ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
24 ตุลาคม 2551
 

วรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์

วรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์ [๑]



๑. บทนำ

วรรณกรรมถือเป็นงานเขียนที่มีคุณค่าต่อผู้อ่านและสังคมส่วนรวม โดยเรียบเรียงภาษาด้วยชั้นเชิงลีลาทางศิลปะการเขียนขั้นสูง และนำเสนอแนวคิดผ่านรูปแบบที่หลากหลายทั้งสารคดีและบันเทิง วิวัฒนาการของวรรณกรรมปัจจุบันทั้งรูปแบบและเนื้อหามีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ๒๕๔๔: ๕)

จิตร ภูมิศักดิ์ได้ประพันธ์วรรณกรรมขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุการณ์บ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยย่อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางแนวคิดและการสร้างสรรค์ผลงานของจิตร โดยจิตรได้แสดงสภาพการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของการเมืองและสังคม รวมทั้งสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในรูปแบบวรรณกรรม และพร้อมกันนั้นจิตรก็ได้เสนอแง่มุมความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ภายหลังแนวความคิดของจิตรมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อกลุ่มนิสิตนักศึกษาในช่วงปีพ.ศ.๒๕๑๖-๒๕๑๙ และยังคงมีอิทธิพลต่อนักคิดนักเขียนรุ่นต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน

ผลงานของจิตรได้รับการศึกษาอย่างลึกซึ้ง และวิเคราะห์ต่อยอดโดยนักวิชาการสมัยใหม่ และจิตรเป็นนักเขียนไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ผลงานได้รับการยกย่องให้อยู่ในทำเนียบหนังสือที่คนไทยควรอ่าน[๒] มากที่สุดถึง ๓ เล่ม (วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง ๒๕๔๙: ๕๕) นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗ รวมทั้งการจัดตั้งโครงการสรรพนิพนธ์จิตร ภูมิศักดิ์โดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เพื่อรวบรวม ชำระ และเรียบเรียงผลงานของจิตรให้เป็นระบบระเบียบเพื่อความสะดวกในการศึกษาต่อไป


๒. ชีวประวัติของจิตร ภูมิศักดิ์โดยสังเขป

จิตร ภูมิศักดิ์ เดิมชื่อ สมจิตร ภูมิศักดิ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ที่ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรคนที่สองของนายศิริ ภูมิศักดิ์กับนางแสงเงิน ฉายาวงศ์

จิตรจบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีกาญจนานุเคราะห์ โรงเรียนประจำจังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนประจำจังหวัดพระตระบอง[๓] และโรงเรียนวัดเบญจมบพิตรตามลำดับ จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในปีพ.ศ.๒๔๙๓ จิตรสอบผ่านได้เข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ความสามารถของจิตรปรากฏชัดทั้งงานเขียนสารคดี และบันเทิงคดี โดยได้ร่วมทุนกับเพื่อนทำหนังสือ ทรรศนะ ขึ้น และต่อมารับเลือกให้ทำงานตำแหน่งสาราณียกรหนังสือมหาวิทยาลัย ๒๓ ตุลา ฉบับปี ๒๔๙๖ จิตรเขียนบทความเชิงวิพากษ์ศาสนา และกวีนิพนธ์เกี่ยวกับผู้หญิงลงในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยพิจารณาว่ามีเนื้อหาแบบคอมมิวนิสต์ จนทำให้เกิดข้อขัดแย้งขึ้นภายในสถาบัน และถูกจับโยนลงจากเวทีในหอประชุมของมหาวิทยาลัย (เรียกเหตุการณ์นี้ว่า “โยนบก”) ทำให้ต้องพักการเรียนเพื่อรักษาตัว

จิตรสำเร็จการศึกษาเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๐ แล้วทำงานเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนอินทรศึกษา โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และมหาวิทยาลัยศิลปากรตามลำดับ ขณะนั้นได้เรียนต่อระดับปริญญามหาบัณฑิตแต่ไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องจากถูกจับกุมด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์ หากแต่จิตรยังคงค้นคว้า หาความรู้ทางวิชาการ พร้อมทั้งเขียนบทความและกวีนิพนธ์อันมีคุณค่าหลากหลายเล่ม โดยใช้นามแฝงแตกต่างกันไป อาทิ ทีปกร อิฐ ศูลภูวดล ศรีนาคร กวีการเมือง สมชาย ปรีชาเจริญ สุธรรม บุญรุ่ง สมสมัย ศรีศูทรพรรณ

