Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
13 สิงหาคม 2557
 
All Blogs
 
ลัทธิอำนาจนิยมไม่เคยสูญสลาย


สังคมโลก ในยุคปัจจุบัน อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองหรืออาจจะเรียกว่าเป็นยุค “อารยะ” (ยิ่งกว่า ยุค แห่ง อารยะ ในยุคก่อน)ซึ่งยุคแห่ง “อารยะ” ได้ผ่านมาหลายช่วง หลายยุค และมีหลายช่วง หลายยุคในอดีตที่ผ่านมาเรียกว่า“อารยะ” แต่ “อารยะ” ในอดีตที่ผ่านมานั้น คำว่า “อารยะ”เป็นคำที่ชาติมหาอำนาจใช้เรียกตัวเอง (เท่านั้น หรือเปล่า หากใช้ มาตรฐานคำว่าอารยะ กับอีกชาติหนึ่ง หรือชนชาติอื่น) และด้วยคำว่า “อารยะ”ก็เป็นข้ออ้างเพื่อใช้ “ความอารยะ” นั้นเข้าครอบครอง ครอบงำ และหรือชี้นำชาติอื่นๆโดยการยัดเหยียดคำว่า “ไร้อารยะ” ให้กับชนชาติที่ถูกครอบงำ หรือครอบครองเพื่อให้ชาติของตนเองมีความชอบธรรมด้วยคำว่า “อารยะ” อาจจะกล่าวได้ว่า คำว่า “อารยะ”เพียงคำเดียวที่หรือก็เพียงพอที่จะสามารถ ครอบครอง ครอบงำ ชาติที่ไม่มีทางสู้ (ด้วยกำลังอาวุธและทหาร)ได้โดยชอบธรรม แม้แต่ปัจจุบันนี้ การใช้คำว่า “อารยะ” ก็ยังเป็นเหตุผลเป็นความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศที่อ้างตนว่ามี “อารยะ”เพื่อจะครอบครอง ครอบงำ และหรือชี้นำชาติอื่นๆ และหรือชนชาติอื่นๆให้คล้อยตามกระทำตาม เพราะนั่นคือ มาตรฐานที่ได้ถูกออกแบบไว้แล้วได้ถูกกำหนดไว้แล้วว่ามาตรฐานสากลต้องเป็น “อารยะ” เช่นนี้แม้ในปัจจุบันอาจจะเรียกด้วยคำบัญญัติหรือโดยนามอื่นๆ ก็ตาม

คำว่า “อารยะ” คืออะไร คำว่า “อารยะ”ในพจนานุกรมไทย อ่านว่า “อาระยะ” เป็นคำวิเศษ (ว.) หมายถึง เจริญ หากอนุมานคำว่า “อารยะ” ตามคำในพจนานุกรมไทยย่อมแปลว่า เจริญ หากกล่าวต่อไปว่า เจริญอย่างไร ก็คงจะพออนุมานได้ว่า เจริญในทุกๆ ด้าน

แต่ในความหมายของชาติตะวันตก อารยะ แปลว่า civilizedหรือในทางกลับกัน คำว่า civilized ในภาษาอังกฤษ ไทยเราแปลว่า อารยะ หรือแปล ทั้งตรงตัวว่า ศรีวิไลซ์, เจริญและหรือ อารยะ ในความหมายจริงๆ ของชาติตะวันตกในยุคก่อนโดยเฉพาะในยุคล่าอานานิคม คงจะหมายความหลักๆอยู่ที่กฎระเบียบหรือกติกาในการบริหารหรือการปกครองของประเทศ โดยผู้นำในประเทศนั้นต้องใช้กฎหมายให้พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพในระดับที่พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม(ที่พอจะอนุมานได้ว่า เจริญแล้ว...หลังจากผ่านยุคของการเลิกทาสในยุโรป) และการใช้กฎหมายก็ใช้อย่างไม่ป่าเถื่อนหรือทารุณกรรมดั่งเช่น ในบทลงโทษ ต้องลงโทษเฉพาะผู้ที่กระทำความผิด ไม่ใช่ลงโทษ ครอบครัวญาติพี่น้องที่ไม่ได้กระทำความผิด อาทิเช่น กฎหมายที่เรียกว่า ประหาร ๗ ชั่วโคตรเป็นต้น อย่างเช่นประเทศในเอเชียอาคเนย์หรือในเอเชียตะวันออก ในยุคสมัยเดียวกัน รวมทั้งสยาม ในยุคก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น ประเทศไทย

