ตุลาคม 2549

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
จริยธรรมที่แท้ พึงประสงค์?
1. จริยธรรมที่แท้ พึงประสงค์?

มีข้อที่น่า สังเกต ประการหนึ่ง อย่างน้อยก็ในระยะเวลาหนึ่งที่ผ่านมา ว่า มนุษย์เรานั้น มักจะยกย่องตัวเองว่าเป็นสัตว์ที่ฉลาดที่สุด กว่าบรรดาสัตว์ ทั้งหลาย ยกย่องตัวเองว่า เป็นสัตว์ที่รู้จักสร้างความเจริญ ให้กับตัวเอง ให้กับโลก ให้มีความเป็นอยู่ที่สะดวก สบายขึ้น มีมันสมอง และมีระบบความคิดที่ซับซ้อน มากกว่าสัตว์ทั่วไป เป็นสัตว์ชนิดเดียว ที่รู้จักการตีค่า ให้ความหมาย แก่สิ่งต่างๆ ที่อยู่บนโลก รู้จักความดี และ ความงาม มีสำนึกแห่งคุณธรรม และจริยธรรม ถือว่าเป็นสัตว์ที่ฉลาด และแปลก พิเศษกว่าสัตว์ทั่วไป
แต่ อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่า มนุษย์ที่มักเอ่ยอ้างว่าตัวเองเป็นสัตว์ประเสริฐนี้ ได้หลงลืม ละเลย มิให้คุณ ความสำคัญแก่สัตว์ประเภทอื่น ที่มิใช่มนุษย์ และกระทำบางสิ่งบางอย่างแก่สัตว์อันเป็นการทารุณ รังแกสัตว์ หรือแม้แต่เข่นฆ่า อยู่เนืองๆ จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม มีบางครั้ง บางคราวเท่านั้นเอง ที่ มนุษย์อาจนึกรัก เอ็นดูและเวทนาสงสาร จับมาเลี้ยงดู ใช้งาน อยู่บ้าง แต่ก็มักจะอยู่ในภาวะที่มนุษย์ต้องไม่จวนตัวเท่านั้น
มีตัวอย่าง เมื่อราวต้นปีที่กำลังจะผ่านไป ทีวีช่องหนึ่ง ได้มีการฉายภาพบันทึกเหตุการณ์ ชายคนหนึ่งมีปืน เอ็ม16 ประทับอยู่บนบ่า กำลังวาด ปืนไล่เหนี่ยวไก ไปตามการเคลื่อนไหวของควายตัวหนึ่ง เพื่อปลิดชีพมัน ขณะที่มันกำลังตื่นกลัว และหนีตาย จากการกระโจนหลุดออกมาจากโรงฆ่าสัตว์ และวิ่งพล่านไป มา มีรายงานข่าวว่า กระสุนยิง เข้าตามจุดที่ต่างๆ จำนวน 7 นัด ก่อนที่มันจะสิ้นฤทธิ์ ภาพข่าวนี้ เชื่อว่าคนที่ชมอยู่ในขณะนั้น คงจะเกิดความภาพสลด สังเวชอยู่ไม่น้อย กับสิ่งที่มนุษย์เราทำกับสัตว์. อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ คราวที่มีเหตุการณ์ ที่มีแนวโน้มว่า จะเกิดโรคระบาดใหญ่ของไข้หวัดนก ในห้วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ ได้ทำให้ เป็ดไก่ หลายแสน หลายล้านตัว ทั้งที่มีเชื้อ และไม่มีเชื้อ ถูกจับฆ่า ฝังกลบ เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อาจจะระบาดมาสู่คน มิให้ลุกลามออกไปสู่พื้นที่ต่างๆ ที่อาจควบคุมไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นภัยอันตรายอย่างใหญ่หลวงแก่มนุษย์เองได้ ตัวอย่างเหล่านี้นับ เป็นพฤติการณ์อันหนึ่ง ที่ยืนยันถึงการปฏิบัติที่ขาดมโนธรรมของคนมีต่อสัตว์ ได้เป็นอย่างดี และเป็นสิ่งที่ทุกคนยอมรับ ให้เกิดขึ้นแก่สัตว์ได้ แม้บางคนอาจจะไม่สะดวกใจนัก แต่ก็ถือเป็นเรื่องเล็กน้อย ในที่สุดแล้ว คำว่าจริยธรรม ซึ่งเป็นคำที่ดูสูงส่ง ที่หลายคนยึดถือนั้น จึงดูเหมือนว่าจะ สงวนไว้ปฏิบัติระหว่าง มนุษย์ด้วยกันเท่านั้น ไม่ได้รวมสัตว์ไว้ด้วย ทำให้พอจะสรุปได้ในเบื้องต้นว่า ถ้ามนุษย์ปฏิบัติกับมนุษย์ด้วยกันอย่างไม่เหมาะสม ก็ถือว่า “ขาดจริยธรรม” แต่สำหรับสัตว์ นั้น “ไม่เป็นไร” นี่คือแบบทางจริยธรรม ที่มนุษย์ใช้กันจริงๆ ในทุกวันนี้
