น่าน..ไง วันที่ 5 (น่าน-อช.ศรีน่าน)



นพฤหัสที่ 9 ธ.ค.53

ย้อนดูวันที่ 4 อช.นันทบุรี – น่าน คลิ๊กเลย

วันนี้ผมออกจากที่พักแต่เช้า ไปหาของกินในตลาดสด และซื้อเสบียงไว้ไปทำกินบน อช.

แปดโมงผมออกจากตัวเมือง ขับลงมาทาง อ.เวียงสา เข้าเส้น 1026 ขับไปตามเส้นทาง จะถึงแยกนาน้อย ผมเลี้ยวขวาตั้งใจจะขึ้นไปดูสถานที่ อช.ขุนสถาน ที่มีดอกพญาเสือโคร่งสวยติดอันดับต้นๆของเมืองไทย ถึงแม้ว่าช่วงที่ผมไปดอกยังไม่บานก็ตาม แต่ขอขึ้นไปดูก่อน ตั้งใจว่าถ้าบานเต็มที่แล้วจะไปแก้ตัวครับ

รูปนี้ผมจิ๊กมาจากเวปครับ ไม่รู้จะขออนุญาตทางไหนดี ถ้าหากภาพนี้เป็นของท่านใดผมขออนุญาตเอามาประกอบในบล๊อกแกงค์ผมนะครับ ขอบคุณครับ

เครดิตภาพ //www.oknation.net/blog/print.php?id=540417





จากนาน้อย ไปอช.ขุนสถาน ประมาณ 20 ก.ม. ไม่ไกลครับ แต่ขับผ่านหมู่บ้านชาวเขา เรียกว่าต้องขับขึ้นเขาตลอด วิวข้างทางก็จะประมาณนี้ครับ







มีชาวเขาปลูกต้นกะล่ำด้วยครับ คลายๆภูทับเบิก แต่ขับเส้นนี้มันส์กว่าเยอะเลย







แล้วก็มาถึง อช.ขุนสถาน ผมใช้เวลาไปชั่วโมงกว่าๆ ขับไปเรื่อยๆ หยุดชมวิวสองข้างทาง เพลินดีครับ





ขึ้นไปถึงผมก็สอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนเลยครับ ว่าดอกพญาเสือโคร่งบานเดือนไหน เพราะที่ผมขึ้นไปยังไม่เห็นมีปลูกซักต้น แถมไม่เหมือนในเวปที่ผมเห็นอีก 





ในเวปมันจะมีต้นไม้ครึ่มๆ ไม่โล่งอย่างที่เห็นนะ





ช่างมัน ผมคิดในใจขึ้นมาแล้วไม่ให้เสียเที่ยว ลองสำรวจดูสถานที่แล้วกัน

ภาพนี้เป็นบ้านให้นักท่องเที่ยวมาพักครับ ผมได้เข้าไปสำรวจมองจากที่พักออกมาทางหน้าต่าง วิวสวยมากเลยครับ (แอบถามบอกว่าช่วงหน้าหนาวเต็มยาวเลยครับ ต้องจองกันเป็นเดือนๆ ถึงจะได้พัก เพราะมีอยู่หลังเดียว)





จุดลานกางเต้นท์ก็มีนะครับ เห็นมีอยู่สองจุด จุดนี้จะเป็นลานกว้าง มุมมองรอบทิศทาง







ส่วนจุดนี้จะเล็กกว่าจุดแรก อยู่ข้างบนแถวๆที่พัก









แต่จะได้เห็นวิวแบบนี้







หลังจากเดินสำรวจ สอบถามข้อมูลต่างๆจนพอใจ ก็ได้เวลากลับแล้วครับ
ประวิติ อช.ขุนสถาน //www.ezytrip.com/travelsearch/district_attract2.php?chk=3313





