Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
15 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
Good health for Traveller : เดินทางอย่างปลอดโรค


Good health for Traveller : เดินทางอย่างปลอดโรค






เวลาเดินทางเรามักวุ่นวายกับการเตรียมเสื้อผ้า หน้า ผม ให้ดูดีเสมอ แต่เรื่องสุขภาพที่ต้องดูแลให้สมบูรณ์ทั้งก่อนและหลังเดินทางกลับไม่ค่อยมีใครนึกถึง มาดูกันดีกว่าว่าสิ่งที่คุณควรใส่ใจทุกครั้งที่ต้องเดินทางมีอะไรบ้าง



  • นักเดินทาง พร้อมสำหรับการเดินทางมากน้อยแค่ไหน ตั้งแต่ เพศ อายุ โรคประจำตัว ความเสี่ยง จิตใจอยู่ในภาวะพร้อมเดินทางหรือไม่ อยากไปหรือเปล่า มีความวิตกกังวลต่อการเดินทาง

  • สถานที่ เป็นแบบใด มีความเสี่ยง มีโรคระบาดหรือไม่ สาธารณูปโภคและสถานพยาบาลเป็นอย่างไร

  • วัตถุประสงค์ในการเดินทาง กิจกรรมที่แตกต่างกัน ทำให้ "ความเสี่ยง" ต่อการเจ็บป่วยของแต่ละคนแตกต่างกัน


จัดกระเป๋าเพื่อสุขภาพ

ในการเดินทางแต่ละครั้งคุณควรมียารักษาโรคประจำตัวและยาสามัญประจำบ้านติดตัวไป เวลาจัดยาให้เขียนชื่อยาและนำซองยาไปด้วย เพราะอาจมีบรรจุภัณฑ์ต่างกัน, รู้ว่ายาที่นำไปเก็บอย่างไร เพราะหากไปประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกับประเทศไทยมากๆ อาจทำให้ยาเสื่อมประสิทธิภาพได้ เตรียมยาไปให้เพียงพอ หากเป็นยารักษาโรคประจำตัว ควรมีใบรับรองแพทย์ เพราะอาจถูกตรวจที่สนามบิน และมีที่อยู่พร้อมเบอร์โทรศัพท์แพทย์ประจำตัวเผื่อไว้ยามฉุกเฉิน


โรคที่ต้องระวังระหว่างเดินทาง


มาลาเรีย (malaria)
สาเหตุ - มียุงก้นปล่องเป็นพาหะ

อาการ - ส่วนใหญ่แสดงอาการ หลังได้รับเชื้อไปแล้ว 1 สัปดาห์ ถึง 2 เดือน มีอาการเป็นไข้ ตัวร้อน หนาวสั่น เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ในรายที่รุนแรงจะมีอาการซีด ตัวเหลือง ซึม ไตวาย และอาจเสียชีวิตได้

วิธีป้องกัน




  • ถ้ามีไข้หลังจากเข้าป่า ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียเสมอ

  • ในประเทศไทยไม่แนะนำให้ใช้ยาป้องกันมาลาเรียก่อนเข้าป่า

  • ถ้าต้องเดินทางไปประเทศที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เขตแอฟริกา ปาปัวนิกินี ควรปรึกษาแพทย์ก่อน


สถานที่ - ประเทศเขตร้อน ทวีปแอฟริกา อเมริกากลาง - ใต้ ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค

ไข้เหลือง (yellow fever)

สาเหตุ - มียุงเป็นพาหะ

อาการ - ระยะฟักตัว 3-6 วัน อาการแบ่งเป็น 2 ระยะ ช่วงแรกจะมีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน จากนั้นอาการจะดีขึ้นชั่วคราว และอาจเข้าสู่ระยะที่ 2 ภายใน 24 ชั่วโมง เริ่มตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้อง อาเจียนและถ่ายเป็นเลือด ไตวาย และอาจเสียชีวิตภายใน 10 -14 วัน
อาการเฝ้าระวัง : มีไข้ฉับพลัน ตัวเหลืองภายใน 2 สัปดาห์ ร่วมกับเลือดออก อาจเสียชีวิตใน 3 สัปดาห์

วิธีป้องกัน



  • ฉีดวัคซีนป้องกันก่อนเดินทางไปต่างประเทศกลุ่มเสี่ยง

  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด ใส่เสื้อผ้ามิดชิด


สถานที่ - ประเทศเขตร้อน ทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้


ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A)

สาเหตุ - การกินอาหาร เช่น ผักสด ผลไม้ น้ำดื่มที่มีเชื้อ

อาการ - ระยะฟักตัว 2-6 สัปดาห์ ทำให้ตับอักเสบเฉียบพลัน มีอาการนำ เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว บางคนมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดชายโครงขวา ท้องเสีย ปัสสาวะเหลืองเข้มผิดปกติ และอาจมีอาการตัวเหลืองหลังจากมีอาการนำ 3-10 วัน

วิธีป้องกัน
ไม่ควรกินอาหารที่ไม่มั่นใจ ระวังการกินเนื้อหรือปลาดิบ ผักสด น้ำ และนมที่ไม่สะอาด

