" เรื่องราวต่างๆเป็นดั่งทองคำในเทพนิยาย เมื่อคุณแจกจ่ายไปมากขึ้น คุณก็ได้รับกลับมามากขึ้น " พอลลี แมคไกวร์
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
19 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
007. บทที่ 4 การเป็นทาส : สละเสรีภาพประจำตัว ก็คือสละความเป็นมนุษย์ เท่ากับสละสิทธิของมนุษยชาติ





บทที่ 4

การเป็นทาส






โดยเหตุที่ไม่มีมนุษย์คนใดมีอำนาจตามธรรมชาติเหนือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และ โดยที่อำนาจไม่ก่อให้เกิดธรรม ฉะนั้น มนุษย์จะมีอำนาจเหนือกันได้โดยชอบธรรม ก็ต้องอาศัยความตกลงยินยอมด้วยกันทุกฝ่าย






โกรซีอุ๊ส เคยกล่าวไว้ว่า

ก็เมื่อเอกชนคนหนึ่งมีสิทธิจะสละเสรีภาพของตน และยอมทอดตัวลงเป็นทาสของเอกชนอีกคนหนึ่ง เหตุไฉนราษฏรทั้งชาติจึงจะสละเสรีภาพ และ ยอมทอดตัวลงเป็นไพร่ฟ้าของพระราชาบ้างไม่ได้

ในคำกล่าวเหล่านี้ มีถ้อยคำอยู่หลายคำที่มีความหมายคลุมเครือ อาทิเช่นคำว่า "สละ" ซึ่งอาจหมายถึง "ให้" หรือ "ยอมขาย" ก็ได้

ในกรณีที่บุคคลทอดตัวลงเป็นทาสคนอื่นจะเรียกว่าเขา "ให้" ตัวเขาแก่คนอื่นไม่ได้ จะต้องเรียกว่าเขา "ขาย" ตัวให้คนอื่น อย่างน้อยก็เพื่อให้ตนได้มีที่อยู่ที่กิน

แต่สำหรับราษฏรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ราษฏรจะขายตัวไปทำไม ในเมื่อไม่ได้หวังให้พระราชา (ในสมัยที่ รุสโซ่แต่งเรื่อง สัญญาประชาคม การปกครองของประเทศทั่วๆไปเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คำว่าพระราชาในหนังสือเรื่องนี้ รุสโซ่จึงหมายถึงพระราชาที่ทรงอำนาจสิทธิขาด) มาเป็นผู้เลี้ยงดูตนไปอีกด้วย ข้าพเจ้ามองไม่เห็นจริงๆว่า ยังจะมีอะไรเหลือไว้ในครอบครองของราษฏรอีก








อาจมีผู้เย้งว่า ก็พระราชาเป็นผู้ทรงปกครองบ้านเมืองให้สงบราบคาบอย่างไรเล่า

เอาละข้าพเจ้ายอมรับ แต่ขอถามต่อไปว่าราษฎรจะได้อะไรบ้างจากความสงบราบคาบที่ว่านั้น ในเมื่อสงครามที่เกิดขึ้นก็เพราะความมักใหญ่ใฝ่สูงของพระราชา ความโลภอย่างไม่รู้จักพอของพระองค์และการเคี่ยวเข็ญที่ราษฎรได้รับจากรัฐบาลของพระองค์ทำให้ราษฏรต้องตกอยู่ในความทุกข์ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าความทุกข์ อันเกิดจากแตกแยกระหว่างราษฏรด้วยกันเอง

ราฏษรจะได้อะไรบ้าง ในเมื่อความสงบราบคาบนั้น คือ ตัวความทุกข์ยากเอง ?

ในทุกคนเราก็มีความสงบเหมือนกัน แต่ความสงบเช่นนี้มันทำให้คนเรามีความสุขแล้วหรือ ?

