คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
กันยายน 2557
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
9 กันยายน 2557
 

สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย

สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
เครื่องมือจำลองการบินหรือ ซิม (Simulation) โดย น.ต. ธีระพงษ์ สนธยามาลย์ นักวิจัยสทป.
ทุกวันนี้ “อากาศยานไร้นักบิน” เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น อย่างน้อยการส่งโดรนเข้าไปบันทึกภาพในสถานที่อันตราย อย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประสบอุบัติเหตุ หรือกองขยะที่ถูกไฟไหม้จนก่อสารพิษมากก็ช่วยเจ้าหน้าที่ในการวางแผนกู้ภัย ได้มาก มาดูกันว่าเทคโนโลยีนี้ในเมืองไทยก้าวหน้าไปถึงขึ้นไหนแล้ว

       กลุ่มผู้วิจัยและพัฒนา รวมถึงกลุ่มผู้ใช้งานและกลุ่มผู้บริหารจัดการด้านอากาศยานไร้นักบิน (UAV) เพิ่งมาร่วมตัวกันภายในงานสัมมนาประชาคมเครือข่ายด้านอากาศยานไร้นักบิน (UAV Community) ซึ่ง สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทป. และ กองทัพอากาศ ร่วมกันจดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นัก บินร่วมกัน

       พล.อ.อ.พงศธร บัวทรัพย์ ประธานกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าวว่า ปัจจุบันอากาศยานไร้คนขับไม่ได้ใช้เฉพาะทางการรบเท่านั้น แต่ยังใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทำให้ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัย และนำมาใชั้ป็นจำนวนมากทั้งหน่วยงานทางทหารและสถาบันการศึกษา การจัดตั้งประชาคมเครือข่ายด้านอากาศยานไร้นักบิน จึงเป็นการรวมความรู้เกี่ยวกับอากาศยานไร้นักบินจากทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน และทราบว่ามีการพัฒนาไปถึงไหนแล้ว ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาเป็นไปได้เร็ว และประหยัดทรัพยากร อีกทั้งควบคุมไม่ให้ใช้งานไปในทางที่ผิด

       ในส่วนของ พล.อ.สมพงศ์ มุกดาสกุล ผู้อำนวยการ สทป.เผยว่า เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมีใช้มานานแล้วในทางทหาร แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมามีความตื่นตัวจากทางภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา ที่นำมาใช้ในการสำรวจวิจัยภัยพิบัติต่างๆ การจราจร หรือการถ่ายทำละครต่างๆ ทำให้ประชาชนรู้จักอากาศยานไร้คนขับมากขึ้น การจัดสัมมนาต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ทำให้ทราบว่าวงการอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้ประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม อาทิ ทางทหารใช้ลาดตระเวน สำรวจพื้นที่ชายแดน การติดตามข้อมูลต่างๆ และภารกิจที่เป็นความลับทางราชการอีกมาก ทางภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาก็นำไปใช้ในการศึกษาวิจัย การสำรวจทรัพยากร การสำรวจภัยพิบัติในพื้นที่ๆ ยากแก่การเข้าไปของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงการถ่ายทำภาพยนตร์

       "หากเทียบเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับในประเทศเรากับประเทศเพื่อนบ้าน แล้ว เราจัดว่าอยู่ในแนวหน้า ทั้งทางเทคโนโลยี และการจัดประชุมสัมนาที่มีขึ้นบ่อยครั้ง แต่หากเทียบกับทั่วโลกเราอยู่ในสถานภาพประเทศที่เพิ่งเริ่มพัฒนา เพราะเราใช้อยู่ในวงจำกัดเพียงแค่ทางทหารและการวิจัย ในขณะที่ประเทศมหาอำนาจเริ่มใช้ทางการพาณิชย์บ้างแล้ว แต่เรายังไม่ได้คิดถึงตรงนั้น และด้วยความที่ประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้นนี้เอง ทำให้ทาง สปท. กองทัพอากาศและทุกภาคส่วนจำเป็นต้องศึกษาวิจัย และพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถให้หนักยิ่งขึ้น” พล.อ.สมพงศ์กล่าว

