โจทย์บอกว่า ให้ใช้หลักแรกเป็นตัวสุ่ม)

042234 124939 899141 441348 378922

ทำเครื่องหมายแล้ว เอาออกมา เรียงไว้ข้างนอก

4 9 1 8 2

มาดู จำนวนอุปสงค์ ที่จะได้มาในวันแรก (ดูจากตารางหน้า 88)

ตัวแรกที่เราสุ่มได้คือเลข 4 จากตารางเราได้ อยู่ในช่วง ของ 3 -7

เราจะมีอุปสงค์ เท่ากับ 1 หน่วยต่อวัน

ดูตัวที่สองต่อคือ เลข 9 จากตารางเราได้ อยู่ในช่วงของ 8- 9

เราจะมีอุปสงค์ เท่ากับ 2 หน่วยต่อวัน

ดูตัวที่สาม คือ เลข 1 จากตารางเราได้ อยู่ในช่วงของ 1 - 2

เราจะมีอุปสงค์ เท่ากับ 0 หน่วยต่อวัน

ดูตัวที่สี่ คือ เลข 8 จากตารางเราได้ อยู่ในช่วงของ 8- 9

เราจะมีอุปสงค์ เท่ากับ 2 หน่วยต่อวัน

ดูตัวที่ห้า คือ เลข 2 จากตารางเราได้ อยู่ในช่วงของ 1- 2

เราจะมีอุปสงค์ เท่ากับ 0 หน่วยต่อวัน

นำตัวเลข ของอุปสงค์ ที่คิดได้นี้มา รวมเข้าด้วยกัน

วันที่หนึ่ง +วันที่สอง +วันที่สาม +วันที่สี่ +วันที่ห้า

ได้อย่างนี้ 1+ 2+ 0+ 2+ 0 = 5

รวมแล้ว เราได้ 5 หน่วย ในห้าวัน เฉลี่ยวันละ 1.0 หน่วย

ตอบ....... 1.0 หน่วย/วัน ครับ


ข้อ 11 P 88

027098 910894 781701 057410 052759

042234 124939 899141 441348 378922



โจทย์ ให้ ใช้ เลขชุดที่ 3 คือ 781701 มาเป็นตัวเริ่มต้น แล้วให้ใช้ เลข

สองตัวสุดท้าย มาเป็นตัวสุ่ม เราเลือกสองตัวสุดท้ายมาได้อย่างนี้

01 10 59 34 39 41 48 22 ทีนี้โจทย์สนใจเฉพาะ สามคันแรก

เราก็เอามาสามคัน หรือสามชุดแรก 01 10 59 < - สามชุดนี้เท่านั้น

เอา เลขสามชุดนี้ มาเทียบในตารางของโจทย์ หน้า 88 ได้ อย่างนี้

01 - 05 เข้ามาในช่วงเวลา 5 นาที

06 - 20 เข้ามาในช่วงเวลา 6 นาที

21 - 65 เข้ามาในช่วงเวลา 7 นาที

สมมุติเวลากันหน่อย คันแรกเข้ามาเวลา

เวลา 10.00 น ไม่มีรถ แล้วก็ผ่านไป 5 นาที

เวลา 10.05 น คันแรกเข้ามา เริ่มเติมน้ำมัน (ใช้ เวลา 8 นาที)

เวลา 10.11 น คันที่สองเข้ามาหลังจากคันแรก 6 นาที ต้องรอครับ คันแรกยังเติมไม่เสร็จ

เวลา 10.13 น คันแรกครบ 8 นาทีพอดี คันที่สองเริ่มเติม

****เวลา 10. 18 น. คันที่สามเข้ามา ห่างคันที่สอง 7 นาที

เวลา 10.21 น. คันที่สองเติมเสร็จ (ใช้ เวลา 8 นาที นับแต่เริ่มเติมที่เวลา 10.13 น.)

****เวลา 10.21 นี้ คันที่สาม จะเคลื่อนรถเข้ามาเติม ทันที

ดังนั้น คันที่สาม จะรอ 10.21 – 10.18 = 3 นาที

ตอบ .... 3 นาที ข้อ ค.



