คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 กันยายน 2557
 

นวัตกรรมยางล้อตัน : อนาคตยางไทย

หยิบงานวิจัยที่น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยแก้ปัญหา ให้กับประเทศอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องของยางพาราที่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ เพราะเกินความต้องการใช้งานในขณะนี้

เพราะงานวิจัยนี้นอกจากจะช่วย เพิ่มมูลค่า เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการไทยแล้วยังช่วยเพิ่ม ปริมาณการใช้ยางธรรมชาติของประเทศ 

ด้วยนวัตกรรม “ยางล้อตันรถฟอร์คลิฟท์ ประหยัดพลังงาน” 1 ใน 16 ผลงานวิจัยดีเด่นของ สกว.หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ประจำปี 2556 ที่เพิ่งประกาศเชิดชูเกียรติไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

“ผศ.ดร.กฤษฎา สุชีวะ” จากศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ในฐานะหัวหน้าโครงการ บอกว่า นวัตกรรมนี้ เป็นความร่วมมือจากเครือข่ายสถาบันร่วมวิจัยที่ประกอบด้วย เอ็มเทค/สวทช. ศูนย์วิจัยเทคโนโลยียาง มหิดล และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกันพัฒนาขึ้น โดยมี บริษัท วี.เอส.อุตสาหกรรมยาง จำกัด ร่วมออกแบบและทดสอบในโครงการ

เนื่องจาก ยางล้อตันรถฟอร์คลิฟท์ เป็นยางล้อรถประเภทที่มีการใช้ยางธรรมชาติในการผลิตสูง เมื่อเทียบกับยางล้อประเภทใช้ลม คือใช้ยางธรรมชาติประมาณ 30-50 กิโลกรัมต่อเส้น ขณะที่ยางล้อใช้ลมจะใช้ยางธรรมชาติเพียง 8 กิโลกรัมต่อเส้น

ใน แต่ละปีไทยใช้ยางธรรมชาติเพื่อการผลิตยางล้อตันประมาณ 12,960 ตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกประมาณ 60-70% ต่อปี สร้างมูลค่าการส่งออกประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังเป็นเอสเอ็มอีขนาดกลางและ ขนาดเล็ก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีมากขึ้น และเทคโนโลยีที่จะมีความสำคัญอย่างมากในอนาคตก็คือเทคโนโลยีการผลิตยางล้อ ประหยัดพลังงาน

ทั้งนี้จากการวิจัยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยางล้อ ตันประหยัดพลังงานในเชิงพาณิชย์ได้ โดยสามารถลดการใช้พลังงานลงถึง 23% ประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับ

ผู้ใช้งานได้ถึงปีละประมาณ 6 หมื่นบาทต่อคันต่อปี

นาย ชวินทร์ ศรีโชติ กรรมการผู้จัดการ วี.เอส.อุตสาหกรรมยาง บอกว่า ผลจากการวิจัยทำให้สามารถขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น ยกระดับคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐานระดับสากล ซึ่งภายในระยะเวลาแค่ 8 เดือนสามารถเพิ่มยอดขายได้ถึง 15%

โดยการวิจัยนี้มีทั้งการพัฒนา

สูตรยางคอมพาวด์ การปรับสูตรในการ

เติม สารเคมีเสริมแรงต่าง ๆ และการออกแบบเชิงวิศวกรรม ทำให้ยางล้อที่พัฒนาขึ้นมีค่าความต้านทานการหมุนต่ำ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงการประหยัดน้ำมัน และยังทนทานต่อการใช้งานได้มากขึ้น

มี การทดสอบประสิทธิภาพกับแบรนด์ชั้นนำในตลาดโลก 10 แบรนด์ พบว่า มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานอยู่ในอันดับที่ 2 ขณะที่ราคาถูกกว่าเกือบ 50%

ผศ.ดร.กฤษฎา หัวหน้าโครงการ บอกว่า จากความสำเร็จที่ผ่านมา งานวิจัยนี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดในระยะที่ 2 โดยเป็นการพัฒนายางล้อรถบรรทุกเล็กเรเดียล ประหยัดพลังงาน ซึ่งจะร่วมพัฒนากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.สยามอุตสาหกรรมยาง โดยตลาดยางล้อชนิดนี้มีมูลค่าตลาดรวมเกือบ 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป้าหมายการพัฒนาก็คือให้มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานหรือมีค่าต้านทาน การหมุนต่ำเทียบเท่ากับบริษัทชั้นนำอันดับหนึ่งของโลก

ส่วนเรื่องยาง ล้อตัน จะมีการนำเสนอเป็นแผนยุทธศาสตร์ด้านยางให้กับ สกว.ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยที่ดูแลการให้ทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ยางของประเทศ โดยจะมีการผลักดันให้เกิดศูนย์วิจัยด้านยางล้อของไทยโดยเฉพาะยางล้อตัน ซึ่งจะมีการนำองค์ความรู้จากต่างประเทศมาต่อยอด

รวมถึงการผลักดันให้ ภาครัฐลงทุนด้านห้องปฏิบัติการทดสอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการมากที่สุด เพราะต้องลงทุนจำนวนมาก และมีผลสำคัญต่อการรับรองคุณภาพในการส่งออกไปขายต่างประเทศ 

ปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการทดสอบด้านยางล้อตันมีเพียงแห่งเดียวที่ ม.มหิดล โดยขณะนี้ทดสอบได้เฉพาะเรื่องการประหยัดพลังงาน ส่วนปีหน้าจะมีการขยายไปสู่การทดสอบเรื่องของการเกาะถนน และลดเสียง

แต่ การที่ผู้ประกอบการจะส่งผลิตภัณฑ์ไปขายแข่งขันได้ในตลาดโลกนั้น นักวิจัยบอกว่า สิ่งที่จำเป็นมากก็คือห้องปฏิบัติการสำหรับทดสอบการใช้งานจริง ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ มูลค่าสูง ซึ่งปัจจุบันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีการนำเสนอของบประมาณจาก คสช.และผ่านการอนุมัติในหลักการแล้ว

อย่างไรก็ดีงานวิจัยนี้ ถือเป็นผลสำเร็จและเป็น ตัวอย่างของการบูรณาการความรู้ในหลายสาขาทั้งเคมียาง ฟิสิกส์ยาง เทคโนโลยียางและวิศวกรรมยาง แถมยังทำงานเป็นเครือข่ายวิจัย โดยมีผู้ประกอบการร่วมด้วย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ จนสามารถผลิตผลงานให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง 

เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและที่สำคัญยังช่วยเพิ่มมูลค่ายางดิบเป็นผลิตภัณฑ์ยางมูลค่าสูงอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน.

นาตยา คชินทร

nattayap.k@gmail.com

แหล่งที่มาของบทความและภาพประกอบ : เดลินิวส์ออนไลน์




Create Date : 03 กันยายน 2557
Last Update : 3 กันยายน 2557 15:48:47 น. 0 comments
Counter : 872 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com