ความเป็น civilized ที่แปลว่า ศรีวิไลซ์, เจริญ และหรือ อารยะในชาติตะวันตกเองนั้น ย่อมสมบูรณ์แบบที่อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานจนกระทั่งส่งผลต่อรากฐานการเมืองการปกครองของชาติตะวันตก รวมถึง สหรัฐอเมริกาตราบเท่าถึงทุกวันนี้

คำว่า อารยะ ที่เป็นกฎระเบียบ กติกาหรือ กฎหมาย เช่นนี้ ย่อมได้รับการยอมรับว่า เป็น อารยะ เพราะเป็นความยุติธรรมซึ่งคนที่กระทำความผิดย่อมได้รับโทษเฉพาะตัวของผู้ที่กระทำความผิดเท่านั้นไม่ใช่เครือญาติจะต้องยอมรับผิดด้วย

ความจริง คำว่า อารยะ ดังกล่าว หากว่ามองในแง่ของพุทธศาสตร์ ซึ่งสังคมไทยได้รับแนวความคิดด้านพุทธศาสนามายาวนานนับตั้งแต่ยุคกรุงสุโขไทย เรื่อยมา ถึง ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นต่อเนื่องมากระทั่งถึงยุคปัจจุบัน แนวคิด แง่คิดแห่งพระพุทธศาสนาก็ได้บ่งชี้เอาไว้ในเรื่อง “กรรม” ว่า ใครที่ทำกรรมอะไรไว้ย่อมได้รับกรรมนั้น (ในมุมมองทางพระพุทธศาสนาได้กำหนดทั้งกรรมในชาตินี้และชาติหน้า รวมถึงกรรมอดีตด้วย) แต่บทลงโทษที่ลงโทษผู้ไม่ได้กระทำความผิดร่วมด้วยด้วยความที่เป็นเครือญาติ ไม่ใช่การยึดหลักทางพระพุทธศาสนา แต่เป็น แนวคิดของผู้นำของไทยในยุคก่อน หากพิจารณาในแง่คำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้ว คำว่า อารยะ นั้นสังคมไทยถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ยุคที่ได้รับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาแล้ว เพียงแต่กลุ่มอำนาจในการปกครองของสังคมไทย แยกออกจากกัน และก็ไม่แปลกที่ชาติตะวันตกในยุคล่าอานานิคม จะใช้ข้ออ้างของความเป็น อารยะ เพื่อครอบงำชนชาติอื่นและโดยเฉพาะชนชาติในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะที่นับถือพุทธศาสนา ที่ได้วางรากฐานแห่ง อารยะ มาอย่างยาวนานแล้ว

