คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
15 ตุลาคม 2557
 

“ตาเหยี่ยว”เครื่องบินเล็ก สำรวจและสอดแนมฝีมือนักศึกษา มทร.ธัญบุรี

ในสถานการณ์บางสถานการณ์ เช่นภัยพิบัติร้ายแรง มนุษย์ก็ไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองเพราะความไม่สะดวกหรือสภาพ ของพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ด้วยความจำเป็นนี้ มนุษย์จึงคิดค้นเครื่องมือให้สามารถปฏิบัติงานแทนได้ ที่พบบ่อยคือการใช้ เครื่องบินเล็ก หรือ อากาศยานไร้นักบิน ซึ่งโดยส่วนมากประเทศไทยจะนำเข้ามาจากต่างประเทศ และบางครั้งขีดความสามารถก็ยังไม่ได้ตรงกับความต้องการใช้งานชนิดนั้นๆนัก ที่สำคัญคือราคานำเข้าค่อนข้างแพงถ้าหากอยากได้เครื่องที่มีประสิทธิภาพสูง

ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ นายพีรสิทธิ์ บุตตะกะ,นายอนุวัฒน์ อยู่สำราญ และนายคมกริช อุดมพุทธา นักศึกษาจากภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ร่วมกัน ประดิษฐ์ เครื่องบินเล็ก หรือ อากาศยานไร้นักบิน ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อภารกิจด้านการสำรวจพื้นดินและสอดแนม โดยตั้งชื่อว่า “ตาเหยี่ยว” ขึ้น

เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า จุดประสงค์หลักในการพัฒนา “ตาเหยี่ยว” คือต้องต้นทุนต่ำ ศักยภาพสูง เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และสามารถประยุกต์ใช้กับงานในลักษณะอื่นๆได้อย่างหลากหลาย โดย เจ้า “ตาเหยี่ยว”ที่สร้างขึ้นเป็นชนิดปีกเดี่ยวบน ขนาด 1 ใบพัด ความยาวจากปีกถึงปีก 160 เซนติเมตร ความยาวจากหัวถึงท้าย 90 เซนติเมตร ขับเครื่องด้วยแบตเตอรรี่ไฟฟ้ากระแสตรงขนาด 24 โวลต์ 3 แอมแปร์ สามารถบินได้สูง 1000 เมตร รัศมีในการควบคุม 2500 เมตร บินได้นานราว 1 ชั่วโมง มีกล้องความละเอียดสูงติดตั้งที่ส่วนหัว สามารถปรับมุมมองกล้องในมุมกว้างได้ มากกว่า 90 องศา และมุมก้มได้มากกว่า 45 องศา น้ำหนักรวมราว 2.6 กิโลกรัมจุดเด่นของผลงานนี้คือ ศักยภาพสูง งบประมาณต่ำ ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และสามารถขึ้นบินได้ด้วยการขว้างซึ่งเหมาะกับการใช้งานในสมรภูมิรบที่ไม่มี รันเวย์ขึ้นบิน

เจ้า “ตาเหยี่ยว”มีระบบที่แบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่อยู่ภาคพื้นดิน ประกอบด้วยชุดรีโมทควบคุมการบิน ชุดสายติดตามระบบจีพีเอสและชุดแสดงผลได้แก่ภาพถ่าย พิกัดความสูง อุณหภูมิ และระดับพลังงานคงเหลือ ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่อยู่ภาคอากาศคือ อากาศยานที่ติดตั้งกล้อง ชุดรับสัญญาณควบคุมการบินและชุดส่งสัญญาณภาพ

เจ้าของผลงานยังได้บอกอีกว่า เจ้า “ตาเหยี่ยว”ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับใช้กับงานอย่างหลากหลายเช่นในงาน สำรวจผืนป่า งานค้นหาบุคคลสูญหายจากภัยพิบัติอุทกภัย แผ่นดินไหว งานสำรวจสภาพการจราจร การตามติดคนร้าย การข่าว การสอดแนม งานวิจัยด้านอวกาศและสารสนเทศ ที่สำคัญโครงการนี้ประสบความสำเร็จมาได้เป็นอย่างดีเพราะพวกเขาได้ รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ และ ดร.สมบูรณ์ ธีรวิสิฐพงศ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดโครงการ

มณีรัตน์ ปัญญพงษ์

แหล่งที่มาของบทความและภาพประกอบ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 15 ตุลาคม 2557
Last Update : 15 ตุลาคม 2557 15:09:00 น. 0 comments
Counter : 649 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com