Thailand
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
1 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
ภาคประชาชนเสนอ 18ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ

ภาคประชาชนเสนอ 18ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 18:42:00

สปป.ติงส.ส.ร.-กมธ.ยกร่างรธน.ชี้นำประชาชน หนุนแนวคิด"ประสงค์" เพิ่มอำนาจประชาชนมีส่วนร่วมตรวจสอบ พร้อมเสนอ 18 ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย และองค์กรภาคประชาชน จัดประชุมเพื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญภาคประชาชน

ซึ่งประกอบด้วย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายสุริยะใส กตะศิลา นายพิภพ ธงไชย นางรจนา โตสิตระกูล และเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย4 ภาคเข้าร่วมด้วย

จากนั้นในนาม สมัชชาประชาชนเพื่อการปฏิรูปการเมือง(สปป.) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับกรอบและข้อเสนอแนะต่อการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ 2 โดยนายสมศักดิ์ โกศัยสุข กล่าวว่าที่ประชุม สปป.ไม่เห็นด้วยกับการสร้างกระแสชี้นำประเด็นต่างๆ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะเป็นการสร้างบรรยากาศชี้นำกระบวนการรับฟังความคิดเห็นความคิดเห็นของภาคประชาชน แต่ควรรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้กว้างขวางมากที่สุดก่อนจะประมวลและกำหนดประเด็นเพื่อถกเถียงในทางสาธารณะ

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สปป.เห็นด้วยและสนับสนุนแนวคิดของ นต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานกรรมาธิการยกร่าง ที่เสนอแนวคิดเพิ่มอำนาจประชาชน การขยายสิทธิเสรีภาพและการมีส่วร่วมของประชาชนถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูป อีกทั้ง สปป.ยังเห็นด้วยกับกรรมาธิการยกร่างที่วางกรอบในการให้ข่าวและเปิดประเด็นใหม่ ๆ รายวันของกรรมาธิการหรือส.ส.ร. แต่ละคนเพื่อป้องกันไม่เกิดความสับสนทางสังคม

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า สปป.ได้เสนอ 18 ประเด็นนำร่องต่อการร่างรัฐธรรมนูญ โดยจะใช้เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นกรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญธรรมใหม่ในลักษระต่อยอดจากเดิม โดยมีเป้าหมายลดอำนาจ เพิ่มอำนาจประชาชน หรือ Strong’ s Priminister มาเป็น Strong’s People ดังนี้

1.นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งโดยไม่มีเงื่อนไข และไม่หมกเม็ดเปิดช่องให้คนนอกหรือมาจากการแต่งตั้งได้

2.ยกเครื่ององค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ขจัดช่องทางการครอบงำ แทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

และเพิ่มบทบาทศาลยุติธรรมและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสรรหาบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งในองค์รอิสระ

3.จัดให้ปฏิรูปสื่อครั้งที่ 2 คู่ขนานด้วยการยกเลิก กฎหมายเก่าที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 40 และ414.เพิ่มเติมหมวดสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยยกให้เป็นอีกหนึ่งหมวดตามรัฐธรรมนูญ

5.กำหนดแนวทางปฏิรูปที่ดินทั้งในเมืองและชนบท และรับรองสิทธิผู้อยู่อาศัยของประชาชน 6.จำกัดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 2 สมัยหรือ 8 ปีติดต่อกัน และให้การอภิปรายนายกรัฐมนตรีทำได้ง่ายขึ้น 7.เพิ่มและขยายสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนิติบัญญัติทั้งการตรา/พิจารณาร่างกฎหมายและพิจารณางบประมาณแผ่นดินโดยไม่ควรผูกขาดโดยรัฐสภาเท่านั้น

8.วางกรอบการกระจายอำนาจส่วนท้องถิ่นใหม่ โดยเพิ่มอำนาจและความเป็นอิสระกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9. แก้ปัญหาธนกิจการเมืองและการใช้อำนาจทางการเมืองเอื้อธุรกิจผูกขาดหรือปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน

เช่นปรับปรุง พรบ.ป้องกันการผูกขาด โดยยกฐานะคระกรรมการแข่งขันทางการค้าเป็นองค์กรอิสระไม่ขึ้นกับฝ่ายการเมือง

10.ปรับปรุงระบบพรรคการเมืองและสถานภาพ ส.ส. โดยยกเลิกเงื่อนไขข้อบังคับที่กำหนดให้คะแนนจากบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

11.ยกเลิกข้อบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมืองและยกเลิกข้อบังคับ ส.ส.

ส.ว.ต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี 12.ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรองของภาคประชาชนเพื่อจัดตั้งสหภาพแรงงานสหพันธ์

13. เพื่ออำนวยความสะดวกให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยให้ใช้สถานที่ทำงานหรือสถานศึกษาเป็นภูมิลำเนาในการใช้สิทธิเลือกตั้งและจัดหน่วยเลือกตั้ง 14.กำหนดเงื่อนไขเพื่อให้รัฐบาลบริหารงานและกำหนดนโยบายโดยยึดโยงกับหมวดแนวนโยบายพื้นฐานและให้รัฐสภาประเมิณผลคืบหน้า

15.ให้ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมได้ 16.ปฏิรูปการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบเยาวชนควรเรียนรู้ปัญหาบ้านเมือง และมีจิตสาธารณะ 17.ปฏิรูปเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับปากประชาชน กระจายความเท่าเทียม เก็บภาษี รัฐต้องยิตนโยบายการค้าเสรี ส่งเสริมภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ยกเลิกนโยบายการแปรรูปวิสาหกกิจ 18. ปฏิรูประบบยุติธรรม ตั้งแต่ขั้นตอนพนักงานสอบสวนและรื้อโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)

ด้านนายสุริยใส กตศิลา กล่าวถึงแผนกิจกรรมสปป. ที่จะดำเนินการทั่วประเทศ 4 ประเภท คือ แผนที่หนึ่ง การรับฟังความคิดเห็นระดับภาค โดยตั้งใจว่า เวทีหนึ่งจะเชิญตัวแทนแต่ละภาค ภาคละ 500 คนเข้าร่วม

ซึ่งครั้งแรกจะจัดในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจะจัดขึ้นเป็นระยะๆ ถึงเดือนมีนาคม สัญจรจนครบ 7 ภาค

แผนที่สองจัดเวทีระดับชาติจัดขึ้นวันที่ 1 เมษายน 50 ที่หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ พร้อมยื่นร่างรัฐะรรมฉบับประชาชนต่อประธาน สสร.และประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

แผนที่สาม เปิดรับฟังความคิดเห็นระดับจังหวัดและเครือข่ายกลุ่มปัญหาต่าง ๆ จะประสานงานจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก 76 จ.รวมทั้งประสานงานเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ เพื่อรับฟังและประมวลความเห็นของแต่ละเครือข่าย และแผนที่สี่ กิจกรรมรณรงค์ โดยจัดทำเว็บไซต์ //www.cpdthai.org

และจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเผยแพร่ต่อสาธารณชน






Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2550 21:15:39 น. 0 comments
Counter : 305 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จอบศักดิ์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Thailand
Friends' blogs
[Add จอบศักดิ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.