Group Blog
 
<<
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
27 กันยายน 2559
 
All Blogs
 
บัญชี ข-ไข่-2



ต่อจาก ข้างบนนะครับ  

วันที่ 16 ลูกค้าเข้าร้าน ได้เงินมา 3,500 บาท  
คล้ายวันที่สอง ก็ลอกลงมาได้เลยครับ

ทางซ้าย:ได้เงินสดมาจากการทำผม 3,500 บาท  (หมวดหนึ่ง ได้มาเป็นเงินสด)
ทางขวา: มีรายได้จากการทำผม   3,500 บาท   (หมวดสี่เป็นรายได้ของกิจการ)

เขียนแบบนักบัญชี
Dr. เงินสด  3,500 บาท
. Cr. รายได้ค่าบริการ  3,500 บาท 
(บันทึกรายได้จากการให้บริการ)

วันที่ 18 ลูกค้าเข้าร้านได้เงินมา 6,500 บาท 

ทางซ้าย:ได้เงินสดมาจากการทำผม 6,500 บาท  (หมวดหนึ่ง ได้มาเป็นเงินสด)
ทางขวา: มีรายได้จากการทำผม   6,500 บาท   (หมวดสี่เป็นรายได้ของกิจการ)

เขียนแบบนักบัญชี
Dr. เงินสด  6,500 บาท
. Cr. รายได้ค่าบริการ  6,500 บาท 
(บันทึกรายได้จากการให้บริการ)

วันที่ 20 ลูกค้าเข้าร้านได้เงินมา 8,000 บาท 

ทางซ้าย:ได้เงินสดมาจากการทำผม 8,000 บาท  (หมวดหนึ่ง ได้มาเป็นเงินสด)
ทางขวา: มีรายได้จากการทำผม   8,000 บาท   (หมวดสี่เป็นรายได้ของกิจการ)

เขียนแบบนักบัญชี
Dr. เงินสด  8,000 บาท
. Cr. รายได้ค่าบริการ  8,000 บาท 
(บันทึกรายได้จากการให้บริการ)

วันที่ 30 ลูกค้าเข้าร้านได้เงินมา 2,000 บาท
ทางซ้าย:ได้เงินสดมาจากการทำผม 2,000 บาท  (หมวดหนึ่ง ได้มาเป็นเงินสด)
ทางขวา: มีรายได้จากการทำผม   2,000 บาท   (หมวดสี่เป็นรายได้ของกิจการ)

เขียนแบบนักบัญชี
Dr. เงินสด  2,000 บาท
. Cr. รายได้ค่าบริการ  2,000 บาท 
(บันทึกรายได้จากการให้บริการ)

วันที่ 31 ลูกจ้าง เบิกเงินค่าจ้าง  12,000 บาท  จ่ายค่าเช่าร้าน  5,000 บาท
มาดูทีละรายการ อันแรกคือ ลูกจ้างเบิกเงิน หรือ เราจ่ายเงินค่าจ้าง หรือเงินเดือน ก็ถือว่าเป็นลักษณะเดียวกัน 
ถ้ายังไม่เคลียร์  เราควรมาดูที่เราคุ้นเคยกันก่อนคือ การจ่ายเงินสดออกไป เราจ่ายเงินสดทำให้เงินสดลดลงถือว่าต้องอยู่ฝั่งขวา ดังนั้นค่าจ้าง ค่าแรง หรือเงินเดือนก็อยู่ตรงกันข้าม คือฝั่งซ้ายนั่นเอง

มาเขียนกันดูก่อน
ถ้าไม่แม่น ก็เขียนฝั่งขวา เกี่ยวกับการจ่ายเงินสดออกไปเสียก่อนคือ
ฝั่งขวา : จ่ายเงินสดออกไปเนื่องจากลูกจ้างเบิกเงินจำนวน 12,000 บาท
ทีนี้ ก็มาดูฝั่งตรงข้าม คือฝั่งซ้าย  < ---- ตรงนี้ เป็นหมวดที่ห้า ซึ่งเพิ่งจะเจอเป็นครั้งแรก หมวดนี้ ถ้ามีการเขียนว่าค่าจ้าง หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ เราจะเขียนไว้ฝั่งซ้ายเสมอ 
ก็เขียนได้อย่างนี้
ฝั่งซ้าย:  จ่ายค่าแรงลูกจ้างตามที่ขอเบิกจำนวนเงิน  12,000 บาท (หมวดที่ห้า)

ทีนี้ ก็มาปรับให้ตรงตามเขา คือ ต้องเขียนฝั่งซ้ายก่อนฝั่งขวาเสมอ --- >  ได้เป็นอย่างนี้

ฝั่งซ้าย : จ่ายค่าแรงลูกจ้างตามที่ขอเบิกจำนวนเงิน  12,000 บาท (หมวดที่ห้า)
ฝั่งขวา : จ่ายเงินสดออกไปเนื่องจากลูกจ้างเบิกเงินจำนวน 12,000 บาท

เขียนแบบนักบัญชี 
Dr. ค่าจ้างลูกจ้าง  12,000 บาท (หมวดห้า)
. Cr เงินสด                12,000 บาท (หมวดหนึ่ง)
(บันทึกรายการจ่ายค่าแรงจ้างลูกจ้าง)