แต่ ถึงแม้ว่า ความเป็น อารยะดั่งกล่าวจะมีอยู่และใช้บทบัญญัติแห่งพุทธศาสน์ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอาทิเช่น สยาม(ประเทศไทย) พม่า ลาว เขมร เวียดนาม หรือจีน ชาติที่ล่าอารานิคมก็ย่อมจะใช้คำว่าอารยะ ที่มีอาวุธที่ทันสมัย อารยะ แห่งการพัฒนาด้านความเป็นอยู่ของชนชาติตนเป็นข้ออ้างต่อชนชาติอื่นเพื่อให้ชนชาติตนเองมีสิทธิ์หรือมีอภิสิทธิ์ที่จะบงการ ชี้นำ ครอบครอง หรือครอบงำชนชาติอื่นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เพราะว่า ชนชาติตะวันตก ต่างกำลังแสวงหาทรัพยากรกำลังล่าอาณานิคม ด้วยอำนาจของอาวุธที่เหนือกว่าชนชาติอื่น ทั้ง ทวีปเอเชีย ทวีอเมริกาทวีปแอฟริกา เพราะประเทศในทวีปเหล่านี้ในอดีต ไม่อาจจะต่อกรด้านอาวุธอันทันสมัยในยุคนั้นของประเทศทางยุโรปได้จึงต้องยอมจำนน ถึงแม้ว่า จะได้พัฒนาจนเป็นประเทศอารยะก็ตาม หากว่าอาวุธไม่ทันสมัยเทียบเท่าชาติตะวันตกก็ย่อมถูกผลักไสให้เป็นชนชาติไร้อารยะ ในทางกลับกัน ชนชาติเหล่านี้เองก็ไม่ได้พัฒนาความเป็นอารยะ ตามแนวทางแห่งพุทธศาสน์ (ด้วยเช่นกัน)ยังคงแยกการปกครองกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาแยกจากการปกครองอย่างสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามชาติตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม เมื่อมีอาวุธที่ทันสมัย ย่อมต้องการที่จะครอบครองครองงำ ชาติอื่น ตั้งแต่เริ่มเคลื่อนขบวนเรือเพื่อแสวงหาดินแดนและทรัพยากรแล้วดังนั้น คำว่า อารยะ ของชาติตะวันตก จึงใช้เฉพาะแต่เพียงในประเทศของตนเองเท่านั้นแต่กับชนชาติอื่นแล้ว ชาติตะวันตกที่เดินทางออกล่าอาณานิคมใช้การกระทำที่เรียกว่า “อำนาจนิยม”เท่านั้น คำว่า อารยะ เป็นแต่คำอ้างที่ทำให้งดงาม มีเหตุมีผล เท่านั้นเอง เพราะการกระทำของชาติตะวันตกคือการ ล่าอาณานิคม บังคับ ขู่เข็ญด้วยอาวุธที่ทันสมัยกว่า จนกระทั่งครอบครองครอบงำ ชาติที่ด้อยกว่า

แต่กระนั้นก็ตาม แม้จะอ้างความเป็นอารยะชาติตะวันตกก็ไม่ได้ใช้วิธีการที่อารยะ และชาติที่ถูกครอบงำ ครอบครองถูกจ้องจะครอบครองก็ไม่ได้พัฒนาตนเองที่จะเป็นอารยะมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้ว

เพราะต้องไม่ลืมว่า ก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งย้อนลงไปถึงยุคที่มีการก่อร่างสร้างอาณาจักรชนชาติใหญ่ย่อมครอบครอง ครอบงำชนชาติเล็กแม้แต่ชนชาติในภูมิภาคเดียวกันถึงแม้จะนับถือพระพุทธศาสนาเช่นกันในทางการเมืองก็ยังครอบงำซึ่งกันและกันอยู่ที่ว่าในยุคนั้นผู้นำชนชาติใดจะแข็งแกร่งกว่ากันหรือนโยบายผู้นำของชนชาตินั้นจะเป็นอย่างไร

บางยุค สยาม รุกรานชาติรอบนอก เช่น ลาวเขมร ลงไปถึง ปัตตานี และอีก ๕ รัฐ ในอดีต ของมาเลเซีย ทางเหนือ รุกรานล้านนา ล้านช้างหลวงพระบาง ถึงตอนใต้ของจีน และทางเหนือของพม่าบางแห่ง มีทั้งที่รุกโดยกำลังและรุกโดยการอ่อนน้อมด้วยการส่งเครื่องราชบรรณาการ

บางยุคของพม่า ก็รุกรานถึงสยามและรวบรวมดินแดนอีกหลายส่วนที่เคยเป็นของสยามไปเป็นของพม่า คล้ายกับว่าแผ่นดินนี้เป็นสมบัติพลัดกันชม อยู่ที่ว่า ผู้นำของชาติใดจะมีอำนาจยิ่งใหญ่

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำหลังเผด็จศึกชนะญี่ปุ่น และเป็นชาติที่เป็นแกนหลักและมีอำนาจสถาปนาองค์กร“สหประชาชาติ” ขึ้นมาและให้เข้มแข็งจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นคุณูปการต่อโลกใบนี้แต่หลายครั้ง สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้ชนะสงครามก็ใช้อำนาจ(นิยม) ทั้งผ่านและไม่ผ่านองค์การสหประชาชาติในการดำเนินการต่างประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งการใช้อำนาจทางทหารต่อประเทศอื่นทั้งโดยนามองค์กรสหประชาชาติและ โดยนามสหรัฐอเมริกาเอง

