Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
คาร์โบไฮเดรทไม่ใช่...."ผู้ร้าย"



คาร์โบไฮเดรทไม่ใช่ผู้ร้าย


   คาร์โบไฮเดรทในสายตาของผู้คนทุกวันนี้เปลี่ยนจากอาหารหมู่หลักกลายเป็นอาหารต้องห้ามไปเสียแล้ว กระแสลดน้ำหนักมากมายอ้างถึงผลงานวิจัยว่า คาร์โบไฮเดรท (Carb) นั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพ ซึ่งดูจะเป็นการมองโลกในแง่ร้ายและแคบไปนิด หากเทียบกับประโยชน์และความจำเป็นที่แท้จริง


เมื่อคาร์โบไฮเดรทถูกปรักปรำ

ทำให้อ้วน
   ไม่จริงทั้งหมด การแปรสภาพจากคาร์โบไฮเดรทเป็นไขมันบ่งชี้ว่าผู้นั้นไม่ได้ออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานเป็นประจำ เพราะพลังงานจากคาร์โบไฮเดรทจะถูกเผาผลาญอย่างรวดเร็ว

โรคหลอดเลือดและหัวใจ
   ไม่จริง เพราะ Carb เป็นสารตั้งต้นในการเผาผลาญไขมันให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากได้รับ Carb น้อยย่อมหมายถึงการเผาผลาญไขมันที่น้อยตามไปด้วย มีวิจัยสนับสนุน Carb ว่าช่วยลดกรดไขมันอิ่มตัวในร่างกายได้อีกด้วย จึงช่วยป้องกันโรคอ้วน และหลอดเลือดหัวใจได้เป็นอย่างดี


ไฮโปไกลซีเมีย
   ไม่จริง การโทษ Carb เกี่ยวกับทั้งสองโรคเป็นเพียงการมองปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะต้นตอของโรคเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคคาร์โบไฮเดรทที่ผิดทั้งชนิดและปริมาณต่างหาก


ข้อดีของคาร์โบไฮเดรทที่คุณอาจยังไม่รู้




  • เป็นพลังงานหลักที่ร่างกายนำไปใช้ในระบบต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะสมองและระบบประสาท  



  • ควบคุมความอิ่ม



  • ส่งเสริมแบคทีเรียตัวดีในลำไส้ ซึ่งแบคทีเรียตัวดีทำหน้าที่กำจัดแบคทีเรียตัวร้าย ป้องกันการติดเชื้อทางเดินอาหารอย่างเฉียบพลัน และส่งเสริมกระบวนการย่อย เติบโตได้ดีขึ้น



  • ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย ร่างกายต้องการ Carb ไม่ต่ำกว่า 50 กรัมต่อวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ คีโตซิส Carb ยังช่วยรักษาสภาพร่างกายให้คงที่ และทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี



  • ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ กรด Butyric Acid ซึ่งเกิดจากการหมักของ Carb จำพวกธัญพืช ผักและผลไม้ ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงเซลล์ผนังลำไส้ใหญ่ที่ผิดปกติ จึงป้องกันมะเร็งได้



  • ป้องกันโรคท้องผูก ริดสีดวงทวาร ผนังลำไส้ใหญ่โป่งพอง เพราะเส้นใยที่ได้จาก Carb จำพวกธัญพืช ช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ ทำให้ขับถ่ายได้ดี



  • ป้องกันภาวะคีโตซิส เมื่อคุณงด Carb ตามวิธีลดน้ำหนักผลที่ได้คือ ร่างกายไม่มีน้ำตาลไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ จึงจำเป็นต้องดึงเอาพลังงานสะสมในรูปของไกลโคเจนจากตับและกล้ามเนื้อมาใช้ แต่เป็นไปเพียงระยะหนึ่งเพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ จากนั้นก็จะนำเอาไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน การนำไขมันมาใช้เป็นพลังงานจะต้องใช้เวลาและพลังงานเผาผลาญค่อนข้างสูง และผลที่ได้คือสารตัวหนึ่งชื่อว่า คีโตน (เกิดภาวะ คีโตซิส) ซึ่งส่งผลให้คุณมีกลิ่นตัว กลิ่นปาก คลื่นไส้ อาเจียน เลือดเป็นกรด ตับ ไต และระบบของร่างกายเสีย รวมถึงสมองและระบบประสาทด้วย การจำกัด Carb จึงควรทำไม่เกิน 14 วัน และควรเป็นไปอย่างระมัดระวัง 



Good Carb & Bad Carb ฝาแฝดที่แตกต่าง
   แต่ถ้าจะแบ่ง Carb ตามประโยชน์ต่อร่างกายจะแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ Good Carb และ Bad Carb

   Good Carb หมายถึง Carb ที่ยังไม่ถูกแปรรูปมากนัก หรือที่เรียกว่า คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน ได้แก่ ข้าวซ้อมมือ ธัญพืชต่างๆ ที่ยังไม่ถูกแปรรูป ผัก ผลไม้ ซึ่งยังคงคุณค่า และสารอาหารไว้มากมาย เช่น เส้นใยอาหาร วิตามิน ไขมัน กรดอะมิโนจำเป็น และสารพฤกษเคมีที่ส่งผลดีต่อร่างกาย Carb ชนิดนี้เมื่อเข้าสู่กระบวนการย่อยของมนุษย์จะค่อยๆ ให้พลังงานแก่ร่างกาย จึงส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ตับอ่อนไม่ต้องทำงานหนักเพื่อผลิตอินซูลิน ทำให้อิ่มนาน ได้สารต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็ง และยังได้เส้นใยซึ่งช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย

   อาหารจำพวก Good Carb ทั่วไปมักประกอบด้วย Carb โปรตีน ไขมัน และเส้นใยเป็นหลัก แต่นอกเหนือจากนั้นยังมีคุณค่ามากมายที่ซ่อนอยู่ภายใน

   Bad Carb คือ Carb ที่ถูกแปรรูปเป็นให้มีโมเลกุลเล็กลง หรือมีการขัดสี เช่น แป้งที่บดละเอียด หรือข้าวและน้ำตาลขัดขาว ซึ่งทำให้สูญเสียสารอาหารจำพวก วิตามิน สารพฤกษเคมี และเส้นใยไปบ้าง แม้ว่าในส่วนของ คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุอีกหลายตัวยังคงเหลืออยู่ แต่ Carb เหล่านี้จะมีเส้นใยน้อยลงจึงให้พลังงานสูงกว่า Good Carb เพราะร่างกายไม่ต้องเสียเวลาในการย่อยมากนัก ตรงนี้ละที่เป็นผลเสีย เพราะจะทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและนำไปใช้อย่างรวดเร็ว ร่างกายจึงมีพลังเพียงแค่ชั่วคราว จึงรู้สึกเหนื่อยและต้องการน้ำตาลอย่างรวดเร็ว และยังกระทบกับตับอ่อนที่ต้องทำงานหนักในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินอย่างรวดเร็ว ถ้าเป็นอย่างนี้บ่อยๆ อาจทำให้ตับอ่อนชำรุดไปในที่สุด


     
















Create Date : 15 กรกฎาคม 2554
Last Update : 15 กรกฎาคม 2554 21:29:52 น. 0 comments
Counter : 960 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.