ข้อ 12/89 เลขสุ่ม คือ 027098 910894 781701 057410 05275

เลือกตัวหน้า กะตัวหลังมาใช้ (โจทย์บอก) 027098 910894 781701

ตัวหน้า 0 9 7 ตัวหลังคือ 8 4 1 นำสองชุดนี้ไปเทียบตาราง

จากตาราง อุปสงค์ เราใช้ 8 4 1 ได้ จำนวน อุปสงค์คือ 2 1 0

นำ 0 9 7 ไปเทียบกับตารางหน้า 89 ได้ ต้นทุนคือ 170 170 และ 160 บาท

วันแรกขายได้ สองหน่วย เป็นเงิน 2 x 300 = 600 บาท

วันที่สองขายได้ หนึ่งหน่วย เป็นเงิน 300 บาท

วันที่สาม ขายไม่ได้ ก็ไม่ได้เงิน

รวมรายได้สามวัน 600+ 300 = 900 บาท



มาดูรายจ่ายกัน เรามีต้นทุนคงที่วันละ 150 บาท สามวัน ก็ 450 บาท

ต้นทุน วันแรก หน่วยละ 170 บาท สองหน่วย เป็นเงิน 340 บาท

วันที่สอง ขายไปหน่วยเดียว คิดต้นทุนเป็นเงิน 170 บาท

รวมสามวัน จ่ายเงิน 450 + 340 + 170 = 960 บาท



สรุปแล้ว ขาดทุน 960 – 900 = 60 บาท

เฉลี่ยในสามวัน ขาดทุนวันละ 20 บาท

ตัวเลขออกมาเป็นติดลบ คือ -20.00 บาท



ไม่มีคำตอบในตัวเลือก ก็เลือกข้อที่ขาดทุนคือ ข้อ ก.

ตอบ .... ขาดทุนวันละ 20 บาท

8.แบบฝึกหัดหน้า 94 ข้อ 3 (การหาค่าของ AB)

เรื่องนี้ เป็นการคูณ เมทริกซ์

A= [ 1... 2.... 3 ] B =......1... 2... 3
....................................4... 5... 6
....................................7... 8... 9

หาค่าของ AB

หลักการคูณ เมทริกซ์ คือ การนำ เอา Row ของตัวหน้า

เข้ามาคูณ Column ของตัวหลัง ดังนี้

..........1 x 1..........1 x 2..........1 x 3

..........2 x 4..........2 x 5..........2 x 6

..........3 x 7.........3 x 8...........3 x 9

ได้

......1.............2...........3

......8...........10..........12

....21.......... 24...........27


นำทุกตัวในแนวตั้ง มารวมกัน

( 1 + 8 + 21 )........( 2 +10 +24 ).........( 3 +12 + 27 )


ได้.... [30.... 36.... 42] ตอบ ข้อ ข

วีธีลัด คือ คิดเฉพาะ ผลคูณ ของ สดมภ์ แรกก็พอ แล้วนำมารวมกัน

ให้ได้ตัวเลข แล้วนำตัวเลขมาเทียบกับคำตอบ ถ้าตรงถือว่า ถูกแล้ว สดมภ์ อื่นไม่ต้องทำ



