Group Blog
All Blog
### ผ่อนบ้านหมดก่อนกำหนด เรียกคืนเงินประกันได้นะ ###












ผ่อนหมดก่อนกำหนด

เรียกคืนเงินประกันได้นะ รู้ยัง?

..............






ใครที่กำลังผ่อนบ้าน เร่งโปะหนี้บ้าน เพื่อปิดหนี้ให้เร็วที่สุด

นั่นเป็นความคิดที่ถูกต้องแล้วเพราะหนี้บ้านนั้น

ยิ่งนานดอกเบี้ยก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นการผ่อนบ้านให้หมดโดยเร็ว

จึงสามารถลดดอกเบี้ยลงได้อย่างเห็นได้ชัดเจน

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดี ดังตัวอย่างที่เราเคยนำมา

เปรียบเทียบกันให้ชมไปแล้วระหว่างการผ่อนสั้นหมดเร็ว

และผ่อนยาวสบายๆ แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบก็คือ

ถ้าเราผ่อนหมดก่อนกำหนด ยังสามารถเวนคืนประกันชีวิต

คุ้มครองสินเชื่อ MRTA ที่ทำไว้ได้อีกด้วยนะ

  ซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดอย่างไร

โปรดอ่านบทความครั้งนี้จาก DDproperty ครับ












ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ MRTA คืออะไร

ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ หรือ MRTA นั้น

คือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการที่คุณอาจไม่คุ้นเคย

เท่ากับ ประกันหนี้บ้าน หรือประกันบ้าน 

 ประกันฯ ประเภทนี้มีลักษณะบางส่วนที่คล้ายคลึงกับประกันชีวิต

 แต่มีจุดประสงค์ที่แตกต่างออกไปจากประกันชีวิต

ตรงที่มีจุดมุ่งหมายในการประกันความเสี่ยง

ในการชำระหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

  ทำให้จุดเด่นของประกันชนิดนี้จะอยู่ที่การให้ความคุ้มครอง

ผู้กู้สินเชื่อบ้าน โดยประกันจะผ่อนชำระหนี้บ้านให้แทนผู้กู้

ในกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพสิ้นเชิงเป็นการถาวร

ตามระยะเวลาที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตฯ

 และตามทุนประกันที่ระบุเอาไว้ในประกันชีวิตฯ

  การทำประกันฯ เอาไว้จะเกิดประโยชน์ต่อธนาคารในฐานะเจ้าหนี้

 เพราะจะเกิดความเชื่อมั่นว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับผู้กู้ก็ตาม

ธนาคารจะได้รับการชำระหนี้จากกรมธรรม์

ที่ทำไว้กับบริษัทประกันชีวิต 

 ฝ่ายผู้กู้เองก็จะได้รับประโยชน์จากการประกันความเสี่ยง

ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง โดยไม่ว่าผู้กู้จะเป็นอะไรไป

ก็จะมีกรมธรรม์โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้ชำระหนี้บ้านให้

ทำให้บ้านที่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระนั้น

ไม่ตกไปเป็นภาระของครอบครัว

และไม่โดนธนาคารยึดไปเนื่องจาก

ไม่สามารถชำระหนี้สินเชื่อบ้านได้ 

 ทำให้หลายคนที่เล็งเห็นประโยชน์นี้เลือกที่จะทำประกันชนิดนี้เอาไว้

  แม้แต่ธนาคารซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์

ก็มักจะรวมการประกันเอาไว้ด้วยเป็นรูปแบบหนึ่งของสินเชื่อ

โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่ากรณีที่ไม่ทำประกันชีวิต

ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากธนาคารประเมินความเสี่ยงของผู้กู้

ที่ทำประกันเอาไว้ต่ำกว่าผู้กู้ที่ไม่ทำประกัน

ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ MRTA เอาไว้หรือไม่

หากคุณผ่อนบ้านมานาน จนไม่แน่ใจหรือลืม

ว่าได้ทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อเอาไว้หรือไม่

  ประกันชนิดนี้มักจะทำควบคู่ไปกับการขอสินเชื่อบ้าน 

 ซึ่งธนาคารไม่ได้บังคับให้ผู้กู้ทุกรายต้องทำสินเชื่อ

แต่มักจะมีข้อเสนอให้ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่ต่ำกว่า

