Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 พฤษภาคม 2555
 
All Blogs
 
เนื้องอกมดลูก...รู้ไว้เพื่อสุขภาพตนเอง

 

เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นในตัวมดลูก ซึ่งเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา

 ไม่ใช่มะเร็ง พบบ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์ อาจพบที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง

ของตัวมดลูก มีขนาดต่าง ๆ กันไป อาจเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้บาง

ชนิดโตช้า บางชนิดโตเร็ว

ถ้าเป็นเนื้องอกก้อนเล็ก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ อาจตรวจพบโดย

บังเอิญ เมื่อไปตรวจสุขภาพหรือปรึกษาแพทย์ด้วยปัญหาอื่น และอาจไม่จำเป็น

ต้องให้การรักษาใด ๆ

ส่วนผู้ที่มีเนื้องอกขนาดโต มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ตกเลือดมาก ทาง

เดินปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง ก็จำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ ซึ่งอาจใช้วิธี

ให้ยาหรือวิธีผ่าตัด หรือใช้รวมกันทั้ง 2 วิธีก็ได้

สาเหตุ

เนื้องอกมดลูกเป็นเนื้องอกที่เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก จน

กลายเป็นก้อนเนื้องอกที่มีลักษณะเป็นก้อนหยุ่น ๆ สีซีด แตกต่างจากเนื้อเยื่อ

โดยรอบ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร สันนิษฐานว่าอาจ

เกิดจากปัจจัย เช่น พันธุกรรม พบว่าผู้ป่วยบางรายมีประวัติว่ามีมารดาหรือพี่

น้องเป็นโรคนี้ด้วย ฮอร์โมนเพศ ทั้งเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรน (ที่กระตุ้น

การเจริญของเยื่อบุมดลูก ระหว่างการมีประจำเดือนทุกเดือน) มีส่วนส่งเสริมให้

เกิดการเจริญเติบโตของเนื้องอกมดลูก พบว่าขณะตั้งครรภ์เนื้องอกมักจะมี

ขนาดโตขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื้องอกจะฝ่อเล็กลงได้เอง นอก

จากนี้ยังพบว่าในเนื้องอกมดลูกมีตัวรับ (receptors) ฮอร์โมนเอสโทรเจนและ

โพรเจสเทอโรนมากกว่ามดลูกที่ปกติ

อาการ

ถ้าก้อนขนาดเล็กอาจไม่มีอาการแสดง มักตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะที่

แพทย์ทำการตรวจภายในช่องคลอดหรือตรวจอัลตราซาวนด์บริเวณ

ท้องน้อยด้วยสาเหตุอื่น ถ้าก้อนขนาดโต มักมีเลือดออกมากหรือกะปริด

กะปรอยคล้ายดียูบี (ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก) แต่มักจะ

มีอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย หรือปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย หรือ

ปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง บางรายก้อนเนื้องอกอาจโตกดอวัยวะข้าง

เคียงทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย ท้องผูก หรือมีอาการปวดเฉียบขณะ

ร่วมเพศ ถ้าก้อนโตมาก ๆ อาจคลำได้ก้อนที่บริเวณท้องน้อยหรือมี

อาการท้องโตคล้ายคนท้อง

การแยกโรค

ควรแยกจากสาเหตุอื่น เช่น

มะเร็งเยื่อบุมดลูก มักมีอาการเลือดออกกะปริดกะปรอย หรือมีประจำเดือนออก

มากหรือนานผิดปกติ บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายปัสสาวะ หรือร่วมเพศ

หรือคลำได้ก้อนเนื้อที่ท้องน้อย ดียูบี (DUB หรือ dysfunctional uterine

bleeding) หมายถึง ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกที่ไปตรวจไม่พบ

ความผิดปกติของตัวมดลูกและรังไข่) ผู้ป่วยมักมีประจำเดือนออกมาก หรือ

กะปริดกะปรอยเป็นสัปดาห์ ๆ โดยมักจะไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย เลือด

อาจออกมากจนผู้ป่วยซีดและอ่อนเพลีย เยื่อบุมดลูกต่างที่ (endometriosis) มัก

มีปวดประจำเดือนรุนแรงทุกเดือน มีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย

หรือก้อนที่ท้องน้อยอาจมีอาการปวดตรงบริเวณหัวหน่าว ปวดเฉียบขณะร่วม

เพศ หรือปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระหรือปวดท้องน้อยเวลาถ่ายปัสสาวะร่วมด้วย

ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยจะมีประวัติขาดประจำเดือน หรือคลำได้ก้อนที่บริเวณท้องน้อย