       พล.อ.สมพงศ์ เชื่อว่าหลังจากมีประชาคมเครือข่ายด้านอากาศยานไร้นักบินแล้วยิ่งทำให้การ วิจัยเดินหน้าไปเร็วมากขึ้น เพราะมีการนำความรู้มาบูรณาการซึ่งกันและกัน โดยในอนาคตสทป.จะพยายามกระตุ้นให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ดีขึ้นอย่างแน่ นอน โดยเฉพาะการออกแบบ การประดิษฐ์และการใช้พลังงานที่จะต้องมีการวิจัยอย่างรัดกุม เพื่อให้อากาศยานไร้คนขับของเรามีความทนทานปลอดภัยและมีสมรรถนะที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการทหาร

       พร้อมกันนี้ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ยังได้สำรวจผลงานวิจัยและการพัฒนาอากาศยานไร้นักบินบางส่วนมานำเสนอ เริ่มที่อากาศยานไร้นักบินไทเกอร์ชาร์ค (Tiger-shark) ผลงานการวิจัยและพัฒนาจากศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและ อากาศกองทัพอากาศ อากาศยานไร้นักบินของทหารอากาศที่ใช้ในภารกิจลาดตระเวนเป็นหลัก สามารถถ่ายภาพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ที่ในอนาคตจะมีการพัฒนาให้เป็นอากาศยานฝนหลวงและอากาศปฏิบัติการรบทางทหาร

       ต่อกันที่อากาศยานไร้นักบินที่ผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์รุ่น Mini UAV จากหน่วยข่าวกรองทางทหารที่ใช้ในการลาดตระเวนและสำรวจเป็นหลัก สามารถบันทึกภาพได้เป็นทั้งแบบวิดีโอถ่ายทอดสด และภาพนิ่งทั้งกลางวันและกลางคืน บินได้สูงถึง 6,000 ฟุตในรัศมี 20 กิโลเมตร ซึ่งในขณะนี้หน่วยข่าวกรองทหารอากาศกำลังมีโครงการพัฒนาเพิ่มอีกในหลายรุ่น เพื่อให้สามารถบินได้นานขึ้นและไกลมากยิ่งขึ้น

       ในส่วนของสถาบันการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับเครื่อง LOFT-Extreme ปีก 3 เมตรที่ใช้ในการสำรวจทางการเกษตร ที่ทาง ผศ.ดร.อรรณพ เรืองวิเศษ อาจารย์ประจำห้องวิจัยเทคโนโลยีการบิน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้เผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า ทางมหาวิทยาลัยได้พัฒนาอากาศยานไร้คนขับนี้มาอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่ก่อนเข้า ร่วมประชาคมเครือข่ายด้านอากาศยานไร้นักบิน โดยก่อนหน้านี้ใช้ในการวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยมันสำปะหลัง การสำรวจภัยพิบัติน้ำท่วม และกำลังมีโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการใช้อากาศยานไร้นักบินใน การปล่อยเมล็ดพันธุ์และกล้าไม้เพื่อปลูกป่า นอกจากนี้ยังมีเครื่องมิลติโรดตอร์ (Multi-Rotor) อากาศยานที่ขึ้นลงทางแนวดิ่งที่ใช้ในการสำรวจวิจัยแปลงเกษตรที่ จ.น่านอีกด้วย

       เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่นำควอดโร เตอร์ (QuadRotor) อากาศยาน4ใบพัดที่เรามักคุ้นเคยกันในชื่อว่า “โดรน” มาจัดแสดงด้วย โดย นายพลาวัตร ประทุมวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท กล่าวว่า ควอดโรเตอร์นี้เป็นอากาศยานที่ขึ้นลงทางแนวดิ่ง ใช้ในการถ่ายภาพมุมสูงแทนที่เครน ปัจจุบันใช้ประโยชน์ด้านการสำรวจ การเข้าทำข่าวในพื้นที่ที่ยากแก่การเข้าถึง และการถ่ายทำภาพยนตร์ ควอดโรเตอร์บินได้นานประมาณ 5-20 นาทีโดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และเกิดขึ้นจากการพัฒนาของนักศึกษาปริญญาโทและเอกที่ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ เรื่องวิศวกรรมการบิน โดยในอนาคตมีโครงการที่จะพัฒนาควอดโรเตอร์ให้สามารถบินประคองตัวเองต่อไปได้ โดยไม่ตกทันทีหากเกิดการชำรุดของใบพัดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายทั้งหมดกับ ตัวยานที่มีราคาค่อนข้างสูง

