Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
7 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 
ขี้หู ภัยเงียบที่ควรระวัง!

 


ขี้หู

 

ใครๆ มักเข้าใจผิดว่า มี ขี้หู ไม่ดี ควรเอาออก และนี่คือ ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง… หลายคนอาจไม่ทราบว่า ขี้หู สร้างจากต่อมสร้างขี้หู ซึ่งอยู่ในช่องหูชั้นนอก ขี้หูมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ มีสารต่อต้านเชื้อโรคและไม่ละลายน้ำ มีหน้าที่ช่วยปกป้องผิวหนังของช่องหูชั้นนอก และป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องหู บางคนมีขี้หูเปียก บางคนก็ขี้หูแห้ง ขี้หูมาก ขี้หูน้อยก็มี  

โดยปกติ ขี้หู จะมีการเคลื่อนที่จากเยื่อบุแก้วหูออกไปยังช่องหูชั้นนอกได้เอง ไม่จำเป็นต้องไปแคะออก ปัญหาของขี้หูมักเกิดจาก ” ขี้หู อุดตัน” อยู่ภายในช่องหูชั้นนอก และเมื่ออุดตันนานวันเข้า ขี้หูก็จะจับตัวเป็นก้อนแข็งจนทำให้เกิดปัญหาในการรับฟังเสียงพูด คือ จะได้ยินไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ที่เรียกว่า เกิดอาการหูอื้อ หูตึง นั่นเอง

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ การใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดช่องหูชั้นนอก โดยเฉพาะหลังอาบน้ำ แล้วมีน้ำเข้าหู จะทำให้รู้สึกรำคาญ ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะยิ่งกระตุ้นให้ต่อมสร้างขี้หูทำงานมากขึ้น มีปริมาณขี้หูที่ผลิตออกมามากขึ้น และถ้ายิ่งดันไม้เข้าไป หรือปั่นรูหูแรงๆ จะทำให้ขี้หูในช่องหูอัดแน่นยิ่งขึ้น และอาจทำให้ช่องหูชั้นนอกถลอก อักเสบ ติดเชื้อได้ เนื่องจากผิวหนังภายในช่องหูชั้นนอกนั้น เปราะบางมาก เวลาแหย่ไม้เข้าไปลึกๆ แล้วไปกระแทกโดนเข้าจะเจ็บมาก และอาจทำให้เยื่อแก้วหูบาดเจ็บหรือทะลุได้

   ฉะนั้น เมื่อสงสัยว่ามีขี้หูอุดตัน ควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะใช้เครื่องส่องหูตรวจช่องหูชั้นนอกว่าเป็นขี้หูอุดตันจริงหรือไม่

  ถ้าเป็น ขี้หู อุดตันจริง…

  1. แพทย์จะพยายามนำ ขี้หู ออกให้ อาจโดยการล้างช่องหูชั้นนอกด้วยน้ำเกลือ การคีบหรือดูด หรือใช้เครื่องดูดขี้หูออก

  2. ถ้าไม่สามารถเอาขี้หูออกได้ เนื่องจากขี้หูอัดแน่นมาก หรือเอาออกได้เพียงบางส่วน แพทย์จะสั่งยาละลายขี้หูจำพวกโซเดียมคาร์บอเนตให้ไปหยอดที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์ วันละ 7-8 ครั้ง แล้วนัดมาดูอีกครั้ง ซึ่งหลังจากหยอดยาละลายขี้หูแล้ว จะทำให้ขี้หูอ่อนตัวมากขึ้น ทำให้แพทย์เอาขี้หูออกได้ง่าย แต่อาจทำให้ขี้หูในช่องหูขยายตัวและอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น ทำให้หูอื้อมากขึ้นได้

ครั้งต่อไปเพื่อป้องกันไม่ให้ขี้หูอุดตันอีก ควรปฏิบัติดังนี้

  1. อย่าใช้นิ้วแหย่ช่องหูเด็ดขาดเพราะขอบเล็บที่ปลายนิ้วจะทำให้ช่องหูชั้นนอกถลอก ติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย

  2. อย่าใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดหู หรือปั่นหูเมื่อน้ำเข้าหูอีก ควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าขณะอาบน้ำ โดยหาสำลีชุบวาสลินหรือสวมหมวกอาบน้ำดึงลงมาคลุมถึงใบหู ในรายที่เล่นกีฬาทางน้ำ อาจใช้ที่อุดหูสำหรับนักดำน้ำซึ่งมีขายตามร้านกีฬามาช่วย

  3. หลายคนมักคิดว่า การทำความสะอาดข้างในช่องหูหรือเช็ดรูหูนั้น ก็เหมือนกับการทำความสะอาดร่างกายทั่วไป แต่จริงๆ แล้ว การปล่อยให้มีขี้หูเคลือบช่องหูบ้าง จะดีกว่า เพราะยิ่งเช็ด หรือแคะหูมาก ช่องหูจะยิ่งแห้ง คันและระคายเคืองได้มากกว่า แต่ถ้าน้ำเข้าหู อาจใช้ไม้พันสำลี ชนิดเนื้อแน่น ขนาดเล็กซับน้ำที่ปากช่องหูเล็กน้อยก็พอ แต่ถ้าน้ำเข้าหูเป็นชั่วโมงแล้ว ยังไม่ออกมา หูยังอื้ออยู่ ส่วนใหญ่เป็นเพราะมีขี้หูซึ่งอยู่ในส่วนลึกของช่องหู อมน้ำไว้ ถ้ามีอาการเช่นนี้ควรให้แพทย์หู-คอ-จมูก ตรวจทำความสะอาดช่องหูจะดีที่สุด

  4. ในรายที่ขี้หูแห้ง อาจใช้ยาละลายขี้หู หยอดรูหูเป็นประจำ เพื่อทำการล้างขี้หู อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหา อาจห่างออกไปเป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 อาทิตย์ หยอด 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หูในช่องหูชั้นนอกได้

เพียงเท่านี้…….. ท่านก็จะไม่พบกับปัญหาขี้หูอุดตันอีกต่อไป

ขอบคุณที่มาบทความจาก  women.thaiza




Create Date : 07 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2556 15:02:07 น. 0 comments
Counter : 1022 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.