Group Blog
All Blog
### เกิดอุบัติเหตุเพราะการก่อสร้างถนนไม่ทำป้ายเตือน ควรทำอย่างไร ###













เกิดอุบัติเหตุเพราะก่อสร้างถนนไม่ทำป้ายเตือน

สวัสดีเพื่อนๆ เป็นครั้งที่สอง ของค่ำคืนนี้

เป็นคำถาม สดๆร้อนๆ แทร็คถามตรงเลยคนนี้

ถามเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของชีวิต

และทรัพย์สินเราๆ ท่านๆ ผมเห็นว่าสำคัญ

จึงขอนำมาตอบหน้าเฟชนะครับ สำหรับคำถามมีอยู่ว่า

 “สวัสดีท่านทนายครับ ผมมีเรื่องเรียนปรึกษาหน่อยครับ

กรณีที่บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างทางหลวง

ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการก่อสร้าง อาทิเช่น

 ไม่มีการวางป้ายเตือนให้ระวังการก่อสร้าง

ไม่มีการวางสัญญาณไฟเตือนว่ามีการก่อสร้าง

 ซึ่งส่งผลให้ผู้สัญจรไปมาต่างพื้นที่

ที่ไม่รู้ว่ามีการก่อสร้างทางอยู่เกิดอุบัติเหตุ

ต่อร่างกายและทรัพย์สินเป็นประจำทุกวัน

 มีข้อกฎหมายใดบ้างครับที่สามารถเอาผิดกับผู้ก่อสร้างได้

 สงสารผู้สัญจรไปมาที่เกิดอุบัติเหตุเพราะทางต่างระดับ

และการไม่รับผิดชอบของการก่อสร้างทุกวัน

 ซึ่งเมื่อคืนเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์ 4 ราย

รถจักรยานยนต์ 1 ราย ล้วนเกิดจาก

ความประมาทเลินเล่อของผู้ก่อสร้าง

ขอความกรุณาท่านทนายช่วยชี้แนะด้วยครับ”

เอาละเรามาดูเรื่องนี้กันครับ

เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นกับรถยนต์

หรือรถจักรยานยนต์ของท่าน เพราะเหตุเกิดจาก

บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้าง ละเลยไม่ทำป้าย

บอกเตือนผู้ขับขี่รถให้ทราบว่ามีการก่อสร้างทาง

 ผู้เสียหาย สามารถเอาผิดกับบริษัทผู้รับเหมาได้ครับ

 เรื่องนี้ผมจะขออ้างอิงจากคำพิพากษาฎีกาที่ 1506/2516

บริษัทจำเลยที่ 3 ทำการก่อสร้างถนน

โดยได้ทำสัญญารับจ้างกับกรมทางหลวง

ตามรายการต่อท้ายสัญญาจ้าง ปรากฏว่า

ถนนที่ซ่อมและทำใหม่ตามแบบกว้าง 12 เมตร

เป็นผิวจราจร 7 เมตร เป็นไหล่ถนนข้างละ 2 เมตรครึ่ง

บริษัทจำเลยที่ 3 ต้องซ่อมแซมทั้งผิวจราจร

และต้องเอาดินลูกรังถมไหล่ถนนให้สูงขึ้นด้วย

 และเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ

อันเกิดแก่อาคารที่อยู่ใกล้เคียง หรือบุคคลภายนอก

เนื่องจากการกระทำใดๆ ในงานนี้

ต้องให้การจราจรผ่านไปมาได้โดยสะดวก

และจะต้องทำและติดตั้งป้ายจราจรเครื่องหมาย ไม้กั้น

 และสิ่งประกอบอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยแก่การจราจร

ตั้งแต่เริ่มงานก่อสร้างจนกระทั่งงานเสร็จ

แต่บริษัทจำเลยที่ 3 ไม่ติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายเตือน

ผู้ขับขี่รถให้ทราบว่ามีการก่อสร้างซ่อมถนนอยู่ข้างหน้า

 ไม่รดน้ำไหล่ถนนที่ถมด้วยดินลูกรังซึ่งตนซ่อมแซมอยู่

เป็นเหตุให้เกิดฝุ่นตลบ อันเป็นเหตุส่วนหนึ่ง

ที่ทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งขับรถของจำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้าง

 สวนทางกับรถโจทก์ในถนนตรงนั้น

ขับแซงรถคันอื่นเข้าชนรถโจทก์ด้วยความประมาท

 ทำให้รถโจทก์เสียหาย บริษัทจำเลยที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิด

ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำต่อโจทก์ด้วย

 จะอ้างว่าไม่จำเป็นต้องรดน้ำไหล่ถนนให้ชุ่มอยู่เสมอ

เพราะการรดน้ำก็เพื่อจะทำให้ดินแน่นเท่านั้น

ไม่ใช่ถึงขนาดไม่ให้มีฝุ่น ดังนี้ หาได้ไม่ 

สำหรับฎีกานี้เป็นเรื่องที่ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ไม่ยอมรดน้ำถนนที่ก่อสร้าง ทำให้เกิดฝุ่นตลบ

บดบังทัศวิสัยของผู้ที่สัญจรจนทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกันขึ้น

ระหว่างรถ 2 คัน ศาลฎีกามองว่า

ทางผู้รับเหมามีส่วนต้องรับผิดชอบ

นี่ขนาดอุบัติเหตุเกิดจาก "ฝุ่นตลบ"

แล้วรถที่สัญจรเฉี่ยวชนกันเองนะครับ

โดยศาลเองก็ได้บรรยายในคำพิพากษาด้วยว่า

ทางผู้รับเหมาต้องจัดให้มีเครื่องหมาย ไม้กั้น

หรือสิ่งประกอบอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยแก่การจราจร

 ดังนั้นกรณีคำถามอุบัติเหตุกับรถยนต์

และรถจักรยานยนต์ทั้ง 5 ราย

 จึงอ้างอิงตามคำพิพากษาฎีกานี้ดำเนินคดี

กับผู้รับเหมาก่อสร้างได้เช่นกันนะครับ

เป็นเรื่องที่ผู้รับเหมาทำละเมิดต่อผู้เสียหายครับ

สำหรับค่าซ่อมนั้น หากอยู่ระหว่างดำเนินคดี

กับ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง

ผู้เสียหายอาจซ่อมรถคันเกิดเหตุของท่าน

ที่ได้รับความเสียหายไปก่อนก็ได้นะครับ

ถ้าจำเป็นต้องใช้รถทุกวัน ถ่ายรูปรถ

และเก็บบิลค่าซ่อมเอาไว้ให้ดี

เพราะถึงแม้คุณจะมีประกัน

ทางประกันก็จะออกใบเคลมให้คุณเอารถไปซ่อม

แล้วค่อยไปสวมสิทธิไล่เบี้ยกับ บริษัทรับเหมาดังกล่าว

ภายหลังได้ ไม่ต่างกันครับ

เพียงแต่หลักฐานที่เป็นเอกสารต้องชัดเจน

เพราะต้องใช้ในการเรียกร้องจากอีกฝ่าย


ขอบคุณที่มา fb. ทนายพรชัย รังสรรค์








Create Date : 21 ตุลาคม 2557
Last Update : 21 ตุลาคม 2557 10:14:48 น.
Counter : 5795 Pageviews.

