Thailand
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
6 กันยายน 2550
 
All Blogs
 
จิกตีกันเอง ซ้ำเติมวิกฤติ [2 ก.ย. 50]

จิกตีกันเอง ซ้ำเติมวิกฤติ [2 ก.ย. 50 - 00:40]

หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ

ก็เปรียบเสมือนสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงการคืนอำนาจประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน ผ่านการเลือกตั้งที่รออยู่ข้างหน้า

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาแถลงร่วมกับนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ประกาศเสียงดังฟังชัด กำหนดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550

ขณะนี้ก็เพียงแต่รอให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ได้แก่ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.

ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และมีผลใช้บังคับ

จากนั้นรัฐบาลจะนำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนด การเลือกตั้งทั่วไปขึ้นทูลเกล้าฯถวาย เพื่อทรงลงพระ ปรมาภิไธย

คาดว่าจะมีผลใช้บังคับไม่เกินสิ้นเดือนตุลาคม

ในขณะเดียวกัน ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งก็ได้จัดทำแผนงาน เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งเสนอให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว

โดยกำหนดจะเปิดให้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน 5 วัน คือวันที่ 11-15 พฤศจิกายน และเปิดให้ สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบเขต วันที่ 18-22 พฤศจิกายน

ส่วนกรณีที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ในบทเฉพาะกาล มาตรา 296 วรรค 2 กำหนดให้การเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไป

ครั้งแรก หลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง

ดังนั้น ผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรค การเมืองภายในวันที่ 24 พฤศจิกายน

กำหนดการและกติกาออกมาชัดเจนแล้ว เป็นที่รับรู้รับทราบกันโดยทั่วไป

ทั้งนี้ ในสถานการณ์ปกติเมื่อมีการกำหนดปฏิทินเวลา และกรอบกติกาการเลือกตั้งออกมาชัดเจนระดับนี้

พรรคการเมืองและนักการเมืองที่โดยธรรมชาติจะไวต่อสถานการณ์ ย่อมต้องมีการเตรียมตัวเตรียมความพร้อมในการลงทำศึกเลือกตั้ง

วางฐานกำลัง ตั้งป้อมค่ายกันชัดเจน

แต่สำหรับคราวนี้ กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ที่เห็นมีการเตรียมตัวจัดกระบวนทัพกันจริงๆจังๆ ก็มีแค่เฉพาะการเมือง 2 ขั้วเดิมที่เคยห้ำหั่นกันมา

ขั้วแรกก็คือ กลุ่มอำนาจเก่า หรือพรรคไทยรักไทยเดิม

ที่ถึงแม้จะโดนตุลาการรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค พร้อมลงโทษ ตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 111 คน เป็นเวลา 5 ปี

แต่ก็ยังดิ้นสู้ด้วยการเข้ามาเทกโอเวอร์พรรคพลังประชาชน ดึงนายสมัคร สุนทรเวช เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรค

ประกาศตัวเป็นนอมินีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวบรวมอดีต ส.ส.ไทยรักไทยที่ยังจงรักภักดี “นายใหญ่”

จัดทัพเตรียมลงสู้ศึกเลือกตั้งกันอย่างคึกคัก

อีกขั้วหนึ่ง คือ อดีตพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แก่

พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน

สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีความเคลื่อนไหวคึกคักเป็นพิเศษ

เพราะการเลือกตั้งคราวนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะ

พลิกเกมพลิกสถานการณ์กลับเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

จึงชิงจังหวะออกสตาร์ตเปิดยุทธศาสตร์หาเสียงก่อนใครเพื่อน ด้วยการประกาศวาระประชาชน

ชูสโลแกน “ประชาชนต้องมาก่อน”

ประกาศตัวชัดเจน อยู่ ตรงข้ามกับขั้วอำนาจเก่า

ในขณะที่พรรคชาติไทยของนายบรรหาร ศิลปอาชา และพรรคมหาชนของ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ก็เริ่มขยับจัดกระบวนทัพ เร่งหาทุน หาคน

เตรียมลุยสนามเลือกตั้งคึกคักไม่แพ้กัน

นี่คือความชัดเจนของ 2 ขั้วหลัก ที่พร้อมจะลงทำศึกเลือกตั้งในปลายปีนี้

ส่วนพรรคประชาราชของนายเสนาะ เทียนทอง ซึ่งเป็นอีกพรรคหนึ่งประกาศตัวจะลงสู้ในสนามเลือกตั้ง

วันนี้ภาพที่ออกมาก็ยังไม่ชัด เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของการเตรียมการปรับทัพ จัดประชุมใหญ่เลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่

ขณะเดียวกัน ในส่วนของกลุ่มการเมืองต่างๆที่แตกตัวออกมาจากพรรคไทยรักไทย หลังมีการรัฐประหารยึดอำนาจ

ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มมัชฌิมาของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน กลุ่มรวมใจไทยของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กลุ่มแนว ร่วมสมานฉันท์ ภายใต้การนำของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายพินิจ จารุสมบัติ นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ และนายสุวิทย์ คุณกิตติ

ที่ต่างก็ประกาศตัวว่าจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับสังคม

และในทางลึก แกนนำแต่ละกลุ่มได้มีการเจรจาที่จะผนึกกำลังรวมกลุ่มกัน จัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ สร้างการเมืองขั้วที่สาม

แต่มาถึงวันนี้การเจรจาต่อรองของ 3 กลุ่ม “มัชฌิมา-รวมใจไทย-แนวร่วมสมานฉันท์” ก็ยังไม่ลงล็อกลงตัว

