เมษายน 2551

 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
ราคาข้าวในฝันของชาวนา -เบื้องหลังราคาซื้อขายที่มีการจัดการ?
เพื่อนๆในแวดวงบล็อค และเพื่อนผู้อ่าน หลายๆท่านคงได้ทราบกันแล้วว่าขณะนี้ ราคาข้าวหอมมะลิในตลาดโลกอยู่ในระดับ 36,000 บาท หรือกิโลละ 36 บาท และราคาข้าวเปลือก 5 % อยู่ที่ตันละ 26,700 บาท จึงนับว่าเวลานี้ เป็น"เวลาทอง"ของชาวนาจริงๆ เพราะถือว่าเป็นราคาข้าวที่นับว่าสูงที่สุด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เลยทีเดียว

แต่จากการเสพข่าว จากทางหน้าหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะ บางกอกทูเดย์ ในวันนี้ 24 ม.ย.51 ทำให้พบเรื่องราวอย่างหนึ่ง (ถ้าหากข่าวที่เสนอมีข้อมูลความเป็นจริง 100 %) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องราวที่ตอบ"คำถามบางอย่าง" ที่ผู้เขียนเคยสงสัยมาชั่วชีวิต เพราะเป็นคนชายขอบ ของข้อมูลข่าวสาร นั่นก็คือเบื้องหลังของราคาซื้อขายข้าวในประเทศ กลไกตลาดราคาข้าว ว่ามันมีเบื้องหน้า เบื้องหลังเป็นมา มีการจัดการอย่างไร
เอาเป็นว่า ในชั้นนี้ ขอแนะนำให้เพื่อน ๆ ท่านผู้อ่าน ทุกๆท่านโปรดติดตามรายละเอียดเบื้องหลัง ราคาข้าวในหนังสือ บางกอกทูเดย์ ตั้งแต่วันที่ 24-25 เม.ย. 51 เป็นต้นไป

แล้วเราจะมาคุยกันในเรื่องนี้อีกครั้ง ในปลายสัปดาห์หน้าครับ

ขอบคุณ"บางกอกทูเดย์"ด้วยครับ เป็นหนังสือพิมพ์ที่น่ารักจริงๆ






Create Date : 23 เมษายน 2551
Last Update : 24 เมษายน 2551 2:49:38 น.
Counter : 753 Pageviews.

10 comments
  
กำลังติดตามข่าวร้อนๆค่ะ..
ขอบคุณที่นำมาฝากนะคะ
โดย: รัตตมณี (kulratt ) วันที่: 23 เมษายน 2551 เวลา:15:47:15 น.
  
แวะมาเยี่ยมตอนบ่ายๆค่ะ
โดย: รัตตมณี (kulratt ) วันที่: 24 เมษายน 2551 เวลา:16:16:02 น.
  
Good night & Sweet Dream.
โดย: รัตตมณี (kulratt ) วันที่: 24 เมษายน 2551 เวลา:23:40:41 น.
  
7 พ.ค.51

สวัสดีครับ

ต้องขออภัย สำหรับท่านใดที่ติดตามกระทู้-ความเห็นนี้ครับ. เพราะว่าผู้เขียนเข้ามาอัพบล็อคล่าช้า ไปกว่าที่ตั้งใจเอาไว้. ที่บอกว่าจะเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยน ในปลายอาทิตย์ที่แล้ว.
แต่ก็ดีไปอย่างครับ. เพราะสถานการณ์ราคาข้าว เปลี่ยนแปลง พลิกผันไปหลายตลบ. ส่วนใหญ่เป็นราคาส่งออกที่คาดหมาย กับราคาอ้างอิงต่างๆ ซึ่งสื่อได้นำมาเสนอ.
สำหรับหนังสือบางกอกทูเดย์ ที่นำเสนอข่าวต่างๆ เกี่ยวกับข้าว หลายวันตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย.51 จนถึงวันที่ 29 เม.ย.51 ก็รู้สึกว่าได้ทำหน้าที่ของสื่อ ได้ดี แม้ว่าคำเฉลย ข้อสงสัย ตามที่โปรยหัวเอาไว้ จะไม่"สะแด๋ว" อย่างที่ตั้งใจลุ้น ก็ตาม
แต่อย่างน้อย ก็พอได้รู้ว่า ต้นสาย ปลายทางของกระบวนการรับซื้อข้าวจากชาวนา ของพ่อค้าคนกลาง ไปจนถึงผู้ส่งออก มีกระบวนการอย่างไร? ในแวดวงนี้ มีการหลอกซื้อข้าวจากชาวนาหรือไม่?
ผู้เขียน เพิ่งได้รู้จักคำว่า"หยง" หรือผู้รวบรวมข้าวสารไปให้ผู้ส่งออกก็จากหนังสือนี้แหละ
และดูจากตัวเลข แล้ว นับว่าราคารับซื้อจากชาวนา กับราคาส่งออก จะห่างกันอยู่เท่าตัว เช่น สมมุติว่า โรงสีรับซื้อข้าวที่ ตันละ 17,000 บาท (หรือ กก.ละ 17 บาท) ราคาส่งออกก็จะอยู่ที่ 34,000 บาท ซึ่งก็ไม่ทราบว่า ทำไมราคาถึงได้ ขึ้นไปถึงขนาดนั้นได้ เพราะก็อีแค่ข้าวสารเดินทางจากโรงสี ไปบรรจุและส่งออกที่ท่าเรือเท่านั้น จะรวมค่าดำเนินการ ค่าขนส่งอะไร โลจีสติคท์อะไรก็ไม่น่าจะมากมายขนาดนั้น (มากเท่ากับชาวนาทำนาทั้งปี)

