Wayang in Java ( 11 ) Shadowpuppet in Indonesia






Surawesi Indonesia 








ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ทำการค้ากับต่างชาติที่เป็นชาติตะวันตกมานานแล้ว 

มาดูการเดินทางของมหามิตรนักล่าอาณานิคม ในอดีตนะคะเป็นการทบทวนความทรงจำ 

การเข้ามาและการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การที่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีความเจริญทางวิทยาการสมัยใหม่ และการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจเป็นเหตุปัจจัยส่งเสริมให้มีการสำรวจทางทะเล และค้นพบเส้นทางเดินเรือจากทวีปยุโรปมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงให้ ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและผลของการเพิ่มประชากรในยุโรป ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นมูลเหตุจูงใจสำคัญที่ทำให้ประเทศตะวันตกแข่งขันกันเข้ายึดครองประเทศอาณานิคมในภูมิภาคนี้เพื่อขยายความไพบูลย์ให้กับประเทศชาติของตน ทั้งในทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และเพื่อทำการเผยแผ่ศาสนาและวัฒนธรรม

การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก มีจุดประสงค์เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองรัฐบาลให้การสนับสนุนบริษัทที่ทำการค้าให้มีอิทธิพลทางการเมือง เพื่อเข้าครอบครองดินแดนที่ทำการค้า

ด้วย ยุคนี้เรียกว่า “ ยุคจักรวรรดินิยม “ ดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ยกเว้นประเทศไทย, ต้องตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ชนชาติตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในภูมิภาคนี้ ได้แก่


โปรตุเกส  

มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ การค้าเครื่องเทศ รองลงมา คือ การเผยแผ่คริสต์ศาสนา โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่ทำการสำรวจทางทะเล เพื่อหาเส้นทางทำการค้านฝั่งตะวันออก วาสโกดากามา ได้เดินทางมาถึงเมืองกาลิกัต (Calicut ) ในประเทศอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2041 โปรตุเกสพยายามขจัดอิทธิพลของพ่อค่าชาวอาหรับ โดยพยายามยึดเมืองท่าต่าง ๆ ไว้สำหรับทำการค้าและเป็นที่จอดพักเรือสินค้า และได้เข้ายึดเมืองกัวในอินเดีย เป็นอาณานิคมแห่งแรก เมื่อ พ.ศ. 2054 และเข้าจู่โจมตีเมืองเอเดน และเมืองเฮอร์มุขของพวกอาหรับได้สำเร็จ โปรตุเกสไม่ต้องการยึดครองดินแดนใหม่ให้เป็นอาณานิคมที่ถาวรแต่อย่างใน แต่ต้องการสถานีการค้าริมฝั่งทะเล เพื่อประโยชน์ทางการค้าจากประเทศอินเดียไปประเทศจีน เพื่อความมั่งคงทางเศรษฐกิจ และใน พ.ศ. 2054 ได้เข้ายึดมะละกา ทำให้สามารถผูกขาดทางการค้าเครื่องเทศและสินค้าอื่น ๆ ตลอดจนเป็นฐานทัพและเมืองท่าสำหรับค้าขายติดต่อกับประเทศอื่น ๆ ต่อไปใน พ.ศ. 2100 ได้เข้ายึดมาเก๊าทางฝั่งทะเลจีนใต้ เพื่อเป็นสถานีการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ยึดดินแดนบนเกาะติมอร์ ที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะชวา






การค้าของโปรตุเกส รุ่งเรืองมาก สามารถผูกขาดการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกได้ ต่อมาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในผืนแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคนี้ ยกเว้นฟิลิปปินส์ ซึ่งได้รับอิทธิพลของสเปน โ ปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่นำวิทยาการใหม่ๆ เข้ามาเผยแพร่ในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โปรตุเกสเมื่ออำนาจลงไปเมื่อมีชนขาติตะวันตกอื่น ๆ เข้ามาค้าขายแข่งขันและมีอำนาจในการเดินเรือมากกว่า ได้แก่ ฮอลันดา และอังกฤษ ทำให้โปรตุเกสต้องสูญเสียอิทธิพลทางการค้าไป ในที่สุดมะละกาก็ตกเป็นของฮอลันดา




สเปน  

ในขณะที่โปรตุเกสทำการสำรวจซีกตะวันออก สเปนได้ทำการสำรวจทางทะเลซีกโลกตะวันตก เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าโลกกลม เขาได้เดินเรือจากซีกเซโลกตะวันตกของยุโรปผ่านมามหาสมุทรแปซิฟิกมาถึงเกาะเซบูในหมู่เกาะฟิลิปปิน แต่ถูกชาวพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะแม็กตัน ซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้เกาะเซบู ลูกเรือของแมกเจลแลน ชื่อ ฮวนเซบาสเตียน เดลคาโน ได้คุมขบวนเรือเดินทางรอบโลกได้สำเร็จ ต่อมา วิลลา โลโบส ได้เดินทางมายังหมู่เกาะนี้ว่า “ฟิลิปปิน” เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าชายฟิลิปองค์รัชทายาทของสเปน ต่อมา เลกาสปี ได้เข้ายึดครองเกาะบูใน พ.ศ. ๒๑๐๘ และประกาศเป็นอาณานิคมของสเปน สเปนได้นำวัฒนธรรมของตนเข้ามาเผยแผ่ในดินแดนนี้ โดยเฉพาะการปกครองและการนับถือศาสนา มีมะนิลาเป็นเมืองหลวงตั้งบนเกาะซอนซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด


อิทธิพลของสเปนที่ปรากฎชัด คือ “คริสต์ศาสนา” อันเป็นผลงานของคณะมิชชันนารีหลังจากนั้นสเปนพยายามเข้ายึดครองดินแดนที่เป็นอาณานิคมของโปรตุเกส จนกระทั่งมีเรื่องขัดแย้งกับฮอลันดาในเวลาต่อมา



