Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
ผู้หญิงทำงาน 2 ปัญาหาสุขภาพ ที่สาวทำงานต้องแก้ไขด่วน






เดี๋ยวนี้สาว ๆ เราทำงานกันคร่ำเครียด และมีไลฟ์สไตล์อยู่หน้าโต๊ะทำงานมากกว่าเดิม อาการเจ็บป่วยมันถึงได้ถามหา เราจึงเอา 2 โรคหลักๆ ที่มักเกิดกับสายตาและร่างกายมาฝาก



1. Computer Vision Syndrome (CVS)


จากการสำรวจของ American Optometric Association พบว่าร้อยละ 88% ของคนทำงานกว่า 143 ล้านคนในอเมริกาประสบปัญหาสายตาเมื่อยล้า ในขณะที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ และเมื่อคนทำงานหน้าคอมพ์กันมากขึ้นเรื่อย ๆ CVS จึงกลายเป็นปัญหาหลัก


สำหรับ CVS หมายถึงกลุ่มอาการของตาและสายตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเกิดขึ้นเมื่อดวงตากับสมองประมวลภาพตัวอักษรในจอภาพ ต่างจากการอ่านหนังสือบนกระดาษ บนจอภาพตัวอักษรจะไม่มีขอบชัดเจน หรือคอนทราสต์อย่างในหนังสือ ดวงตาจึงไม่สามารถเพ่งได้นานนัก อาจเป็นเพราะการจัดแสงให้ห้องไม่ดี ท่านั่งไม่ถูกต้อง ระยะห่างจากหน้าจอไม่พอดี หรือเป็นเพราะแสงจ้าจากคอมพิวเตอร์ หรือว่าปัจจัยทั้งหมดรวมกัน และหากคุณต้องมองคอมพิวเตอร์นานกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิด CVS ไม่มากก็น้อย


CVS มีอะไรบ้าง เนื่องจากเดิมทีดวงตาของเราได้รับการออกแบบมาให้ดำรงชีวิตในป่า เน้นการมองไกลเพื่อหาสิ่งอันตรายรอบตัว แต่วิถีชีวิตปัจจุบันทำให้เรามองใกล้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น ตาส่อน ภาพเบลอ สายตาเอียง ฯลฯ แต่กลุ่มอาการของ CVS อาจรวมไปได้ถึง

ดวงตาเมื่อยล้า ตากระตุก
เห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน
ปวดศีรษะ
ปวดไหล่และคอ

อาการเหล่านี้อาจส่งผลต่อการทำงานได้ โดยมีรายงานพบว่า ยิ่งพนักงานมีปัญหาสายตา ก็ยิ่งต้องใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น แม้แต่คนที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการ CVS ก็จะมีประสิทธิภาพการทำงานน้อยลงด้วย


ป้องกันได้อย่างไร


คอมพิวเตอร์ ตามอุดมคติแล้ว หน้าจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา 15-20 องศา (ประมาณ 4 ถึง 5 นิ้วต่ำกว่าระดับสายตา) และอยู่ห่างจากดวงตาตั้งแต่ 20-28 นิ้ว หากคุณต้องมองเอกสารไปด้วย ควรจะหาที่หนีบไว้ข้างจอดีกว่า เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องก้มเงยบ่อยนัก และต้องพยายามวางหน้าจอไม่ให้มีแสงสะท้อน หรือใช้ฟิลเตอร์กันแสง ซึ่งจะช่วยลดแสงสะท้อนจากหน้าจอได้


ดวงตา เพื่อมิให้ดวงตาเมื่อยล้าเกินไป พยายามพักสายตาหากต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน เช่น พักดวงตาทุก ๆ 15 นาทีหลังจากจ้องคอมพ์นานกว่า 2 ชั่วโมง และทุก ๆ 20 นาทีที่ใช้คอมพ์ ให้จ้องไปที่ไกล ๆ 20 วินาที อย่าลืมกะพริบตาเป็นประจำ นอกจากนี้ แว่นตาหรือคอนแท็กเลนส์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันอาจไม่เหมาะสำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ คุณควรปรึกษาจักษุแพทย์


Did You Know?


การตรวจสายตาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน แต่คนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำยิ่งต้องตรวจ เพราะเนื่องจากมีการศึกษาชี้ว่าคนที่ใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ อาจเสี่ยงต่อโรคต้อหินได้


2. Carpal Tunnel Syndrome (CTS)


โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เกิดขึ้นเมื่อเราใช้ข้อมือในท่าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ในกรณีนี้คือการใช้เมาส์และใช้คีย์บอร์ด เมื่อเส้นประสาทได้รับแรงกดซ้ำ ๆ ทำให้เกิดพังผืดบริเวณข้อมือ โดยเราพบ CTS ในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย ประเมินว่าพบในหญิงสาวตั้งแต่ 60-120 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ทั้งนี้ผู้หญิงในช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี ผู้หญิงตั้งครรภ์ในระยะสุดท้าย ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดประจำ คนที่กินฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือการสูบบุหรี่ ก็อาจจะเป็นปัจจัยร่วมด้วย


อันตรายแค่ไหน


อาการชาและสั่นของ CTS มักจะเกิดขึ้นทีละน้อย แต่ละเลวร้ายลงเรื่อย ๆ หากคุณไม่รักษา ในระยะแรกคุณจะพบว่ามือชาเป็นบางส่วน แต่ก็มักจะหายไปเองโดยที่เส้นประสาทไม่ได้เสียหาย พอนานเข้าคุณอาจพบว่ามือและนิ้วชาบ่อยครั้ง นิ้วโป้งไม่มีแรงจึงไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ สำหรับระยะนี้การรักษาอาจใช้ยาแก้อักเสบ (NSAIDs) เพื่อลดอาการปวดประกอบกับการทำกายภาพบำบัด และมักจะหายในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์เท่านั้น หากไม่รักษาเส้นประสาทก็อาจเสียหายถาวร ขั้นนี้อาจจะต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งการควบคุมมือของคุณจะไม่มีวันกลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป


ป้องกันได้อย่างไร


พยายามนอนโดยให้ข้อมือเหยียดตรง
เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ ควรหาที่รองข้อมือเพื่อไม่ให้ข้อมือพับ
หลีกเลี่ยงการยืด/หดข้อมือซ้ำ ๆ และพยายามพักข้อมือโดยการเหยียดเสมอ ๆ




ขอบคุณ : lisa








Create Date : 17 มีนาคม 2555
Last Update : 17 มีนาคม 2555 23:36:07 น. 0 comments
Counter : 869 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็กซ์ซ่า
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 43 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็กซ์ซ่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.