มนุษย์ที่ถูกยักษ์จับตัวเอาไปขังรวมกันไว้ในถ้ำนั้น พวกเขาก็อยู่อย่างสงบเหมือนกัน เพียงแต่คอยว่าเมื่อใดจึงจะถึงเวรของตัวที่จะถูกรากษสจับเอาไปขม้ำ






คำกล่าวที่ว่า คนเรายอมมอบตนโดยไม่หวังอะไรตอบแทน เป็นคำกล่าวที่ไร้สติและฟังไม่ได้

ถ้าหากจะมีบุคคลใดอุตริมอบตนเองโดยไม่ต้องการสิ่งตอบแทน การกระทำเช่นนั้นก็เป็นการมิชอบและเป็นโมฆะ เพราะบุคคลนั้นกลายเป็นผู้เสียสติไปเสียแล้ว

ฉะนั้นการกล่าวว่าราษฎรยอมทอดตัวลงอยู่ใต้การปกครองของใครโดยไม่หวังอะไรตอบแทน จึงเท่ากับทึกทักเอาว่าราษฏรเสียสติ ความบ้าหาทำให้เกิดสิทธิไม่







ถึงแม้แต่ละคนอาจจะขายตัวเองได้ แต่ทว่าเขาไม่มีสิทธิจะขายบุตรของเขา บุตรของเขาเป็นผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์และเป็นเสรี

เด็กย่อมมีเสรีภาพเป็นสมบัติประจำตัวจะไม่มีใครจะเอาเสรีภาพนั้นไปใช้ได้ตามใจชอบ

ก่อนที่เด็กจะบรรลุวัยที่รู้จักรับผิดชอบ บิดาอาจจะมอบตัวเด็กให้ไปอยู่กับคนอื่นได้ในเมื่อวางเงื่อนไขไว้ว่าผู้รับตัวเด็กไปจะต้องปกปักรักษาเด็กให้มีความสุข

แต่การมอบตัวนั้นจะต้องเป็นชนิดที่มีเงื่อนไขและบิดาอาจเรียกตัวคืนได้ เพราะการมอบตัวเด็กให้เป็นสิทธิ์ขาดแก่ผู้ใดโดยปราศจากเงื่อนไข ย่อมเป็นการขัดต่อความมุ่งหมายของธรรมชาติและเป็นการนอกเหนือสิทธิของผู้เป็นบิดา






ฉะนั้นรัฐบาลใดที่ปกครองด้วยอำนาจพลการ หากประสงค์จะได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลที่ชอบธรรม รัฐบาลนั้นจะต้องให้ราษฏรเป็นผู้วินิจฉัยทุกๆชั่วอายุคนว่าจะยอมรับรองให้รัฐบาลทำหน้าที่ปกครองต่อไปหรือไม่ แต่เมื่อมีการให้ราษฏรวินัจฉัยรัฐบาลเช่นนี้แล้ว รัฐบาลที่ถูกวินิจฉัยก็ย่อมจะเปลี่ยนลักษณะเป็นอื่น มิใช่รัฐบาลที่ปกครองด้วยอำนาจพลการอีกต่อไป








สละเสรีภาพประจำตัว ก็คือสละความเป็นมนุษย์ เท่ากับสละสิทธิของมนุษยชาติ จะถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ของมนุษย์ก็ได้ การสละยอดสมบัติเช่นนี้ ไม่มีสิ่งใดจะมาชดใช้ได้ จัดเป็นการสละที่ฝืนธรรมชาติของมนุษย์โดยแท้ ที่มนุษย์ไม่ให้เจตจำนงของตนมีเสรีภาพ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขัดต่อศีลธรรม ฉะนั้นถึงใครจะทำสัญญาตกลงกันว่าให้ฝ่ายหนึ่งมีอำนาจสิทธิ์ขาด และ ให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมหมอบราบคาบแก้ว สัญญาเช่นั้นก็ย่อมจะไร้ผล และ มีลักษณะขัดแย้งกันอยู่ในตัว เพราะเห็นได้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ให้ฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะเรียกร้องเอาทุกสิ่งทุกอย่างจากอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ตนเองไม่มีพันธะแต่อย่างใดเลย สัญญาที่มิได้ให้ประโยชน์แก่คู่สัญญาเท่าเทียมกันและไม่มีสักษณะเป็นการแลกเปลี่ยนตอบแทนย่อมจะนำมาซึ่งความเป็นโมฆะ สมมติว่า ข้าพเจ้ามีทาส ทาสจะมีสิทธิอะไรมายันข้าพเจ้า สิทธิของทาสก็เท่ากับสิทธิของข้าพเจ้า สิทธิของข้าพเจ้าจะเอามาใช้ยันตัวข้าพเจ้าได้หรือ ?