ในกรณีที่ผู้กู้เลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองเงินฝากด้วย 

 โดยเบี้ยประกันนี้จะจ่ายเพียงครั้งเดียวในตอนที่เริ่มต้นทำประกัน

โดยที่เบี้ยประกันจะไปรวมอยู่ในยอดหนี้หรือวงเงินกู้ของเรา 

 ถ้าหากคุณมีการทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อเอาไว้

ก็จะมีเอกสารกรมธรรม์ที่แสดงรายละเอียดของประกันฯ

 วงเงินประกัน เงื่อนไขการชดเชย รายชื่อผู้เอาประกัน

ซึ่งเป็นรายละเอียดเดียวกับประกันเหมือนประกันชีวิต

หรือประกันภัยทั่วไป หรือถ้าหากหากรมธรรม์ไม่พบ

ก็สามารถตรวจสอบกับธนาคารหรือบริษัทประกันได้โดยตรง

ซึ่งบริษัทประกันที่จะเลือกใช้นั้นจะเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือ

ของธนาคารที่เราใช้บริการสินเชื่อนั่นเอง
















ผ่อนหมดก่อน ขอเวนคืนประกันชีวิต

คุ้มครอบสินเชื่อ MRTA ได้หรือไม่

ถ้าหากผู้กู้เลือกทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ MRTA เอาไว้

ให้คุ้มครองวงเงินจำนวนหนึ่ง และเลือกความคุ้มครอง

ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาเมื่อผ่อนชำระสินเชื่อบ้าน

ไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว 

 ผู้กู้สามารถผ่อนชำระได้มากกว่าจำนวนเงินขั้นต่ำ

ที่จะต้องผ่อนชำระต่องวด ทำให้ผู้กู้สามารถผ่อนชำระหนี้

ได้หมดสิ้นก่อนกำหนดที่ตั้งไว้และที่สำคัญ

ก็การผ่อนชำระนั้นเสร็จสิ้นลงก่อน

ที่ช่วงเวลาคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิต

คุ้มครองสินเชื่อ MRTA ที่ผู้กู้ทำเอาไว้จะหมดลง

ในกรณีนี้ผู้กู้สามารถเวนคืนเบี้ยประกัน

ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่คืนได้

  เนื่องจากไม่มียอดหนี้คงค้างแล้ว จึงไม่มีความจำเป็น

ที่จะต้องคงความคุ้มครองของประกันเอาไว้ต่อไป

ยกตัวอย่าง

ผู้กู้เพศชาย อายุ 30 ปี วงเงินกู้ 3 ล้านบาท

ขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นเวลา 30 ปี 

 ผู้กู้ตัดสินใจทำประกัน โดยมีวงเงินประกัน 100%

ของวงเงินกู้หรือเท่ากับ 3 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 20 ปี

