Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
27 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 

โรคระบาดแห่งการผลิตล้นเกินท่ามกลางความอดอยาก




รถประจำทางสายแดง







“ในระหว่างเกิดวิกฤตทุนนิยมได้เกิดโรคระบาดทางสังคมชนิดที่ทุกยุคทุกสมัยในอดีตคงจะเห็นเป็นปรากฏการณ์ที่เหลวไหลขึ้น ซึ่งก็คือโรคระบาดแห่งการผลิตล้นเกินท่ามกลางความอดอยาก” มาร์คซ์ และ เองเกิลส์ (1848)[6]

ปัญหาของสังคมไทยรวมถึงสังคมโลกที่ถือว่ายิ่งใหญ่กว่าปราสาทเขาพระวิหารไม่รู้สักเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่คงหนีไม่พ้นปัญหาวิกฤติอาหารหรือข้าวยากหมากแพง ที่ราคาถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากอัตราเงินเฟ้อล่าสุด เดือน มิถุนายน 2551 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 3.6% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 8.9%[1] จะเห็นว่าตัวเลขของอัตราเงินเฟ้อ 2 ประเภทแตกต่างกันถึง 5.3 % ซึ่งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ก็คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค ที่คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 235 รายการ โดยหักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 91 รายการ แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะคิดตัวนี้เข้าไปด้วย ดังนั้นเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนในการผลิตและขนส่งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตัวน้ำมัน ซึ่งถือเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญที่ราคาสูงขึ้น อย่างรวดเร็ว

จากปัญหาดังกล่าวกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นคนจนเพราะถ้าราคาอาหารแพงขึ้น 10% มีผลทำให้รายจ่ายครัวเรือนยากจนเพิ่นขึ้น 5% หรือเดือนละ 200 บาท สำหรับครัวเรือนที่มีรายได้ 8,000 บาท ทั้งนี้เพราะคนจนที่สุด 10 %(ที่มีรายจ่ายต่อเดือนเฉลี่ย 6,400 บาท)มีรายจ่ายอาหารสูงถึง 50% ของรายได้ ในณะที่คนรวยสุด 10 %(ที่มีรายจ่ายต่อเดือนเฉลี่ย 36,100 บาท) รายจ่ายอาหารเพียง 20% ของรายได้[2] ด้วยเหตุนี้บทความนี้ผู้เขียนจึงตั้งข้อสังเกตุปัญหาข้าวยากหมากแพงในอีกมุมหนึ่งต่อธรรมชาติของกลไกตลาดกับโครงสร้างความเหลื่อมล้ำของรายได้ ที่มากกว่าปรากฏการณ์ต้นทุนในการผลิตและขนส่งอาหารเพิ่มขึ้น

ก่อนอื่นผู้เขียนขอลองยกข้อสมุติฐาน เรื่อง “Limit to Growth”หรือ "ขีดจำกัดการเติบโต" ที่อธิบายว่าเป็นสาเหตุของภาวะข้าวยากหมากแพงตามแนวคิดของ Malthus ที่ว่าการเพิ่มจำนวนของประชากรเป็นไปในอัตราเรขาคณิต คือจาก 1 เป็น 2 เป็น 4 เป็น 8 ขณะที่การเพิ่มของอาหารเป็นในอัตราเลขคณิต คือ จาก 1 เป็น 2 เป็น 3 ฯลฯ ดังนั้นหากไม่มีการควบคุมการเพิ่มของประชากรหรือการพัฒนาระบบการผลิตอาหารให้อัตราการเพิ่มสมดุลกันอาจเกิดปัญหาได้ สมุติฐานนี้เป็นที่น่าตระหนกมากเนื่องจากหลังสงครามโลกอัตราตายลดลงขณะที่อัตราเกิดลดช้า แต่เอาเข้าจริงเศรษฐกิจโลกมิได้ชะลอตัวดั่งคำพยากรณ์ เพราะ 1) ปฏิวัติเขียว 2) เศรษฐกิจโลกเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการอาหารเพิ่มช้า ขณะที่อัตราการเพิ่มประชากรเริ่มลดลง และเราต้องไม่ลืมว่าทุกๆ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้กลายเป็นขยะ

