คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 กันยายน 2557
 

เกลือทะเลที่ใช้ทำเต้าหู้ก็ใช้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ด้วยหรือ?


แปลและเรียบเรียงโดย

อรวรรณ สัมฤทธิ์เดชขจร

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

เครดิตภาพ: University of Liverpool

      ปฏิวัติ! นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลได้พัฒนากระบวนการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ให้มีราคาถูกลง ทำได้ง่ายขึ้นปลอดภัย และลดปัญหาจากขยะพิษด้วยการใช้เกลือทะเลชนิดเดียวกับที่ใช้ทำเต้าหู้ อาบน้ำ และละลายน้ำแข็งบนถนนแทนสารเคมีอันตราย

     แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ในปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 90 ทำจากซิลิคอน และอีกประมาณร้อยละ 7 ทำจากแคดเมียมเทลลูไรด์ แต่เซลล์ที่ทำจากแคดเมียมเทลลูไรด์จะมีลักษณะบางกว่าซิลิคอน มีน้ำหนักเบา และราคาถูกกว่าจึงได้รับความนิยม อย่างไรก็ดี เซลล์ที่ทำจากแคดเมียมเทลลูไรด์ยังมีข้อด้อยที่ต้องใช้แคดเมียมคลอไรด์ที่ เป็นสารเคมีอันตรายและมีราคาสูง ($0.3/กรัม) ในการผลิต แคดเมียมคลอไรด์มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิตในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพการ เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าจากร้อยละ 2 เป็นมากกว่าร้อยละ 15 ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่สัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญของราคาการผลิตเซลล์จะใช้ไปกับการ ป้องกันอันตรายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและการกำจัดของเสียอย่างเหมาะสม

ดร.จอน เมเจอร์ (Dr.Jon Major) และทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูลพยายามก้าวข้ามข้อจำกัดนี้ โดยหาทางเลือกใหม่มาแทนแคดเมียมคลอไรด์ ซึ่งพวกเขาค้นพบว่าสามารถใช้แมกนีเซียมคลอไรด์แทนได้โดยที่ประสิทธิภาพไม่ แตกต่างกันเลย แมกนีเซียมคลอไรด์เป็นเกลือที่มีราคาถูก ($0.001/กรัม) และหาง่ายเพราะได้จากน้ำทะเล อีกทั้งการใช้แมกนีเซียมคลอไรด์ยังเหนือกว่าแคดเมียมคลอไรด์หลายอย่าง ได้แก่ ใช้ปืนสเปรย์สำหรับพ่นโมเดลเครื่องบินที่หาซื้อทั่วไปได้ ไม่ต้องทำการทดลองในตู้ดูดควันเพราะสามารถทำบนโต๊ะทำงานภายในห้องแล็บได้ และไม่เป็นพิษทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียน้อยลงด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมในแง่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิตพลังงานจากแสง อาทิตย์อีกด้วย

แหล่งที่มาของบทความ :  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (ศว.)

แหล่งข้อมูลและภาพประกอบ

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมที่

  • J. D. Major, R. E. Treharne, L. J. Phillips and K. Durose “A low-cost non-toxic post-growth activation step for CdTe solar cells” Nature, 511, p.334–337 (doi:10.1038/nature13435)




Create Date : 03 กันยายน 2557
Last Update : 3 กันยายน 2557 13:58:28 น. 0 comments
Counter : 468 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com