Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
5 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
ย่านาง สมุนไพรมหัศจรรย์

 

ย่านาง  
 

          ย่านาง สมุนไพรสุดฮิต ที่มีคุณสมบัติปรับสมดุลในร่างกาย เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น และเป็นคลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ เราอาจจะคุ้นเคยกับย่านางในฐานะที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเพื่อเพิ่มความกลม กล่อม ของแกงหน่อไม้และซุปหน่อไม้ ยอดอ่อนของเถาย่านางนำมารับประทานแกล้มแนมกับของเผ็ดอื่น ๆ บางคนนำใบและยอดอ่อนใส่ในอ่อมและหมกต่าง ๆ ทางปักษ์ใต้นั้นนิยมใช้ยอดอ่อนใส่ในแกงเลียงและแกงหวาน หมอยาภาคอีสานโบราณจะเรียกชื่อของย่านางว่า “ย่าหมื่นปีไม่แก่” เพราะด้วยสรรพคุณมากมาย ตั้งแต่ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ รวมไปถึงรักษาโรคมะเร็ง ที่สำคัญยังเป็นสมุนไพรใกล้ตัวที่เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหารแล้วยังมีรสชาติ อร่อยถูกปากได้หลายเมนู จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมขณะนี้ ย่านาง จึงกลายเป็นสมุนไพรที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกชนิด

          ลักษณะของต้นย่านาง จะเป็นเถาไม้เลื้อย เถามีรูปร่างกลมขนาดเล็กแต่มีความเหนียว เถาสีเขียวเมื่อเถาแก่จะมีสีเข้มคล้ำ บริเวณเถามีข้อห่างๆ เถาอ่อน มีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิค่อนข้างเรียบ รากมีหัวใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวคล้ายใบพริกไทย ออกติดกับลำต้นแบบสลับรูปร่าง ลักษณะคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบย่างนางที่ขึ้นในภาคใต้จะเรียวยาวแหลมกว่า สีเขียวเข้ม หน้าและหลังใบเป็นมัน ดอกออกตามซอกใบ ซอกโคนก้าน ช่อหนึ่งๆ จะมีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ออกดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ขนาดอกโตกว่าเมล็ดงาเล็กน้อย มักออกดอกช่วงเดือนเมษายน ผลมีรูปร่างกลมเล็กขนาดเท่าผลมะแว้งสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมแดงหรือแดงสดเมื่อแก่จัดจนสุกงอมจะกลายเป็น สีดำ

          ใบย่านางและน้ำคั้นจากใบยังมีแคลเซียมและวิตามินซีจำพวก เอ, บี 1, บี 2 และ เบต้า-แคโรทีน ค่อนข้างสูง คนโบราณเชื่อกันว่ารากของเถาย่านางนั้นสามารถแก้ไขได้ อีกทั้งยังช่วยถอนพิษผิดสำแดงและพิษอื่น ๆ แก้เมาเรือ แก้เมาสุรา แก้โรคหัวใจและแก้ลม ใบก็ช่วยถอนพิษและแก้ไข้


วิธีทำ น้ำใบย่านาง

1.ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น อาทิ ใบย่านาง 5-20 ใบ, ใบเตย 1-3 ใบ, บัวบก ครึ่ง-1 กำมือ, หญ้าปักกิ่ง 3-5 ต้น ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง- 1 กำมือ, ใบเสลดพังพอน ครึ่ง – 1 กำมือ, ว่านกาบหอย 3-5 ใบถ้าใครสะดวกจะใช้ใบย่านาง เพียงอย่างเดียวหรือใช้หลายอย่างรวมกันก็ได้ค่ะ

2.ตัดหรือฉีกใบสมุนไพรให้เล็กลง และนำไปโขลกสมุนไพรให้ละเอียด หรือ ขยี้ หรือนำไปปั่นด้วยเครื่องปั่น (ควรใช้ระยะเวลาไม่นาน 30 วินาที – 1 นาทีก็พอเพื่อให้ผ่านความร้อนน้อยที่สุด คงคุณค่ามากที่สุด)