การวินิจฉัย

แพทย์มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจภายในช่องคลอดพบก้อนเนื้องอกที่มดลูก

บางราย แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีตรวจพิเศษ เช่น อัลตราซาวนด์ (ตรวจทาง

หน้าท้องหรือผ่านทางช่องคลอด) เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่

เหล็กไฟฟ้า (MRI) ใช้กล้องส่องตรวจช่องท้องหรือโพรงมดลูก ตรวจชิ้นเนื้อ

เป็นต้น

นอกจากนี้ อาจตรวจเลือดในรายที่ตกเลือดมาก ว่ามีภาวะโลหิตจางรุนแรง

เพียงใด และอาจตรวจปัสสาวะในรายที่สงสัยมีทางเดินปัสสาวะอักเสบแทรก

ซ้อน

การดูแลตนเอง

ผู้หญิงที่มีอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์

ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติหรือปวดรุนแรงขึ้นทุกเดือน

มีประจำเดือนออกมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอยนานเกิน

1 สัปดาห์

มีอาการปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย หรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง

มีอาการปวดขณะร่วมเพศ

ท้องผูกเรื้อรัง

ปัสสาวะบ่อย กะปริดกะปรอย หรือปัสสาวะขัด

คลำพบก้อนที่ท้องน้อย หรือท้องโตคล้ายคนท้อง

ถ้าแพทย์ตรวจพบว่า เป็นเนื้องอกมดลูก ควรได้รับการรักษาตามที่แพทย์แนะนำ

ในปัจจุบัน วิธีรักษาแนวทางเลือกอื่น เช่น การบำบัดด้วยอาหาร สมุนไพร การ

ฝังเข็ม เป็นต้น ยังไม่มีข้อพิสูจน์ยืนยันว่าได้ผลจริง

การรักษา

แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค เช่น ถ้าก้อนขนาดเล็ก และไม่

มีอาการผิดปกติก็ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใด ๆ เพียงแต่เฝ้าติดตามดูการ

เปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ก้อนมักจะโตช้าหรือคงที่ และอาจฝ่อลงได้เองหลังวัย

หมดประจำเดือนเมื่อฮอร์โมนเพศพร่องลง

ในรายที่มีเลือดออกกะปริดกะปรอย แพทย์จะทำการขูดมดลูกและส่งตรวจชิ้น

เนื้อ (เพื่อแยกสาเหตุจากมะเร็ง) ให้กินยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อควบคุมภาวะเลือด

ออกและอากรปวดท้องน้อย หากหยุดยาก็จะมีเลือดออกได้อีก (ข้อควรระวังคือ

ยานี้อาจทำให้ก้อนโตขึ้นได้)

ถ้าก้อนมีขนาดโต แพทย์อาจให้ยาเพื่อทำให้ก้อนเนื้องอกยุบลง เช่น ยาที่มีชื่อ

ว่า "gonadotropin releasing hormone agonists" ยานี้จะช่วยให้ก้อนเล็กลง

เพื่อเตรียมพร้อมก่อนผ่าตัด ช่วยให้ผ่าตัดได้ง่ายขึ้น และป้องกันการเสียเลือด

จากการผ่าตัด

ส่วนการผ่าตัด จะเลือกทำในกรณีที่มีก้อนเนื้องอกโตมาก มีเลือดออกมาก ซีด

ปวดท้องรุนแรง หรือมีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดท้องเรื้อรัง หรือถ่ายปัสสาวะ

บ่อย จนไม่สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ

ในรายที่เนื้องอกก้อนเล็ก หรือผู้ป่วยยังต้องการมีบุตร แพทย์จะผ่าตัดเฉพาะ

ส่วนที่เป็นเนื้องอกออกไป ซึ่งในปัจจุบันสามารถใช้วิธีผ่าตัดโดยใช้กล้องส่อง

เข้าช่องท้อง (lapraroscopic myomectmy) หรือเข้าโพรงมดลูก

(hysteroscopic myomectomy)

ในรายที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่และไม่ต้องการมีบุตรก็จะผ่าตัดเอามดลูก

ออกทั้งหมด (hysterectomy) ซึ่งอาจใช้วิธีเปิดแผลเข้าหน้าท้องหรือทางช่อง

คลอด


  






Create Date : 06 พฤษภาคม 2555
Last Update : 6 พฤษภาคม 2555 19:55:54 น. 1 comments
Counter : 2647 Pageviews.

 
ยินดีที่ได้รู้จัก
ขอบคุณที่แวะไเยี่ยม


โดย: ยายเก๋า (ชมพร ) วันที่: 6 พฤษภาคม 2555 เวลา:23:36:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.