ฮอลันดา  

ฮอลันดาเป็นนชาติที่มีความสามารถมากในการต่อเรือและการเดินเรือ ฮอลันดาซึ่งเดิมอยู่ใต้อำนาจของสเปน สามารถปลดแอกจากสเปนได้สำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2111 จึงได้ทำการค้ากับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเหนือ โดยผ่านเมืองลิสบอน เมืองหลวงของโปรตุเกส จนกระทั่งเมื่อสเปนและโปรตุเกสประกาศว่าไม่ยอมให้ฮอลันดาทำการค้าขายด้วย ทำให้ฮอลันดาต้องเปลี่ยนทิศทางมายังหมู่เกาะเครื่องเทศ โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการค้าเครื่องเทศกับภูมิภาคเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ไม่คิดที่จะทำการเผยแผ่คริสต์คาสนาเช่นเดียวกับสเปนและโปรตุเกส ฮอลันดาสนใจทางการค้ามากกว่าการเข้าปกครองดินแดนนั้น ๆ ฮอลันดามีบริษัทการค้ามากมายและ ใน พ.ศ. 2145 บริษัทการค้าของฮอลันดาประมาณ 50 บริษัท ได้รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา นับเป็นจุดเริ่มต้นของระบบอาณานิคมสมัยใหม่ที่อาศัยการค้าเป็นสำคัญ บริษัทเหล่านี้เป็นกึ่งราชการ มีอำนาจทางการค้า การเมือง การปกครอง การตัดสินใจในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนการทำสงครามและการทำสนธิสัญญา มีการสร้างป้อมปราการและมีกองทหารประจำบริษัท บริษัทของออลันดาได้เปรียบกว่าบริษัทของชาติคู่แข่งในเวลานั้น พ.ศ. 2162 ฮอลันดาได้ครอบครองเมืองปัตตาเวีย (เมืองจาร์กาตาในปัจจุบัน) ในเกาะชวา และใน พ.ศ. 2184 ได้เข้ายึดมะละกาของโปรตุเกส ต่อมาได้ขยายสถานีการค้าไปในเกาะชวา สุมาตรา หมู่เกาะโมลุกกะ เกาะบอร์เนียว เซลีเบส ตลอดจนแหลมมลายู

การที่มีอำนาจผูกขาดในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก ในขณะที่ชาวพื้นเมืองรบพุ่งกันอยู่ได้เปิดโอกาสให้ฮอลันดาเข้าแทรกแซงกิจการภายในและขยายอิทธิพลของตนได้สะดวกขึ้น ต่อมาบริษัทเสื่อมลงเนื่องจากเกินการฉ้อโกงในบริษัท เจ้าหน้าที่ของบริษัททำการค้าขายส่วนตัวทำให้บริษัทขาดทุนและมีหนี้สินมาก รัฐบาลจึงยุบบริษัทและเข้าปกครองหมู่เกาะอินดีสตะวันออกโดยตรง 


อังกฤษ

อังกฤษเริ่มสนใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายหลังจากการเดินทางรอบโลกของ เซอร์ ฟรานซิส เดรก (Sir Francis Drake) และได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตนแข่งขันกับฮอลันดาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าในหมู่เกาะอินดีสตะวันออก แต่การลงทุนและระยะเวลาที่เข้ามามีน้อยกว่าฮอลันดา

อังกฤษได้เข้ามาตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของตน เพื่อทำการค้าระหว่างอินเดียกับจีน เมื่อการค้าก้าวหน้าขึ้นอังกฤษจึงต้องการดินแดนริมฝั่งทะเล เพื่อเป็นสถานีการค้าและฐานทัพเรือของตน 

อังกฤษจึงสนใจมลายูและได้ดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อเข้าครอบครองมลายูคือใน พ..ศ. 2329 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ได้เจรจาขอเช่าเกาะปีนังจากเจ้าเมืองไทรบุรีซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของไทยในเวลานั้น ต่อมาได้ขอเช่าไทรบุรี ใน พ.ศ. 2345 และให้ชื่อว่า “โพรวินส์ เวลสลีย์” (Province wellsley) และใน พ.ศ. 2362 ได้เจรจาของเช่าเกาะสิงคโปร์จากสุลต่านรัฐยะโฮร์ ซึ่งดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอลันดามาก่อน อังกฤษจึงต้องเจรจากังฮอลันดาตกลงทำ “สนธิสัญญาลอนดอน” เมื่อ พ.ศ. 2367 สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างอังกฤษกับฮอลันดา กล่าวคือ ฮอลันดาได้ครอบครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ในขณะที่อังกฤษครอบครองมะละกา ซึ่งเป็นของฮอลันดามาก่อนและอังกฤษต้องถอนตนออกจากสุมาตราด้วย หลังจากนั้นอังกฤษได้รวมกับปีนัง สิงคโปร์ และมะละกาเข้าด้วยกัน เรียกว่า “สเตรทส์ เซทเทิลเมนส์” (Straits Settlements) อยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ หลังจากที่อังกฤษเข้ายึดอินเดียเป็นอาณานิคมใน พ.ศ.2401 แล้ว อังกฤษก็ให้ความสนใจดินแดนในแหลมมลายูมากขึ้น โดยการเข้าไปรักษาความสงบและเข้าแทรกแซงกิจการภายในของรัฐต่าง ๆ จนยึดเป็นอาณานิคมได้สำเร็จ รวมทั้งการเจรจาทำสนธิสนสัญญากับไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2452 เพื่อขอไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส ซึ่งเป็นของไทยมาก่อน โดยอังกฤษจะยอมยกเลิกสิทธิสภาพภายนอกอาณาเขต และให้รัฐบาลไทยมาก่อน โดยอังกฤษจะยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และให้รัฐบาลไทยกู้เงิน 4 ล้านปอนด์ เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้

หลังจากที่อังกฤษได้ครอบครองดินแดนแหลมมลายูแล้ว อังกฤษได้เข้าครอบครองดินแดนอื่น ๆ อีกคือ บอร์เนียวเหนือเมื่อ พ.ศ. 2423 บูรไนใน พ.ศ. 2431 และพม่าใน พ.ศ. 2429 โดยที่อังกฤษทำสงครามกับพม่าถึง ๓ ครั้ง และได้ชัยชนะโดยตลอด จนพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ


สหรัฐอเมริกา

นับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2319 แล้ว สหรัฐอเมริกามุ่งพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง และปฏิบัติตามนโยบายของประธานาธิบดี เจมส มอนโร (James Monroe) ซึ่งได้ประกาศ “วาทะมอนโร” เมื่อ พ.ศ. 2366 เป็นหลักการว่ามหาอำนาจในยุโรปจะต้องไม่จับจองดินแดนในทวีปอเมริกาเป็นอาณานิคมของตนอีกต่อไป และสหรัฐอเมริกาจะยึดมั่นในนโยบายโดดเดี่ยวไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมภายในของประเทศอื่น หลีกเลี่ยงการทำสงคราม แต่จะมาติดต่อค้าขายกันได้ ด้วยเหตุนี้สหรัฐอเมริกาจึงไม่มีนโยบายจะยึดดินแดนในภูมิภาคใด ๆ มาเป็นอาณานิคมของตน ในปลายพุทธศตวรรษที่ 24 เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเจริญขึ้นมาก เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศมหาอำนาจในยุโรป และ ได้ทำการติดต่อกับประเทศต่าง ๆ มากขึ้น จนกระทั่งนโยบายโดดเดี่ยวต้องเปลี่ยนไป กล่าวคือ สหรัฐอเมรริกาต้องการตลาดการค้าต่างประเทศเพื่อเป็นแหล่งระบายสินค้าอุตสาหกรรมของตน ในขณะที่มหาอำนาจในยุโรปมุ่งแสวงหาอาณานิคมเพื่อต้องการวัตถุดิบ ระบายสินค้าอุตสาหกรรม และระบายพลเมืองออกไปเช่นกัน