ขากลับผมยังติดใจเรื่องสถานที่อยู่ครับ พอดีขามาผมผ่าน สถานวิจัยต้นน้ำขุนสถาน ขากลับเลยลองแวะเข้าไปถาม ได้ความว่า ที่ผมเห็นในเวปนะ ไม่ใช่อยู่ใน อช. แต่เป็นของสถานวิจัยต้นน้ำขุนสถาน ซึ้งอยู่เลยขึ้นไปจาก อช. ประมาณ 3 ก.ม. แต่จากที่ผมถามต้องขับย้อนขึ้นไปอีกประมาณ 15 ก.ม. เอาสู้ 15 ก็ 15 อยากไปเห็นให้มันหายข้องใจ





และแล้วก็หายข้องใจซะที

อช.ขุนสถาน กับสถานวิจัยต้นน้ำ คนละที่ คนละกระทรวงเลยครับ ใครจะไปดูดอกพญาเสื้อโคร่ง ต้องที่สถานวิจัยต้นน้ำครับ ของเค้าสวยจริง ไว้ปีหน้าเจอกันแน่

แล้วผมก็ได้มาตามสัญญา คลิ๊กเลย





ต้นพญาเสือโคร่งครับ





ช่วงผมไปยังบานนิดหน่อยไม่ถึง 10% เองครับ แต่แค่เห็นก็ชอบแล้วครับ คิดดูถ้ามันบานเต็มต้นพร้อมกันจะสวยแค่ไหน





แต่จะว่าไป ยังพอมีบานให้เห็นพอเป็นกษัย











ซูมสุดชีวิต ได้แค่นี้แหละครับ







นอกจากพญาเสือโคร่ง ยังมีต้นไม้อื่นๆอีก









ที่เห็นกองฟางเค้าไว้ปูไว้ให้นักท่องเที่ยวมากางเต้นท์นอนนะครับ







ข้างบนมีสัญญาณโทรศัพท์อยู่เจ้าเดียว มีตรงจุดนี้เท่านั้นอีกต่างหาก







ได้เวลาประมาณเที่ยงกว่าๆ ผมก็ลงมาที่ นาน้อย แวะกินข้าวเที่ยง ก่อนจะเดินทางไป อช.ศรีน่าน

ผ่านเสาดินนาน้อย ขอแวะซะหน่อย















เสาดินนาน้อย คล้ายกับแพะเมืองผี หรือโป่งยุบ ผมไม่ค่อยชอบแนวนี้เท่าไหร่ ดูมันแห้งแล้ง ลงไปได้หน่อยก็จะไปต่อ แต่สะดุดตาคือ ต้นดิ๊กเดียม เค้าบอกว่าถ้าเอามือเกาที่ลำต้น กิ่ง และใบของต้นดิกเดียมจะแกว่งสั่นไหว ผมลองมาหมดแล้วครับ ทั้งเกา ทั้งลูบ ทั้งขูดจนจะเห็นเลข ยังไม่เห็นแกว่งอะไรเลย









ผมใช้เวลาที่เสานาน้อยไม่มากครับก็ออกเดินทางต่อ คืนนี้ผมวางแผนไว้ว่าจะมากางเต้นท์นอนที่ ดอยเสมอดาว จะถึงก่อน อช.ศรีน่าน ประมาณ 5-7 ก.ม.ได้ ผมผ่านดอยเสมอดาวไปก่อน เพื่อจะมาเที่ยว อช.ศรีน่าน แล้วเย็นๆค่อยเอาเต้นท์ไปกางนอนที่ดอยเสมอดาว









ที่ทำการ อช. หลังคาสีเขียวครับ มีอะไรเข้าไปติดต่อได้โดยตรง จะผ่านจุดกางเต้นท์ และผาชู้ครับ