ซึ่งคำนวณเบี้ยประกันออกมาได้เท่ากับ 155,550 บาท 

 ซึ่ง 155,550 บาทนี้จะจ่ายเพียงครั้งเดียวตอนเริ่มต้นประกัน

หรือจะรวมเข้ากับยอดหนี้ของสินเชื่อบ้านไปเลย

อีก 10 ปีต่อมาพบว่าผู้กู้สามารถผ่อนบ้านหมดลง

  ในขณะที่กรมธรรม์ผู้กู้ซื้อความคุ้มครองไว้ 20 ปี

ยังคงเหลือระยะเวลาที่คุ้มครองอยู่อีก 10 ปี

  ในกรณีนี้ผู้กู้สามารถเวนคืนประกันเพื่อเรียกเบี้ยประกัน

ในช่วงเวลา 10 ปีที่เหลือคืนได้

จากตัวอย่างจะพบว่าเบี้ยประกันเป็นจำนวนเงิน

ที่ค่อนข้างเยอะพอสมควร ซึ่งเบี้ยประกันจะมากน้อย

ขึ้นอยู่กับทุนประกันมากหรือน้อย

  และระยะเวลาคุ้มครองประกันสั้นหรือยาว

ยิ่งทุนประกันสูงและระยะเวลานาน

ก็จะคำนวณออกมาเป็นเบี้ยประกันที่สูงตามไปด้วย  

เวนคืนประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ MRTA ได้อย่างไร

วิธีการในการเวนคืนประกันคุ้มครองสินเชื่อ MRTA นั้น

ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อนเลย

 โดยผู้กู้สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง 

 ด้วยการนำกรมธรรม์ประกันชีวิต MRTA ฉบับที่ผู้กู้ถืออยู่

ไปที่บริษัทประกันที่ทำประกันอยู่

  เจ้าหน้าที่จะให้กรอกแบบฟอร์มขอเวนคืนประกัน 

 จากนั้นจะคำนวณเบี้ยประกันที่จะได้รับคืนจากการเวนคืนประกัน

ให้ทราบ แล้วจึงจ่ายเบี้ยประกันส่วนที่เหลือให้ผู้กู้

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

หากไม่เวนคืนประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อจะเกิดผลอย่างไร

ในกรณีที่ผู้กู้ไม่ได้เวนคืนประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ

ความคุ้มครองของประกันก็จะดำเนินต่อไปจนกระทั่งสิ้นสุด

ระยะเวลาคุ้มครองตามระบุในกรมธรรม์

ความคุ้มครองที่ผู้กู้จะได้รับจะมีลักษณะที่คล้ายกับประกันชีวิต

คือถ้าหากผู้กู้เสียชีวิตในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

 ผู้เอาประกันตามรายชื่อในกรมธรรม์ก็จะสามารถ

ยื่นขอเอาประกันได้เท่ากับจำนวนเบี้ยประกันที่ยังเหลืออยู่

ณ ช่วงเวลานั้น

การทำประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ MRTA นั้น

นอกจากจะมีประโยชน์ต่อผู้กู้

และธนาคารในด้านการประกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อตัวผู้กู้เอง

 แล้วก็ยังมีประโยชน์ในทางภาษีอีกด้วยครับ

 โดยสำหรับการทำประกันที่มีระยะเวลาเอาประกันตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้

 ฉบับที่ 172 ที่ประกาศ ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2551

 อนุญาตให้นำเบี้ยประกันภัยของความคุ้มครองชีวิต

ไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้อีกด้วยครับ

เรื่องข้างต้นนี้เขียนโดย เชษฐพล มานิตย์

 นักเขียนออนไลน์ประจำ DDproperty.com

หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่

chetapol@ddproperty.com



ขอบคุณที่มา DDproperty.com

ขอบคุณภาพแบบบ้านสวยๆจากกทม.ค่ะ








Create Date : 22 มิถุนายน 2558
Last Update : 18 ธันวาคม 2558 12:01:19 น.
Counter : 975 Pageviews.

0 comment
### ประกันภัยทางโทรศัพท์จะยกเลิกอย่างไร ###


















ประกันภัยทางโทรศัพท์ยกเลิกอย่างไร

..............

 ด้วยความต้องการให้ธุรกิจประกันภัยขยายตัวได้รวดเร็ว

จึงมีการอนุญาตให้มีการขายประกันภัยทางโทรศัพท์ได้

 ความเสี่ยงจึงตามมาที่ผู้บริโภค

เมื่อเผลอตกลงรับปากทางโทรศัพท์โดยไม่ตั้งใจไปแล้ว

อยากจะเปลี่ยนใจยกเลิก มักถูกปฏิเสธ

“ไม่สามารถยกเลิกได้”

ทำให้จำยอมต้องจ่ายค่าประกันไป

ความจริงแล้ววิธีการบอกเลิกสัญญาประกันทำได้ไม่ยากตามนี้

1.หากไม่ต้องการทำประกันให้ขอวางสายทันที


2. หากตัวแทนประกันยังตื๊อ ไม่ยอมวางสาย

ให้ขอชื่อ-นามสกุล เลขที่ใบอนุญาต และชื่อบริษัทประกัน

เพื่อแจ้งต่อคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม

การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

3. ก่อนวางสายผู้บริโภคมีสิทธิสอบถามตัวแทนประกัน

ว่าได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคมาได้อย่างไร

ซึ่งตัวแทนประกันต้องตอบ

(ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม

การประกอบธุรกิจประกันภัย

เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

 ผ่านทางโทรศัพท์ พ.ศ.2552 ข้อ 9.2)