       มาถึงส่วนสำคัญของการบังคับการอากาศยานไร้นักบินอย่าง ชุดควบคุมภาคพื้นหรือ Ground Control Station จากความร่วมมือของกรมยุทธการทหารอากาศ กองทัพอากาศและบริษัท เจโดรน จำกัด ที่เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณและส่งสัญญาณ จากอากาศยานที่ครอบคลุมทุกรูปแบบสัญญาณไปยังเครือข่าย สามารถใช้ได้กับอากาศยานทุกแบบทั้งแบบมีนักบินหรือไม่มีนักบินก็ได้ โดยจะรับสัญญาณจากอากาศยานแล้วแสดงผลทางหน้าจอเแบบถ่ายทอดสดที่สถานีภาคพื้น และส่งต่อไปยังสถานีเครือข่ายได้ทันที เป็นการพัฒนาขึ้นเพื่อความสะดวกในการลงพื้นที่และรวมคุณสมบัติที่จำเป็นของ สถานีภาคพื้นไว้ในเครื่องมือชุดเดียว

       ผลงานชิ้นสุดท้ายที่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์นำมาให้ชมคือ เครื่องมือจำลองการบิน (Simulation) หรือ ซิม ที่ น.ต.ธีระพงษ์ สนธยามาลย์ นักวิจัย สทป. อธิบายว่า คือ ระบบที่นำข้อมูลพื้นที่และอากาศยานมาประมวลผลเพื่อจำลองบรรยากาศให้เสมือน บรรยากาศจริง เป็นเครื่องมือช่วยฝึกนักบินก่อนทำการบินจริงและใช้ทดสอบแผนการบิน เครื่องมือประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนจำลองภายนอก (External Simulation) ที่ใช้ในการบังคับเครื่องเวลาจะขึ้นลง และส่วนจำลองภายใน (Internal Simulation) ที่เป็นการจำลองการขับเคลื่อนเมื่ออากาศยานขึ้นสู่ฟากฟ้าแล้ว
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
พล.อ.อ. พงศธร บัวทรัพย์ ประธานกรรมการ สทป. ประธานในพิธี
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
พล.อ. สมพงศ์ มุกดาสกุล ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) กระทรวงกลาโหม
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
อากาศยานไร้นักบินไทเกอร์ชาร์ค (Tiger-shark) ผลงานการวิจัยและพัฒนาจากศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอากาศกองทัพอากาศ
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
นอ.สุรพันธ์ จรุงพันธ์ (ขวา) และ รท.รัชวิทย์ นิธิชัย ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอากาศกองทัพอากาศ ผู้ให้ข้อมูล
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
อากาศยานไร้นักบินรุ่น Mini UAV จากหน่วยข่าวกรองทางทหาร
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
สิบโทอรรถพล บุญยะเลข หน่วยข่าวกรองทางทหาร ผู้ให้ข้อมูล
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
อากาศยานไร้นักบิน รุ่น LOFT-Extreme (ทรงเครื่องบิน) และเครื่องมิลติโรดตอร์ (Multi-Rotor) (เครื่องทรงโดรน) โดยผศ.ดร.อรรณพ เรืองวิเศษ อาจารย์ประจำห้องวิจัยเทคโนโลยีการบิน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
อากาศยานไร้นักบินควอดโเตอร์ (Quad-Rotor) และมัลติโรเตอร์ (Multi-Rotor) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
พลาวัตร ประทุมวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้ให้ข้อมูล
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
ชุดควบคุมภาคพื้นหรือ Ground Control Station จากความร่วมมือของกรมยุทธการทหารอากาศ กองทัพอากาศและบริษัท เจโดรน จำกัด
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
แผงควบคุมการบิน (Flight Control)
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
อากาศยานไร้นักบินแบบขึ้นลงทางดิ่ง
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย
บรรยากาศการเสวนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
สำรวจ “อากาศยานไร้นักบิน” ผลงานไทย

แหล่งที่มาของบทความและภาพประกอบ : //www.manager.co.th




Create Date : 09 กันยายน 2557
Last Update : 9 กันยายน 2557 14:50:25 น. 0 comments
Counter : 834 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com