Thailand
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
28 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 
“ประสงค์” ฉะนักการเมืองกิน รธน. [26 มี.ค. 50 - 04:54]

“ประสงค์” ฉะนักการเมืองกิน รธน. [26 มี.ค. 50 - 04:54]

ทางด้านกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญนั้น ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและประชามติ ร่วมกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้จัดรายการรัฐธรรมนูญของประชาชน โดยเชิญประชาชนเข้าแสดงความเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่ได้รับความสนใจจนถูกตั้งคำถามมากที่สุดคือ รัฐธรรมนูญกินได้หรือไม่ เพราะเห็นจัดทำแบบนามธรรมเหมือนเดิม ซึ่ง น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ชี้แจงว่า จะไม่ทำรัฐธรรมนูญกินได้ แต่จะให้ประชาชนกินจากรัฐธรรมนูญ อย่าไปกินรัฐธรรมนูญ เพราะกินมาแล้ว 17 ฉบับ แต่ไม่อิ่ม ดังนั้น ทุกคนควรจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ก็จะอิ่ม เพราะ 4-5 ปีที่ผ่านมา เห็นแล้วว่าเป็นอย่างไร คนที่กินรัฐธรรมนูญคือนักการเมือง

ศาลสหรัฐฯ แนะเพิ่มบทคุ้มครองสื่อ

อีกด้านหนึ่ง ที่โรงแรมรอยัลคลิฟบีช รีสอร์ท พัทยา จ.ชลบุรี สถาบันพระปกเกล้าได้จัดสัมมนาวิชาการนานาชาติเป็นวันที่สาม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับต่างประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ทั้งนี้ นายฮอน เจ คริฟฟอร์ต วอล์เลต ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่กลุ่มย่อยว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กล่าวว่า กลไกที่มีประสิทธิภาพในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคือมีสื่อเสรี จะช่วยสนับสนุนให้ ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องทุกด้าน รัฐธรรมนูญไทยฉบับปี 2540 สื่อสิ่งพิมพ์ได้รับการคุ้มครองดีระดับหนึ่ง แต่ควรได้รับความคุ้มครองเพิ่มขึ้นในคดีหมิ่นประมาทด้วย ขณะที่นายฮอน ฌาก์ส แบลร์ ประธานศูนย์ส่งเสริมสันติภาพ ประเทศแคนาดา อยู่ในกลุ่มย่อยเรื่องการออกเสียงลงประชามติ กล่าวว่า ในสังคมการปกครองแบบพหุนิยมโดยคนที่มีความเชื่อต่างกัน รัฐธรรมนูญที่พูดถึงศาสนาใดศาสนาหนึ่งจะก่อให้เกิดปัญหา อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์การทำประชามติของแคนาดาหลายครั้ง อยู่ที่การตั้งคำถาม และต้องรณรงค์ให้ ประชาชนตระหนักถึงการออกเสียงลงคะแนน โดยต้องใช้สื่อในการเผยแพร่

แนะแบ่งภารกิจองค์กรให้เหมาะสม

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และสมาชิก สนช. กล่าวปิดการสัมมนาว่า ความล้มเหลวของประชาธิปไตยในอดีตเกิดจากการลอกเลียนจากต่างชาติโดยไม่ได้พิจารณาลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เราใช้รัฐธรรมนูญ 17 ฉบับ โดยฉบับปี 2540 ได้รับการยกย่องว่าเป็นฉบับดีที่สุด แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจแต่ละกลุ่ม สำหรับการเขียนรัฐธรรมนูญคือทำอย่างไรให้ระบอบรัฐธรรมนูญสามารถจัดที่ที่เหมาะสมให้สถาบันและกลุ่มต่างๆ สามารถมีบทบาทตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญเป็นระยะ ผู้ร่างต้องหาคำตอบนี้ให้ได้ มิเช่นนั้นต้องร่างกันใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า นอกจากนี้ ต้องออกแบบศาลโดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญให้มีความอิสระ เป็นกลาง มีความรู้ความเข้าใจในผลของคำพิพากษา กรณีการยุบศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นบทเรียนที่สำคัญ ส่วนศาลยุติธรรมและศาลปกครองนั้น สังคมให้ความเชื่อมั่นอย่างสูง จนผู้ร่างรัฐธรรมนูญคิดที่จะมอบภารกิจที่เคยเป็นของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นอำนาจของศาลยุติธรรม เช่น การวินิจฉัยการเลือกตั้ง พรรคการเมือง การปกปิดและแสดงบัญชีทรัพย์สิน ตลอดจนการสรรหาองค์กรอิสระ