กรณีเผลอตกลงทำสัญญาไปแล้วทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

แต่ต้องการบอกเลิกสัญญาขอเงินคืนในภาย หลัง

1. ถ้ายังไม่ได้รับกรมธรรม์ สามารถบอกเลิกได้ตลอดเวลา

2. ถ้าได้รับกรมธรรม์มาแล้ว สามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ได้

ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์

 (ประกาศคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม

การประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์

วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

 ผ่านทางโทรศัพท์ พ.ศ.2552 ข้อ 9.4.5)

3. วิธีการบอกเลิกกรมธรรม์ที่ได้ผล อย่าใช้ทางโทรศัพท์

 ต้องทำเป็นจดหมายบอกเลิกสัญญา

ส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

ไม่ควรบอกเลิกทางโทรศัพท์ทางเดียว

เพราะส่วนใหญ่มักไม่ได้ผล

(ดูแบบฟอร์มการบอกเลิกสัญญา)

4. หากชำระเป็นเงินสดผู้บริโภคจะต้องได้รับเบี้ยประกันภัยคืน

เต็มจำนวน ภายใน 30 วันนับจากวันที่บอกเลิก4.

หากชำระเบี้ยประกันภัยด้วยบัตรเครดิต

หรือหักเงินผ่านบัตรเครดิตไปแล้ว

ให้ทำจดหมายขอปฏิเสธการชำระหนี้

และขอเงินที่ได้ชำระไปแล้วคืน ไปยังบริษัทบัตรเครดิต

หรือธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต

พร้อมแนบสำเนาจดหมายบอกเลิกสัญญากรมธรรม์

ส่งไปให้ด้วย โดยส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

(ประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

 เรื่อง ให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา

พ.ศ. 2542 ข้อ 7 (ข))

5. ผู้บริโภคมีสิทธิร้องเรียน ตัวแทนหรือนายหน้าประกัน

และบริษัทประกัน กับ คณะกรรมการกํากับ

และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ให้เพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต

หรือใบอนุญาตเป็น นายหน้าประกันชีวิต

 ตามมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535

ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551

(ประกาศคณะกรรมการกํากับ

และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

ผ่านทางโทรศัพท์ พ.ศ.2552 ข้อ 6)



Cr:ไทยอินโฟเน็ต





ขอบคุณที่มา fb. Ampaipan Wachaporn
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ























Create Date : 09 มิถุนายน 2558
Last Update : 9 มิถุนายน 2558 13:08:17 น.
Counter : 8881 Pageviews.

0 comment
### พระราชบัญญัติการทวงหนี้ พ.ศ. 2558 ###











พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้  พ.ศ. 2558

..................




 นับตั้งแต่วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ไปอีก ๑๘๐ วัน .....

ไม่ว่าหนี้จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่.....

บรรดานักทวงหนี้มีสิทธิเดินเข้าคุกกันถ้วนหน้านะครับ.....

ว่าแต่ว่าค่าตัวนักทวงหนี้ก็คงจะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว.....

ฎหมายว่าด้วยการทวงหนี้คือ

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. ๒๕๕๘

มีผลใช้บังคับตั้งแต่ครบ ๑๘๐ วัน

โดยนับแต่วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้นไป

(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘

โดยมาตรา ๒ บอกว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ

เมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่

วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป)

และไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม

.....(๑)ถ้าที่ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นได้รับการปฏิบัติจาก .....

“ผู้ทวงถามหนี้” .....

ที่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัตินี้

 ก็ให้ลูกหนี้หรือบุคคลอื่นนั้นมีสิทธิร้องเรียน

ต่อคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้

ประจำจังหวัดหรือประจำกรุงเทพมหานคร

เพื่อวินิจฉัยสั่งการได้

.....(๒) “ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า

.....(๒.๑)เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ

.....(๒.๒)ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค

 เช่นบริษัทรถยนต์ เครื่องใช้ฟ้า และอีกสารพัดบรรดามี

.....(๒.๓)ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระ

ตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน

.....(๒.๔)และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจาก

การกระทำที่เป็น ทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้

....(๒.๕)ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว

.....(๒.๖)ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้

.....(๒.๗)ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

.....(๒.๘)และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย

..... (๓) “ธุรกิจทวงถามหนี้” หมายความว่า.....