ปีพ.ศ.๒๕๐๘ จิตรเดินทางเข้าป่าเพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ด้วยเห็นว่าน่าจะเป็นหนทางสร้างสังคมที่ดีงาม ทว่าพรรคมิได้ยอมรับจิตรในฐานะสมาชิก และจากนโยบายการกำจัดคอมมิวนิสต์สมัยนั้น ทำให้จิตรถูกฆ่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๙ ที่หมู่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อเสียชีวิตแล้ว จิตรจึงได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์


๓. ประเภทของวรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์

การจำแนกประเภทวรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์มีความสับสน ซับซ้อน และทำได้ยากลำบากยิ่ง กล่าวคือ แม้ว่าจะมีการรวบรวมวรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์อย่างเป็นระบบได้บ้างแล้ว กระนั้นก็ยังคงมีความบกพร่องอยู่หลายประการ ด้วยงานของจิตรบางส่วนสูญหาย บางส่วนกระจัดกระจาย และไม่สามารถสืบหาต้นฉบับจากแหล่งต่างๆได้ครบ อีกทั้งผู้ตีพิมพ์ผลงานมีหลายสำนักพิมพ์และหลายบรรณาธิการ ทำให้หนังสือมีชื่อที่แตกต่างกันออกไป แต่เนื้อหาภายในทั้งหมดหรือหลายส่วนเหมือนกัน โดยเฉพาะผลงานด้านกวีนิพนธ์ ซึ่งการจำแนกประเภทวรรณกรรมของจิตรในครั้งนี้จะใช้เกณฑ์ของรูปแบบ เนื้อหา และการสร้างสรรค์งานเป็นหลัก จึงจำแนกประเภทวรรณกรรมได้ ดังนี้
๓.๑ สารนิพนธ์
๓.๒ งานแปลร้อยแก้ว
๓.๓ กวีนิพนธ์


๓.๑ สารนิพนธ์

จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้ลึกซึ้งถี่ถ้วนและกว้างขวาง (วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง ๒๕๔๙: ๑๖๒) การศึกษาของจิตรเป็นการวิเคราะห์และเชื่อมโยงศาสตร์หลายสาขามาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ละเอียดแยบคาย โดยถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นในรูปแบบของบทความทางวิชาการ บทความวิจารณ์ และบทความกึ่งสารคดีซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการอย่างยิ่ง สารนิพนธ์จะเน้นน้ำหนักของเนื้อหามากกว่าสุนทรียะ อาจจำแนกเป็น ๔ กลุ่มดังนี้

๓.๑.๑ บทความประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ภาษา และวรรณคดี

บทความกลุ่มนี้เน้นการศึกษาที่ยึดโยงความสัมพันธ์ของพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ ความหลากหลายของชาติพันธุ์ รากของกลุ่มภาษาต่างๆ และวรรณคดีที่ปรากฏในแต่ละแห่ง แต่ละสมัย เพื่อแสดงลักษณะทางสังคมของไทยและประเทศใกล้เคียง อันจะนำไปสู่ความเข้าใจกันในภูมิภาค ผลงานกลุ่มนี้มี ๖ เรื่อง คือ

๑) ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ บทความนี้ได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ว่าเป็นงานยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษ (วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง ๒๕๔๙: ๘๘) และยังเป็นหนึ่งในทำเนียบหนังสือดี ๑๐๐ เรื่องที่คนไทยควรอ่าน เนื้อหาอธิบายที่มาของคำบ่งบอกชนชาติในสุวรรณภูมิ โดยนำหลักวิชาการด้านภาษาศาสตร์มาเปรียบเทียบเชิงประวัติ

๒) ข้อเท็จจริง ว่าด้วยชนชาติขอม เป็นภาคผนวกของบทความความเป็นมาฯ เพื่อเพิ่มเติมเสริมความเข้าใจด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของชนชาติ อันมีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับลักษณะสังคมไทยสมัยก่อน

๓) โองการแช่งน้ำ และข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา งานสารนิพนธ์เล่มนี้จิตรใช้วรรณคดีโบราณเรื่องโองการแช่งน้ำเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ในการอธิบายสภาพสังคมก่อนพ.ศ.๑๘๙๓ ซึ่งเป็นปีของการสถาปนากรุงศรีอยุธยาตามเพดานความคิดเดิม (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ๒๕๔๗ก: ๕๘-๕๙)

๔) สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า จากระยะที่จิตรเขียนโองการแช่งน้ำฯขึ้นในพ.ศ.๒๕๐๕ แล้วจึงเขียนสังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฯหลังจากนั้นไม่นาน และเนื้อหาที่สอดคล้องจึงน่าจะเป็นไปได้ว่าจิตรเขียนสังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฯขึ้นเป็นภาคต่อของโองการแช่งน้ำฯ (สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ๒๕๔๗ข: ๖๓)

