ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 ตุลาคม 2551
 

วรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์ ต่อ

วรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์ [๑] (ต่อ)


๓.๑.๒ บทความวิจารณ์ศิลปวัฒนธรรม

จิตรเขียนบทความกลุ่มนี้ในยุคของกบฏสันติภาพ เพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม โดยสะท้อนแนวคิดศิลปะเพื่อชีวิตและการต่อต้านศิลปะเพื่อศิลปะ ความคิดของจิตรในเรื่องนี้มีอิทธิพลต่อความคิดของคนรุ่นต่อมาอย่างมาก ศึกษาจากบทความจำนวน ๖ เรื่อง คือ

๑) ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน เป็นงานเขียนที่จิตรพยายามทลายกรอบความคิดศิลปะเพื่อศิลปะที่กำลังครอบงำวงการศิลปะไทยอยู่ในขณะนั้น

๒) ชีวิตและศิลป จิตรเขียนโดยใช้นามปากกา สมชาย ปรีชาเจริญ เป็นงานเขียนที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับการทำงานได้อย่างทันสมัยล้ำยุค

๓) บทวิพากษ์ ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรม รวมงานเขียนของจิตรในนามปากกา ศิลป์ พิทักษ์ชน ซึ่งเขียนลงคอลัมน์ “ศิลปวิจารณ์” ในมาตุภูมิรายสัปดาห์ ระหว่างปีพ.ศ.๒๔๙๙-๒๕๐๐ เนื้อที่โดดเด่นคือการกล่าวถึงความเป็นกลางของศิลปินในการสร้างสรรค์ผลงานยังมีอยู่หรือไม่

๔) บทวิเคราะห์วรรณกรรมยุคศักดินา หรืออีกชื่อเรียกหนึ่งว่า บทวิเคราะห์มรดกวรรณคดีไทย เป็นหนังสือที่รวบรวมบทวิเคราะห์วรรณกรรมในทัศนะของจิตร เช่น บทบาททางวรรณคดีของพระมหามนตรี โคลงห้า...มรดกทางวรรณคดีไทย เป็นต้น

๕) กวีการเมือง เป็นหนังสืออีกเรื่องที่อยู่ในทำเนียบหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน ภาคแรกเป็นบทกวีของจิตรในนามปากกา กวีการเมือง และภาคหลังเป็นบทความทางความคิดเกี่ยวกับศิลปะจากหนังสือพิมพ์สารเสรี ระหว่างปีพ.ศ.๒๕๐๐-๒๕๐๑

๖) นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา จิตรเขียนในนามปากกา สิทธิ ศรีสยาม เป็นงานวิจัยวรรณคดีเรื่อง นิราศหนองคาย ของนายทิม สุขยางค์ ซึ่งจิตรวิเคราะห์ให้เห็นว่าวรรณคดีสามารถสะท้อนภาพสังคมได้

๓.๑.๓ บทความวิจารณ์สังคม

การศึกษาที่ละเอียดลึกซึ้งในด้านโครงสร้างทางสังคม และประวัติศาสตร์ทำให้จิตรได้ผลิตบทความวิจารณ์สังคมชิ้นสำคัญ คือ โฉมหน้าศักดินาไทย

โฉมหน้าศักดินาไทย จิตรใช้นามปากกา สมสมัย ศรีศูทรพรรณเขียนบทความนี้ ธนาพล อิ๋วสกุล และคณะ (๒๕๔๗: ๑๑๖) ได้กล่าวถึงงานเขียนชิ้นนี้ว่า

“โฉมหน้าศักดินาไทย” ในแง่ขอบเขตของเนื้อหาไม่ต่างจากงานเขียนสกุลดำรงราชานุภาพ ที่ศึกษาสังคมไทยเริ่มจากสุโขทัย จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ แต่ความแตกต่างที่สำคัญคือ ขณะที่งานเขียนสกุลดำรงฯ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระมหากษัตริย์ในฐานะศูนย์กลางของรัฐและสังคมไทย แต่จิตรได้แสดงให้เห็นอีกด้าน คือการดำรงอยู่ของพระองค์ในฐานะศูนย์กลางปัญหาของรัฐและสังคมไทย

