ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

นักวิทยาศาสตร์ผิดหวังไดโนเสาร์ใน Jurassic World ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง

แฟนหนังทั่วโลกรอคอยการเผยโฉมตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง Jurassic World ภาคต่อของหนังไดโนเสาร์สุดฮิตของ สตีเวน สปีลเบิร์ก แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ได้ชมหนังตัวอย่างแล้ว ต่างแสดงความผิดหวังที่ผู้สร้างไม่ใส่ใจกับการถ่ายทอดลักษณะของไดโนเสารให้ถูกต้องตามหลักฐานทางวิชากา


ฉากตื่นตาจากตัวอย่างภาพยนตร์ Jurassic World ภาคต่อจากไตรภาค Jurassic Park หนังสุดดังเมื่อยุค 90 มีการนำเสนอตัวละครใหม่อย่าง โมซาซอร์ กิ้งก่าทะเลดึกดําบรรพ์ ที่เชื่อว่าเป็นญาติใกล้ชิดกับงูในปัจจุบัน แต่ขนาดที่ใหญ่โตเท่ากับเครื่องบินโบอิ้งที่เห็นในภาพยนตร์ แตกต่างจากหลักฐานการค้นพบฟอสซิลซึ่งยืนยันว่า โมซาซอร์ มีขนาดความยาวที่สุดที่ 15 เมตรเท่านั้น

การเปิดตัวตัวอย่างภาพยนตร์ Jurassic World เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา สร้างความสนใจจากแฟนหนังจนทำยอดวิวทางยูทูบแล้วเกือบ 30 ล้านครั้ง แต่ในสายตาของนักบรรพชีวินวิทยา ผู้ศึกษาประวัติความเป็นมาของวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตในยุคบรรพกาลแล้ว หนังที่ซึ่งสร้างต่อจากต้นฉบับมานานกว่า 2 ทศวรรษ ยังคงนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะของไดโนเสาร์ที่ล้าสมัยอยู่เช่นเดิม แม้หลายปีที่ผ่านมาวงการวิทยาศาสตร์จะมีการค้นพบหลักฐานใหม่ๆมากมาย โดยเฉพาะที่พบว่าไดโนเสาร์ส่วนใหญ่จะมีขนตามตัวมากน้อยตามแต่สายพันธุ์ แต่ในตัวอย่างหนังใหม่ยังพบว่าไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ยังมีผิวที่เรียบหรือไม่ก็มีผิวหนังเป็นเกล็ดไม่ต่างจากจระเข้อยู่เช่นเดิม

ภาพบางส่วนจากสตูดิโอผู้สร้าง

ซึ่งภาคใหม่มีการนำ เวโลซีแรปเตอร์ ไดโนเสาร์กินเนื้อที่ฉลาดและว่องไวมาเป็นตัวดำเนินเรื่องหลักของ Jurassic World แต่ภาพที่เห็นยังพบว่าผู้สร้างยังคงถ่ายทอดให้ แรปเตอร์ เป็นสัตว์ที่เป็นภัยคุกคามและมีขนาดที่ใหญ่เกือบเท่ามนุษย์ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว แรปเตอร์ มีขนาดไม่ใหญ่ไปกว่าไก่ตัวหนึ่งเท่านั้น และไม่มีความร้ายกาจเหมือนที่ถ่ายทอดในหนังแต่อย่างใด ซึ่งการถ่ายทอด ไทแรนโนซอรัส หรือ ทีเร็กซ์ ในหนังภาคแรก ก็ถูกวิจารณ์อย่างมาก เมื่อจากหลักฐานทางฟอสซีลพบว่า ทีเร็กซ์ ในยุคจูราสสิค ไม่มีวันตัวใหญ่โตเหมือนในหนัง และมีความเร็วในการวิ่งสูงสุดแค่ 25 ไมล์ต่อชั่วโมง จึงไม่อาจวิ่งไล่ตามรถยนตร์ได้เหมือนที่ผู้สร้างถ่ายทอดในหนังแต่อย่างใด

ภาพบางส่วนจากสตูดิโอผู้สร้าง

วงการวิทยาศาสตร์ให้การยกย่องว่า หนังต้นฉบับเมื่อปี 1993 ช่วยให้การศึกษาเกี่ยวกับที่มาของไดโนเสาร์ ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดย โธมัส อาร์ โฮลท์ซ จูเนียร์ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ยอมรับว่า Jurassic Park เป็นหนังที่สนุก และนักวิทยาศาสตร์หลายคนก็ยินดีที่จะดูหนังภาคใหม่ที่เข้าโรงในปีหน้า แต่คงจะดีกว่านี้หากผู้สร้างให้ความใส่ใจกับการถ่ายทอดไดโนเสาร์ให้ถูกต้องตามการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ภาพยนตร์มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเป็นเพียงถ่ายทอดเรื่องราวเพ้อฝันทั่วไป

ภาพบางส่วนจากสตูดิโอผู้สร้าง




Create Date : 28 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2557 22:43:16 น. 0 comments
Counter : 2400 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]