Derivatives THAI & Overseas Trading Group //// " THAI TRADER CLUB "

<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
11 กันยายน 2553
 

--------วันหยุด เจอแล้วทำไมจึงซึม---------

ตอนแรกตั้งใจเขียนเรื่อง กราฟเปรียบเทียบ ว่าเมกากำลังจะเป็นเช่นไร  แต่พอไปค้นหา การส่งออกนำเข้าของเมกาเป้นเช่นนี้


  ขาดดุลมาตั้งแต่ปีมะโว้ 



จากปี 1992  ก็ขาดดุลการค้ามาตลอด จนมา 2008 ก็เด้งขึ้นมาขาดน้อย -20 กว่าๆ(พันล้าน)ราวปลายปี 2008

เจออีกเวบหนึ่ง  บอกการเจริญเติบโต ของเมกาเอง ว่าทั้งส่งออกและนำเข้าใหญ่โตขึ้นเป็นลำดับ


จากตรงที่การขาดดุลลดลง  นึกในใจว่า ตรงนั้นค่าดอลล่าร์อ่อนไหมนะ (ถ้าอ่อน แสดงว่าการส่งออกจะดี จึงทำให้ขาดดุลลดลง ตามหลักการเดี๋ยวนี้ที่พยายามทำค่าเงินอ่อน มากกว่าอยากให้เงินแข็ง เช่นตอนต้มยำกุ้งเราฟื้นไว เพราะ บาท อ่อนมาก )


         ก็เลยไปหาค่าดอลล่าร์ย้อนหลังมาดูก็พบดอล่าร์อ่อนแถวๆๆ 2008



และจากการกระตุ้นเศรษฐกิจมา หนึ่งปีจบไปแล้ว การขาดดุลของเมกา ยังไม่แน่ว่าจะหยุดลงได้หรือยัง จึงเป็นที่มาของการซึม


              เพราะถ้าไม่มีรายได้จากนอกประเทศแบบนี้ รัฐบาลเหลือเส้นทางหารายได้อีกทางเดียว คือการเก็บภาษี 


แสดงว่าประเทศเมกา ประชาชน โดนภาษีกันอ่วมอรทัยมานานแล้ว เพราะเมกา ขาดดุลการค้ามานานแล้วนั่นเอง


คิดว่าจะจบ การเขียนแล้วนะ แต่เจอเวบที่บอก รายได้ของประชาชน ชาวเมกา เลยเปิดไปดู


//www.bea.gov/


U.S. Department of Commerce
Bureau of Economic Analysis


หัวข้อ รายได้ส่วนบุคคล ( PERSONAL INCOME)


ตารางแรก income= รายได้ / Disposable personal income=รายได้ชั่วคราวหรือรายได้เสริม/ Personal consumption expenditures= รายจ่ายส่วนบุคคล




เมื่อการจ้างงานชั่วคราวยังไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ จากหมดปี ที่พยายามแก้หลายๆๆอย่างแล้ว ตอนนี้ยังรอการแก้ไขด้วยโครงการใหม่ต่อไป นอกจากที่บอกมาแล้วว่าจะเปิดประมูลพันธบัตรอีกหลายแสนล้านเหรียญดอลล่าร์ไปเป็นระยะ ระยะ (จะไม่ใช้วิธีพิมพ์ดอลล่าร์ออกมาอัดฉีดอีก ) อันนี้แหละที่จะดูดเงินออกจากระบบ ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด ถ้าเงินที่ได้ไป ไม่อัดฉีดออกมาสู่ระบบไวไว และจาก การศึกษาย้อนหลังค่าเงินอ่อน และการขาดดุลจะลดส่งออกจะดี นั่นหมายความว่า เมกา สามารถ ปล่อยค่าเงินให้อ่อนลงไปได้อีกจะยิ่งดีสำหรับเขา หรือทางตรงข้าม เอเซียเราจะต้องเฝ้าดูค่าดอลล่าร์ เพราะ ค่าเงินเอเซียแข็งจนเริ่มเป็นวิกฤตต่อการส่งออกแล้วนั่นเอง




Create Date : 11 กันยายน 2553
Last Update : 11 กันยายน 2553 9:42:04 น. 5 comments
Counter : 2446 Pageviews.  
 
 
 
 
ตอนนี้เค้าเริ่มยกเลิกการยกเว้นภาษีให้กลุ่มคนที่มีรายได้สูง
เพื่อรัฐจะได้เก็บรายได้ภาษีให้มากขึ้น
 
 

โดย: jejeeppe วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:14:24:33 น.  

 
 
 
โห

แก้ปัญหาอย่างไรกันเนี่ย
 
 

โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:15:43:58 น.  

 
 
 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
 
 

โดย: ml IP: 115.128.38.237 วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:18:07:19 น.  

 
 
 
usaขาดดุลมานานแล้วครับ (ถ้าย้อนจริงๆมันนานกว่าตอนผมเกิดด้วยครับ)

อันนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่งคิดมา (จำไม่ได้ว่าชื่ออะไรครับ)

เป็นเรื่องว่าด้วยความได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศครับ

ประเทศใหญ่มักจะขาดดุลเสมอๆ โดยเราจะต้องเจาะลงไปดูสินค้าออกและนำเข้าของประเทศลึกๆครับ (อเมริกาเน้นบริการ+สินค้าบันเทิงนะเธอ)
 
 

โดย: นักสืบจิ๋ว IP: 192.168.11.16, 58.8.149.126 วันที่: 11 กันยายน 2553 เวลา:22:55:29 น.  

 
 
 

balance= สมดุล= การได้เปรียบกับเสียเปรียบเสมอกัน
การขาดดุล = การที่นำเข้ามีมูลค่ามากกว่าส่งออก =เงินไหลออก ต้องจ่ายนั่นเอง = การเสียเปรียบการค้าระหว่างประเทศ
เคยทราบมาเรื่องหนึ่ง ประเทศอิสราเอล มีแต่ทะเลทราย ต้องการพืชผักผลไม้สด จึงใช้วิธี มาซื้อสดเองจากในประเทศเรา และจากการที่เกษตรกรของเราด้อยความรู้ เขาจึงต้องลงไปช่วยให้พันธุ์ที่เขาต้องการ แก่เกษตรกร และช่วยสอนการดูแล บำรุงรักษา จนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ แต่ ราคาตลาดดีกว่าราคาที่เขาจะให้ เกษตรกรเลยไปขาย พ่อค้าหมด
เขาจึงต้องพัฒนาการช่วยให้มีการทำสัญญา ประกันราคาขั้นต่ำไว้ แรกๆก้ไม่ได้ผล
จนถึงคราวมีผลผลิตเสียหายจาก น้ำท่วม น้ำแล้ง คนที่ทำสัญญากับเขาไม่ขาดทุน จึงมีคนเข้ากลุ่มเขามากขึ้น

ในรูปแบบการนำเข้าจนขาดดุลแบบนี้ ผมเชื่อว่าจำเป็นเพราะ คงดีกว่าการลงทุนปลูกเอง หรือ พื้นที่ไม่พอให้ปลูก

ส่วนเหตุผลทั่วไป อยากได้คำอธิบายขาดดุลการค้า จะได้เปรียบเช่นไร
 
 

โดย: หมอสัจจะ วันที่: 12 กันยายน 2553 เวลา:5:36:25 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หมอสัจจะ
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 185 คน [?]




[Add หมอสัจจะ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com