|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
เรื่องน่ารู้...สำหรับยาลดความอ้วน
กล่าวได้ว่ายาลดความอ้วน นั้น เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเสียชีวิตได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการที่ผู้บริโภคไม่รู้เท่าทันอันตรายที่มากับยาลดความ อ้วน ขณะเดียวกันเพราะการหลงเชื่อโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ตลอดจนยาดังกล่าวหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป
ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ออกมาเผยให้ทราบถึงการแบ่งชนิดของยาลดความอ้วนที่มีจำหน่ายมากมายใน ท้องตลาด ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อควรระวังในการเลือกรับประทานหรือซื้อยาลดความอ้วน ให้กับผู้ที่นิยมรับประทานยาลดน้ำหนัก
สำหรับยาลดความอ้วนนั้นแบ่งออกเป็น 2กลุ่มใหญ่ๆ ตามตำแหน่งของการออกฤทธิ์ โดยกลุ่มแรกเป็น ยาออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหาร ได้แก่
1.สาร ที่พองตัวในกระเพาะอาหารโดยไม่ถูกย่อยสลายให้เป็นพลังงานเช่น Glucomannan ซึ่งเป็นแป้งที่เป็นเส้นใยธรรมชาติสกัดจากหัวบุก แม้ไม่พบว่าสารกลุ่มนี้มีอันตรายโดยตรง แต่พบผลทางอ้อม เช่น หากรับประทานโดยดื่มน้ำไม่มากพอ อาจทำให้ทางเดินอาหารอุดตันและทำให้อุจจาระแข็งตัว
2.สาร ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไลเปส (Lipase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยไขมันให้อยู่ในรูปที่ร่างกายนำไปใช้ได้ ยาลดความอ้วนประเภทนี้ออกฤทธิ์ทำให้ไขมันประมาณ 1ใน 3ที่รับประทานเข้าไปไม่ถูกดูดซึม แต่ก่ออาการข้างเคียงคือ ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ และอุจจาระจะไม่เกาะรวมกัน ขณะเดียวกันก็จะมีก๊าซและไขมันขับออกมาด้วย ทำให้การดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันผิดปกติ
ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็น ยาออกฤทธิ์ที่สมองส่วนกลางซึ่ง ยากลุ่มนี้เป็นการมุ่งลดความอยากอาหาร หรือทำให้เกิดความรู้สึกอิ่ม โดยเพิ่มสารเคมีในสมองที่มีชื่อว่า Serotonin หรือ Catecholamine ซึ่งออกฤทธิ์ควบคุมความอยากอาหารและอารมณ์ สำหรับยาลดความอ้วนในกลุ่มที่ 2 นี้เองที่นำไปสู่อาการข้างเคียงที่ส่งผลต่อสุขภาพ บางชนิดส่งผลต่อลิ้นหัวใจ บางชนิดทำให้นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้ และหากใช้ไปนานๆ อาจเกิดภาวะติดยาได้
จากผลดังกล่าวนี้เอง คือสาเหตุที่ทำให้ยาลดความอ้วนบางชนิดถูกเพิกถอนจากทะเบียนตำรับยา ซึ่งบางชนิดเป็นยาที่ห้ามขายในร้านทั่วไป เพราะจัดอยู่ในประเภทสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่ต้องสั่งใช้โดยแพทย์เท่า นั้น ซึ่งคำแนะนำที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคต้องตรวจสอบ ข้อมูลให้ดี เมื่อคิดที่จะลดความอ้วนโดย "การใช้ยา" และที่สำคัญไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณาที่ชี้ชวนให้เห็นแต่ผลดี โดยละเลย "ด้านมืด" ที่ไม่ว่าจะอ้วนแค่ไหนก็ไม่คุ้มพอที่จะเสี่ยง เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการลดน้ำหนักที่ปลอดภัยนั้นยังมีวิธีอยู่มากมาย แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างไรก็ควรที่จะใจเย็นๆ เพราะการลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย การควบคุมอาหารนั้น จะให้ผลยั่งยืนกว่าการใช้ยานั่นเอง
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
Create Date : 21 กรกฎาคม 2554 |
|
10 comments |
Last Update : 21 กรกฎาคม 2554 18:56:12 น. |
Counter : 3990 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: พันคม 21 กรกฎาคม 2554 20:00:56 น. |
|
|
|
| |
โดย: esyab 21 กรกฎาคม 2554 20:19:47 น. |
|
|
|
| |
โดย: หม่าม๊า2 21 กรกฎาคม 2554 21:03:36 น. |
|
|
|
| |
โดย: YUCCA 22 กรกฎาคม 2554 6:51:01 น. |
|
|
|
| |
โดย: Hi Aoy 24 กรกฎาคม 2554 13:35:33 น. |
|
|
|
| |
โดย: TJchill 22 พฤษภาคม 2557 19:31:06 น. |
|
|
|
|
|
|
|