9.แบบฝึกหัดหน้า 95 ข้อ 6 และ ข้อ 8

ก่อนอื่นขอให้ มาดู ค่า พายเล็ก -- > p ก่อนครับ ค่านี้ มีความหมายว่า สถานะ

แปลเป็นไทย ว่า ร้านที่เราสนใจนะ เช่น ร้านA ร้านB ร้านC ครับ

p1 หมายถึง ร้านA

p2 หมายถึง ร้านB

p3 หมายถึง ร้านC

p1 (0) หมายความว่า ร้านA ณ เวลาที่ 0 เช่น ต้นเดือน

p2 (0) หมายความว่าร้าน B ณ เวลาที่ 0 ".----------.“

p3 (0) หมายความว่า ร้านC ณ เวลาที่ 0 "--------- . “



p1 (1) หมายความว่า ร้านA ณ เวลาที่ 1 เช่นสัปดาห์ ที่หนึ่งของเดือน

p2 (1) หมายความว่าร้าน B ณ เวลาที่ 1 ".--------------------.“

p3 (1) หมายความว่า ร้านC ณ เวลาที่ 1 ".------------------. “



p1 (2) หมายความว่า ร้านA ณ เวลาที่ 2 เช่นสัปดาห์ ที่สองของเดือน

p2 (2) หมายความว่าร้าน B ณ เวลาที่ 2 "---------------. “

p3 (2) หมายความว่า ร้านC ณ เวลาที่ 2 ".------------- . “



p1 (3) หมายความว่า ร้านA ณ เวลาที่ 3 เช่นสัปดาห์ ที่สามของเดือน

p2 (3) หมายความว่าร้าน B ณ เวลาที่ 3 ".------------------. “

p3 (3) หมายความว่า ร้านC ณ เวลาที่ 3 ".---------------- . “



เอาหละ มาตอบข้อ 6 กัน เขาบอกว่าเขาสนใจ สถานะที่ 3 นะ

หรือร้าน C นั่นเอง

ส่วนคำว่า คาบเวลาที่ 0 นี่ แปลว่าคาบเวลาเริ่มต้น
คาบเวลาเริ่มต้น เราจะสมมุติให้ร้านที่เราสนใจ
ได้รับค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 100% หรือหนึ่งเต็มๆ

ทีนี้เราก็ เขียนให้ Probability ของร้านC ให้มีค่ามากที่สุดได้อย่างนี้

[ 0..... 0..... 1 ] < -- ตรงนี้ ร้าน A กะ ร้าน B มี่ค่าเป็น 0 ทั้งคู่

ตอบ ..... ข้อ ค ครับ



มาต่อกันอีกหน่อย

ถ้าพูดว่าเราสนใจร้านA นะ สนใจร้านA ช่วงต้นเดือน เราก็ให้ทุกร้านเป็น เวลาที่ (0)

เราเรียก การสนใจ ร้านA ณ เวลาต้นเดือน ว่า สถานะที่1 คาบเวลาที่ 0

เขียนเป็นสัญลักษณ์ ว่า p1 (0)

เอาร้าน A B C มาเรียงกัน
(ตรงนี้ คำว่า ร้าน นั้น ในหนังสือ ใช้คำว่า "สถานะที่" เข้ามาแทน )

เรียงกันในรูปแบบของ Matrix ได้อย่างนี้

[p1(0)..... p2 (0)..... p3 (0)]


ในครั้งเริ่มต้นนี้ สมมุติว่า เราสนใจร้านA เท่านั้นนะ

เราก็ให้ค่า ความสำคัญ ของร้านA เป็น 100% หรือ เท่ากับ 1.0 เต็ม

(ค่า Probability สูงสุดมีค่า เท่ากับ 1 นะครับ อย่าลืม

ดังนั้น ให้ค่าเท่ากับหนึ่งนี่ แปลว่าให้เต็มที่สุดๆแล้ว)

จากค่าพายสามตัวข้างบนเขียนเป็นรูปแบบของ Matrix ตามแบบตัวเลข

ของค่า ความน่าจะเป็นได้อย่างนี้ครับ [ ค่าของA ค่าของB ค่าของC ]

แปลงมาเป็น Matrix เต็มขั้นได้อย่างนี้ -- > [ 1.... 0..... 0 ]

ตรงนี้เรา เรียกว่า สถานะที่1 เวลา เริ่มต้น หรือเวลา 0 นั่นเอง

ถามว่า ทำไม ตัวอื่น จึงเป็น ศูนย์ ตอบ......เพราะ ค่า ความน่าจะเป็น นั้นมีค่าเท่ากับ 1

เมื่อให้ 1 แก่ ร้านA ไปแล้ว ร้านอื่น จะไม่มีอะไรเหลือแล้ว จึงเป็น ศูนย์ ครับ

มาดูโจทย์ข้อ 8 กัน

ตามโจทย์ ข้อ 8 หน้า 95 เขาให้ P มาดังนี้

0.4 ----- 0.3----- 0.3

0.2 ----- 0.4----- 0.4

0.5 ----- 0.2----- 0.3

P ที่ให้มานี้ เป็น ค่าความน่าจะเป็นของแต่ละ แถว หรือของแต่ละร้าน

P ย่อมาจากคำว่า Probability

ณ เวลา ที่ 0 จริงๆ ก็ มี Probability ตามข้างบน

ทีนี้ เราสนใจ ร้านA เราก็เอา เฉพาะ ร้านA ออกมา

เพื่อหาความน่าจะเป็น ทรานเชียนท์ ของ A ในคาบเวลาที่หนึ่ง


หามาได้จาก การนำ Probability ของ ร้านA ณ เวลา 0 มาคูณ เข้ากับ P ข้างบน

คือการ นำ สองชุดนี้คูณกัน แบบ Matrix



....................................0.4 0.3 0.3

.........[1......0...... 0]..... 0.2 0.4 0.4

....................................0.5 0.2 0.3



คูณกันแล้ว จะได้ [ 0.4 0.3 0.3 ]

