คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
9 กันยายน 2557
 

ม.เกษตรฯติดตั้งเครื่องเตือนภัย ให้กับจังหวัดที่ถูกอุทกภัยต่อเนื่อง

รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ หน่วยวิจัยดินถล่ม ศูนย์วิจัยวิศวกรรมปฐพีและฐานราก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ พัฒนาระบบเตือนภัยน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มรวมทั้งศูนย์อพยพยามเกิดภัย พิบัติ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก เปิดเผยถึงการที่ได้ไปช่วยเหลือ บรรเทาความทุกข์ยากเบื้องต้น ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เกิดเหตุการณ์น้ำ ป่าไหลหลากและดินถล่มในจังหวัดน่าน ระหว่างช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2557 ใน พื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ทุ่งช้าง บ่อเกลือ และ ปัว ซึ่งมีผู้สูญ หาย 1 คน และทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยและความ ไม่มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อการอยู่อาศัยในอนาคต ว่า ทางศูนย์วิจัยได้ เข้ามาช่วยเป็นผู้ดำเนินการวางแผนและติดตั้งระบบเตือนภัยน้ำป่าไหลหลากและ ดินโคลนถล่มให้แล้ว ทั้งนี้พื้นที่ จ.น่านนั้นเป็นพื้นที่ประสบภัยซ้ำ ซ้อน คือมีภัยธรรมชาติหลายรูปแบบเรียงลำดับตามความถี่การเกิดตั้งแต่น้ำป่า ไหลหลาก ดินถล่มตามไหล่เขา ดินโคลนไหลถล่ม และแผ่นดินไหว โดยเฉพาะภัยแผ่น ดินไหวนั้น จ.น่านเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์ เมื่อปี พ.ศ . 2478 ซึ่งถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดสูงที่สุดที่มีจุดศูนย์กลางใน ประเทศไทย ทำให้การก่อสร้างอาคารต่างๆต้องให้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง สำหรับภัยน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มนั้นเป็นภัยที่เกิดขึ้นได้ง่ายใน พื้นที่นี้เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่แอ่งยุบตัวกลางพื้นที่ จังหวัด และอิทธิพลของรอยเลื่อนปัวที่วางตัวในแนวเหนือใต้ทำให้เกิดเทือกเขา สูงชัน ส่งผลให้การไหลของน้ำจากเทือกเขาลงสู่ที่ราบมีปริมาณและความเร็ว สูง นอกจากนั้นเนื่องจากพื้นที่ของเทือกเขาส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แผ้วถางเพาะ ปลูกยิ่งทำให้การไหลของน้ำยิ่งเร็วและแรงมากขึ้น

สำหรับระบบเตือนภัยน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มที่นำมาใช้ในพื้นที่เป็นระบบ ที่ได้พัฒนาและถูกนำไปใช้ในหลายพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น พื้นที่ จ.กระบี่ จันทบุรี อุตรดิตถ์ เป็นต้น โดยได้ถูกนำไปใช้ทั้งในงาน วิจัยเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมและใช้ในการเตือนภัยจริงโดยกรมทรัพยากรธรณี ระบบการเตือนภัยแบบเต็มรูปแบบจะเป็นการเตือนภัยแบบหลายทาง ทั้งจากส่วนกลาง และจากชุมชน ในกรณีที่ อ.ทุ่งช้างนี้จะเน้นการเตือนภัยภายในชุมชนเป็น หลัก เนื่องจากลักษณะของน้ำป่าที่มีความเร็วสูงทำให้การเตือนภัยจากส่วนกลาง ไม่ทันการณ์ การเตือนภัยจะกระทำโดยการวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ต้นน้ำและการ ตรวจจับการไหลของมวลน้ำหลากและดินโคลนตามร่องน้ำ สัญญาณข้อมูลจะถูกส่งโดย สัญญาณวิทยุเพื่อลดโอกาสในการตัดขาดหากใช้สัญญาณโทรศัพท์ และส่งสัญญาณเข้า กล่องเตือนภัยประจำบ้านที่กระจายอยู่ในกลุ่มบ้านต่างๆ เพื่อลดเวลาในการ กระจายข่าวและสามารถได้ยินเสียงเตือนภัยได้แม้ฝนตกหนัก

แหล่งที่มาของบทความและภาพประกอบ : หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 8 กันยายน 2557 06:00:00 น.

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 09 กันยายน 2557
Last Update : 9 กันยายน 2557 15:38:53 น. 0 comments
Counter : 408 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com