๕) ศัพท์สันนิษฐานและอักษรวินิจฉัย เป็นหนังสือเล่มเดียวกับ ภาษาและนิรุกติศาสตร์ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการใช้หลักทางนิรุกติศาสตร์ อธิบายและวิเคราะห์ความเป็นมาของภาษา ตัวอักษร และคำศัพท์ต่างๆ เช่น ตำรวจ ขยองเหียร วรำ เป็นต้น

๖) ภาษาละหุหรือมูเซอร์ เป็นพจนานุกรมภาษามูเซอร์เล่มแรกของประเทศไทย หากแต่เป็นงานที่เนื้อหาไม่สมบูรณ์ จิตรใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการรวบรวมคำศัพท์ภาษามูเซอร์จากพ่อลูกเผ่าดังกล่าวที่ถูกจำคุกที่เดียวกับจิตร

เชิงอรรถ

๑ คัดจากรายงานเรื่อง วรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์ ในวิชาค้นคว้าและเขียนรายงาน ของนิสิตชั้นปีที่ ๑ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากมีข้อบกพร่อง สามารถท้วงติงแก้ไขได้
๒ เป็นรายชื่อหนังสือจากโครงการวิจัยเพื่อคัดเลือกและแนะนำหนังสือดีในรอบศตวรรษ งานวิจัยของวิทยากร เชียงกูล ร่วมกับคณะวิจัยอีก ๑๐ คน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยได้คัดเลือกหนังสือจำนวน ๑๐๐ เล่ม ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๐๘-๒๕๑๙ ที่มีการใช้ภาษาดี มีอิทธิพลต่อผู้อ่านในยุคหนึ่งๆ และอ่านได้ทุกยุคสมัย
๓ พระตระบองเคยเป็นส่วนหนึ่งของไทยในสมัยรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ต่อมาคืนดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสในปีพ.ศ. ๒๔๘๙


รายการอ้างอิง

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. วรรณกรรมปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๔๔.
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย. กรุงเทพมหานคร: สำพิมพ์สารคดี, ๒๕๔๙.
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน. ก. “ชนเผ่า ชาติพันธุ์ ดอกไม้หลากสีในแจกันลุ่มเจ้าพระยา.” ศิลปวัฒนธรรม ๒๕, ๑๑ (๒๕๔๗): ๕๘-๕๙
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน. ข. “สังคมไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาฯ: ภาค ๒ ของโองการแช่งน้ำฯ.” ศิลปวัฒนธรรม ๒๕, ๑๒ (๒๕๔๗): ๖๒-๖๓





 

Create Date : 24 ตุลาคม 2551
7 comments
Last Update : 24 ตุลาคม 2551 11:14:40 น.
Counter : 706 Pageviews.

 
 
 
 
เมื่อเยี่ยมบล็อกลูกชายค่ะ.....

เคยได้ยินชื่อ อ.จิตร ภูมิศักดิ์มานานแล้ว เพิ่งได้ทราบชีวประวัติของท่านจากบล็อกนี้นี่เอง

วีรบุรษในโลกนี้หลาย ๆ ท่าน ได้รับการยอมรับก็ต่อเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว น่าเสียดายจริง ๆ
 
 

โดย: Oops! a daisy วันที่: 24 ตุลาคม 2551 เวลา:11:10:20 น.  

 
 
 

นึกถึงเพลงจิตร ภูมิศักดิ์ของน้าๆ วงคาราวาน
ขึ้นมาทันทีค่ะ
."..ชื่อจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักคิดนักเขียน"
 
 

โดย: อุ้มสี วันที่: 24 ตุลาคม 2551 เวลา:14:57:50 น.  

 
 
 
ทำให้จิตรถูกฆ่าโดยเจ้าหน้าที่รัฐในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๙ ที่หมู่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อเสียชีวิตแล้ว จิตรจึงได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
^
^

ไม่เข้าใจ
ตกลงตาย รึไม่ตาย

แบบว่า ไม่ค่อยรู้เรื่องของ จิตรฯ สักเท่าไหร่
 
 

โดย: runch วันที่: 24 ตุลาคม 2551 เวลา:17:22:41 น.  

 
 
 
หวัดดีค่า

เพิ่งจะรู้ประวัติของคุณจิตรโดยละเอียด ขอบคุณที่ทำบล๊อคให้อ่านะคะ เราชอบเพลง "แสงดาวแห่งศรัทธา" ที่คุณจิตรแต่งมากกกกก ชอบเวอร์ชั่นของวงคีตาญชลี เสียงของนักร้องผู้หญิงเพราะเหลือเกิน
 
 

โดย: haiku วันที่: 24 ตุลาคม 2551 เวลา:23:06:52 น.  