นอกจากนี้ โฉมหน้าศักดินาไทยยังเป็นหนังสือที่อยู่ในทำเนียบหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่านอีกด้วย


๓.๑.๔ งานเขียนปกิณกะ

งานเขียนกลุ่มนี้เป็นงานเขียนเชิงสารนิพนธ์ที่เหลือซึ่งไม่เข้าพวกกับกลุ่มข้างต้นมีอยู่ด้วยกัน ๓ เล่ม คือ

๑) ความอบอุ่นอันอ่อนหวาน รวมข้อเขียนหลากหลายรูปแบบของจิตร ทั้งบทกวีแปล จดหมาย บันทึก บทความ บทวิจารณ์ซ้อนวิจารณ์ อาทิ เรื่องสั้นชื่อ “จากพญาฝัน-ถึงทยอยใน”

๒) เสียงเพลงแห่งการต่อต้าน เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความทั่วๆไปที่น่าสนใจของจิตร รวมถึงงานแปลบางชิ้นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักสันติภาพ มาตุภูมิ ความเป็นธรรม และผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ทั้งยังมีบทวิเคราะห์เพลงไทยเดิมที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดเท่าทีมีในเมืองไทย (วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง ๒๕๔๙: ๙๗)

๓) ตำนานแห่งนครวัด จิตรใช้ข้อมูลจากการเดินทางท่องเที่ยวเขมร และความเชี่ยวชาญทางภาษาเขมรมาเขียนประวัติศาสตร์เชิงสารบันเทิงคดีในรูปแบบของนวนิยาย

๓.๒ งานแปลร้อยแก้ว

ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญด้านภาษาอย่างรอบด้าน จิตรจึงมีความสามารถในการแปลและเรียบเรียงถ้อยคำกระบวนความที่สละสลวย โดยแบ่งงานแปลร้อยแก้วของจิตรได้เป็นสองแบบคือ งานแปลสารคดี และงานแปลบันเทิงคดี

๓.๒.๑ งานแปลสารคดี

จิตรมีความสนใจบทความสารคดีที่เกี่ยวข้องกับลัทธิมาร์กซ์เป็นพิเศษ จึงทำให้งานแปลสารคดี ๒ เรื่องของจิตรล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับลักธิมาร์กซ์และคาร์ล มากซ์ นอกจากนั้นยังมีงานแปลว่าด้วยงานศิลปวรรณคดีอีกหนึ่งเรื่อง

๑) ความเรียงว่าด้วยศาสนา แปลจากงานของศาสตราจารย์ยอร์จ ทอมสัน เนื้อเรื่องพยายามลำดับวิวัฒนาการทางศาสนาตามที่มาในประวัติศาสตร์สังคมมนุษย์ และท่าทีของลัทธิมาร์กซ์ต่อศาสนา หนังสือเล่มนี้ถูกสั่งให้เป็น “หนังสือต้องห้าม” เพราะมีความโน้มเอียงไปในทางคอมมิวนิสต์

๒) คาร์ล มากซ์ เป็นเรื่องแปลทางวิชาการจากผลงานของอี. สเตปาโนวา โดยจิตรมีความศรัทธาในตัวคาร์ล มากซ์เจ้าลัทธิมาร์กซ์อย่างมาก ดังที่จิตร ภูมิศักดิ์ (๒๕๑๘: หน้าคำนำ) เขียนยกย่องว่า “...มากซ์ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์อันมีความหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งที่สุด โดยการค้นพบกฎภววิสัยที่ครอบงำพัฒนาการแห่งธรรมชาติ แห่งสังคมและแห่งความคิดมนุษย์ และจากนั้นก็ได้ชี้ถึงแนวทาง ไม่เพียงแต่เพื่อเรียนรู้โลกเท่านั้น หากเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกโดยวิธีปฏิวัติอีกด้วย...” หนังสือนี้ถูกสั่งให้เป็น “หนังสือต้องห้าม” เช่นเดียวกับความเรียงว่าด้วยศาสนา

๓) โจหยาง แปลจากคำปราศรัยของโจหยางที่ได้กล่าวในสมัชชาผู้ปฏิบัติงานศิลปวรรณคดี ครั้งที่ ๓ ที่กรุงปักกิ่ง (ผลงานประพันธ์ของจิตร ภูมิศักดิ์ [ม.ป.ป.])