โกรซีอุ๊ส และ นักทฤษฎีอื่นๆ อีกหลายๆคนต่างเห็นว่า "สงคราม" คือ ที่มาอีกทางหนึ่งแห่งสิทธิในอันจะเอาคนลงมาเป็นทาส ในทรรศนะของเขาเหล่านี้ เห็นว่าฝ่ายที่ชนะในการสงครามย่อมมีสิทธิจะเอาฝ่ายแพ้มาตัดหัวขั้วแห้งอย่างไรก็ได้ แต่ฝ่ายแพ้ก็มีทางจะขอไถ่ชีวิตได้ด้วยการยอมสละเสรีภาพประจำตัว ถ้าหากฝ่ายชนะยินยอมตามข้เสนอของฝ่ายแพ้ ก็เป็นอันว่าทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญากันขึ้นแล้ว หากเป็นสัญญาที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ก็จัดว่าเป็นสัญญาที่ชอบธรรม







ภาพประกอบ War: First Afghan War


อย่างไรก็ดี เป็นที่เห็นได้ชัดว่า สถานะสงครามไม่ทำให้ฝ่ายชนะมีสิทธิจะเอาฝ่ายแพ้มาสังหารผลาญชีวิต

ทั้งนี้ก็โดยเหตุผลที่ว่าในสมัยดั้งเดิมนั้น มนุษย์ต่างคนต่างอยู่เป็นอิสระ ไม่มีการติดต่อเกี่ยวข้องกันเป็นประจำถึงกับจะทำให้มีสถานะสงบหรือสถานะสงครามในระหว่ามนุษย์

ฉะนั้น โดยธรรมชาติมนุษย์จึงมิใช่ศัตรูซึ่งกันและกัน

มูลเหตุที่ทำให้เกิดสถานะสงคราม ย่อมมาจากความเกี่ยวพันทางสภาพเหตุการณ์หาได้มาจากความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างมนุษย์ไม่

สงครามเอกเทศระหว่างเจ้าผู้ปกครองแคว้นในยุคศักดินาก็ดี การต่อสู้ระหว่างบุคคลกับบุคคลก็ดี เป็นสิ่งที่ไม่อาจดำรงอยู่ได้ ไม่ว่าจะในสถานะธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ต่างคนต่างอยู่ และ มนุษย์ยังไม่ค่อยจะรู้จักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และ ไม่ว่าในสถานะสังคมซึ่งมนุษย์รวมกันอยู่เป็นชุมนุมชนภายใต้อำนาจของกฏหมายที่ตราไว้เป็นกิจลักษณะ







ภาพประกอบ: Fighting men


จริงอยู่ มนุษย์รู้จักใช้กำลังต่องสู้กันมาแต่ไหนแต่ไร
แต่การต่อสู้นั้นเป็นภาวะที่อุบัติขึ้นเป็นครั้งคราว จะถือว่าเป็นสถานะที่มีเป็นปรกติประจำวันหาได้ไม่

และ ในส่วนที่เกี่ยวกับสงครามเอกเทศระหว่างเจ้าผู้ครองแคว้นในยุคศักดินา เช่นที่เคยปรากฏในประเทศฝรั่งเศสนั้น มันเป็นผลจากความเลวร้ายของระบบศักดินา อันเป็นระบบไร้สติที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา เพราะมันขัดต่อหลักเรื่องสิทธิธรรมชาติ และ รัฐาภิปาลโนบายที่ดีทั้งปวง







ฉะนั้น สงครามจึงมิใช่ความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลกับบุคคล หากเป็นความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับรัฐ

ในสงคราม บุคคลจะเป็นศัตรูกันก็โดยบังเอิญ และ ก็ในฐานะที่เป็นทหารเท่านั้น * หาใช่ในฐานะมนุษย์ หรือ แม้ในฐานะของพลเมืองไม่ รัฐไม่พึงถือเอกชนเป็นศัตรู จะพึงถือเป็นศัตรูได้ก็เฉพาะแต่รัฐด้วยกัน ทั้งนี้ เพราะความเกี่ยวพันย่อมมีไม่ได้ระหว่างสิ่งที่มีสภาวะต่างกัน







* ในเรื่องนี้ ชาวโรมันซึ่งมีความเข้าใจและเคารพสิทธิในสงครามมากกว่าชนชาติอื่นใดในโลก มีทรรศนะก้าวไกลไปถึงขนาดที่ว่า พลเมืองจะสมัครเข้าเป็นทหารได้ก็ต่อเมื่อให้คำมั่นสัญญาว่า จะไปรบกับประเทศนั้นประเทศนี้พร้อมกับระบุชื่อประเทศที่เป็นศัตรูด้วย (รุสโซ่)



หลักที่กล่าวมานี้ ได้เป็นที่ยึดถือกันทุกสมัยมาในหมู่ชนชาติที่เจริญ ประกาศสงครามที่ออกโดยรัฐหนึ่งๆนั้น รัฐที่ออกประกาศมุ่งจะเตือนพลเมืองของรัฐข้าศึกมากกว่าจะเตือนรัฐข้าศึกเอง ชาวต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นพระราชา เอกชน หรือ ประชาชน หากไม่ไปลักทรัพย์, ฆ่า หรือ กักตัวพลเมืองของประเทศหนึ่งไว้โดยมิได้มีการประกาศสงครามต่อกัน ย่อมจะไม่มีฐานะเป็นข้าศึก หากเป็นเพียงโจรผู้ร้ายธรรมดา

แม้ระหว่างที่สงครามกำลังดำเนินอยู่นั้นเอง หากพระราชาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม พระองค์ก็ย่อมจะทรงกวาดริบเอามาเฉพาะแต่สิ่งที่เป็นสมบัติสาธารณะ พระองค์ย่อมจะไม่ทรงแตะต้องเนื้อตัว หรือ ทรัพย์สินของเอกชน พระองค์จะทรงเคารพสิทธิของผู้อื่นเสมอ โดยที่จุดหมายของสงครามอยู่ที่การทำลายรัฐข้าศึก ทหารฝ่ายหนึ่งจึงย่อมมีสิทธิฆ่าทหารอีกฝ่ายหนึ่งได้ ตราบเท่าที่ฝ่ายหลังนี้ยังกุมอาวุธไว้ในมือ แต่ทว่าในทันทีที่ทหารข้าศึกวางอาวุธและยอมจำนน เขาก็สิ้นสภาพแห่งการเป็นข้าศึก หรือ เครื่องมือของข้าศึก และ ได้กลับไปเป็นมนุษย์ธรรมดาตามเดิม ในกรณีเช่นนี้ ไม่มีใครจะมีสิทธิฆ่าเขาได้

บางครั้ง การทำลายรัฐโดยไม่มีการทำลายชีวิตพลเมืองของรัฐนั้นไม้แต่คนเดียว ทั้งนี้ก็เพราะสงครามจะก่อให้เกิดได้ก็เฉพาะแต่ลัทธิชนิดที่จะช่วยให้สงครามสิ้นสุดยุติลง

หลักที่กล่าวมานี้ คงจะไม่ตรงกับหลักของโกรซีอุ๊ส เพราะมันมิใช่หลักที่ตั้งอยู่บนมูลฐานแห่งจินตนาการอันเลื่อนลอย หากเป็นหลักที่วางขึ้นโดยคำนึงถึงสภาพเหตุการณ์ที่เป็นจริง







ในส่วนสิทธิของฝ่ายมีชัยในสงครามนั้น มันก็เทือกเดียวกับทัศนคติเรื่อง "อำนาจ คือ ธรรม" ก็เมื่อสงครามไม่ทำให้ฝ่ายมีชัยมีสิทธิจะสังหารชนชาติที่ปราชัย ฝ่ายมีชัยก็ย่อมจะไม่มีสิทธิเอาชนชาติปราชัยมาเป็นทาสเช่นเดียวกัน