สหรัฐอเมริกาได้เข้าแทรกแซงสงครามกลางเมืองระหว่างสเปนและคิวบาเพื่อทำลายอิทธิพลของสเปน และช่วยให้คิวบาประกาศเอกราชได้สำเร็จ การที่สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับสเปนใน พ.ศ. 2341 ทำให้สหรัฐอเมริกามีอิทธิพลในทะเลแคริบเบียนมากขึ้น จนสามารถยึดหมู่เกาะฟิลิปปิน ซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศไว้ได้ อันเป็นช่วงระยะเวลาที่ชาวฟิลิปปินกำลังต่อต้านสเปนเพื่อเรียกร้องเอกราช และเมื่อคิวบาได้เอกราชจากสเปน ฟิลิปปินส์ก็ถือโอกาสประกาศเอกราชของตนในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2341 คณะปฏิวัติได้รับการสนับสนุนจากพวกพระประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ขึ้น

สหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2341 และสหรัฐอเมริกาเห็นว่าฟิลิปปินส์ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเองจึงเข้าทำการปกครองฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน รัฐบาลฟิลิปปินส์ภายใต้การนำของ เอมิลิโอ อากินัลโด (Emilio Aquinaldo) ได้ทำการต่อต้านสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ


กลับมาดูอินโดนีเซีย ปัจจุบัน ต่างชาตเข้ามาอยู่ทำก่ารค้า ดูแค่โรงแรมที่ระดับ 5 ถึง7 ดาว ในโลกมีสาขาเกือบครบ เพราะ มีการทำการค้า ทำธุรกิจ
กันมาโดยตลอด เพราะความมีอัธยาศัยของชนในถิ่นนี้ ชาวตะวันตกจำนวนมากอาศัยอยู่ในอินโดนีเซีย เป็นบ้านหลังที่สอง

ทั้งเรื่องการค้าไม้ เฟอร์นิเจอร์ แกะสลัก ของป่า อัญมณี ผ้าแพรพรรณ น้ำมัน ท่อกาซ 

ตลอดจนเครื่องเทศและสถานที่ตากอากาศยังเป็นความต้องการที่ไม่จำกัด
ที่เป็นความต้องการของชาติตะวันตก การเข้าไปเพื่ออเผยแพร่ศาสนา การเป็นเกาะ ที่มากมายถึง3000 เกาะ 32 จังหวัดก็ต้องพึ่งพาตนเอง 
ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นชาติที่รักสงบ มีศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ และการมีภัยธรรมชาติ ไฟป่า พายุ ภูเขาไฟที่ มีมากที่สุดในโลกและมีการคุกรุ่นตลอดมา คลื่นยักษ์จากท้องทะเลและผลของ สือนามิ ปี2547 ที่ผ่านมา ทำความเสียหายแก่ชีวิต
ผู้คน ทรัพย์สินมากที่สุดในเอเชีย จนกระทั่งความเสียหายจาก โรคไข้หวัดนก ( SAR)

เวลากลางคืนในบาหลีศิลปละครหุ่นนอกจากการแสดง ดนตรีและการร่ายรำแบบท้องถิ่นและแบบประยุกต์ ศิลปจะมีความคล้ายคลึงกับทางภาคใต้ของประเทศไทย การเชิดหุ่น ของหนังตะลุง ที่ยังนำเอาละครพื้นบ้าน ที่อิงศาสนา ฮินดูเช่นกัน อิงเรื่องรามายณะเช่นเดียวกับประเทศไทยที่รู้จักพระราม นางสีดา หนุมาน เขาไกรลาส ที่อยู่จังหวัดประจวบคีรีขันต์ เขาวงกตที่อยู่จังหวัดลพบุรี
การเเสงโขน พิธีกรรมต่างๆ การครอบครู ที่เป็น ส่วนของพราหมณ์
และการร้อง พากย์และดนตรี มีอะไรหลายๆอย่าง ที่ประเทศไทยก็มีความชัดเจนเรื่องการแสดงละครหุ่นละครเงา จนนำไปโชว์ต่าง
ประเทศอย่าง พระจันทร์พเนจร The wandering moon 

เวลาแห่งความสนุกสนานที่เป็นการแสดงและวัฒนธรรมท้องถิ่น

และการแต่งกายของผู้ร่วมงานที่งดงาม วัฒนธรรม ของความเป็นอยู่ อาหารการกิน นิสัยใจคอของผู้คน ที่อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงมานานแล้ว เขาดึงความดีความงามนั้น มาเป็นงาน หาเงินเลี้ยงชีพ หุ่นละครเงาของบาหลี นอกจากจะ เป็นการแสดงการเล่น ยังมำไว้ขายเป็นของแต่งบ้านของฝากได้ ดี 

ยอมรับเลยค่ะตอนที่อยู่ภาคใต้ของประเทศไทยดิฉันเคยดูหนังตลุงเพียง2 ครั้งและไม่จบ เพราะฟังภาษาใต้ไม่ค่อยเข้าใจและดึกมาก 

รำโนราห์เคยเห็นจริงๆเพียงครั้งเดียว เพื่อนฝูงที่อยากจะดูก็ไม่ค่อยมี




เพื่อนสาวชาวใต้บอกว่าจะมีการเสียดสีการเมืองและภาษาหยาบ ตลก สาวๆก็จะไม่สนใจที่จะเป็นตัวตลกให้โห่ฮากัน เลยอดดูค่ะ แต่พอมีหน้าที่เขียนบทความ น้องๆที่เรียนทำปริญญาโทปริญญาเอก หา reference พอมาบาหลีดิฉันก็ืถือโอกาสเก็บรวบรวม บางทีก็จะมีประโยชน์สำหรับคนที่จะเอาไปต่อยอด ทำปริญญานิพนธ์ ซึ่งบทความหลายชิ้นก็เริ่มมีน้องๆติดต่อมา

Thammasat Chinese opera หรืองิ้วธรรมศาสตร์ น้องมี่เรียนปริฺญญาโท คณะศิลปการละครของจุฬาขอเอาไปประกอบทำThesis ยินดีช่วยเต็มที่ค่ะ ช่วยเผยแพร่ด้วยนะคะ อย่าเก็บเป็นงานวิชาการ อย่างเดียว