๓.๒.๒ งานแปลบันเทิงคดี

วรรณกรรมต่างประเทศหลายเรื่องที่ให้คุณค่าทางสังคมถูกถ่ายทอดเป็นภาษาโดยจิตรด้วยภาษาที่คมคาย สละสลวย และรักษาเนื้อความเดิมไว้อย่างไม่บกพร่อง จิตรได้แปลบันเทิงคดีไว้ทั้งสิ้น ๔ เรื่อง คือ

๑) คนขี่เสือ แปลจากนิยายเรื่อง He Who Rides a Tiger ภวานี ภัฏฏาจารย์เป็นผู้ประพันธ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ระหว่างชนชั้นของอินเดีย

๒) โคทาน แปลจากวรรณกรรมชิ้นเอกของเปรม จันท์ นักประพันธ์ชาวอินเดีย โดยจิตรใช้นามปากกา ศรีนาคร ในการแปล แต่ก็แปลไม่เสร็จบริบูรณ์ ภิรมย์ ภูศักดิ์ พี่สาวของจิตรจึงแปลต่อจนสมบูรณ์โดยใช้นามปากกาว่า ศริติ ภูริปัญญา

๓) แม่ แปลจากนวนิยายเรื่อง Mother ของแม็กซิม กอร์กี้ จิตรสังเกตว่าศรีบูรพาซึ่งแปลภาคแรกของเรื่องก่อนหน้านี้มีความผิดพลาดในการแปล จิตรจึงได้แปลใหม่จนจบทั้งสองภาค วรรณกรรมแปลเรื่องนี้ได้กลายเป็นวรรณกรรมแปลชิ้นเอกของจิตร ที่แสดงถึงความรอบรู้และปราดเปรื่องทางภาษาและวรรณศิลป์

๔) ด้วยเลือดและชีวิต แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ The One-Eyed Elephant and the Elephant หนังสือเล่มนี้รวมเรื่องสั้นที่สะท้อนภาพการต่อสู้ของชาวเวียดนามต่อจักรวรรดินิยม และกลายเป็น “หนังสือต้องห้าม” ในเวลาต่อมา วรรณกรรมชิ้นนี้ได้รับคำยกย่องจากนักวิจารณ์ว่าจิตรแปลได้ดีสมเป็น “เอตทัคคะทางภาษา” (วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง ๒๕๔๙: ๙๙)

๓.๓ กวีนิพนธ์

ความสามารถอันโดดเด่นของจิตร ภูมิศักดิ์คือการเป็นกวีที่สร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ทั้งด้านกลวิธีการแต่ง และสำนวนภาษา อีกทั้งนำเสนอแนวคิดแก่สังคมอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา งานกวีนิพนธ์ของจิตรถูกตีพิมพ์หลายครั้งและในแต่ละเล่มได้รวบรวมไว้อย่างสับสนไม่เป็นระบบ จนโครงการสรรพนิพนธ์จิตร ภูมิศักดิ์ ได้จัดทำชุดกวีนิพนธ์เพื่อความเป็นระเบียบมากขึ้น ทั้งนี้จะกล่าวถึงหนังสือรวมบทกวีก่อนการจัดทำโครงการสรรพนิพนธ์ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑) พระเจ้ากำเนิดข้ามาเสรี รวมบทกวีสะท้อนปัญหาการเมือง สังคม และการต่อสู้กับเผด็จการเป็นงานกวีที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อคนหนุ่มสาวและกวีรุ่นหลังยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง

๒) ความใฝ่ฝันอันแสนงาม รวมงานกวีนิพนธ์ บทเพลง และงานแปลระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๙-๒๕๐๙ ถือเป็นงานกวีชุดสมบูรณ์ก่อนมีการจัดโครงการสรรพนิพนธ์