(การคูณ ใช้วิธีการคูณ ตามแบบในข้อ 3หน้า 94 ข้างบนครับ)

ข้อ 8 นี้เราก็ตอบ ..... ก ไก่ ครับ



การคูณ ของสอง Matrix ข้างบน เป็นการคูณ กันของความน่าจะเป็นของร้านA
กะความน่าจะเป็นของร้านA(ของตัวเอง) กะร้านอื่นอีกสองร้าน ณ เวลา เริ่มต้นทั้งคู่

พอคูณกันแล้ว ค่าที่ได้ จะเป็น ค่า ความน่าจะเป็นของ คาบเวลา ที่ 1 ของร้านA ครับ

ตามที่หนังสือเขียนไว้ ในหน้า 14-26 ครับ ดังสูตรที่เขียนไว้ กลางๆ หน้าครับ



ค่าที่ได้มานี้แหละ หนังสือ เรียกชื่อ แปลกๆว่า ค่าความน่าจะเป็นทรานเชียนท์
มีคำว่าทรานเชียนท์ มันแปลว่า มันยังไปต่อได้อีก
มันยังไม่นิ่งนะ ถ้านิ่ง แล้วเขาจะเรียกว่า สถานะคงตัว
หรือคงที่

ถ้าเราอยากจะรู้ว่า มีอะไรเกิดขึ้นใน คาบเวลาที่สอง หรืออาทิตย์ที่สอง ของ ร้าน A

เราก็เอา [ 0.4 0.3 0.3 ] คูณเข้าไปกะ ค่า P อีกครั้ง เป็นคำรบสอง (น่าเบื่อมากกกก)

ที่นี้พอคูณเขาไป ตัวเลข มันยุบยิบไปหมด ต้องระวังให้ดี

(ไม่ออกสอบดอกแต่ผมขอบอกไว้ก่อน ว่ามันยุบยิบไปหมด เสียเวลาจริงๆครับ)


10.แบบฝึกหัดหน้า 101 ข้อ 6 - 10

กรุณานำแบบฝึกหัดมาดูควบคู่ไปด้วย ต้องอธิบายตามรูปครับ

B -- > (3) …. > d

เส้นทาง คือ 1 ---A--- > 2 -----------C-- ---------- > 4 --- D -- > 5

ไม่รู้ว่า board นี้แปะรูปยังไง ถ้าแปะได้คงจะง่ายขึ้นเยอะ


เส้นทาง A C D ใช้เวลารวม 9 สัปดาห์

เราต้องเริ่ม A ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

เราจะเริ่ม A ที่ สัปดาห์ ที่ศูนย์ 0 ครับ

ที่เขาเฉลยว่า 2 นั้น เขาเฉลยผิด

ผมสอบถามอาจารย์แล้วที่ถูกคือ 0 ครับ

ข้อ6 นี่ตอบ......... ข้อ ก. ครับ

ส่วน B นั้น จะทำได้ ต้องทำ A ให้เสร็จซะก่อน ซึ่ง A ใช้เวลา 3 สัปดาห์

ดังนั้น B จะเริ่มเร็วที่สุด จะต้องเป็น สัปดาห์ ที่ 3 เป็นต้นไป

ข้อ 7 ตอบ.......... ข้อ ค. ครับ

ถ้าถามว่ากิจกรรม B นี้จะมีเวลาสำรองเท่าใด ตอบ 2 สัปดาห์ ครับ

เคยออกข้อสอบครับ



ข้อ 8 ถามกิจกรรม D กิจกรรมนี้ ไม่มีเวลาสำรองครับ

ตอบ......ข้อ ก



ข้อ 9 หน้า 102 เส้นทางวิกฤติ หรือ เรียกตามภาษาหนังสือว่า

กิจกรรมวิกฤติของโครงการ คือ

เส้น A C และ D ครับ ตอบ...... จ



ข้อ 10

เวลารวมแล้วก็ A + C + D = 3 + 4 + 2 คือ 9 สัปดาห์ ครับ

ที่เฉลยว่า 7 สัปดาห์ นั้น เฉลยผิดครับ ตัวเลขง่ายๆ บวกกันตรงๆครับ

เข้าใจว่า ข้อนี้ เขาพิมพ์ผิด ไม่ได้พิสูจน์อักษรครับ

น้องๆ ที่จะมาติว 32206 ให้มา
เจอกันที่ มสธ ใต้ถุนตึกวิชาการ 3 นะครับ วันที่ 18 - 19 เมษานี้ครับ
เบอร์โทรผม 081 หก เจ็ด หนึ่ง เจ็ด ศูนย์ หนึ่ง สองครับ
รีบ เมมไว้ครับ เดี๋ยวอีกสองวัน ผมจะ มา ลบออกไปครับ