ร้านค้าตรวจนับวัสดุคงเหลือแล้ว ตีเป็นเงินได้ว่าเหลืออยู่ 18,000 บาท (ตรงนี้ตอนต้นเดือนคงจำได้ว่าซื้อเชื่อมา 20,000 บาท) ก็แสดงว่าใช้ไปจำนวนหนึ่ง ตีเป็นเงินได้ไม่ยากคือ ใช้ไป 2,000 บาทนั่นเอง การใช้ไปของวัสดุสิ้นเปลืองนั้น ทางบัญชีเขา ถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย โดยมีต้นเค้าคือวัสดุคงเหลือแบบสิ้นเปลืองนั่นเอง

เราก็มาเขียนแบบบ้านๆ กันก่อน

ทางขวา:  (ใช้ไปนะ) คิดแล้วเห็นว่าใช้วัสดุสิ้นเปลืองต่างๆไปตีเป็นเงิน  2,000 บาท
ทางซ้าย : ของดังกล่าวเบิกจากตู้เก็บวัสดุสิ้นเปลืองที่มีอยู่วันแรกสองหมื่นบาท แสดงว่าของในตู้ลดลงไป 2,000 บาท 

เขียนแบบนักบัญชี

Dr. วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 2,000 บาท  (หมวดห้า)
.    Cr วัสดุสิ้นเปลือง              2,000 บาท  (หมวดหนึ่ง)
(บันทึกวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไปเมื่อสิ้นงวด) 

ต่อมาเป็นรายการสุดท้ายคือ ค่าเช่า ห้าพันบาท  <  ---- ค่าเช่า เป็นรายจ่าย อยู่หมวดห้าเช่นเดียวกับ การจ่ายค่าแรง

เขียนได้ไม่ยาก ดังนี้ 
ฝั่งซ้าย : จ่ายค่าเช่าจำนวนเงิน  5,000 บาท (หมวดที่ห้า)
ฝั่งขวา : จ่ายเงินสดออกไปเป็นค่าเช่าดังกล่าวจำนวน 5,000 บาท (หมวดหนึ่ง)

เขียนแบบบัญชี
Dr. ค่าเช่า   5,000 บาท
.   Cr.เงินสด  5,000 บาท
(บันทึกรายการจ่ายค่าเช่าร้าน)

มีของแถม อีกนิดหนึ่ง ถ้าเป็นวันสิ้นงวด แล้วต้อง ทำงบดุล งบกำไรขาดทุน
เราต้อง มีค่าเสื่อมราคา ของอุปกรณ์ ด้วย ปกติ การคิดค่าเสื่อมราคา
มักนิยมใช้แบบเส้นตรงเป็นรายปี
โดยสามารถจำแนกเป็นรายเดือนได้  คำว่า เส้นตรง แปลเป็นภาษาบ้านๆ ได้ว่า เฉลี่ยเท่ากันทุกปี หรือทุกเดือนแล้วแต่กรณี
เช่น เราซื้อเครื่องมือมาชิ้นหนึ่ง ราคาห้าพันบาท ตีว่าใช้งานได้ห้าปี
ก็นำห้ามาหารห้าพันได้ปีละหนึ่งพัน
แบบนี้ เรียกว่าเส้นตรง คือ แต่ละปีมีค่าเสื่อมเท่ากันทุกปี  (การคิดค่าเสื่อมมีหลายวิธี เอาไว้ทีหลัง) ในชั้นนี้ เสนอแบบง่ายที่สุดก่อนนะครับ แบบเส้นตรงนี่แหละ 
ย้อนกลับไปดู อุปกรณ์ที่ร้านซื้อมาจากนิยมพาณิชย์ เป็นเงิน 50,000 บาท ถ้ามีอายุการใช้งาน 5 ปีพอดี เราก็ตีได้ว่า มีค่าเสื่อมปีละ 10,000 บาท ตกเดือนละ 8,33.33 บาท   ทีนี้ สมมุติ เราต้องปิดงบด้วยเพื่อหากำไรขาดทุน และหางบดุล เราต้องคิดค่าเสื่อมด้วยเช่นกัน

ไม่มีอะไรซับซ้อน ค่าเสื่อม จะเกี่ยวข้องกับ สองหมวดคือหมวดสินทรัพย์ และหมวดค่าใช้จ่าย(หมวด ห้า)

อุปกรณ์ เป็นสินทรัพย์ตัดค่าเสื่อมไป  833.33 บาทต่อเดือน 
สิ้นเดือน เราก็ บันทึกบัญชีในสมุดรายวันอย่างนี้

ทางซ้าย : ร้านตัดค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ในร้านเทียบเท่าจำนวนเงิน 833.33 บาท (หมวดห้า)
ทางขวา : ค่าเสื่อมเสมือนการใช้เงินออกไปแต่ไม่ได้ใช้จริงจึงนำตัวเลขไปลงในเข้าบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมด้วยตัวเลขที่เท่ากัน  833.33 บาท (หมวดหนึ่ง) 

เขียนอย่างย่อ 
ทางซ้าย :  ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์เทียบเท่าจำนวนเงิน 833.33 บาท
ทางขวา :  ตัดค่าเสื่อมดังกล่าว เข้าบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม  833.33 บาท

เขียนแบบนักบัญชี 

Dr.  ค่าราคาเสื่อมอุปกรณ์   833.33 บาท  (หมวดห้า)
.     Cr . ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สะสม  833.33 บาท (หมวดหนึ่ง) 
(บันทึกปรับปรุงค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์) 




Create Date : 27 กันยายน 2559
Last Update : 27 กันยายน 2559 11:26:27 น. 0 comments
Counter : 1319 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

น้าพร
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 81 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าพร's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.