ส่วนเรื่อง รมต.พาณิชย์ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ที่ออกมาส่งสัญญาณราคาข้าว ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะสิ่งที่ชาวนาขาดทุกวันนี้ ก็คือข้อมูลข่าวสาร (และความรัก+สงสาร) เท่านั้น ใครจะว่าปั่นราคาข้าวก็ช่างหัวมันเถอะ
ก็อย่างที่ธนินทร์ เจียรวรานนท์ว่านั่นแหละ "ชาวนาเป็นผู้เลี้ยงคนทั้งโลก จะปล่อยให้จนอยู่ได้อย่างไร" และ ไม่ต้องกลัวหรอกว่า คนชั้นกลาง จะอดข้าว เพราะคนชั้นจำนวนมาก เป็นคนชนบทมาก่อน และกลับไปต่างจังหวัดก็เชื่อได้เลยว่ามักจะมีแต่คนเอาข้าวสารให้ บรรทุกกลับกรุงเทพฯแทบไม่ไหว ก็แล้วกัน
และเผลอๆ คนชั้นกลางนี่แหละที่จะกลับไปทำนา เสียเอง..

กลับมาที่เรื่องราคาข้าวอีกนิดหนึ่งครับ
ตอนนี้รู้สึกว่า ราคาค่อนข้างสับสน เพราะว่าขึ้นอยู่กับว่า จะมีการเปิดประมูลซื้อจากต่างประเทศ และมีการตกลงซื้อได้หรือไม่
ที่ได้ข่าวแว่วๆ มาหลายวันก็มี ฟิลิบปินส์ ญี่ปุ่น อิหร่าน ฮ่องกง เป็นต้น
ตามข่าวเมื่อวันที่ 26 เม.ย.51 ราคาอ้างอิงข้าวข้าวของไทย ที่กรุงเทพฯ อยู่ที่ต้นละ 32,000 บาทต่อตัน ซึ่งถ้ามีการซื้อขายกันในราคานี้ ชาวนาก็จะได้ ครึ่งหนึ่ง คือ 32,000/2= 16,000 บาท /ตัน หรือ กก.ละ 16 บาท

ส่งท้ายขอนำตัวเลข การคิดต้นทุนการเพาะปลูกข้าว มาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณากันว่า เป็นจริงตามนั้นหรือไม่
นายกสมาคมชาวนาไทยระบุว่า ต้นทุนการเพาะปลูกข้าว ต่อไร่มีตัวเลข ข้อมูลเป็นดังนี้(จากนสพ.มติชน)

1.ค่าน้ำมัน 900 บาท
4.ค่าเตรียมดิน 400 บาท
5.ค่าจ้างปลูกข้าว 510
6.ค่าปุ๋ยเคมี 1,200 บาท
7.ค่าจ้างหว่านข้าว 50 บาท
8.ค่าจ้างหว่านปุ๋ย 80 บาท
8.ค่ากำจัดหอยเชอรี่ 20 บาท
9.ค่าปราบวัชชพืช 200 บาท
10.ค่าพ่นสารเคมี ฆ่าหนอน 180
10.ค่าพ่นสารเคมีกำจัดแมลง 700 บาท
11.ค่าเช่าทำนา 500 บาท
12.ค่าปราบหญ้าหัวคันนา 100 บาท
13.ค่าฉีดฮอร์โมนเร่งใบ 200 บาท
12.ค่ารถเกี่ยวข้าว 500
13.ค่าขนส่งไปขาย 150 บาท
รวมทั้งสิ้น 5,690 บาท
โดย: เนื่อง มาจากเหตุ IP: 61.91.162.97 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:4:53:41 น.
  
ขอบคุณความเห็นที่ 1-3 ด้วยครับ
โดย: เนื่อง มาจากเหตุ IP: 124.121.209.189 วันที่: 7 พฤษภาคม 2551 เวลา:14:43:03 น.
  
เพิ่มเติมจากความเห็นที่ 4.