ตัวอย่างอย่างในอินเดีย ที่ มูลายัม ซิงห์ ยาดา ได้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรอินเดียว่า "ปัญหาความอดอยากในรัฐโอริสสา, อันตระประเทศ, อุตตระประเทศ, มัธยประเทศ, มหาราชตะ, บิฮาร์ และกุจราฐ กำลังทวีความรุนแรง. แต่น่าเศร้าสลดคือ ขณะที่ผู้คนกำลังอดอยาก แต่ในโกดังกลับล้นทะลัก เงินจำนวน 300-400 ล้านรูปีถูกใช้ไปกับการเก็บสต็อกพืชอาหาร ขณะที่ 35 เปอร์เซ็นต์ของมันถูกปล่อยให้เน่าเสีย และ ปี 2544 ขณะที่มีคนยากจนอดตายใน 13 รัฐ โกดังของ ฟู้ด คอร์เปอร์เรชั่น ออฟ อินเดีย หรือ FCI รัฐวิสาหกิจซึ่งทำหน้าที่ส่งออกพืชผลการเกษตร กลับล้นเกิน เพราะหาตลาดส่งออกไม่ได้ ทำให้ข้าวและเมล็ดพืชบางส่วนเน่าเสียและถูกหนูกิน มีข้อเสนอให้เอาสต็อกที่เกินเหล่านั้นไปทิ้งทะเล เพื่อหาพื้นที่ว่างสำหรับผลิตผลในฤดูต่อไป มีการประมาณกันว่า หากเอากระสอบข้าวและเมล็ดพืชเหล่านั้นมาเรียงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คงไม่จำเป็นต้องสร้างยานอวกาศ เพราะมนุษย์สามารถเดินไปกลับจากโลกถึงดวงจันทร์ได้อย่างสบาย[3] นี่เป็นสิ่งทำให้เรื่อง "ขีดจำกัดการเติบโต" ตกไป เพราะปัญหาไม่ใช่ความไม่สมดุลของจำนวนประชากรกับการผลิตอาหาร

แต่ข้อมูลดังกล่าวกลับเป็นสิ่งยืนยันถึงความล้มเหลวของกลไกตลาด (Market failure) ที่ราคาไม่สามารถใช้เป็นสัญญาณที่เหมาะสม และการจัดสรรทรัพยากร สำหรับผู้บริโภคและผู้ผลิตล้มเหลว ผลลัพธ์ คือ การใช้ทรัพยากรอย่างไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก อำนาจเหนือตลาด (market power)ในการกำหนดราคาได้ตามอำเภอใจของผู้ผลิต โดยเฉพาะตลาดผูกขาดหรือมีผู้ผลิตน้อยราย สารสนเทศไม่สมบูรณ์ (imperfect information)ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ผลกระทบภายนอก (externalities)ซึ่งมีทั้งบวกและลบจึงทำให้สินค้าและบริการไม่สามารถสะท้อนราคาที่แท้จริงได้ รวมถึงการใช้กลไกนี้เข้าไปจัดการกับสินค้าสาธารณะ (public goods)

นอกจากนี้ผลของกลไกตลาดยังก่อให้เกิด Engel law ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับการบริโภคสินค้าบางชนิด เช่น รายได้ 1-2 $ ต่อวัน กินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเพิ่ม หากคนรวย(รายได้ 2-10 $ ต่อวัน) จะกินอาหารลดลง โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต แต่คนที่รวยขึ้นในประเทศกำลังพัฒนากินเนื้อสัตว์เพิ่ม ทำให้อุปสงค์ต่อธัญพืชเลี้ยงสัตว์เพิ่ม เนื้อวัว 1 ก.ก. ใช้ข้าวโพด 7 ก.ก. หมู 1 กก.ใช้ข้าวโพด 6.5 กก. ไก่1 กก.ใช้ข้าวโพด 2.6 กก. คนรวยขึ้น กินผัก-ผลไม้เพิ่ม แย่งที่ดินเพาะปลูกและคนรวยขึ้นอีก (เกิน 10 $) กินอาหารแปรรูปที่มากับบรรจุภัณฑ์และบริการ และใช้เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้ามากขึ้น ทำให้เกิดการแย่งที่ดินเพาะปลูกพืชเพื่อสนองความต้องการของคนจน(ในขณะที่มีทีดินจำนวนมากถูกปล่อยทิ้งว่างปล่าวที่ครอบครองโดยนายทุนไม่กี่รายเพื่อหวังเก่งกำไรภายใต้ภาษีที่ดินที่แสนจะถูกในไทย ขณะที่ชาวนาไร้ที่ดินก็มีมากไม่แพ้ที่ดินที่ถูกปล่าวว่างปล่าวนั้น)




