คลังความรู้เรื่องวิศวกรรมและการเกษตร ที่คนทั่วไปก็สามารถเข้าใจได้

<<
ตุลาคม 2557
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
15 ตุลาคม 2557
 

แขนกลอุตสาหกรรมอัจฉริยะ

จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติเข้ามา ใช้งานเพื่อให้สินค้าสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ทั้งในเรื่องราคา และคุณภาพ โดยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ที่สามารถช่วยการทำงานให้ได้มาตรฐาน เพียงแค่เปลี่ยนโปรแกรมการใช้งานเท่านั้น

วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี โดยนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ได้คิดค้นการทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเลียนแบบร่างกายมนุษย์ เรียกว่า “แขนกลอุตสาหกรรม”

ผลงานนี้ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากการแข่งขัน มหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ประจำปี 2557

การทำงานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับแขนของ มนุษย์ ซึ่งแขนกลอุตสาหกรรม มีส่วนประกอบอยู่หลายส่วนได้แก่ ฐานของหุ่นยนต์ ท่อนชิ้นส่วนที่เป็นแขนกล ข้อต่อจุดหมุนตามชิ้นส่วนที่ต่อกัน ปลายของแขนกลที่ใช้ทำงาน เช่น มือคีบจับ หัวเชื่อม อุปกรณ์ประกอบชิ้นส่วน ปืนพ่นสี หัวเจาะ ฯลฯ ส่วนคอมพิวเตอร์ที่มาควบคุมแขนกลนั้นจะทำหน้าที่ควบคุมในส่วนที่เป็นมอเตอร์ แบบสเต็ป

นายอาทร คุ้มฉายา อาจารย์ประจำวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี ในฐานะที่ปรึกษาโครงงาน อธิบายว่า วิธีการสร้างแขนกลดังกล่าวอ่านจากผลงานวิจัย ใช้รูปแบบสมการทางคณิตศาสตร์ มาต่อยอดความรู้ให้กับนักเรียน ซึ่งเด็กจะเขียนโปรแกรมขึ้นเอง เพื่อควบคุมระบบ

โดยแขนกลอุตสาหกรรมนั้นจะมีโปรแกรม ทำหน้าที่เป็นมอเตอร์ที่แตกต่างจากมอเตอร์โดยทั่วไป คือ มอเตอร์แบบสเต็ป มีความสามารถหมุน และหยุดได้ตามความต้องการ ตามระยะที่ได้ตั้งโปรแกรมไว้ และสามารถทำซ้ำ ๆ กันได้ในการเคลื่อนที่ ส่วนมอเตอร์โดยทั่วไปเมื่อป้อนพลังงานก็จะหมุนตลอด และเวลาหยุดจะหมุนฟรีไปหลายรอบ มอเตอร์แบบสเต็ปจึงทำให้หุ่นยนต์ได้เคลื่อนไหวได้ตามโปรแกรมที่ได้ตั้งไว้

นอก จากมอเตอร์แบบสเต็ปแล้ว แขนกลที่มีขนาดใหญ่ที่นำมาใช้ในงานหนักอาจจะใช้มอเตอร์ไฮดรอลิก หรือมอเตอร์ลมนิวแมติกส์ แทนก็ได้ แขนกลจะมีระบบเซ็นเซอร์ไว้คอยตรวจจับการทำงานเพื่อให้หุ่นยนต์นั้นได้มีการ เคลื่อนที่ได้อย่างถูกต้อง เกิดความแน่นอนในการเคลื่อนที่ของแขนกล

ต้อง ยอมรับว่าผลงานแขนกลอุตสาหกรรมฝีมือนักศึกษาอาชีวะชิ้นนี้เป็นหุ่นยนต์ที่ สามารถนำมาใช้งานในวงการอุตสาหกรรมการผลิตช่วยทุ่นแรงงานมนุษย์ได้เป็นอย่าง ดี และหวังว่าผลงานดี ๆ เหล่านี้จะได้รับการพัฒนาต่อยอดสู่ระดับประเทศต่อไป.

อุทิตา รัตนภักดี

แหล่งที่มาของบทความและภาพประกอบ : เดลินิวส์ออนไลน์ วันพุธที่ 8 ตุลาคม 2557

ชอบกด Like & Share เป็นกำลังใจให้ด้วยน่ะจ๊ะ




Create Date : 15 ตุลาคม 2557
Last Update : 15 ตุลาคม 2557 14:12:16 น. 0 comments
Counter : 623 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

Mr.Evo_IV
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




[Add Mr.Evo_IV's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com