คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
21 ตุลาคม 2557
 

‘หล่อโลหะแบบสเลอรี่’นักเทคโนโลยีดีเด่นจาก มอ.

ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและย้ำการนำไปใช้ได้จริง

กับเวลามากกว่า 11 ปี ที่ “รศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์” นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ และอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ทุ่มเทในการพัฒนา เทคโนโลยีการหล่อโลหะแบบสเลอรี่ เพื่อแก้ปัญหา ให้กับอุตสาหกรรมโลหะของประเทศไทย

รศ.ดร.เจษฎา บอกว่า ความต้องการชิ้นส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งด้านยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงของเล่นต่าง ๆ ซึ่งกรรมวิธีในการผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้ส่วนใหญ่จะใช้การหล่อน้ำโลหะที่ อุณหภูมิสูง แม้กรรมวิธีนี้จะสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากแต่ก็มีข้อเสียคือ แม่พิมพ์มีราคาสูงและอายุการใช้งานจำกัด ใช้เวลาในการผลิตชิ้นงานนานสิ้นเปลืองพลังงานมากและชิ้นงานเป็นโพรงอากาศได้ ง่าย ขณะเดียวกันแม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีการหล่อแบบกึ่งของแข็งขึ้นมาแก้ปัญหา แต่ยังไม่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายเพราะต้องมีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เดิม

รศ.ดร.เจษฎา บอกว่า ตนเองซึ่งได้ไปศึกษาด้านการหล่อโลหะในต่างประเทศ และเรียนรู้วิธีการที่จะทำให้โลหะซึ่งเป็นของแข็งกลายสภาพเป็นสเลอรี่หรือ ของเหลวที่คล้ายกับวุ้นได้ เมื่อกลับมาจึงคิดที่จะนำมาปรับใช้ช่วยแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรม

โดย เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นนี้เรียกว่า “การหล่อโลหะแบบสเลอรี่” (Slurry Metal Casting Technology) ซึ่งสเลอรี่ หมายถึงสถานะที่ประกอบไปด้วยน้ำโลหะเป็นส่วนใหญ่ และมีอนุภาคของแข็งที่ละเอียดมากในปริมาณไม่เกิน 10 % (โดยปริมาตร) ทำให้สามารถไหลได้ดีในแม่พิมพ์ ใช้ความร้อนที่น้อยลง ผลิตชิ้นงานได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ได้เครื่องจักรและแม่พิมพ์เดิม ช่วยยืดอายุแม่พิมพ์ และลดปัญหาเรื่องการเกิดโพรงอากาศในชิ้นงานได้เรียกว่าขจัดข้อจำกัดในกระบวน การผลิตแบบเดิม ๆ แถมเพิ่มคุณภาพ ซึ่งช่วยลดต้นทุนให้กับโรงงานได้มากกว่า 10%

ปัจจุบันผลงานวิจัยมีการต่อยอดนำไปใช้จริง โดยถ่ายทอดสิทธิให้กับบริษัทกิสโค จำกัด นำไปผลิตเป็นเครื่องจักรจำหน่ายใช้งานแล้วทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้งานเพื่อสาธารณประโยชน์ เช่นร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) กองทัพเรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีในการผลิตเรือเกราะกันกระสุน และร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มอ.พัฒนาและผลิตขาเทียมใต้เข่าที่มีน้ำหนักเบา คุณภาพสูง เบื้องต้นผ่านการทดสอบ และได้บริจาคให้กับผู้พิการได้ใช้งานจริงแล้ว

ล่าสุด จากความมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รศ.ดร.เจษฎา ได้รับรางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น ประเภทบุคคล ประจำปี 2557” จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์

รศ.ดร.เจษฎา ย้ำว่า การก้าวกระโดดขึ้นเป็นผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือการพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของทิศทางการเคลื่อนไหวในตลาดโลก ที่จะนำเทคโนโลยีไทยไปใช้ในเชิงพาณิชย์

ผลงานวิจัยนี้ สร้างความภาคภูมิใจให้เจ้าของ เพราะแม้แต่เกาหลี ที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ก็ได้ซื้อผลงานของคนไทยไปใช้งาน!!.

นาตยา คชินทร
nattayap.k@gmail.com

แหล่งที่มาของบทความและภาพประกอบ : เดลินิวส์ออนไลน์

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 21 ตุลาคม 2557
Last Update : 21 ตุลาคม 2557 11:24:32 น. 0 comments
Counter : 589 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com