คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
9 กันยายน 2557
 

'Ground-สายดิน ช่วยชีวิต'

ผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมไฟฟ้า มจธ. แนะการป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าได้ที่ดีที่สุดจะต้องติดตั้ง "สายดิน" และทำอย่างถูกหลักวิชาด้วยช่างไฟฟ้าเท่านั้น รวมถึงการใช้ "ปลั๊กไฟ" ควรเลือกปลั๊กไฟมาตรฐานที่ทำให้การเชื่อมต่อมีผลถึงสายดินเพื่อความปลอดภัย ต่อชีวิตและทรัพย์สินแต่ยอมรับว่าประเทศไทยยังขาดการกำหนดแบบมาตรฐานปลั๊กไฟ ทั้งเต้ารับและเต้าเสียบ

บ่อยครั้งที่มักได้ยินข่าวเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าที่รั่ว มากับเครื่องใช้ต่างๆ จนกระทั่งหลายครั้งมีอันตรายถึงชีวิตแต่หลังจากเกิดเหตุการณ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการย้อนกลับไปควบคุมการติดตั้งให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่แรกเริ่ม

อาจารย์ยุทธศักดิ์ รุ่งเรืองพลางกูร จากภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกก้าวล้ำไปไกลมากซึ่งล้วนแต่ต้องใช้ไฟฟ้า ทั้งสิ้น แต่หากใช้งานไม่ถูกวิธีหรือมีการติดตั้งที่ไม่เหมาะสมสิ่งเหล่านี้อาจ เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าที่มีประโยชน์ให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน

"เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่างๆ ปัจจุบันได้มีการผลิตอุปกรณ์ตัดกระแสไฟฟ้าออกจำหน่ายหรือชื่อทางเทคนิคเรียก ว่า earth leakage circuit breaker เป็นเครื่องตัดตอนกระแสไฟฟ้าเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลงดินเกินที่กำหนด อุปกรณ์นี้จะตัดไฟทันทีก่อนที่จะผู้ใช้งานจะได้รับอันตรายแต่สิ่งสำคัญ อันดับหนึ่งในการป้องกันไม่ใช่อุปกรณ์ที่ว่านี้แต่เป็นสายดินหรือ ground ที่ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวแต่แท้จริงแล้วมีความสำคัญอันดับแรกต่อการ ใช้ชีวิตประจำวันเลยทีเดียว"

อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า มีหลายกรณีที่เกิดเหตุการณ์คนโดนไฟช็อตนั่นเป็นเพราะว่ามีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ตัวคนเกินพิกัดจึงทำให้เสียชีวิตจากกฎของกระแสไฟฟ้าจะมีการไหลเมื่อเกิดความ ต่างศักย์ ยกตัวอย่างเช่นคนที่กำลังใช้เครื่องซักผ้าซึ่งมีโครงเป็นโลหะนำไฟฟ้าและ บังเอิญเกิดมีสายไฟที่มีไฟหรือเรียกว่าสายไลน์ (line) ไปสัมผัสโดนโครงโลหะโดยไม่ตั้งใจกระแสไฟฟ้าจะไหลจากเครื่องซักผ้าซึ่งมี ศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าผ่านตัวคนที่กำลังสัมผัสกับเครื่องซักผ้าอยู่ได้ เนื่องจากคนมีศักย์เป็นศูนย์เพราะยืนและสัมผัสกับพื้นดินเมื่อมีศักย์ไฟฟ้า ต่างกันกระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวคนทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกรณี ข่าวเด็กเสียชีวิตจากไฟช็อตขณะสัมผัสกับตู้เอทีเอ็ม