การจัดทำโครงการสรรพนิพนธ์จิตร ภูมิศักดิ์ ชุด กวีนิพนธ์ โดยมีวิชัย นภารัศมีหรือเมือง บ่อยาง บรรณาธิการหนังสือความใฝ่ฝันอันแสนงาม มาเป็นบรรณาธิการของงานชุดนี้ ซึ่งได้จัดกวีนิพนธ์ของจิตรออกเป็น ๓ สามตอนตามพัฒนาการ จึงเกิดเป็นหนังสือชุดกวีนิพนธ์ ๓ เล่ม ได้แก่


๑) ด้นดั้นดุ่มเดี่ยวคนเดียวแด รวมรวบผลงานตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๘๙-๒๔๙๕ ซึ่งจิตรยังคงมีลีลาการประพันธ์ตามแบบบุรพกวี

๒) ถึงร้อยดาวพรายพรายกระจายแสง รวบรวมผลงานตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๙๖-๒๕๐๑ เนื้องานของจิตรในยุคนี้มีความเข้มข้นมากขึ้น และออกห่างจากขนบวิธีเดิมของกวีคนก่อนๆ จนพัฒนากลายเป็นการเปิดโปง และชี้ตระหนักให้เห็นพลังของตัวเอง และการรวมกลุ่มต่อสู้ของประชาชน

๓) คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย รวบรวมผลงานตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๐๑-๒๕๐๙ เป็นผลงานในยุคที่จิตรเข้าป่าเพื่อร่วมงานปฏิวัติ จนกระทั้งเสียชีวิต เนื้อหามีความเข้มข้น แสดงภาพปัญหาของสังคมไทย และปลุกระดมคนไทยให้ร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่สังคมที่ดีขึ้น

เชิงอรรถ

๑ คัดจากรายงานเรื่อง วรรณกรรมจิตร ภูมิศักดิ์ ในวิชาค้นคว้าและเขียนรายงาน ของนิสิตชั้นปีที่ ๑ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หากมีข้อบกพร่อง สามารถท้วงติงแก้ไขได้

รายการอ้างอิง

ธนาพล อิ๋วสกุลและคณะ. “ชีวิตและงานจิตร ภูมิศักดิ์.” ศิลปวัฒนธรรม ๒๕, ๗ (๒๕๔๗): ๑๐๓-๑๑๙
“ผลงานประพันธ์ของจิตร ภูมิศักดิ์.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: //www.geocities.com/thaifreeman/jit/pumisak3.html [ม.ป.ป.]. สืบค้น ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๑.
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. จิตร ภูมิศักดิ์ คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย. กรุงเทพมหานคร: สำพิมพ์สารคดี, ๒๕๔๙.
สเตปาโนวา, อี. คาร์ล มากซ์. แปลโดย จิตร ภูมิศักดิ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาราษฎร์, ๒๕๑๘.
















 

Create Date : 31 ตุลาคม 2551
6 comments
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2551 23:03:54 น.
Counter : 2324 Pageviews.

 
 
 
 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาอ่านต่อ
 
 

โดย: อุ้มสี วันที่: 31 ตุลาคม 2551 เวลา:12:47:33 น.  

 
 
 
ได้ความรู้มากเลยคะ
 
 

โดย: หวาน (Phumpanit ) วันที่: 31 ตุลาคม 2551 เวลา:13:01:18 น.  

 
 
 
เป็นคนเก่งที่เกิดผิดยุคผิดสมัยไปจริง ๆ
 
 

โดย: Oops! a daisy วันที่: 31 ตุลาคม 2551 เวลา:15:37:24 น.  

 
 
 

เสียดายมากๆ เลยล่ะ
ที่มี CONCERT บทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ไม่ได้ทราบข่าวเลย
ที่หอประชุม ม.มหิดล
เสียดายมากๆๆๆ
 
 

โดย: อุ้มสี วันที่: 3 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:32:52 น.  