ยังไม่สามารถผนึกเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้

“ทีมข่าวการเมืองไทยรัฐ” ขอบอกว่า ถึงแม้รัฐธรรมนูญปี 2550 มีผลใช้บังคับ มีการกำหนดวันเลือกตั้งและกรอบการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ออกมาแล้ว

แต่การที่กลุ่มการเมืองทั้ง 3 กลุ่ม “มัชฌิมา-รวมใจไทย-แนวร่วมสมานฉันท์” ยังไม่มีความชัดเจนในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมือง

ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองที่จะเดินไปสู่การเลือกตั้งยังไม่ชัดเจน

เพราะกลุ่มเหล่านี้ ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญในสนาม เลือกตั้ง

ทีมของเราขอชี้ว่า การที่กลุ่มการเมืองที่ประกาศตัวเป็นทางเลือกที่สาม ยังไม่มีความลงตัวในเรื่องการจัดตั้งพรรค สาเหตุก็เพราะว่า

ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนจาก พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ.และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในเรื่องอนาคตทางการเมือง

พูดง่ายๆก็คือ กลุ่มการเมืองเหล่านี้กำลังรอความชัดเจนจาก พล.อ.สนธิ หลังเกษียณอายุราชการ เดือนตุลาคมนี้ จะลงเล่นการเมืองหรือไม่อย่างไร

ในขณะที่ตำแหน่ง ผบ.ทบ.คนใหม่ ก็ยังเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจลงเล่นการเมืองของ พล.อ.สนธิเช่นเดียวกัน

สรุปก็คือ ถ้ามีความชัดเจนจาก พล.อ.สนธิ สถานการณ์การเมืองที่จะไปสู่การเลือกตั้งก็จะชัดเจนยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ เมื่อหันไปสำรวจปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวของขั้วอำนาจปัจจุบันในการทำหน้าที่ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเลือกตั้ง

สิ่งที่ชัดเจน ก็คือ รัฐบาลกับ กกต.ได้กำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ออกมาแล้ว 23 ธันวาคม

และสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็กำลังเดินเครื่องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ที่ต้องใช้เพื่อการเลือกตั้ง

ดูเหมือนทุกอย่างกำลังเดินไปได้สวย

แต่ขณะเดียวกัน ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ที่เป็นร่องรอยของความขัดแย้งระหว่างรัฐบาล กับสมาชิก สนช.บางกลุ่ม ผุดขึ้นมา

เริ่มจากการที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สนช. และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

ออกมาโวยกรณีที่ พล.อ. สุรยุทธ์กำหนดวันเลือกตั้ง 23 ธันวาคม ถึงขั้นใช้คำพูดว่า

“ถ้าผมเป็นรัฐบาล ไม่มีหน้าที่กำหนดวันเลือกตั้ง แต่ผมมีหน้าที่สนับสนุนคนที่จัดการเลือกตั้ง ต้องถามไปยัง กกต.ว่าพร้อมหรือยัง

ไม่ใช่ผมจะกำหนดเองได้ มิฉะนั้นแล้วเดี๋ยวจะพลาด ถ้าพลาดแล้ว เราเป็นผู้ใหญ่มันจะเสียคำพูด”

ซัดกันตรงๆแบบไม่เกรงใจ

นอกจากนี้ ยังมีสมาชิก สนช.ในสายเดียวกับ น.ต. ประสงค์ ออกมาเคลื่อนไหวล่ารายชื่อ เพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี

ทำให้มีเสียงตอบโต้ออกมาจากวงประชุม ครม.ว่า การทำอย่างนี้เหมือนไก่ที่รอเชือด จิกตีกันเองในเข่ง

แต่ สนช.กลุ่มดังกล่าวก็ยังยืนยันจะเดินหน้าล่ารายชื่อ เพื่อขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีบางคนที่เป็นเป้าหมาย

ความเคลื่อนไหวดังกล่าว สะท้อนให้เห็นรอยปริระหว่าง รัฐบาลกับ สนช.สายกลุ่มอิทธิพลนอกสภาอย่างชัดเจน

ที่สำคัญ อาการปริแบบนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น

แต่เคยเกิดมาแล้ว จนเป็นเหตุให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ต้องลาออกจากตำแหน่ง รมว.คลัง

รวมทั้งทำให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่อาสาเข้ามาช่วยงานรัฐบาลเพื่อชี้แจงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างประเทศ ต้องไขก๊อกลาออก

จากปรากฏการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น สะท้อนชัดว่า

มีความไม่ลงตัวในขั้วอำนาจปัจจุบัน

เหนืออื่นใดภายใต้ความไม่ลงตัวครั้งนี้ มีเรื่องอำนาจและผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง

พอไม่ได้ดั่งใจ ไม่สมประโยชน์

ก็เลยเกิดปัญหา

ที่สำคัญ เมื่อเกิดปัญหาระหว่างคนในขั้วเดียวกันที่อ้างว่าเข้ามาทำงานเพื่อแก้วิกฤติของประเทศ

มันจะเป็นการซ้ำเติมวิกฤติให้หนักเข้าไปอีก.

"ทีมการเมือง"

//www.thairath.com/news.php?section=politics03&content=59572



Create Date : 06 กันยายน 2550
Last Update : 6 กันยายน 2550 16:48:31 น. 0 comments
Counter : 249 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จอบศักดิ์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Thailand
Friends' blogs
[Add จอบศักดิ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.