แต่เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นหากมีการติดตั้ง "สายดิน" ซึ่งคำว่าสายดินนั้นก็คือสายไฟที่ต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าของทั้งบ้านคอนโดฯ อาคารสำนักงาน และอื่นๆ ที่มีการใช้ไฟฟ้า โดยมีการเชื่อมต่อเข้ากับ ground rod หรือแท่งทองแดงหรือเหล็กห่อหุ้มด้วยทองแดงและต้องฝังให้ลึกลงไปใต้ดินให้ อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานการติดตั้งซึ่งประโยชน์ของการติดตั้งสายดิน คือเป็นการรับประกันได้ว่าเครื่องใช้นั้นจะมีศักย์เท่ากับดินคือเป็นศูนย์ ไม่ว่าไฟจะรั่วในสถานการณ์ใดๆ ก็ตามถ้ามีสายดินกระแสไฟฟ้าจะไหลลงดินทันทีและบังคับให้เครื่องใช้ต่างๆ นั้นมีศักย์เป็นศูนย์จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานเมื่อมีการสัมผัส

ทั้งนี้ อ.ยุทธศักดิ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายประเภทที่ผู้ผลิตเลือกใช้ วัสดุที่ไม่ใช่ตัวนำไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้เช่นพลาสติกแต่ก็มีบาง ประเภทที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่นเครื่องซักผ้า ตู้เย็น และเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนั้นการติดตั้งสายดินจึงต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ติดตั้งให้ถูกหลัก วิชาการ มีการเชื่อมต่อที่เหมาะสมและมีความต้านทานต่ำ เพราะหากติดตั้งไม่ถูกวิธีอาจส่งผลเสียต่อผู้ใช้งานแทนได้

"ทางที่ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตจึงควรติดตั้งสายดินให้ถูกต้อง ตามหลักวิชาการ ซึ่งปัจจุบันการไฟฟ้านครหลวงและภูมิภาคได้มีการบังคับให้มีการติดตั้งสายดิน แล้วทุกบ้าน เพราะถือเป็นเครื่องป้องกันอันดับหนึ่งโดยเฉพาะบ้านใหม่ต้องได้รับการตรวจ สอบก่อนว่าความต้านทานของสายดินได้มาตรฐานเพียงพอแล้วการไฟฟ้าจึงจะอนุมัติ ให้ติดมิเตอร์ไฟฟ้าได้ ส่วนบ้านเก่าที่สร้างมานานส่วนใหญ่อาจยังไม่มีการต่อสายดินก็สมควรที่จะปรับ เปลี่ยนโดยช่างไฟฟ้ามืออาชีพไม่ควรทำเองเช่นการตอกตะปูลงดินนั้นไม่ถูกต้อง เป็นความเชื่อที่ผิดหลักการและไม่ปลอดภัย นอกจากนั้นสิ่งที่ประเทศไทยยังขาดคือการกำหนดแบบมาตรฐานของปลั๊กไฟที่เป็น ของไทยเราเอง ซึ่งปลั๊กไฟที่เป็นมาตรฐานเดียวกันคือการมีเต้าเสียบและเต้ารับของปลั๊กไฟ ที่เข้ากันได้โดยสมบูรณ์ทั้งหมด ที่สำคัญคือ จะทำให้การเชื่อมกับสายดินเกิดผลโดยสมบูรณ์นั่นเอง แต่ปัญหาคือปลั๊กที่ใช้กันอยู่ในบ้านเรานั้นจะเห็นว่ามีรูปลักษณะที่หลาก หลายมีทั้ง 2 ขา 3 ขา ทั้งขาแบนและขากลม ซึ่งเป็นมาตรฐานจากต่างประเทศเอาเข้ามาใช้ ขณะที่ไทยไม่มีการกำหนดแบบมาตรฐานของประเทศแม้จะสะดวกต่อการใช้งานแต่ก็ทำ ให้ความปลอดภัยลดลง"

แหล่งที่มาของบทความและภาพประกอบ : //www.banmuang.co.th

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 09 กันยายน 2557
Last Update : 9 กันยายน 2557 15:12:16 น. 0 comments
Counter : 770 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com