 “การรับจ้างทวงถามหนี้” .....

ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมเป็นปกติธุระ

(คุณตำรวจ คุณทหาร คุณนักเลง ที่รับจ้างทวงหนี้

แบบลับๆอ้อมๆก็อยู่ในข่ายนี้นะครับท่านผู้มีเกียรติครับ)

.....(๔) “ธุรกิจทวงถามหนี้” ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้

ของทนายความซึ่งกระทำแทนลูกความของตน

*****ทนายความที่ทวงหนี้แทนลูกความและซื่อสัตย์สุจริตอ

ยู่ในกรอบวิชาชีพก็ไม่มีโอกาสตกเป็นผู้กระทำความผิด

ตามพระราชบัญญัตินี้ แหกกรอบเมื่อไหร่ก็โดนแหละครับ

.....(๕) ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทำการทวงถามหนี้

ในลักษณะดังต่อไปนี้

.....(๕.๑) ห้ามข่มขู่ ห้ามใช้ความรุนแรง ห้ามกระทำการ

ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย,ชื่อเสียง,

 หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น

.....(๕.๒) ห้ามใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น

.....(๕.๓) ห้ามแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้

ห้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้

***** เว้นแต่ เว้นแต่ สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้

และบุคคลเหล่านี้ได้สอบถาม “ผู้ทวงถามหนี้”

ถึงสาเหตุของการติดต่อให้ “ผู้ทวงถามหนี้” ชี้แจงข้อมูล

เกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็นและตามความเหมาะสม

.....(๕.๔) ห้ามติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร,เอกสารเปิดผนึก,

โทรสาร,หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน

เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนอง

ด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่ง

เจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น

หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

.....(๕.๕) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์

หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมาย

ในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่า

เป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้

เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของ “ผู้ทวงถามหนี้”

ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

.....(๕.๖) ห้ามทำการทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสม

ในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

*****ความใน (๕.๖) มิให้นำมาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้

เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล

.....(๖) มีคุกรออยู่นะครับท่าน ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้

ก็มีโทษทางอาญาคือจำคุกและมีโทษทางปกครองคือปรับ

และ/หรือสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนของผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็เท่านี้แหละครับ

นับว่าผมนี่เก่งมากที่สามารถย่อ พ.ร.บ.ทั้งฉบับมาได้ขนาดนี้

แถมท่านทั้งหลายอ่านแล้วก็เข้าใจเสียด้วยสิครับ.....

ปรบมือให้ผมหน่อยนะครับ




Cr:ทีนิวส์

ขอบคุณที่มา  fb.Ampaipan Wachaporn 







Create Date : 29 พฤษภาคม 2558
Last Update : 29 พฤษภาคม 2558 16:25:40 น.
Counter : 1925 Pageviews.

0 comment
### ถวายเงินพระสงฆ์เกิน 3,000 บาท ผิดกฎหมายอาญาและผิดวินัยสงฆ์ ###
















คำพิพากษาฎีกาที่ 2003-1005/2500 และ

คำพิพากษาฎีกาที่  2003-2005/2500


พระสังฆาธิการ หรือพระสงฆ์ ผู้มีตำแหน่ง

ในการปกครองคณะสงฆ์ ไทยซึ่งประกอบด้วย

1. เจ้าคณะใหญ่

 2. เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค

3.เจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด

 4. เจ้าคณะอำเภอ รองเจ้าคณะอำเภอ

 5. เจ้าคณะตำบล รองเจ้าคณะตำบล

 6. เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติให้เป็น “เจ้าพนักงาน”

โดยอาศัยการตีความจากศาลฎีกา

ในคำพิพากษาฎีกาที่ 2003-1005 /2500

 และคำพิพากษาฎีกาที่ 2003-2005 / 2500

ห้ามพระสังฆาธิการ รับทรัพย์สินเกิน 3,000 บาท

หากเกินวงเงิน ต้องนำทรัพย์สินมอบให้วัด

และหากฝ่าฝืนก็จะผิด พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542

มาตรา 103










Create Date : 27 พฤษภาคม 2558
Last Update : 6 กรกฎาคม 2559 8:34:47 น.
Counter : 1736 Pageviews.