การศึกษาคือการพัฒนานะคะ อย่าให้อยู่อย่างมีความลับ กันเลย ประเทศไทยจะได้น่าอยู่กว่านี้
ดิฉันแปลกใจบ้านเรา จัดงานดีๆแต่ห้ามถ่ายภาพ แม้กระทั่งงานเอกชน
การแสดง ละครเวที ทำตัวเป็นราชการ ไทยความลับเต็มไปหมด

มหากาพย์รามายณะหรือรามเกียรติ์ที่มีตัวละครมากกว่า 300 ตัว ทำจากหนังโค
กระบือที่ถูกฉลุเป็นรูปยักษ์ มนุษย์และวานร พวกเราทราบว่าหนังใหญ่นั้นมีการเล่น
เพื่อชนชั้นสูงและพระราชวงศ์ สิ่งที่จำแนกว่าหนังใหญ่เป็นความบันเทิงชั้นสูงก็คือ
หนังกระบือแกะสลักเจาะรูเป็นรูปตัวละครจากมหากาพย์รามเกียรติ์ การแสดงและ
การเคลื่อนไหวของยักษ์ มนุษย์ และวานรมีบทบาทสำคัญ มีการใช้เครื่องดนตรี
พิเศษ มีการใช้โคลงกลอนเล่าเรื่อง เรียกว่า "ร่าย"และผู้ชมก็คุ้นเคยกับเรื่อง
รามเกียรติ์ แต่เดิมแล้วมหากาพย์รามเกียรติ์ไม่ได้มาจากวัฒนธรรมไทย แต่เรื่องนี้
ตัวมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ พระรามและนางสีดาที่เป็น
ตัวเอกของเรื่องก็เป็นที่คุ้นเคยในวัฒนธรรมไทย ดิฉันได้ไปศึกษาหนังใหญ่ใน
หลายๆวัดก็พบว่าผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เชิดหนังใหญ่ พระสงฆ์ที่นั้นได้อธิบาย
ประวัติหนังใหญ่ให้กับกลุ่มผู้ฟัง ดิฉันยังได้เห็นการย่างก้าวและการเคลื่อนไหวของ
ตัวแสดงที่ทราบว่าโรงละครภัทราวดี ในกรุงเทพฯ มาฝึกท่าทางให้

ยังดีใจมากๆเรื่องดีๆในประเทศไทย




ศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองเรื่องของนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงแล้ว อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางการแสดงอันเก่าแก่และมีลักษณะ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยมีพื้นฐานของวัฒนธรรมมุสลิมและฮินดูปรากฏอยู่ เด่นชัดในศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย

และการมาชวาและบาหลี ครั้งนี้ 2 อย่างที่อยากสัมผัส และทำความรู้จักให้มากขึ้น คือ วงดนตรี Gamelan และ Wayang ละครหุ่นนี่ล่ะค่ะ เขียนถึง 
มา4-5 ปี ต้องมาเห็นและสัมผัส ให้ได้ ได้พบว่าชาวบ้านที่นี่มีจิตใจอนุรักษ์ศิลป หลายด้านที่เป็นส่วนของวัฒธรรมประเพณีอย่างน่าชื่นชมมากทีเดียว และขยายงาน World Puppet ปี2007 
ทำรายได้กลับมาประเทศไม่น้อยทีเดียว






และความมศรัทธานั้นอยู่บนพื้นฐานองความเชื่อ ศาสนาวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเห็นได้ชัด

ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของอินโดนีเซียและยังคงเป็นศิลปะประจำ ชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นภาษาชวาเรียกว่า “วายัง” (Wayang)หรือเรียกเต็มชื่อว่า”วายัง ปูร์วา”( Wayang Purwa) “วายัง”แปลว่า “เงา” ส่วน”ปูร์วา”แปลว่า”ความเก่าแก่”รวมกันจึงหมายถึงความเก่าแก่แห่งศิลปะการ เชิดตัวหุ่นที่ทำจากหนังให้เกิดเป็นภาพเงาบนจอผ้า ในปัจจุบันคำว่าวายังมีความหมายทั่วไปว่า”การแสดง”

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียว (อินโดนีเซีย: กาลิมันตัน), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินี (อินโดนีเซีย: อิเรียน) และ ประเทศติมอร์ตะวันออกบนเกาะติมอร์

ความเป็นมาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ในอดีตหมู่เกาะต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันยังไม่มีการรวมตัวกันเป็นรัฐเดียว แต่ได้แยกกันเป็นแคว้นต่างๆ หลายแคว้น จนกระทั่งชาวดัทช์ได้เข้ามา
ปกครอง แต่เดิมหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอินเดีย ทั้งด้าน
การค้าและวัฒนธรรม ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านความเชื่อของฮินดูและพุทธ จนกระทั่งอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้เข้ามาแทนที่ในศตวรรษที่ 13
ในศตวรรษที่ 15 อินโดนีเซียเริ่มเป็นที่สนใจของชาวยุโรปเนื่องจากเป็นแหล่งเครื่องเทศ ชาวโปรตุเกสและสเปนได้เริ่มเข้ามาในภูมิภาคในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 16 และ โปรตุเกสได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคม การจัดตั้งบริษัท ดัทช์ อีส อินเดีย หรือ Vereniging Oost Indische Compagnie-VOC ใน พ.ศ. 2145 เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าปกครองอินโดนีเซียในฐานะอาณานิคมของดัชท์ ในช่วงแรก บริษัท VOC ใช้วิธีเข้าไปมีอิทธิพลเหนือผู้ปกครองท้องถิ่น ต่อมา ใน พ.ศ. 2342 หลังจาก รัฐบาลฮอลันดาเข้าควบคุมกิจการบริษัท VOC รัฐบาลฮอลันดาก็ได้เข้าปกครองอินโดนีเซียในรูปแบบอาณานิคม (ตรงนี้ดิฉันได้เล่าถึงเหล่าฝูงผึ้งที่แสดงละครในวัง ยอมตายเพื่อปกป้องเจ้านายชั้นสูง เมื่อร้อยปีเศษ ที่ วัง Denpasar )
ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เกิดกระแสชาตินิยม ในอินโดนีเซียต่อต้านการปกครองของเจ้าอาณานิคม ใน พ.ศ. 2485 ญี่ปุ่นมีชัยชนะเหนือบริษัทดัทช์ อีสท์ อินเดีย และได้เข้าปกครองอินโดนีเซียระยะหนึ่ง หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม กลุ่มชาตินิยม นำโดย ซูการ์โนและฮัตตา ได้ประกาศอิสรภาพให้แก่อินโดนีเซีย ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 อย่างไรก็ตาม ยังมีการต่อสู้กันระหว่างอินโดนีเซียกับดัทช์ ซึ่งพยายามกลับมาปกครองอินโดนีเซียในฐานะเจ้าอาณานิคม จนกระทั่ง 27 ธันวาคม 2488 ดัทช์จึงได้ยอมมอบเอกราชให้แก่อินโดนีเซียอย่างสมบูรณ์
อินโดนีเซียได้ขยายเขตแดนของประเทศ 3 ครั้ง ได้แก่ เมื่อ 1 พฤษภาคม 2506 ภายหลังจาก Dutch New Guinea หรือ Irian Jaya ในปัจจุบันได้รับเอกราช อินโดนีเซียได้ประกาศผนวกดินแดนในเดือนกันยายน 2512 ต่อมา ในปี 2518-2519 อินโดนีเซียได้บุกเข้ายึดครองและผนวกดินแดนติมอร์ตะวันออก ซึ่งเคยเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส และได้ประกาศผนวกดินแดนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในเดือนกรกฎาคม 2519 แต่ประชาคมระหว่างประเทศไม่ยอมรับการอ้างสิทธิเหนือติมอร์
ตะวันออกของอินโดนีเซีย จนทำให้สหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทดำเนินการให้
ติมอร์ตะวันออก (สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์เลสเต) กลายเป็นประเทศอิสระ เมื่อ 20 พฤษภาคม 2545
ในเดือนเมษายน 2525 นานาชาติได้ประกาศให้การยอมรับการอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่ทะเล ซึ่งเชื่อมเกาะต่างๆ ของอินโดนีเซียเข้าด้วยกัน ทำให้อินโดนีเซียสามารถประกาศ ให้พื้นที่ทะเลเป็นเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศได้ในปี 2526 


ศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย






ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมองเรื่องของนาฏศิลป์และศิลปะการแสดงแล้ว อินโดนีเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มีวัฒนธรรมทางการแสดงอันเก่าแก่และมีลักษณะ โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนโดยมีพื้นฐานของวัฒนธรรมมุสลิมและฮินดูปรากฏอยู่ เด่นชัดในศิลปะการแสดงของอินโดนีเซีย
ศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของอินโดนีเซียและยังคงเป็นศิลปะประจำ ชาติที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ศิลปะการเชิดหนังหรือเชิดหุ่นภาษาชวาเรียกว่า “วายัง” (Wayang)หรือเรียกเต็มชื่อว่า”วายัง ปูร์วา”( Wayang Purwa) “วายัง”แปลว่า “เงา” ส่วน”ปูร์วา”แปลว่า”ความเก่าแก่”รวมกันจึงหมายถึงความเก่าแก่แห่งศิลปะการ เชิดตัวหุ่นที่ทำจากหนังให้เกิดเป็นภาพเงาบนจอผ้า ในปัจจุบันคำว่าวายังมีความหมายทั่วไปว่า”การแสดง”






ความเป็นมาของวายัง ในอินโดนีเซีย
นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกัน3แนวทางคือ
กลุ่มแรก ยืนยันว่าวายังเป็นศิลปะการแสดงของท้องถิ่นชวามาแต่โบราณ มีกำเนิดบนเกาะชวาเนื่องมาจากประเพณีของคนท้องถิ่นซึ่งนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์และบูชาบรรพบุรุษนั่นเอง หลักฐานที่ใช้สนับสนุนของกลุ่มนี้มีหลายประการ กล่าวคือ ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคการแสดงเป็นภาษาชวาโบราณ ประเพณีการชมละครวายังที่เก่าแก่ยังคงเห็นปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป กล่าวคือ บริเวณที่นั่งของผู้ชมฝ่ายชายอยู่คนละด้านของฝ่ายหญิง ผู้ชมฝ่ายชายนิยมนั่งด้านเดียวกับผู้เชิดหนังเพราะเป็นด้านที่ชมการแสดงได้สนุกกว่าด้านที่เห็นเงา ฝ่ายหญิงถูกกำหนดที่นั่งให้อยู่ด้านตรงข้ามกับผู้ชายเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ วายังเป็นการแสดงที่แปลกแตกต่างและโดดเด่นจากการแสดงอื่นๆ ทั้งหมดในเอเชียจึงน่าจะเชื่อได้ว่าศิลปะการแสดงวายังเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซียอย่างแท้จริง

กลุ่มที่สอง เชื่อว่าศิลปะการเชิดหนังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะอินเดียมีการแสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมอินเดียเจริญและเก่าแก่กว่าชวา ประวัติศาสตร์ยุคโบราณของชวาได้เห็นการแผ่ขยายอารยธรรมอินเดียเป็นระยะเวลา หลายร้อยปี ด้วยเหตุนี้ ชวาจึงน่าที่จะเป็นฝ่ายรับการแสดงวายังจากอินเดีย นอกจากนี้ตัวละครตลกในวายังของชวาที่ชื่อ ซีมาร์
( Semar) มีลักษณะที่ละม้ายคล้ายคลึงกับตัวตลกอินเดีย ที่ปรากฏในละครสันสกฤตอันโด่งดังของอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่3-8
กลุ่มที่สาม สนับสนุนความคิดที่ว่า 
การเชิดหนังและหุ่นชนิดต่างๆน่าที่มาจากประเทศจีนเพราะชนชาติจีนรู้จักศิลปะ ประเภทนี้มานานกว่า2000ปีแล้วโดยมีหลักฐานบันทึกเรื่องราวใน121 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า จักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงค์ฮั่นทรงโปรดให้ทำพิธีเข้าทรงเรียกวิญญาณนางสนม คนโปรดของพระองค์ การทำพิธีเช่นนี้อาศัยเทคนิคการเชิดหนังนั่นเอง




แม้ไม่มีข้อยุติที่แน่ชัดว่า จริงๆแล้ววายังของชวามาจากไหน และได้รับอิทธิพลจากจีนหรืออินเดียวหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่น่าจะสันนิษฐานได้ก็คือ ในสังคมแบบชาวเกาะซึ่งนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ และมีประเพณีบูชาบรรพบุรุษเช่นเดียวกับสังคมโบราณในประเทศเอเชียทั้งหลายการ แสดงเชิดหนังและเชิดหุ่นกระบอกเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้วใน สิ่งแวดล้อมของสังคมดังกล่าวความสัมพันธ์ของวายังกันพิธีกรรมทางศาสนาย่อม แยกกันไม่ออก เงาต่างๆที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่ศิลปินผู้เชิด บันดาลให้เกิดขึ้น คนโบราณนิยมประกอบพิธีเรียกวิญญาณบรรพบุรุษในงานมงคลต่างๆ เช่น งานแต่งงาน เพื่อนให้วิญญาณของบรรพบุรุษได้มารับรู้เป็นสักขีพยานการแสดงวายังจึงเป็น ศิลปะการแสดงที่มีวามขลังและศักดิ์สิทธิ์ดุจพิธีกรรมทางศาสนา การทำพิธีนี้เป็นที่ยอมรับในสังคม การเชิดหนังวายังจึงถูกนำมาใช้โดยบุคคลสำคัญซึ่งทำตนเป็นสื่อกลางรับจ้าง อัญเชิญวิญญาณ รวมทั้งการแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับปรัชญาและศีลธรรมอีกด้วย มีผู้สันนิษฐานว่าคำว่า 