ตึกวิชาการ 3 อยู่ด้านหลังตึก บรรณสาร (ห้องสมุดนั่นแหละ)
ตึก บรรณาสาร อยู่หลังตึกหนึ่ง (ตึกประชาสัมพันธ์)


Create Date : 15 เมษายน 2552
Last Update : 8 มกราคม 2566 23:02:00 น. 9 comments
Counter : 11361 Pageviews.

 
1.ในเอกสารโสตทัศน์สอนเสริมครั้งที่ 3 หน้า 30 ข้อที่ 5-6 (คิดยังไง)อ.ไม่ได้เฉลย

ข้อ 5. ใช้ สูตร Ls ในหน้า 13-14 เราไม่ใช้ สูตร Lq เพราะ โจทย์ถาม ถึง “แถวคอยในระบบ”

หมายถึง แถวคอยทั้งหมด ทั้งที่กำลังคอยจริงๆ กะ ที่กำลังรับบริการอยู่ เราจึงใช้ Ls

แทนค่าในสูตร Ls = แลมดา/ ( มิว – แลมดา)

Ls = 2 คนต่อชั่วโมง / ( 4 คนต่อชั่วโมง – 2 คนต่อชั่วโมง)

ได้คำตอบ คือ 1 ครับ



ข้อ 6. มีประโยคว่า “ช่วงห่างของเวลาที่รถเข้ามารับบริการประมาณ 20 นาที”

ให้เทียบออกมาเป็น 3 คันต่อหนึ่งชั่วโมง ซะก่อน เนื่อง จาก หน่วยของ “แลมดา” กะหน่วยของ “มิว”

เขากำหนดให้มีหน่วยเป็น “จำนวนต่อเวลา” (ดู รายละเอียดในหน้า 13-13 ครับ)
ดังนั้น ถ้าโจทย์ บอกเป็นอย่างอื่น ให้ปรับให้เป็น หน่วย ตามที่ บทเรียน กำหนดซะก่อน

พอถูกต้องตาม กำหนดแล้ว จึงแทนค่า แลมดา กะ มิว ลงในสูตร สัดส่วนเวลาที่ผู้ให้บริการทำงาน

คือสูตรที่ 4 หน้า 13-14 ที่มีค่า Rho อยู่ครับ Rho = แลมดา / มิว

แทนค่าแล้ว ได้ 3/5 = 0.6 หรือ 60% แต่ไม่มีคำตอบ เข้าใจว่า เขาพิมพ์ ผิดที่ไหนสักแห่ง

ถ้าเขาเปลี่ยนตัวเลขเป็น 15 นาทีต่อคัน เราจะได้ 4 คันต่อ ชั่วโมง จะได้ 80 % พอดี



มาดูข้อ 4. ในแบบฝึกหัดหลังเรียน หน้า 90 กัน เหมือนข้อ 6 นี้ทุกอย่าง แต่ไม่มีคำตอบ

ดูอีกที่ คือ ข้อ 4. ก่อนเรียนหน้า 86 ครับ เขาให้ตัวเลขมา สองตัว คือ 4 คันต่อชั่วโมง

กะ 12 นาที ได้หนึ่งคัน ปรับ 12 นาทีได้หนึ่งคันนี้ เป็น 5 คันทำได้ ในหนึ่งชั่วโมง หรือ

เรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า 5 คันต่อหนึ่ง ชั่วโมง เป็นหน่วยตรงตามที่เขากำหนดมาใน หนังสือ

เราก็เอา ตัวเลข สองค่านี้คือ แลดา = 4 กะ มิว = 5

มาเข้าสูตร หาค่า สัดส่วนเวลาที่ผู้ให้บริการทำงาน = 4/5 ได้ออกมา เท่ากับ 0.8

หรือ 80% นั่นเอง ตรงนี้เป็นค่าเบื้องต้น เขาไม่ได้ถาม

ที่เขาถามคือ เปอร์เซ็นต์ ว่าง เมื่อเราได้ เปอร์เซ็นต์ ทำงานมาแล้ว คือ 80 % ในทางกลับกัน

ก็แปลได้ว่า จะว่าง 20 % นะ เราก็ตอบ ว่า ว่าง 20% ครับ ตอบ ข้อ ก. ตรงตามที่เฉลย

ถ้าทำเร็ว และไม่คิด เราจะได้ ค่า 80 % ก็ตอบ 80 % ไปเลย ผลคือ ถูกหลอกครับ



โดย: น้าพร IP: 125.24.153.71 วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:17:51:57 น.  