“บวรศักดิ์” หวั่นศาลถูกแทรกแซง

“กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ในระบอบการเมืองเช่นนี้ สร้างทั้งความหวังและความเสี่ยง เพราะคนเชื่อมั่นใจความอิสระ เป็นกลางและเป็นธรรมของศาล แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความเสี่ยง เพราะนักการเมืองที่ตระหนักถึงบทบาทของศาลในการเมืองย่อมต้องพยายามแทรกแซงทั้งทางตรงและทางอ้อม หากผู้ร่างต้องการเพิ่มบทบาทของศาลในการเมือง จะต้องสร้างเกราะคุ้มกันจากการแทรกแซงทางการเมืองให้เข้มแข็งมั่นคง มิฉะนั้น ศาลอาจประสบปัญหาในอนาคต” นายบวรศักดิ์กล่าว

“โคทม” ค้านเขียนบทนิรโทษกรรม

นายโคทม อารียา สมาชิก สนช. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุว่าจำเป็นต้องเขียนบทนิรโทษกรรมไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า ไม่เห็นด้วย เพราะการพูดถึงนิรโทษกรรมทำให้คนฟังทั้งประเทศตกใจว่าจะเป็นการปกป้องคนเพียงบางกลุ่มที่ทำการรัฐ ประหาร ผู้พูดจึงต้องสื่อสารด้วยความระมัดระวัง กลายเป็นผิดประเด็นว่ามีความเฉพาะเจาะจง ความจริงควรระบุข้อความให้หมายถึงการกระทำใดๆก่อนหน้านี้เป็นการกระทำที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และให้มีผลต่อไปเพื่อให้ เกิดความต่อเนื่อง หากเขียนเช่นนี้จะครอบคลุมการกระทำทุกอย่างของทุกองค์กร ไม่ใช่เพื่อปกป้อง คตส.หรือ คมช. เท่านั้น ทั้งนี้ การทำงานของ ส.ส.ร.ควรจะยึดถือผลประโยชน์ ของประเทศชาติและประชาชนเป็นหลัก เพราะเรื่องที่จะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญล้วนแต่เป็นประโยชน์ของ สาธารณะ ไม่ใช่มาทำให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ส่วนบุญคุณที่ คมช.ตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมานั้น เป็นเรื่องส่วนตัวที่ต้องไปตอบแทนกันเอาเอง อย่านำมารวมกับเรื่องของประเทศชาติ

“เสรี” ชี้ รธน.ชั่วคราวคุ้มครองอยู่แล้ว

นายเสรี สุวรรณภานนท์ รองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ตามหลักกฎหมายหลังจากมีการยึดอำนาจก็เท่ากับว่าเป็นรัฐธิปัตย์ไปแล้ว ถือว่ามีความชอบธรรมในการบริหารประเทศ ดังนั้น การกระทำที่ผ่านมาถือว่าไม่มีความผิด อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวก็ให้ความคุ้มครอง คมช.ไว้แล้ว จึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปบัญญัติเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นอกจากนี้ ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการทำรัฐประหารหลายครั้ง แต่ไม่เห็นมีบุคคลใดที่ทำรัฐประหารแล้วถูกดำเนินคดี

“สุริยะใส-วีระ” ประชดเจ็บแสบ

นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า ขอคัดค้านการบัญญัติบทนิรโทษกรรม คมช.ไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะจะทำให้ดูเหมือนว่าการทำรัฐประหารเป็นเรื่องปกติ ทั้งยังทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่าข้อกล่าวหาของคมช.ที่มีต่อรัฐบาลทักษิณขาดพยานหลักฐานจนไม่ สามารถดำเนินคดีได้ จึงต้องเขียนกฎหมายป้องกันตัวเอง

นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกรรมการบริหารพีทีวี กล่าวว่า การจุดประเด็นเรื่องนิรโทษกรรมแสดงถึงความวิตกกังวลของคนที่ยึดอำนาจ อยากแนะนำว่าเพื่อความมั่นใจขอให้ทำผ้ายันต์แจกจ่ายกันใน คมช.เลยจะดีกว่า



//www.thairath.com/news.php?section=politics&content=41398


Create Date : 28 มีนาคม 2550
Last Update : 28 มีนาคม 2550 15:33:10 น. 0 comments
Counter : 205 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

จอบศักดิ์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Thailand
Friends' blogs
[Add จอบศักดิ์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.