โดยนัยของความหมายจริยธรรมที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีความกล้าหาญที่จะคิดแล้วย่อมประจักษ์แจ้ง แก่สามัญสำนึกของคนทั่วไปได้ว่า มนุษย์เอาเปรียบสัตว์ตลอดมา เหตุที่มนุษย์ สามารถเป็นเจ้าของแบบจริยธรรมได้นั้น ก็เป็นเพราะว่า มนุษย์ฉลาดกว่า และมีเครื่องมือ มีอำนาจที่มากกว่าสัตว์อื่น และโดย ตรรกเดียวกันนี้ มนุษย์จึงเอาเปรียบกันเอง ทำร้ายกันเอง และควรกล่าวไว้ด้วยว่า (แม้กล่าวแล้วจะไม่น่าฟัง) อำนาจที่กล่าวถึงนั้น เป็นรากฐานของจริยธรรม(แบบที่อยู่ในมือมนุษย์ ) ใครมีอำนาจมาก ย่อมสามารถกำหนดความหมายของจริยธรรม ที่เบี่ยงเบนไป ในแบบของมนุษย์ ให้แปรเปลี่ยนไปรับใช้วัตถุประสงค์ของตัวได้มากกว่า และแน่นอนที่สุด ใครที่ไม่ต้องการเป็นเช่นดัง เป็ด หรือไก่ ซึ่งกลัวว่า วันหนึ่งวันใด ตัวเองก็อาจถูกเชือด หรือถูกเอาเปรียบได้ และต้องการกำหนดความหมายของจริยธรรมใหม่ ให้กับตัวเอง ก็มีเหตุให้จะต้องลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อแย่งชิงเอาจริยธรรมกลับมา โดยการแสวงหาอำนาจก่อนเป็นภารกิจแรก
เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าสิ่งที่เรียกกันว่าจริยธรรมนั้น ในทาง “ธรรม” ถือว่ายังอาศัยเนื่องอยู่กับกิเลส ยังไม่ตัดขาดจากกิเลส เป็นการทำงานของจิตที่อยู่ภายใต้ของ กระบวน “ขันธ์ห้า” ตามหลักธรรมของศาสนาพุทธเท่านั้น การเอ่ยอ้างถึงจริยธรรม หรือการใช้จริยธรรมในการตัดสินคุณค่าสิ่งใด สิ่งหนึ่ง จึง ถือเป็นเพียง การทำงานของสามัญสำนึก ของมนุษย์ในขั้นต้น ที่ยังมีระดับความของ ฉ้อฉล ของเหตุและผล และ การปรุงแต่งของจิต ที่มีโอกาสจะนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตย ที่มาพร้อมกับ ความนิยมทุน ของคนส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องแสวงหาหนทาง หรือวิธีการที่ดีกว่าเพื่อยกระดับ จริยธรรมของตัวเองให้สูงขึ้นไปสู่สังคมคุณธรรม เพื่อจะได้ศรัทธา นับถือ ตัวเองได้โดยสนิทใจ และเข้าใจคนอื่น และเข้าใจตัวเองมากขึ้น
ความจริงแล้ว คำว่าจริยธรรมเมื่อนำไปใช้แล้ว คล้ายกับมีสถานะเป็นข้อเรียกร้องประเภทหนึ่ง และเราอาจนำจริยธรรม ไปเรียก นำหน้าได้หลายกิจกรรม สุดแท้แต่ว่าเราจะเอาไปรับใช้ในข้อเรียกร้องอะไร เช่นจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่แนวคิดที่เรียกกันว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม (csr) ธรรมาภิบาล (good governance)ในองค์กร หรือเราจะตั้งขึ้นเองว่า จริยธรรมทางการค้า การลงทุน จริยธรรมในการใช้ทรัพยากร จริยธรรมทางการแพทย์ จริยธรรมการปกครอง จริยธรรมทางการทูต จริยธรรมในการแสดงออก จริยธรรมในการแสดงความเห็น หรือการวิพากษ์วิจารณ์ ก็ได้ จริยธรรมไม่ใช่เป็นข้อเรียกร้อง ที่มนุษย์เรียกร้องกับมนุษย์เท่านั้น จริยธรรมยังเป็นข้อเรียกร้องที่สามารถเรียกร้องจากตัวเอง เพื่อให้กับตัวเองได้ด้วย เนื้อหาที่เรียกร้องกันก็คือ ให้ปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค เหมาะสม และยุติธรรมต่อกัน แต่ส่วนมาก เป็นข้อเรียกร้องที่ตัวเอง เรียกร้องเอากับคนอื่น ดังนั้น สิ่งแรกผู้ที่จะเรียกร้องจริยธรรมกับคนอื่นควร ปฏิบัติก็คือ ต้องมีจริยธรรมให้กับคนอื่นก่อน และ ต้องมีความบริสุทธิ์ใจ จิตใจไม่ตกเป็นลิ่วล้อของกิเลส ข้อเรียกร้องนั้น จึงจะบริสุทธิ์และสมบูรณ์ในตัวของมัน เป็นจริยธรรมที่แท้ พึงประสงค์ มีพลัง ไม่ใช่จริยธรรมด้านเดียว ไม่ใช่ ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางทางจริยธรรม นี่จะเรียกว่าเป็นการมองแง่มุมจริยธรรม ด้วยภาษาสมัยใหม่ที่ว่า เป็นการมอง จากภายในไปสู่ภายนอก (inside out) และภายนอก เข้าสู่ภายใน (outside in ) ก็ย่อมได้ เช่นกัน
อันที่จริงการทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ก็คือการทำจิตใจให้ผ่องใส ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้นั่นเอง ถือ เป็นหนทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้ การเรียกร้องหาจริยธรรมจากคนอื่นๆอย่างถูกต้อง จึงไม่ใช่การเรียกร้องที่มุ่งหมายเอาชนะ คะคาน เอาเป็นเอาตาย จะต้องไม่ปรากฏผลว่ามีผู้แพ้หรือผู้ชนะ หรือถึงขนาดเลือดตก ยางออก ผู้เรียกร้องต้องไม่เป็นทุกข์ ต้องไม่โกรธ ไม่เกลียด และไม่หลง ต้องเรียกร้องตามหน้าที่ที่สมควร ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงเคยอดข้าวทรมานร่างกาย เพื่อเรียกร้องที่จะบรรลุธรรมแก่ตัวเอง แต่ท้ายที่สุดก็ทรงรู้ว่านั่นไม่ใช่หนทางที่ถูกต้อง จึงทรงเลิกอดข้าว เลิกทรมานตัวเอง นั่นเป็นการแสดงว่าพระองค์ได้ปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมกับตัวเอง คือไม่ทรมานร่างกายตัวเอง เพราะทรงทราบว่า ร่างกายไม่รู้เห็นอะไรกับจิตใจ ที่อยากบรรลุ จึงให้ความเป็นธรรมกับร่างกาย เมตตาแก่ร่างกาย สุดท้ายพระองค์จึงได้พบว่าทางสายกลาง หรือมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางอันเอกที่ทำให้พระองค์ค้นพบสัจธรรม
ที่กล่าวไปข้างต้น ได้แสดงให้เห็นว่าจริยธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จะอยู่อย่างโดดๆ แต่ต้องมีคุณธรรมเป็นตัวฐานอุ้มชู ความรัก ความเมตตา ความไม่อาฆาต พยาบาท และเกลียดชัง นับเป็นคุณธรรมที่สำคัญมาก เมื่อจะมีข้อเรียกร้องทางจริยธรรม กล่าวคือต้องมีคุณธรรมในใจก่อนก่อน จึงจะมีข้อเรียกร้องทางจริยธรรมที่แท้ พึงประสงค์ได้




Create Date : 14 ตุลาคม 2549
Last Update : 7 ธันวาคม 2549 22:24:07 น.
Counter : 555 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เนื่อง มาจากเหตุ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]