 
 
 
ขอบคุณที่แวะไปเยียมบล้อกค่ะ

ไม่แน่ใจว่าจะมีเวลาไหม กำลังยุ่งเรื่องงาน ๆ เยอะค่ะ
 
 

โดย: tiki_ทิกิ unlogged in IP: 125.25.13.107 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:1:16:40 น.  

 
 
 


วรรณกรรมดีดี ของจิตร ภูมิศักดิ์ ผมไม่เคยอ่านครับ

มักอ่านและฟังแต่เรื่องข่าวชาวบ้าน

รายการของคณะอักษร วางโปรแกรมไว้น่าสนใจนะครับ แต่อาจจะไปชมไม่ได้ เพราะหาเวลาว่างยาก

ช่วงนี้ ไม่ค่อยจะได้ออกกำลังกายเลย นอนก็ดึก อยากจะเอาเวลาที่พอมีว่าง ไปออกกำลังกายให้ตัวเองมีเหงื่อครับ

 
 

โดย: yyswim วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:0:16:49 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ดนย์
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สวัสดีครับ...Hello...Bonjour à tous, Je m'appelle DON...................พระจากไปใจประชาก็ว้าหวั่น...พระมิ่งขวัญอนันต์คุณการุณชาติ...พระคือพระผู้เมตตาผู้เสริมศาสตร์...พระสถิตย์ในใจราษฎร์นิจนิรันดร์ ......น้อมสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระโสทรเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอทรงสถิตย์บนชั้นฟ้า ปวงประชาศรัทธามิรู้ลืม..........................................................“ครู” ประดุจ “เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ “ครู” ควรเทียบฟ้ากระจ่างกว้างไพศาล “ครู” ตักเตือนเมตตา-อภิบาล “ครู” สอนสั่งวิชาการ...วิชาคน“เรือจ้าง” ใครช่างเปรียบ “ครู” ควรเทียบแสงสว่างกลางไพรสณฑ์ เป็นแสงทองส่องชี้ชีวิตคน พระคุณล้นเกินรำพรรณจำนรรจา แม้ไม่มีข้าวตอก- ดอกไม้หอม ประดับพร้อมเป็นพุ่มพานอันหรูหรา แต่ขอนำจิตร้อยถักอักษรา ประณตน้อม “สักกาฯ” พระคุณ “ครู”...................ใครคือครู ครูคือใคร ในวันนี้ ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์ ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน ครูคือผู้ชี้นำทางความคิด ให้รู้ถูกรู้ผิดคิดอ่านเขียน ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้สร้างงาน ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้สูงสุดกว่าสัตว์ดิรัจฉาน ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์ มีดวงมานเพื่อมวลชนใช่ตนเอง ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ใหญ่ยิ่ง สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง สร้างคนให้ได้เป็นตัวของตัวเอง ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู..................เกิด....เป็นครูต้องดิ้นรนทนต่อสู้ เกิด...เป็นครูในโลกนี้มีหวั่นไหว เกิด...เป็นครูแม้มีจนต้องทนไป เกิด...เป็นครูถึงอย่างไรไม่ถ่ายโอน เกิด...เป็นครูขอยึดมั่นอยู่ที่เดิม เกิด...เป็นครูจะเสริมตัวใช่หัวโขน เกิด...เป็นครูอยู่ศึกษาอย่ามาโยน เกิด...เป็นครูไม่ขอโอนไปไหนเอย..................เกิด....เป็นครูในวันนี้ต้องต่อสู้ เกิด....เป็นครูในวันนี้ไม่หวั่นไหว เกิด....เป็นครูไม่ใช่ต้องทนไป เกิด....เป็นครูมีความคิดได้ใช่ตามกัน เกิด....เป็นครูไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค เกิด....เป็นครูมีความรักต่อศิษย์มั่น เกิด....เป็นครูต้องต่อสู้ให้พร้อมกัน เกิด....เป็นครูตั้งมั่นไม่ถ่ายโอน................................สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด..................ยินดีต้อนรับเข้าสู่ don's blog ครับ

[Add ดนย์'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com