3.นำมากรองผ่านกระชอนหรือผ้าขาวบาง
4.ได้น้ำย่านางแล้ว

วิธีกินใบย่านาง

          ดื่มน้ำย่านางสด ๆ ครั้งละประมาณครึ่งแก้ววันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างหรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้ บางครั้งสามารถผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว ในรสชาติไม่จัดเกินไปเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้นก็ได้ค่ะ

          สิ่งสำคัญคือความพอดี หมอเขียวบอกว่า บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม เพราะฉะนั้น จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพรควรเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดและดื่มแบบพอดีกับที่ร่างกายเราต้องการ เพราะถ้าเรารู้สึกผะอืดผะอมขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่าร่างกายบอกว่าพอแล้วนั่นเองค่ะ

          สำหรับบางคนที่รู้สึกว่า กินยาก เหม็นเขียว หรือรู้สึกไม่สบาย ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำย่านาง หรือนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรือผสมกับน้ำสมุนไพรอื่น ๆ ที่ชอบ เช่น ขมิ้น ขิง ตะไคร้


ข้อสังเกต ความเข้มข้นพอเหมาะที่จะดื่ม

 

- ขณะที่ดื่มเข้าไป จะกลืนง่ายไม่ฝืดฝืน ไม่ระคายคอ
- อาการไม่สบายทุเลาลง ปากคอชุ่ม ร่างการยสดชื่นขึ้น
- ถ้่าดื่มน้อยไป อาการก็ไม่ทุเลา ถ้าดื่มมากไป ก็จะเกิดอาการไม่สบายบางอย่าง หรือในขณะดื่่มจะรู้สึกได้ว่าร่างกายจะมีสภาพต้านบางอย่างเกิดขึ้น

ประโยชน์ทางยา สารเคมีที่สำคัญ

          - รากย่านางมี isoquinolone alkaloid ได้แก่ Tiliacorine, Tiliacorinine, Nortiliacorinine A, Tiliacotinine 2-N-oxde และ tiliandrine, tetraandrine, D-isochondendrine (isberberine) การทดลองทางห้องปฏิบัติการ จากการทดลองพบว่าสารสกัดจากรากย่านางมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียชนิด ฟัลซิพารัมในหลอดทดลอง

          - ใบ รสจืดขม รับประทาน ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา ราก รสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ รับประทานแก้พิษเมาเบื่อแก้เมสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก่ไม่ผูก ไม่ถ่าย แก้กำเดา แก้ลม ทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ

          1. แก้ไข้ ใช้รากย่านางแห้ง 1 กำมือ ประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำ 2 แก้วครึ่ง เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว ให้ดื่มครั้งละ ½ แก้ว ก่อนอาหาร 3 เวลา

          2. แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง) ใช้รากย่านางแดงและรากมะปรางหวาน ฝนกับน้ำอุ่น แต่ไม่ถึงกับข้น ดื่มครั้งละ ½-1 แก้วต่อครั้ง วันละ 3-4 ครั้ง หรือทุกๆ 2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีรากมะปรางหวาน ก็ใช้รากย่านางแดงอย่างเดียวก็ได้ หรือถ้าให้ดียิ่งขึ้น ใช้รากมะขามฝนรวมด้วย

          3. ถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย ใช้รากย่านางต้นและใบ 1 กำมือ ตำผสมกับข้าวสารเจ้า 1 หยิบมือ เติมน้ำคั้นให้ได้ 1 แก้ว กรองด้วยผ้าขาวบาง ใส่เกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่ายให้หมดทั้งแก้ว ทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น

          4. ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ใช้หัวย่านางเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วนดื่มครั้งละ ½ แก้ว

ที่มา : krotron.com




Create Date : 05 มีนาคม 2556
Last Update : 5 มีนาคม 2556 10:42:45 น. 1 comments
Counter : 2076 Pageviews.

 
เคยทานที่เป็นดอกเค้าต้มมา ไม่รู้ว่าเป็นย่านาง ประโยชน์มากเลย


โดย: pragoong วันที่: 5 มีนาคม 2556 เวลา:13:34:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.