คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

 
สิงหาคม 2557
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
22 สิงหาคม 2557
 

ข้อสังเกต-หลีกเลี่ยงสถานที่ก่อสร้างเสี่ยงอันตราย

รองศาสตราจารย์ ดร. อมร พิมานมาศ รองเลขาธิการสภาวิศวกร และนักวิจัยโครงการการเสริมกำลังโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยวิธีการพ่น วัสดุโพลีเมอร์เสริมเส้นใย ภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายวิชาการ สกว. เปิดเผยถึงข้อสังเกตสถานที่ก่อสร้างที่อาจเสี่ยงต่ออาคารถล่มและควรหลีก เลี่ยง 7 ประการ ซึ่งประชาชนสามารถสังเกตได้ คือ

1. ให้ดูโครงสร้างที่กำลังก่อสร้าง หากพบว่ามีขนาดเล็กผิดปกติ เช่น เสามีขนาดเล็ก หรือแผ่นพื้นที่วางบนเสาบางเกินไป เป็นโครงสร้างที่เสี่ยงต่อการถล่ม หากรับน้ำหนักมาก ๆ ในระหว่างการก่อสร้าง เสาอาจหัก หรือพื้นอาจเจาะทะลุผ่านเสาลงมากระแทกพื้นชั้นล่าง แล้วทำให้เกิดการวิบัติที่ลามเป็นลูกโซ่ตามมา ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายมาก

2. โครงสร้างในบริเวณที่พื้นยึดกับเสา โดยเฉพาะเสาต้นมุม และเสาต้นริมที่อยู่ตามแนวขอบอาคาร หากสังเกตเห็นพื้นไม่อมเสาทั้งต้น แต่มีจุดที่สัมผัสกันเพียงเล็กน้อย โดยจะเห็นคล้ายกับเสาลอยแยกออกมาจากพื้น เป็นโครงสร้างที่เสี่ยง เพราะพื้นอาจหลุดออกจากเสาได้ง่าย ๆ แล้วทำให้เกิดการพังถล่มของโครงสร้างได้

3. สถานที่ก่อสร้าง หากไม่ติดแผ่นป้ายประกาศแจ้งการก่อสร้าง ณ สถานที่ก่อสร้าง ไม่ระบุชื่อเจ้าของโครงการ ชื่อวิศวกรผู้ออกแบบ ชื่อวิศวกรผู้ควบคุมงาน ลักษณะโครงสร้างที่กำลังก่อสร้าง และระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จ ย่อมเป็นสถานที่ก่อสร้างที่เสี่ยงอันตราย เพราะไม่เปิดเผยการก่อสร้างให้ประชาชนรับทราบว่าใครเป็นผู้ดูแล

4. การใช้นั่งร้านค้ำยันรองรับน้ำหนักพื้นชั้นที่กำลังเทคอนกรีต หากใช้นั่งร้านน้อยหรือไม่เพียงพอย่อมเสี่ยงอันตราย เพราะตามปกติในขั้นตอนการเทคอนกรีตจะต้องใช้นั่งร้านค้ำยันรองรับน้ำหนัก คอนกรีตในพื้นชั้นที่กำลังเทอยู่ และให้นั่งร้านตั้งอยู่บนพื้นชั้นล่างที่ก่อสร้างเสร็จก่อนหน้าแล้วเป็นฐาน รองรับ ซึ่งอาจต้องค้ำนั่งร้านกับพื้นชั้นล่างมากกว่า 2 ชั้น ถ้ามีเพียงชั้นเดียวแสดงว่าอาจไม่พอเพียง ย่อมมีความเสี่ยงที่อาคารจะพังถล่มได้ โดยเฉพาะหากมีการเทคอนกรีตกองที่จุดใดจุดหนึ่งโดยไม่กระจายออกไป

5. คนงานในสถานที่ก่อสร้าง หากไม่สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยในการทำงาน เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่สวมเข็มขัดช่วยชีวิต แสดงให้เห็นว่าการทำงานของคนงานไม่มีมาตรฐานความปลอดภัย ผู้ประกอบการไม่ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และเป็นสถานที่ก่อสร้างที่มีความเสี่ยง

6. สถานที่ก่อสร้างไม่มีวิศวกรผู้ควบคุมงานอยู่ประจำ ปกติการก่อสร้างเป็นงานที่อันตรายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการเทคอนกรีต ซึ่งจำเป็นต้องมีวิศวกรที่มีใบอนุญาตจากสภาวิศวกรประจำอยู่ที่สถานที่ก่อ สร้างเพื่อควบคุมการก่อสร้าง ไม่ควรปล่อยให้ดำเนินการโดยช่างก่อสร้างหรือแรงงานเพียงลำพัง

7. การก่อสร้างที่เร่งรีบเกินไป เช่น เร่งก่อสร้างทั้งเวลากลางวันกลางคืนต่อเนื่องกันไม่หยุดพัก หรือการก่อสร้างที่ลัดขั้นตอนเพื่อพยายามเร่งให้เสร็จงานตามกำหนดสัญญา ย่อมเป็นการก่อสร้างที่อันตราย เนื่องจากวัสดุก่อสร้างคอนกรีต จำเป็นต้องได้อายุเสียก่อนจึงจะมีกำลังรับน้ำหนักที่เพียงพอ หากเร่งการก่อสร้างมากเกินไป คอนกรีตที่ยังไม่แข็งแรงพอ อาจเสี่ยงต่อการวิบัติพังถล่มของโครงสร้างอาคารตามมาได้

แหล่งที่มา : technologymedia.co.th

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 22 สิงหาคม 2557
Last Update : 22 สิงหาคม 2557 11:36:17 น. 0 comments
Counter : 620 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com