0 comment
### คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับบัตรเครดิต อยากรอดต้องอ่าน ###




















 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4001/2551


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์

*****.....(1)เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย.....

(2)เป็นการพ้นวิสัย

หรือ.....(3).....เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย

หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

*****การนั้นเป็นโมฆะ

.

.....(1)ข้อกำหนดซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย

ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 8

แห่ง ประกาศกระทรวงการคลัง

เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาต ตาม ข้อ 5

แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58

(เรื่อง สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ)

กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข

ในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล

ภายใต้การกำกับของผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์

และบริษัทเงินทุนปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ย ค่าปรับ

 ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ไว้ในข้อ 4.4 (1)

.....(2)ข้อกำหนดดังกล่าวกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจ

อาจเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ

 เกี่ยวกับสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

 ทั้งนี้ดอกเบี้ยที่เรียกเก็บต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้

 (ร้อยละ 15 ต่อปี)

 โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับ

 ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ดังกล่าว

 รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate)

.....(3)โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ

 ค่าธรรมเนียมใดๆ โดยอัตรารวมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี

.....(4)แต่ข้อเท็จจริงตามหนังสือแจ้งผลการพิจารณาสินเชื่อบุคคล

ปรากฏว่า ในการที่โจทก์อนุมัติเงินกู้ให้แก่จำเลย

จำนวน 18,900 บาท

-เงินกู้จำนวน 18,900 บาท นั้น

*****โจทก์เรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ

 1.25 ต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี

*****และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 10 ต่อปี

 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ

*****กับค่าดำเนินการอนุมัติเงินกู้ซึ่งเป็นค่าบริการ

จำนวน 1,000 บาท ซึ่งสามารถคำนวณเป็นร้อยละ

ได้อัตราร้อยละ 5.29 ของวงเงินกู้ที่โจทก์อนุมัติ

*****เมื่อรวมอัตราดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน

และค่าดำเนินการ การอนุมัติเงินกู้

ซึ่งเป็นค่าบริการเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นอัตราร้อยละ 30.29

.....(5)เมื่อรวมดอกเบี้ยและค่าบริการอื่นๆทั้งหมดแล้ว

ก็เกินกว่าอัตราร้อยละ 28 ต่อปี

ดังที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้

.....(6)โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าบริการ

 และค่าธรรมเนียมในอัตราดังกล่าว

.....(7)การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยค่าบริการและค่าธรรมเนียม

ในอัตราดังกล่าว จึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย

และตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 150 ที่บัญญัติว่า

 “การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง

โดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัย

หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย

หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ”

*****เมื่อท่านถูกฟ้องคดีบัตรเครดิตหรือคดีทำนองเดียวกันนี้

ก็ให้ท่านอ่านคำฟ้องและคำนวณอัตราดอกเบี้ย

และค่าธรรมเนียมให้ดีหากอัตราดอกเบี้ย

และค่าธรรมเนียมรวมกันแล้วเกินอัตราร้อยละ ๒๘ ต่อปี

ท่านก็ต้องชี้ให้ศาลเห็น

 เมื่อศาลเห็นแล้วศาลก็จะพิพากษาว่า

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเป็นโมฆะ

เมื่ออัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเป็นโมฆะ

ท่านก็มีหน้าที่ที่จะต้องชำระแต่เพียงเงินต้นเท่านั้น

สรุปว่า เหตุแห่งโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 150 มี 3 ประการคือ

*****.....(1)การที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย

.....(2)การใดๆที่พ้นวิสัยที่จะปฏิบัติได้ หรือ

.....(3).....การใดๆที่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย

หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

*****การอย่างใดๆในสามประการข้างต้นนั้นเป็นโมฆะ

................คดีแบบนี้ให้คิดไปถึงคดีสินเชื่ออื่นๆด้วย

คนถูกฟ้องบัตรเครดิต.....อ่านฎีกานี้.....มีหวังรอด

Cr:ทีนิวส์








Create Date : 05 พฤษภาคม 2558
Last Update : 5 พฤษภาคม 2558 15:04:03 น.
Counter : 2453 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