 
2.ในแบบฝึกหัดหน้า 76 ก่อนเรียนหน่วยที่ 11 ข้อ 4-5 (ลองทำดูแล้วแต่คำตอบได้ไม่ตรงกับหนังสือ) และข้อ 6 จะมีออกสอบไหมเพราะอาจารย์ไม่พูดถึงเลย

ข้อ 4 ข้อ 5 เรื่อง การขนส่ง โดยใช้ model ของ โวเกล ข้อ 4 ตอบ ก. (1,1) ถูกแล้ว ส่วนข้อ 5 ก้อตอบ 3,060 บาท คือ ข้อ ง. ตรงตามเฉลยครับ วิธีทำอยู่ในหน้า 11-16 กะ 11-17 ครับ ลองอ่านดูอีกครั้ง วิธี โวเกลนี้ แรกสุดเราจะไม่นำ ตัวเลขมาใส่ แต่เราจะต้อง เอาค่าขนส่งที่ น้อยที่สุด กะน้อยอันดับรองลงมา มาหาค่าส่วนต่างซะก่อน ทำไปทีละ แถว (ในแนวนอน) ข้อนี้มีแนวนอนสองแนว เราก็ทำทั้งสอง ทำแนวนอนแล้ว ก็หาค่าส่วนต่างของ ค่าขนส่งในแนวตั้ง(สดมภ์) อีกที นำค่าส่วนต่างที่ได้มา แต่ละแถว แต่ละสดมภ์ มาเขียนไว้ท้ายตาราง ทั้ง สองแนว คือ ทั้งแนวนอนกะแนวตั้ง ดังตัวอย่างหน้า 11-17 (ให้ดูเทียบกันไปด้วย)

พอได้แล้ว เราดูว่า ค่าไหนที่มีส่วนต่าง มาที่สุด เราก็ ใช้แนวนอน หรือแนวตั้งนั้น เป็นหลัก

ตรงคำถาม ข้อ 4 นี้เขาโยงมาจากโจทย์ หน้า 75 เราได้ แนวตั้ง คือ D1 มีค่าส่วนต่าง ของ 45 กะ 10 มีค่ามากที่สุด เราจึงเลือก ใส่ตัวเลขใน สดมภ์ D1 นี้ก่อน โดยใส่มากที่สุดเท่าที่จะใส่ได้ ซึ่ง มีสอง ช่อง คือช่องบน ที่มีค่าขนส่ง 10 บาท กะช่องล่างที่มีค่าขนส่ง 45 บาท

เราต้องเลือกช่องที่มีค่าขนส่ง 10 บาท เพราะต้องการประหยัดงบ ช่องนี้คือ ช่อง (1,1) นั่นเอง เราใส่ในช่องนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราก็ใส่ไปสูงสุดคือ 60 เพราะ ความต้องการใน D1 มีเต็มที่เท่ากับ 60 เราใส่ 60 ลงไป ถือว่าใส่ไปมากที่สุดแล้ว

ส่วน ช่อง (2,1) นั้น ใส่ไม่ได้แล้ว ให้กากะบาทไว้ ว่าไม่ต้องทำแล้วนะ เพราะ D1 ได้ของครบแล้ว

เราก็มานับหนึ่งใหม่ โดย หาค่า ส่วนต่าง ของแต่ละคู่อีกที ได้แนวไหน ต่ำสุดก็เลือกแนวนั้น พอได้แนว ก็มาดูค่าใช้จ่าย ว่า แนวนั้นๆ ช่องไหน มีค่าขนส่งต่ำสุด

ทำใส่ให้ครบ ทุกความต้องการ แต่ไม่ครบทุกช่อง เพราะ D1 D2 D3 มีความต้องการในวงจำกัด

พอใส่ครบ แล้ว ก็เอาราคาค่าขนส่ง คูณ เข้ากับ ปริมาณ ขนส่ง ได้เป็นตัวเงินออกมา นำตัวเงินที่ได้ มารวมกันทั้งตาราง ได้เป็นค่าใช้จ่ายโดยรวม ของข้อ 5 ครับ


โดย: น้าพร IP: 125.24.153.71 วันที่: 17 เมษายน 2552 เวลา:17:52:55 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ pretty_maijung@hotmail.com


โดย: maijung IP: 117.47.180.134 วันที่: 20 เมษายน 2552 เวลา:10:55:28 น.  