ดังนั้น คำว่า “อำนาจนิยม”ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใด แม้ในยุคที่เรียกว่ายุคป่าเถื่อน ยุคอารยะหรือยุคปัจจุบัน ที่เรียกว่า เจริญสูงสุดในอารยะธรรมของมนุษย์ ในแต่ละประเทศมีกฎหมายที่ยึดโยงเพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติแต่ลัทธิอำนาจนิยมก็ยังคงดำรงอยู่ และถูกใช้ออกด้วยชุดปฏิบัติการที่แล้วแต่จะเรียกทั้งที่ผ่านองค์กร สหประชาชาติ และไม่ผ่าน รวมทั้งใช้ออกด้วย อำนาจทางเศรษฐกิจผ่านอำนาจนิยมทางการค้า

โลกใบนี้ จึงไม่อาจจะก้าวผ่านคำว่า “อำนาจนิยม”ไปได้ อยู่ที่ว่า อำนาจนิยมนั้นจะเกื้อกูลหรือรับใช้พลโลกหรือไม่ เท่านั้นเอง

ในยุคปัจจุบัน อำนาจนิยมไม่ได้ใช้ออกเพียงแค่ทางทหารหรือการใช้กำลังเท่านั้น แต่ยังใช้ออกในแง่ของ ธุรกิจอีกด้วยกระนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นอำนาจนิยมในทางการทหาร (หรือสืบเนื่องการเมืองระหว่างประเทศของประเทศมหาอำนาจ)หรือทางธุรกิจอื่นๆ รวมทั้งลัทธิทางชาติพันธุ์และภาษา

ทว่า ดูเหมือนว่า การใช้อำนาจนิยมทางความคิดความเชื่อ ทางศาสนา ที่มีมาก่อนแล้วนับพันปีที่ผ่านมา ซึ่งดูเหมือนจะน้อยกว่าการใช้อำนาจนิยมทางการเมืองการทหารและหรือทางธุรกิจ กลับกลายเป็นว่า อำนาจนิยมทางลัทธิความคิด ความเชื่อ โดยเฉพาะลัทธิความคิดความเชื่อทางศาสนา กลับจะกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ยุคสงคราครูเสดและดูเหมือนจะเป็นข้อขัดแย้งสวนทางกับคำว่า อารยะ หรือ ความเจริญของมนุษยชาติโดยสิ้นเชิงเสมือนว่า เป็นการท้าทายและชวนให้หาคำตอบสำหรับมนุษยชาติว่า อารยะ หรือความเจริญและเป้าหมายของพลโลกทั้งหลายนั้นคืออะไรกันอารยะธรรมที่เจริญที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้คือคำตอบหรือไม่

แท้จริงแล้ว อารยะที่แท้จริง จริงๆคืออะไร ใครจะกำหนด อารยะ หรือใครจะกำหนดข้อบัญญัติที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนโลกใบนี้อย่างแท้จริง

ในเมื่อ อำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในทุกๆ ที่ ทุกๆ แห่งหน กำลังก่อตัว และกำลังจะท้าทายความเป็นอารยะของมวลมนุษยชาติไม่ว่า ลัทธิอำนาจนิยมนั้นจะเป็นลัทธิอำนาจนิยมทาง การเมือง ทางการทหาร ทางธุรกิจ รวมทั้งอำนาจนิยมทางชาติพันธุ์และภาษาและโดยเฉพาะลัทธิอำนาจนิยมทางความคิดความเชื่อทางศาสนา

แม้แต่ในภายประเทศต่างๆลัทธิเหล่านี้ก็ถูกปลูกฝังลงไปอย่างลึกซึ้ง เพียงแค่รอวันที่จะปะทุขึ้นมาสักวันหนึ่งซึ่งก็อยู่ที่ว่า การปะทุนั้นจะมากหรือน้อย.

เกรียงไกร หัวฯ

๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๗





Create Date : 13 สิงหาคม 2557
Last Update : 13 สิงหาคม 2557 6:06:00 น. 0 comments
Counter : 1276 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

huaboonsan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]





.....มีความฝันเป็นเรือ
ล่องลอยไปในทะเล
แห่งกาลเวลา............

Friends' blogs
[Add huaboonsan's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.