ในระหว่างรบทหารฝ่ายหนึ่งมีสิทธิจะฆ่าทหารอีกฝ่ายหนึ่งได้ก็จริง แต่ทว่าเมื่อจับทหารฝ่ายข้าศึกไปเป็นเชลยแล้ว ฝ่ายที่จับหามีสิทธิที่จะเอาเชลยลงเป็นทาสไม่

มันไม่เป็นการยุติธรรมที่จะบังคับให้ฝ่ายแพ้ ให้จำต้องซื้อชีวิตด้วยเสรีภาพ เพราะฝ่ายชนะหามีสิทธิเหนือชีวิตของฝ่ายแพ้ไม่

การตั้งสิทธิเหนือชีวิตและความตายลงบนสิทธิในการเอาคนลงเป็นทาส แล้วตั้งสิทธิในการเอาคนลงเป็นทาสลงบนสิทธิเหนือชีวิตและความตายตามหลักของนักทฤษฎีบางคนนั้น รังแต่จะทำให้ตกอยู่ในวังน้ำวน หาทางออกไม่ได้







ถึงหากจะยอมรับหลักการของโกรซีอุ๊สที่ว่า ฝ่ายมีชัยมีสิทธิจะฆ่าฝ่ายปราชัยได้อย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าก็ยังเห็นว่าทาสเชลย หรือ ชนชาติที่แพ้สงครามไม่มีข้อผูกพันใดๆอยู่กับผู้เป็นนาย

เขาจะพึงนอบน้อมต่อนายก็ตราบเท่าที่ยังตกอยู่ในฐานะบังคับ การที่ฝ่ายชนะริบเอาเสรีภาพอันมีค่าเสมอด้วยชีวิตของเขาไป จะถือว่าฝ่ายชนะยังมีความกรุณาต่อเขาอยู่หาได้ไม่

การทำลายชีวิต และ การริบเสรีภาพจัดเป็นการฆ่าทั้งสองอย่าง อย่างแรกเป็นการฆ่าที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ส่วนอย่างหลังเป็นการฆ่าที่มีประโยชน์








โดยเหตุฉะนี้
ไม่ว่าเราจะพิเคราะห์สภาพการณ์ไปในแง่ใด เราก็ย่อมจะเห็นว่าสิทธิในการเอาคนลงเป็นทาสนั้นเป็นโมฆะ นอกจากเป็นสิทธิที่ไม่ชอบธรรมแล้ว ยังเป็นสิทธิที่ไร้สติ และ ไม่มีความหมายอะไรเลย

คำว่า ทาส และ สิทธิ เป็นคำที่ขัดแย้งกันเอง มันไปด้วยกันไม่ได้
คำกล่าวในทำนองที่ว่า

"ฉันทำสัญญากับแกโดยแกต้องรับภาระทุกอย่างและฉันได้ประโยชน์ทุกอย่าง เป็นสัญญาที่ฉันจะถือตามนานเท่าใดก็ได้ ตามแต่ฉันจะพอใจ ส่วนแกจะต้องถือตามเป็นเวลานานเท่าที่ฉันต้องการ"

คำกล่าวในทำนองนี้
ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวระหว่างบุคคลหนึ่ง กับ อีกบุคคลหนึ่ง
หรือ ระหว่างบุคคลหนึ่งกับบรรดาราษฏร

ย่อมเป็นคำกล่าวที่ไร้สติเช่นเดียวกัน







Source:







ภาพประกอบ: ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง จาก //www.





Create Date : 19 ตุลาคม 2551
Last Update : 4 ธันวาคม 2551 10:31:37 น. 1 comments
Counter : 2536 Pageviews.

 
ชอบคุงงับ ที่ให้ความรู้


โดย: เดมี่ IP: 118.173.5.143 วันที่: 20 สิงหาคม 2552 เวลา:22:29:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

moonfleet
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ไม่มีสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้ หากไม่เคยเป็นความฝันมาก่อน
New Comments
Friends' blogs
[Add moonfleet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.