 
รบกวนถามหน่อยนะค่ะ ข้อ 9 หน่วยที่ 2 (ก่อนเรียนและหลังเรียน) คำนวณยังไงค่ะ

ข้อ 4 หน่วยที่ 2 (หลังเรียน) ใช้ค่า t ถูกแล้วเหรอค่ะ เพราะ n มากกว่า 30 เพราะมันจะต่อเนื่องไป ข้อ 5 และ 6 ด้วย

สอนเสริมครั้งที่ 1 (ก่อนเรียน) ข้อ 6 คำตอบผิดหรือเปล่าค่ะ

ดิฉันไม่รู้ว่าจะเช็คคำตอบยังไง รบกวนส่งมาที่ emerald_lk@hotmail.com ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: เล็ก IP: 202.57.175.222 วันที่: 22 เมษายน 2552 เวลา:0:05:57 น.  

 
สอนเสริมครั้งที่ 1 (ก่อนเรียน) ข้อ 6 คำตอบผิดหรือเปล่าค่ะ
ข้อ 6 หน้า 6 ก่อนเรียน ถูกแล้วที่ตอบข้อ ข
คือเขาอยากรู้ว่า อายุ ต่างกันไหม

สิ่งสังเกตมีอย่างเดียวคืออายุ
จำแนกตามภาค ต่างๆ

ภาคต่างๆ นี่ เป็น พื้นที่ต่างๆ ที่อยากรู้ว่า ต่างกันไหม

ถ้าเป็นสองทาง จะเป็น ภาค และ เดือน ครับ
ไม่ก็ เป็น ภาค และ ชนิดสินค้า ที่ลูกค้ามาซื้อครับ


โดย: น้าพร IP: 114.128.110.30 วันที่: 23 เมษายน 2552 เวลา:1:27:57 น.  

 
ข้อ 4 หน่วยที่ 2 (หลังเรียน) ใช้ค่า t ถูกแล้วเหรอค่ะ เพราะ n มากกว่า 30 เพราะมันจะต่อเนื่องไป ข้อ 5 และ 6 ด้วย
-------------------

เฉลยผิดครับ

ข้อ 4 หลังเรียน ใช้ค่า Z ครับ ตามสูตรหน้า 2-41 ครับ
เพราะ n มากกว่า 30 ข้อนี้ n มีถึง 151 กะ 108 ครับ

ข้อ 4 ตอบ ก. Z = 2.58
ข้อ 5 ตอบ ...... ไม่มีคำตอบครับ ค่าที่คำนวณได้ คือ 9.1 ครับ
ข้อ 6 ตอบ..... ง คือ ปฏิเสธ Ho ครับ


โดย: น้าพร IP: 114.128.110.30 วันที่: 23 เมษายน 2552 เวลา:1:43:17 น.  

 
Very good tution, and i hope it will be very helpful na krab...

Thankssss.


โดย: Daeng IP: 58.137.14.198 วันที่: 24 เมษายน 2552 เวลา:12:54:00 น.  

 
เยี่ยมเลยค่ะ อยากได้คำแนะนำ alisssa2008@hotmail.com


โดย: alinpisa IP: 202.57.171.75 วันที่: 30 เมษายน 2552 เวลา:0:31:57 น.  

 
พี่ค่ะ คืออยากรู้ว่า EOQ กับ ABC มันเชื่อมโยงกันยังไง?
เงื่อนไขอะไรบ้างที่จะใช้ EOQ ได้
แล้วถ้าเงื่อนไขไม่ผ่านเราสามารถใช้เครื่องมือตัวไหนได้อีกบ้างอ่ะค่ะ

คือหนูจะทำวิจัยแล้ว อ.ถามมาหนูมึนค่ะ (ขอบคุณมากน่ะค่ะ)

oichi_00@hotmail.com


โดย: มินนี่ มิกกี้ IP: 1.0.194.158 วันที่: 16 ตุลาคม 2557 เวลา:2:41:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.