มีข่าวรายงานว่า. เมื่อวันที่ 8 พ.ค.51 ข้าวเปลือก 5 % ราคาอยู่ที่ตันละ 13,000-14,000 บาท และข้าวหอมมะลิราคา อยู่ที่ 17,000 บาท ส่วนราคาซื้อขายจริงในแต่ละพื้นที่ คงต้องตรวจสอบกันเองว่า มีระดับราคาจริงๆเท่าไหร่ ครับ.
โดย: เนื่อง มาจากเหตุ (เนื่อง มาจากเหตุ ) วันที่: 9 พฤษภาคม 2551 เวลา:2:23:41 น.
  
ข่าวจากนสพ.ไทยรัฐ 9 พ.ค.51

รมต.พาณิชย์ มิ่งขวัญอัดโรงสี-พ่อค้าคนกลาง กดราคาซื้อข้าวชาวนา บอกเป็นไปไม่ได้ ที่ราคาข้าวภายในประเทศตกเหลือตันละ 6,000 -7,000 บาท เพราะตอนนี้มีออร์เดอร์ข้าวจากฮ่องกง ติมอร์ มาขอซื้อแบบ ไม่เกี่ยงราคา เฉพาะมาเลฯก็มีออร์เดอร์มาแล้ว 500,000 ตัน

มิ่งขวัญ ยังกล่าวด้วยว่ารู้สึกไม่ดี ที่พ่อค้า-โรงสีมุ่งกดราคาข้าว ชาวนา ถ้ากดราคาดันอย่างนี้ เมื่อไหร่ชาวนาจะลืมตา อ้าปากได้ ให้สงสารชาวนาบ้าง และบอกว่าถ้าโรงสีไม่รับซื้อ รัฐบาลจะรับซื้อเอง ขายเอง ก้ได้ และถ้าโรงสีในพื้นที่ไม่ซื้อ จะให้โรงสีนอกพื้นที่เข้าไปรับซื้อ และถ้าถึงขั้นนั้น ก็ไม่ต้องทำธุรกิจกัน..

โดย: เนื่อง มาจากเหตุ วันที่: 9 พฤษภาคม 2551 เวลา:21:07:58 น.
  

14 พ.ค.51

คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ รับซื้อข้าวเปลือก 3 ชนิด คือ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเหนียว ที่มีความชื้นไม่เกิน 15 % เอง โดยไม่จำกัดจำนวน โดยข้าวหอมมะลิรับซื้อตันละ 19,000 - 20,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 14,000 บาท ข้าวเปลือกข้าวเหนียวตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่มีความชื้นเกิน 25 % รับซื้อในราคา ตันละ 7,000 บาท
โดย: เนื่อง มาจากเหตุ วันที่: 14 พฤษภาคม 2551 เวลา:9:02:11 น.
  
ชี้แจงเรื่องส่วนต่างราคาข้าวครับ
ข้าวเปลือกที่โรงสีรับซื้อราคาตันละ17000บาทก่อนที่จะได้เป็นข้าวสารต้องผ่านกระบวนการสีซึ่งจะได้เป็นข้าวสารที่มีทั้งเม็ดดีและเม็ดที่แตกหักขนาดต่างๆกันโดยข้าวเปลือก 1000 กก.สีเป็นข้าวสารคิดเป็นอัตราสว่นดังนี้
-ข้าวต้นเต็มเม็ด 350 กก.ขายกก.ละ34บ.=11900บ.
-ข้าวหัก+ปลายข้าว 300 กก.ขายกก.ละ18บ.= 5400บ.
-รำ 150 กก.ขายกก.ละ 7 บ.= 1050บ.
-แกลบ 150 กก.ขายกก.ละ1 บ.= 150บ.
-สิ่งเจือปน+ฝุ่นละออง 5 กก.ขายไม่ได้
รวม1000 กก.ขายได้เงินทั้งหมด18500 บ.
ค่าใช้จ่ายในการสี 400บ.
ค่าขนส่ง 500บ.
ค่านายหน้า 185บ.
ค่ากระสอบ 300บ.
เหลือ 17115 บ.
กำไร 17115-17000= 115บ. โรงสี+ผู้สงออกแบ่งกัน
ดรงสีจะได้ประมาณ 30บ. ผู้ส่งออกได้85บ.เพราะต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพเพื่อส่งออกครับผม
จะเห็นว่าไม่ได้มีกำไรมากมายอย่างที่ท่านคิด
โดย: วรพงษ์ IP: 125.24.38.131 วันที่: 15 พฤษภาคม 2551 เวลา:12:53:44 น.
  
ขอบคุณความเห็นที่ 9 สำหรับข้อมูลครับ
โดย: เนื่อง มาจากเหตุ IP: 124.120.244.141 วันที่: 15 พฤษภาคม 2551 เวลา:16:51:35 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เนื่อง มาจากเหตุ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]