“วายัง” มีวิวัฒนาการมาจากคำเก่าของชวา คือ “วาห์โย” ซึ่งแปลว่า การปรากฎให้เห็นซึ่งการดลใจทางวิญญาณ





ต่อเมื่ออารยธรรมฮินดูเข้ามาสู่เกาะชวาแล้วนั้น วายังจึงได้พัฒนาเป็นศิลปะการแสดงที่แท้จริงได้รับการปรับปรุงจนเป็นศิลปะ ชั้นสูง มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 11 วายัง ปูร์วาเป็นการแสดงที่แพร่หลายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชวังต่างๆ บนเกาะชวา นอกจากนี้ วานวรรณกรรมราชสำนักสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 ได้บันทึกเกี่ยวกับละครวายังว่าเป็นศิลปะการแสดงที่จับใจและสร้างความ สะเทือนอารมณ์ได้อย่างดีเยี่ยม กษัตริย์หลายพระองค์ทรงอุปถัมภ์คณะละครวายัง บางพระองค์โปรดให้สร้างตัวหุ่นขึ้นใหม่ทั้งชุดเพื่อเก็บรักษาเป็นสมบัติของ ตระกูลวงศ์ศิลปินผู้เชิดหุ่นและพากย์บทบรรยายและบทเจรจาได้รับการดูแล อุปถัมภ์อย่างดีในฐานะศิลปินเอกประจำราชสำนัก กษัตริย์บางพระองค์ทรงสนพระทัยในศิลปะและเทคนิคการแสดงของผู้เชิดหนังถึง ขนาดฝึกและออกแสดงด้วยพระองค์เอง แม้ว่าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ชาวมุสลิมเข้ามาปกครองเกาะชวาแล้วก็ตาม แต่ความนิยมละครวายังมิได้เสื่อมลง เพียงแต่ย้ายศูนย์กลางความเจริญไปพร้อมกับการเปลี่ยนที่ตั้งของเมืองหลวงของ ผู้ปกครองมุสลิม และจนกระทั่งทุกวันนี้ละครวายังได้รบการยกย่องว่าเป็นศิลปะสำคัญประจำชาติ ของอินโดนีเซียที่เก่าแก่ที่สุด

2.ชนิดของวายัง




การแสดงเชิดหุ่นเงาหรือวายัง ปูร์วาฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วยหนังสัตว์ จึงเรียกอีกชื่อว่า “วายัง กูลิต” (Wayang Gulit) ซึ่งหมายถึง การเชิดหนังเพราะกูลิตแปลว่าหนังสัตว์ วายัง กูลิตนี้เป็นศิลปะการแสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่นทั้งหมด การแสดงนี้รวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน อาทิ ด้านการประพันธ์บทละคร การดนตรี นาฎกรรม ศิลปกรรม ทั้งยังสะท้อนความลึกซึ้งในเชิงประวัติศาสตร์ การศึกษา ปรัชญาศาสนาความลึกลับและสัญลักษญ์ในการตีความหมาย
นอกจากวายัง กูลิตแล้วยังมีการแสดงวายังในรูปแบบอื่นอีกหลายชนิด ได้แก่
1. วายัง เบเบร์ (Wayang Beber) เป็นการแสดงที่เก่าแก่พอๆกับวายัง กูลิต หรืออาจจะเก่าแก่กว่าด้วยซ้ำ เป็นการแสดงวายังชนิดที่ทดลองแรกสุด เบเบร์แปลว่าคลี่ตัว วิธีแสดงใช้วิธีคลี่ม้วนกระดาษหรือผ้าซึ่งเขียนรูปต่างๆ จากลายสลักบนกำแพงในโบสถ์หรือวิหาร ภาพวาดเหล่นนี้ผ่านตาผู้ชมไปเรื่อยๆเหมือนดูภาพการ์ตูน ปัจจุบันวายัง เบเบร์ไม่ได้รับความนิยมแล้วเพราะเทคนิคการแสดงไม่มีชีวิตชีวาและไม่ดึงูดผู้ชมเท่าวายัง กูลิต
2. วายัง เกอโด๊ก (Wayang Gedog) เป็นการแสดงที่พัฒนามาจากวายัง กูลิต ตัวหุ่นของวายัง เกอโด๊กทำจากหนังสัตว์เช่นกัน นิยมแสดงเรื่องราวของเจ้าชายปันหยี (อิเหนา) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และเรื่องราวของกษัตริย์ชวาภายใต้ อารยธรรมมุสลิมผู้ที่ริเริ่มสร้างสสรค์การแสดงวายัง เกอโด๊ก เป็นนักบุญมุสลิมท่านหนึ่งซึ่งมีชีวิตในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16







3. วายัง โกเล็ก (Wayang Golek) 










พัฒนา มาจากวายัง กูลิต เช่นเดียวกัน หากแต่มีจุดประสงค์เพื่อจัดแสดงได้ในเวลากลางวันโดยไต้องอาศัยความมืดกับ ตะเกียง ตัวหุ่นของวายัง โกเล็กจึงมีลักษณะเป็นหุ่นตุ๊กตา 3 มิติ ทำจากไม้แกะสลัก ส่วนศรีษะของหุ่นทาสีสดใสสวยงาม ลำตัวหุ่นซึ่งทำจากไม้เช่นเดียวกันมีแค่เอว จากเอวลงไปใช้ผ้าบาติกคลุมลงให้ยาวเสมือนสวมเครื่องแต่งกายหรือกระโปรงกรอม เท้า ภายในผ้านี้มีที่จับตัวหุ่น ดังนั้นเวลาเชิดจะไม่เห็นมือผู้เชิด ไหล่และข้อศอกตัวหุ่นขยับได้โดยใช้วิธีเชื่อมกับก้านไม้ยาวๆสำหรับกระตุกให้ เคลื่อนไหวได้ เนื้อเรื่องที่แสดงกล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้กล้าหาญของต้นราชวงศ์ชาว มุสลิมในหมู่เกาะชวา ผู้ที่คิดสร้างวายัง โกเล็ก คนแรกเป็นนักบุญมุสลิมเช่นกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปัจจุบันการแสดงวายัง โกเล็ก ยังคงได้รับความนิยมในภาคกลางและภาคตะวันตกของเกาะชวา