ผาชู้ เป็นธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทยครับ

ตำนานผาชู้ เจ้าเอื้องผึ้งซึ่งเป็นคู่รักกับเจ้าจันทน์ผา จำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง เจ้าเอื้องผึ้งเสียใจที่ไม่ได้แต่งงานกับคนที่ตัวเองรัก จึงตัดสินใจฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากหน้าผา เจ้าจันทน์ผาตามมาพบว่า เจ้าเอื้องผึ้งได้กระโดด หน้าผาไปแล้ว จึงกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามคนรักตกไปอยู่ใกล้กันและเจ้าจ๋วงได้เห็นหญิงที่ตนรักกระโดด หน้าผาไป จึงรู้สึก เสียใจและตัดสินใจกระโดดหน้าผาตามลงไปด้วยแต่กระเด็นห่างออกไปด้วยความรักแท้ ระหว่างเจ้าเอื้องผึ้งและเจ้าจันทน์ผา ในชาติต่อมาเจ้าเอื้องผึ้งจึงเกิดเป็นดอกกล้วยไม้เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา และเจ้าจ๋วงก็เกิดเป็นต้นสนณ จุดที่ตกไปนั้นเอง ( “จ๋วง” เป็นภาษาเหนือแปลว่าต้นสน “เอื้องผึ้ง” แปลว่ากล้วยไม้) หน้าผาแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาชู้” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา











ลานกางเต้นท์ครับ ที่ อช.ศรีน่าน จะมีจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นได้แค่ด้านเดียวครับ ส่วนพระอาทิตย์ตกมองไม่เห็น โดนผาชู้บัง













จากจุดกางเต้นท์ เดินไปหน่อยเป็นร้านอาหารของ อช.ศรีน่าน และจะเป็นจุดชมวิวด้วยครับ







นี่ครับ บรรยากาศร้านอาหาร นั่งกินข้าวไปชมวิวไป อิจฉาผมละสิ





หลังจากนั้นผมก็ขับรถกลับไปที่ดอยเสมอดาวต่อ เพื่อจะไปกางเต้นท์นอนครับ





ไปถึงเห็นจุดกางเต้นท์แล้ว โล่งเลยครับ แดดล้วนๆ ถ้าเป็นตอนกลางคืนสวยแน่นอน แต่ตอนกลางวันไม่ไหวร้อนสุดๆ หาที่ร่มๆไม่ค่อยมีแถมห้องน้ำก็อยู่ไกล











เราตกลงไม่กลางเต้นท์นอนที่ ดอยเสมอดาว แล้วครับ ทั้งๆที่ผมตั้งใจจะมานอนดูดาวที่ดอยแห่งนี้ เพราะที่ดอยเสมอดาว ตอนกลางวันร้อนมาก ส่วนที่ อช.ศรีน่าน ร่มรื่นดี บรรยากาศร่มเย็นกว่า เราเลยตกลงไปนอนที่ อช.ศรีน่าน

ก่อนกลับไปที่ อช.ศรีน่าน ผมก็เดินถ่ายรูป ชมวิวไปเรื่อยๆ











ประมาณบ่ายสาม ได้เวลากลับไปกางเต้นท์ที่ อช.ศรีน่าน แล้วครับ
หลังจากกางเต้นท์เสร็จผมก็ถ่ายรูป เดินเล่น ประมาณ 3 ทุ่มก็เข้านอน





ลาด้วยภาพหมอกยามเช้าที่ อช.ศรีน่าน





พรุ่งนี้เตรียมตัวกลับบ้านแล้วครับ คลิ๊กเลย



Create Date : 17 กรกฎาคม 2554
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2559 11:19:41 น. 4 comments
Counter : 8615 Pageviews.

 
ตามมาเที่ยวด้วยคนนะคะ....อยากไปน่านจัง


โดย: auau_py วันที่: 17 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:35:26 น.  

 
วิวสวยมากจริงๆค่ะ
ต้นพญาเสือโคร่งหากบานเต็มต้นคงสวยเหมือนในหนังแน่เลย


โดย: fondakelly วันที่: 17 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:39:13 น.  

 
เป็นอีกจังหวัดที่หวังว่า...
จะไปให้ถึง^^

ทุกๆที่ในบล๊อคนี้ค่ะ



โดย: ณ ขณะหนึ่ง วันที่: 17 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:41:17 น.  

 
แวะมาชม ครับ


โดย: Kavanich96 วันที่: 19 กรกฎาคม 2554 เวลา:7:32:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

nongmalakor
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 120 คน [?]




ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง
Google
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
17 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add nongmalakor's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.