ด้วยเหตุนี้ทรัพยากรโลกจึงถูกใช้เพื่อตอบสนองผู้ที่มีอำนาจซื้อมากขึ้น เมื่อบวกกับผลอีกด้านหนึ่งของกลไกตลาดเสรีที่ทำให้สังคมไทยเกิดความเหลื่อมล้ำของรายได้มากขึ้น จากการเปรียบเทียบการกระจายรายได้ของครัวเรือนปี 2549 – 2550 ในการวิเคราะห์การกระจายรายได้ โดยได้จัดแบ่งครัวเรือนทั่วประเทศเป็น 5 กลุ่มเท่าๆกัน และนำมาเรียงลำดับตามรายได้ประจำต่อคนต่อเดือนจากน้อยไปมาก (กลุ่มที่ 1มีรายได้ต่ำสุด และกลุ่มที่ 5 มีรายได้สูงสุด) พบว่า กลุ่มที่มีรายได้สูงสุด มีส่วนแบ่งของรายได้ประมาณ ร้อยละ 49.2 ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด มีส่วนแบ่งของรายได้เพียงร้อยละ 5.7 [4] และหากดูจากการเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำระหว่างปี 2518 กับ ปี 2543 นั้นพบว่าเพิ่มจาก 8.1 เท่าเป็น 14.9 เท่า หากแบ่งประชากรเป็น 20 % ของผู้ที่รวยสุดกับผู้ที่จนสุด แต่ถ้าลดอยู่ที่ 10 % ของทั้ง 2 ฝ่ายจะแตกต่างกันถึง 27 เท่า[5] อาจกล่าวได้ว่ายิ่งความเหลื่อมล้ำทวีความรุนแรงเท่าไหร่แนวโน้มที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองคนจนก็น้อยลงตามไปด้วยถึงจะแม้มีจำนวนมากราย แต่อำนาจซื้อน้อยเมื่อเที่ยบกับสัดส่วนอำนาจซื้อของชนชั้นบนเพียงไม่กี่รายนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่อุตสาหกรรมลดน้ำหนักจึงมีเงินสะพัดมหาศาล ในขณะที่ประชากรอีกมากมายผอมเพราะเป็นโรคขาดสารอาหาร เป็นโรคระบาดแห่งการผลิตล้นเกินท่ามกลางความอดอยาก






แต่คำตอบคงไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงที่ไม่ได้แตะโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจเลย หรือเพียง“6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทย"ของรัฐบาลชุดนี้ ถึงแม้จะดีแต่เอาเข้าจริงก็แค่เศษชิ้นเนื้อที่ติดซอกฟันที่นายทุนแบ่งให้ในยามวิกฤตทุนนิยมเท่านั้น ดั้งนั้นเราต้องร่วมกันทำลายระบบที่ส่งเสริมการขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจนี้ โดยเริ่มจากการขยายอำนาจต่อรองของนักสหภาพแรงงาน ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคเกษตร และขบวนการของชุมชน เพื่อปกป้องมาตรฐานชีวิตและทวงคืนสิ่งที่เขาควรจะได้ ต้องมีการปฏิรูประบบภาษี เพื่อเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าจากคนรวยและบริษัทขนาดใหญ่ แล้วนำรายได้นั้นมาจัดสวัสดิการอย่างเป็นระบบ เช่น ลดราคาอาหารพื้นฐานให้ประชาชนอย่างถ้วนหน้า ลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงแดด เพื่อประหยัดน้ำมัน ลดการปลูกพืชเพื่อเชื้อเพลิง รวมถึง ปตท.ที่ต้องเป็นของประชาชนไม่ใช่ของนายทุนเพียงไม่กี่กลุ่ม เป็นต้น ลดงบประมาณที่ไม่จำเป็นออกเช่นงบประมาณทางการทหาร เพื่อนำรายได้รัฐมาใช้เป็นประโยชน์ต่อคนจนอย่างจริงจัง เช่นการศึกษา สาธารณะสุข และเพื่อลดอิทธิพลของทหารเผด็จการในสังคม รวมถึงปฏิรูปที่ดิน

เพื่อทำลายโครงสร้างรายได้อันเหลื่อมล้ำที่คอยซ้ำเติมคนจนยามวิกฤตอย่างที่เป็นอยู่ เพื่อไม่ต้องให้ผู้ผลิตคิดมากว่าจะต้องผลิตสินค้าให้กับชนชั้นไหนดี ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงไม่เห็นความงามของงานศิลปะ สถาปัตยกรรมโบราณและเครื่องประดับ รับความฟุ้มเฟือย รวมถึงความไพเราะของดนตรีในยามที่ท้องร้อง พอกันทีกับความขัดแย้งน้ำเน่าของชนชั้นนำในสังคมไทย กรรมาชีพทั้งหลายจงสามัคคี และสร้างอำนาจตัวเองที่เป็นอิสระ

เอกสารอ้างอิง
[1] ธนาคารแห่งประเทศไทย //www.bot.or.th
[2] นิพนธ์ พัวพงศกร. 2551. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “ข้าวยากหมากแพง” คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 22 พฤษภาคม 2551
[3] กรรณิการ์ กิจติเวชกุล . ๒๕๕๑. FOOD POLITICS: การเมืองเรื่องอาหาร (จากประเทศจนถึงประเทศรวย)(ออนไลน์)สืบค้นจาก //www.midnightuniv.org
[4] สำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2550 //www.nso.go.th
[5] ปราณี ทินกร. 2545. “ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในช่วง 4 ทศวรรษของการพัฒนาประเทศ 2504 -2544” ใน ห้าทศวรรษภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย. เอกสารประกอบการสัมนาทางวิชาการประจำปี 45 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[6] มาร์คซ์ และ เองเกิลส์ (1848) แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์(Communist Manifesto) (ออนไลน์)สืบค้นจาก //www.marxists.org/thai/




 

Create Date : 27 กรกฎาคม 2551
0 comments
Last Update : 27 กรกฎาคม 2551 23:40:31 น.
Counter : 894 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.