4. วายัง กลิติก (Wayang Klitik) 

หมาย ถึง วายังขนาดเล็กและบาง ตัวหุ่นทำจากไม้แต่มีขนาดเล็กและบางกว่าวายัง โกเล็กมาก ส่วนแขนทำด้วยหนังสัตว์เชื่อมต่อกับส่วนลำตัวให้ดูกลมกลืนกัน ตัวหุ่นสูงประมาณ 10 นิ้ว เวลาเชิดหันด้านข้างเหมือนกับวายัง กูลิต เรื่องราวที่แสดงกล่าวถึงสมัยที่ศูนย์กลางแห่งอารยธรรมฮินดูเสื่อมลงและใน ที่สุดผู้บุกรุกชาวมุสลิมก็เข้ามาครอบครองในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นการแสดงที่มุ่งสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิม
วายัง กลิติก ยังมีอีกรูปแบบหนึ่งคือ เป็นการแสดงหุ่นดีบุกซึ่งตัวขนาดเล็กเท่านิ้วคนตั้งไว้บนโต๊ะกระจกและทำให้ เคลื่อนไหวโดยการใช้แม่เหล็กลากไปใต้กระจก แขนของหุ่นเหล่านี้เคลื่อนไหวได้ วายัง กลิติกชนิดนี้สร้างขึ้นสำหรับเด็ก
5. วายัง มัดยา (Wayang Madya) เป็นการแสดงตามแบบฉบับของอินโดนีเซีย เล่าเรื่องราวของชาวอาหรับและวรรณคดีต่างชาติในเอเชีย รวมทั้งเรื่องราวของบุคลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระศาสดามุฮัมมัด



การแสดงชนิดนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม
นอกจากนี้การแสดงวายังชนิดที่ต้องเชิดตัวหนังและหุ่นแบบต่างๆ ตังกล่าวข้างต้นแล้วยังมีศิลปะการแสดงที่น่าสนใจที่เลียนแบบการเชิดหนังหรือ เชิดหุ่นกระบอกซึ่งใช้คนแสดงจริง ได้แก่


1. วายัง โตเป็ง (Wayang Topeng) เรียกสั้นๆว่า “โตเป็ง” เป็นระบำหน้ากาก ผู้ชายแสดงล้วน หน้ากากแกะสลักจากไม้มีลักษณะหน้าปูดนูนดูผิดธรรมชาติ การแสดงนี้เชื่อว่ามีความเป็นมาจากพิธีกรรมบวงสรวงบูชาภูตผีปีศาจในสมัยโบราณ ลีลาการเต้นคล้ายตัวหุ่นจึงใช้ชื่อว่า “วายัง” คณะแสดงมีจำนวน 10 คน แบ่งเป็นผู้แสดง 6 คน และนักดนตรี 4 คน ควบคุมการแสดงโดยผู้กำกับวงซึ่งเรียกว่า”ดาลัง” เรื่องราวที่นิยมแสดงคือการผจญภัยของเจ้าชายปันหยี กษัตริย์และนักรยที่มีชื่อเสียงของชวาในศตวรรษที่ 12 ส่วนใหญ่เป็นฉากรักและฉากรบ บางโอกาสจะเพิ่มฉากตลกบันเทิงเพื่อให้การแสดงมีรสชาติมากขึ้น แต่การแทรกบทตลกจะต้องไม่ทำให้เนื้อเรื่องหลักเสียหาย เป็นการแสดงที่นิยมในภาคตะวันออกของชวาในบาหลี เป็นที่โปรดปรานทั้งในราชวังและในระดับชาวบ้าน การแสดงชนิดนี้มีข้องบังคับอย่างหนึ่งคือ ถ้าแสดงต่อหน้าพระพักตร์กษัตริย์ ผู้แสดงจะต้องถอดหน้ากากออก ดังนั้นผุ้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติ

ผู้แสดงต้องแสดงบทบาทและอารมณ์มากกว่าปกติ



2. วายัง โอรัง (Watang Orang) แปลว่า "หุ่นที่เป็นมนุษย์" เป็นนาฏศิลป์อินโดนีเซียที่เป็น
แบบฉบับสมบูรณ์โดยมาตราฐานของศิลปะราชสำนัก ได้รับอิทธิพลจากนาฏลีลาของชาวชาวตะวันออกเป็นระบำที่ไม่สวมหน้ากาก นำมาเผยแพร่ในชวาตะวันตกและภาคกลาง แสดงเรื่องราวที่นำมาจากรามายณะและมหาภารตะ วายัง โอรัง จึงกลายเป็นวายัง กูลิต ฉบับที่ใช้คนแสดงแทนการเชิดหนัง ในระยะแรกเครื่องแต่งกายเป็นลักษณะเครื่องแต่งกายทั่วไปในราชวัง ต่อมาในคริสต์

ศตวรรษที่ 19 มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกายให้คล้ายกับที่ปรากฏหุ่นวายัง กูลิต การแสดงที่
พิเศษนั้น ผู้แสดงเป็นเจ้านายและเชื้อพระวงศ์ในราชสำนักทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะที่แท้
จริงของราชสำนักชวา ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักธุรกิจชาวจีนผู้หนึ่งได้จัดตั้งคณะละ
คราวยัง โอรัง ที่มีผู้แสดงเป็นศิลปินอาชีพ และมีลักษณะเป็นธุรกิจ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก จนทุกวันนี้มีคณะละครประเภทนี้ 20 กว่าคณะ ส่วนในราชสำนัก หลังจากที่เศรษฐกิจตกต่ำลงในช่วงสงครามโลกทำให้ไม่สามารถทำนุบำรุงเลี้ยงดู คณะละครในวังได้อีกต่อไป ในที่สุดการแสดงวายัง โอรังก็ต้องถึงแก่การสิ้นสุดลง เหลือแต่คณะละครของศิลปิน
นักธุรกิจเท่านั้น
การแสดงวายงในอินโดนีเซียมีมากมายหลายชนิด หากแต่วายัง กูลิตและวายัง โกเล็กเท่านั้น ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด โดยเฉพาะวายัง กูลิตหรือวายัง ปูร์วา เป็นที่รู้จักแพร่หลายในระดับนานาชาติ ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติและศิลปะการแสดงอันเป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซียก็ว่าได้
3. องค์ประกอบในการแสดง


องค์ประกอบสำคัญของการแสดงวายัง กูลิต มีดังนี้
ตัวหนังหรือตัวหุ่นที่ใช้เชิด
ส่วนใหญ่แล้วตัวหนังวายัง กูลิต ทำจากหนังควาย ตัวหนังที่มีคุณภาพดีที่สุดต้องทำจาก
หนังลูกควาย เพราะสะอาดปราศจากไขมันจะทำให้สีที่ทาติดทนดี วิธีการทำตัวหนังนั้น จะต้องนำหนังลูกควายมาเจียน แล้วฉลุเป็นรูปร่างและลวดลาย ใบหน้าของตัวหนังหนด้านข้าง ลำตัวหัน
ลักษณะเฉียง ส่วนเท้าหันด้านข้างทิศทางเดียวกันกับใบหน้าของตัวหนัง 

Wayang Klitik puppets are made of wood and are carved in low relief. They are painted. The arms are leather. They are moved directly in front of the audience. There is no screen. The origin is unknown and performances are rare these days.