 
 
 
ออ เหรอ..

ดาวแห่งศรัทธา จิตรฯแต่งแหรอ

แม่น้องรันชอบเพลงนี้เหมือนกัน ชอบมากด้วย


ว่าแต่ว่า... (กระซิบ)
เห็นเค้าว่า จิตรฯมีเขียนเรื่องเกี่ยวกับจักรๆวงค์ๆด้วยใช่มั้ย
คุณดนย์รู้มั้ยว่าชื่อเรื่องอะไร
 
 

โดย: runch วันที่: 29 ตุลาคม 2551 เวลา:9:33:22 น.  

 
 
 
เธจเธถเธเธฉเธฒเน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เธ‚เธญเธ‡ เธญ.เธˆเธดเธ•เธฃเธกเธฒเธ•เธฅเธญเธ”เธ„เนˆเธฐเธชเธ™เนƒเธˆเธกเธฒเธ
 
 

โดย: เน€เธกเธขเนŒ IP: 125.27.74.235 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:14:11:27 น.  

 
 
 
ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ

เล่มนี้ผมหยิบมาอ่าน เกือบสิบครั้งได้แล้วมั้ง...
แต่ก็ยังไม่เคยอ่านจบสักครั้ง หลับไปเสียก่อน
ถ้าไม่สนใจเรื่องนี้จริงๆ ผมว่าเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านยากมากๆ
แต่เนื้อหาแน่นดี....


 
 

โดย: ผู้ผ่านมา IP: 124.122.98.37 วันที่: 14 กันยายน 2552 เวลา:1:38:32 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ดนย์
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ...Hello...Bonjour à tous, Je m'appelle DON...................พระจากไปใจประชาก็ว้าหวั่น...พระมิ่งขวัญอนันต์คุณการุณชาติ...พระคือพระผู้เมตตาผู้เสริมศาสตร์...พระสถิตย์ในใจราษฎร์นิจนิรันดร์ ......น้อมสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอทรงสถิตย์บนชั้นฟ้า ปวงประชาศรัทธามิรู้ลืม..........................................................“ครู” ประดุจ “เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ “ครู” ควรเทียบฟ้ากระจ่างกว้างไพศาล “ครู” ตักเตือนเมตตา-อภิบาล “ครู” สอนสั่งวิชาการ...วิชาคน“เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ “ครู” ควรเทียบแสงสว่างกลางไพรสณฑ์ เป็นแสงทองส่องชี้ชีวิตคน พระคุณล้นเกินรำพรรณจำนรรจา แม้ไม่มีข้าวตอก- ดอกไม้หอม ประดับพร้อมเป็นพุ่มพานอันหรูหรา แต่ขอนำจิตร้อยถักอักษรา ประณตน้อม “สักกาฯ” พระคุณ “ครู”...................ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์ ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน ครูคือผู้ชี้นำทางความคิด ให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้สร้างงาน ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้สูงสุดกว่าสัตว์ดิรัจฉาน ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์ มีดวงมานเพื่อมวลชนใช่ตนเอง ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง สร้างคนให้ได้เป็นตัวของตัวเอง ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู..................เกิด....เป็นครูต้องดิ้นรนทนต่อสู้ เกิด...เป็นครูในโลกนี้มีหวั่นไหว เกิด...เป็นครูแม้มีจนต้องทนไป เกิด...เป็นครูถึงอย่างไรไม่ถ่ายโอน เกิด...เป็นครูขอยึดมั่นอยู่ที่เดิม เกิด...เป็นครูจะเสริมตัวใช่หัวโขน เกิด...เป็นครูอยู่ศึกษาอย่ามาโยน เกิด...เป็นครูไม่ขอโอนไปไหนเอย..................เกิด....เป็นครูในวันนี้ต้องต่อสู้ เกิด....เป็นครูในวันนี้ไม่หวั่นไหว เกิด....เป็นครูไม่ใช่ต้องทนไป เกิด....เป็นครูมีความคิดได้ใช่ตามกัน เกิด....เป็นครูไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เกิด....เป็นครูมีความรักต่อศิษย์มั่น เกิด....เป็นครูต้องต่อสู้ให้พร้อมกัน เกิด....เป็นครูตั้งมั่นไม่ถ่ายโอน................................สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด..................ยินดีต้อนรับเข้าสู่ don's blog ครับ

[Add ดนย์'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com