สถานที่ - ทั่วไป


ท้องร่วง/ท้องเสีย

สาเหตุ - อาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน หรือเชื้อโรคอื่นๆ

อาการ - มีอาการอาหารเป็นพิษ ท้องเสีย ถ่ายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

วิธีป้องกัน
ไม่กินผักสด หรือผลไม้ที่ไม่มั่นใจในความสะอาด อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารเย็นชืด มีแมลงวันตอม ดื่มน้ำบรรจุขวดหรือน้ำต้มสุก

สถานที่ - ทั่วไป


อาการพลัดเวลา (jet lag)

สาเหตุ - การเดินทางโดยเครื่องบินข้ามทวีป

อาการ - ร่างกายไม่สามารถปรับตัวเข้ากับช่วงกลางวัน กลางคืนของประเทศที่เดินทางไปได้ มีปัญหาเรื่องการกิน การนอนและตื่นนอน ทำให้อ่อนเพลีย หงุดหงิดและไม่มีสมาธิ

วิธีป้องกัน



  • ปรับนาฬิกาให้ตรงกับเวลาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความคุ้นชิน

  • ดื่มน้ำมากๆ เมื่ออยู่บนเครื่องเพื่อลดการสูญเสียน้ำ

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • เมื่อเดินทางถึงควรปรับตัวให้เข้ากับเวลาใหม่ กิน นอนตามเวลาใหม่ และพักผ่อนมากๆ


สถานที่ - อาจเกิดขึ้นกับผู้เดินทางโดยเครื่องบินข้ามทวีป ข้ามเขตแบ่งเวลา (time zone) ของโลก เช่น การเดินทางจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา เป็นต้น


เมาที่สูง (high altitude sickness)

สาเหตุ - ร่างกายปรับตัวไม่ทันกับสภาพอากาศที่มีออกซิเจนน้อย เมื่อขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็ว

อาการ - วิงเวียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจไม่ทัน สมองล้าและงุนงง

วิธีป้องกัน




  • พัก 2-3 วันให้ร่างกายปรับตัวกับสภาพอากาศเบาบาง

  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

  • กินอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เพราะธาตุเหล็กจะช่วยนำออกซิเจนไปยังเลือดดีขึ้น เช่นไข่ เนื้อสัตว์ ตับ ผักใบเขียว


สถานที่ - สถานที่สูง 2,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป


กินอย่างปลอดภัย
ก่อนตัดสินใจกินอาหารแต่ละครั้งควรหลีกเลี่ยง



  1. อาหารทะเล นอกจากเป็นอาหารในโรงแรมหรือร้านที่เชื่อถือได้เรื่องความสะอาด

  2. อาหารดิบและอาหารสุกๆดิบๆ เช่น หอยนางรมดิบ พล่า ยำ

  3. ผลไม้สดทั้งเปลือก ผักสด นอกจากแน่ใจว่าล้างสะอาดดีแล้ว

  4. อาหารปรุงไม่สุก หรืออาหารที่ตั้งทิ้งไว้นาน

  5. อาหารมีแมลงวันตอม

  6. อาหารหาบเร่แผงลอย น้ำหวานหรือเครื่องดื่มที่อาจใช้น้ำประปาเจือจาง ผลไม้ดอง

  7. น้ำแข็ง เพราะอาจผลิตจากน้ำไม่สะอาด


เคล็ดลับก่อนกินง่ายๆ คือ "ปรุงสุก ปอกเปลือก หรือต้มแล้ว หากทำไม่ได้ก็อย่ากิน" (cook it, peel it, boil it or forget it) เพราะการกินอาหารปรุงสุกและสะอาดทุกครั้งจะช่วยให้ปลอดภัยจากโรคต่างๆ ทั้งท้องเสีย อาหารเป็นพิษ จนถึงไวรัสตับอักเสบเอได้

นอกจากนี้ก่อนเดินทางไปต่างประเทศควรปรึกษาแพทย์และเช็คร่างกายล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อตรวจความพร้อมของร่างกาย และฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดบางชนิด สิ่งที่ต้องบอกแพทย์ทุกครั้งคือ ประวัติสุขภาพ สถานที่ที่จะเดินทางไป วิธีเดินทาง กิจกรรมที่จะไปทำ เพื่อให้การเดินทางของคุณสนุก และปลอดภัยอย่างแท้จริง

ถ้าเริ่มมีอาการไม่ควรฝืนขึ้นที่สูงต่อไป
เมื่อเดินทางเข้าป่าหลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด ใส่เสื้อผ้าปกปิดมิดชิด ใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ทายากันยุง และนอนในมุ้ง












Create Date : 15 กรกฎาคม 2554
Last Update : 15 กรกฎาคม 2554 20:25:57 น. 1 comments
Counter : 657 Pageviews.

 
ขอบคุณเนื้อหาดีๆ


โดย: junaerk วันที่: 15 กรกฎาคม 2554 เวลา:23:00:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.