Kresna, who always has a dark face, is the first cousin of the Pandawa brothers, and his judgment and resourcefulness were central to their victory in their war against the Korawas. He is an incarnation of Wisnu. 


Wayang Kancil are shadow puppet performances based on animal stories. They were prohibited by the Dutch in the 1920's to avoid any meetings that could oppose Dutch rule. It was revived in the 1980s and there are now performances in theatres and schools.

The puppets are made of leather. The stem is wood. Some parts move. The height measurement includes the length of the rod. 



Wayang Kulit performances are shadow-puppet performances, which are sacred and form part of many ceremonies in village and family temples.

This ancient form of storytelling featues handcrafted puppets and complex musical styles which originated on the Indonesian island of Java and flourished for more than ten centuries at the royal courts of Java and Bali.

The performances bring together visual art, vocal and instrumental music, drama, literature and dance. There is a screen between the puppeteer and the audience, lit by an oil lamp.

The puppets are made of leather and the stem of buffalo horn. They look great, backlit, perhaps placed against a window.

The Wayang Puppet Theatre was proclaimed a Masterpiece of the Oral and Intangible Heritage of Humanity by Unesco in November 2003.

Many of the stories are from the Indian epic, the Mahabarata, which is the tale of a dispute between the 5 Pandawa brothers and their cousins, the 99 Kurawa brothers (and one sister), which ends in a great 18 day battle, known as the Baratayuda.

Stories are also from the other Indian epic, the Ramayana. 

Background: In the Ramayana epic, Hanuman is Lord of the monkeys, and leads his army against the wicked Rawana, who abducted King Rama's beautiful wife, Sita. After a long and terrible war, he defeats and kills Rawana.

He holds the audience enraptured with his antics and humor and impresses with his devotion to Rama. He is an important Hindu deity.



วายังในพิพิธภัณฑ์ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย








นอกจากจอเชิดหนังตะลุง ในรูป เรายังเห็นเครื่องดนตรี Javanese Gamelan ensemble





ที่ดิฉันจะเอามาเขียนให้อ่านกันอีกว่า Gamelan อ่าน กามีลัน

เป็นเครื่องดนตรีระดับโลกไปนานแล้ว และเป็นวงดนตรีที่แสดงในนามสถาบันระดับมหาวิทยาลัยในอเมริกา หลายๆแห่ง นำวงดนตรี การร้อง การรำและชายหญิงแต่งกายงดงามรายล้อมด้วยเครื่องดนตรีดีด สีตีเป่าครบเครื่อง

ในที่นี้กล่าวว่าการแสดงเป็นเรื่องของศาสนาและวัฒนธรรมของอิสลาม

ที่มาปกครองประเทศอินโดนีเซีย แต่กลับมายอมรับ การแสดง ของมหาภารตะรามายณะของฮินดู

ซึ่งดิฉันเห็นการอยู่ร่วมสังคมประเพณีและความเชื่อ โดยผู้ปกครองแคว้นต่างๆของอินโดเซียในอดีตเห็นการแสดงที่มีความงดงาม ทั้งหุ่นละครไม้ ละครเงา และการแสดงจริง ยังคง อยู่ในการอนุรักษ์ของชาวบ้าน เป็นที่น่าชื่นชม 

Bali Museum has examples of Balinese shadow puppets, which are important to cultural and religious life in Bali. The shadow puppet plays, known as Wayang Kulit,






often incorporate the story of the Ramayana. This story is about a prince named Rama, the heir to the Ayodya kingdom. Rama was very much loved by his people, and while wandering in the forest with his wife Sita, and his younger brother, Laksamana, his wife was kidnapped by King Rahwana of Alengkapura. A great battle followed, between Rahwana 

พระรามที่เป็นเจ้าชายของอาณาจักรอโยธยาที่เป็นที่รักของประชาชนต้องออกไปเดินดง(อยู่ในป่า)กับนางสีดา และน้องชาย
พระลักษมณ์

และมีหนุมานคอยช่วยเหลือ




เหมือนเคยได้ยินนิทานเรื่องนี้ใช่ไหมคะ ตอนเราเป็นเด็กๆ


and Rama, who was supported by a monkey troop, led by 
Hanoman. The battle ended with a Rama victorious.


และกองทัพลิงมาช่วยเหลือ และจบด้วยชัยชนะของพระราม

เรื่องนี้คุณยายของดิฉันเล่าให้ฟังจากนิทานพื้นบ้าน มีหนังสือประกอบด้วยค่ะ








In another puppet play, the Calonarang, a widow named Waluneteng from the village of Girah, under King Erlannga’s rule, is thrust into conflict with Mpu Beradah, a royal priest. Mpu Beradah taught the evil Waluneteng, that practicing black magic is wrong, and this puppet play can be adapted for both public and religious performances.

ก็ยังมีการแสดงอื่นๆที่เป็นความเชื่อของชาวบาหลีเองที่เป็นเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับเวทมนตร์


(ขอบคุณรายละเอียด ภาษาไทย ที่ดึงมาจาก blog ใกล้ๆ 2 ท่าน )










Create Date : 01 กันยายน 2551
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2561 9:58:04 น.
Counter : 10579 Pageviews.

2 comments
  


สวัสดีค่ะ....คิดถึงจังเลยค่ะ

ปอแวะมาเยี่ยม
และมาเสริฟกาแฟแทนคำขอบคุณค่ะ

หวังว่าจะสบายดีนะคะ งุงิ
โดย: Butterflyblog วันที่: 3 กันยายน 2551 เวลา:19:05:13 น.
  
ขอบคุณครับที่ไห้ ข้อมูล
โดย: เกรน IP: 118.173.61.95 วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:00:24 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

SwantiJareeCheri
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



New Comments
กันยายน 2551

 
2
3
5
6
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
21
22
23
24
25
26
27
29
 
 
All Blog