5 comment
### เตือนภัย...การขายดาวน์รถที่กำลังผ่อนส่ง ###

เตือนภัย การขายดาวน์รถที่กำลังผ่อนอยู่
สวัสดีครับเพื่อนๆ เช้านี้ผมขอนำเรื่องสำคัญเร่งด่วน
มาบอกกล่าว มาฝากเตือนเพื่อนๆ
 ถึงความเสี่ยงภัยของการขายรถที่กำลังผ่อนอยู่
 สืบเนื่องจากที่ผ่านมาผมได้โพสต์บทความ
 ให้ความรู้ และให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมา
กับเพื่อนๆ ในเฟช ปัญหาที่พบส่วนใหญ่
จะเป็นเรื่องเช่าซื้อรถ ซึ่งมีเพื่อนๆ จำนวนไม่น้อย
ที่ประสบปัญหาไม่สามารถผ่อนรถได้จนครบจำนวนปี
ตามที่ทำสัญญาเช่าซื้อไว้กับ...บริษัทไฟแนนซ์
 เพื่อเลี่ยงการโดนถูกยึดรถจึงแอบขายดาวน์รถยนต์
 เพราะคิดว่าการขายดาวน์นั้นสามารถทำงานได้ง่ายๆ
  โดยนำรถยนต์ที่ตัวเองเช่าซื้อมาจากบริษัทไฟแนนซ์
ขายต่อให้คนอื่นเพื่อได้เงินกลับคืนมาเร็วๆ
 จากนั้นคนที่ซื้อรถจากตนก็ไปผ่อนต่อ
ตามสัญญาเช่าซื้อจนครบ แต่ไม่มีการแจ้ง
เรื่องเปลี่ยนชื่อคู่สัญญาเช่าซื้อรถยนต์
คุณทราบไหมว่าการทำเช่นนี
มีความเสี่ยงเป็นอย่างมากั้งต่อทั้งผู้ขาย
เพราะเป็นการข้ามขั้นตอนที่ถูกต้อง
ตามกฎหมายไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา
เหมือนกับเพื่อนหลายคนที่ได้พูดคุยมานะครับ
ที่นี้เรามาดูความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ขายดาวน์กันว่า
 เมื่อขายดาวน์ไปแล้ว ปรากฏว่า
คนซื้อรถไปแล้วไม่ผ่อนค่างวดให้ไฟแนนซ์
ผู้ขายดาวน์หรือเจ้าของรถเดิม
ก็จะตกเป็นผู้ผิดสัญญา
กับ บริษัทไฟแนนซ์ และต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ให้กับบริษัทไฟแนนซ์ หรือร้ายแรงกว่านั้น
ถ้าผู้ซื้อดาวน์ไม่ผ่อน
และยังนำรถยนต์ไปซุกซ่อนหลบหนีไป
รวมทั้งเอาไปจำนำ ทำให้ บริษัทไฟแนนซ์
ไม่สามารถตามยึดรถกลับมาได้
นอกจากผู้ขายดาวน์จะต้องรับผิดชอบ
ชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดให้กับบริษัทไฟแนนซ์แล้ว
 ส่งผลให้บริษัทไฟแนนซ์ยื่นโนติ๊สยกเลิกสัญญา
และเรียกให้ส่งมอบรถคืน แต่ผู้ขายดาวน์หรือผู้เช่าซื้อ
ไม่มีปัญญาส่งมอบรถ เนื่องจากผู้ที่ซื้อรถต่อ
ได้นำรถไปซุกซ่อนหรือขายให้กับบุคคลภายนอก 
 จึงต้องรับผิดตามกฎหมายในฐานะผู้เช่าซื้อ 
 และไม่สามารถจะยกเหตุผลมาหักล้าง
เพื่อให้พ้นความรับผิดได้
ผมจึงใคร่ขอแนะนำว่า การขายดาวน์
จะต้องแจ้งให้กับ บริษัทไฟแนนซ์ ทราบ
พร้อมทั้งนัดหมายผู้ซื้อดาวน์ ไปทำเรื่อง
เปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อจากเดิมเป็นผู้เช่าซื้อรายใหม่
ให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน 
 มิฉะนั้นผู้เช่าซื้อเดิมคงต้องรับผิด
ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมอยู่ต่อไป
นอกจากนี้ผู้ขายดาวน์หรือเช่าซื้อ
ยังต้องรับผิดชอบทางอาญา
  ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อีกทางหนึ่ง
  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 
 ซึ่งมีโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท 
 หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วยนะครับ
 หรืออีกกรณีหนึ่งแม้ผู้ซื้อดาวน์จะผ่อนชำระ
อย่างถูกต้องต่อเนื่องกับบริษัทไฟแนนซ์
แต่นำรถยนต์คันที่ซื้อไปทำผิดกฎหมาย
 เช่น ใช้ขนยาเสพติด ชนคนตายแล้วหนี ฯลฯ
ก็อาจทำให้เกิดปัญหายุ่งยากวุ่นวาย
มาถึงผู้ขายดาวน์ได้เช่นกันเพราะชื่อของผู้เช่าซื้อ
ยังคงเป็นชื่อของผู้ขายดาวน์นั่นเอง
แต่ทั้งนี้ ความเสี่ยงภัยใช่ว่าจะเกิด
ต่ผู้ขายดาวน์แต่เพียงผู้เดียว
 แต่อาจเกิดขึ้นกับฝากฝั่งของผู้ซื้อดาวน์
ก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
 แม้ว่าจะได้ครอบครองรถอยู่และผ่อนชำระจนครบ
 แต่ผู้ซื้อดาวน์ก็ไม่อาจมีชื่อเป็นเจ้าของรถได้
เพราะบริษัทลิสซิ่งต้องทำตามกฎหมาย
คือโอนรถยนต์ดังกล่าวให้กับชื่อผู้เช่าซื้อ
ซึ่งก็คือผู้ที่ขายดาวน์คนเดิม และอาจเสี่ยง
ที่จะถูกบริษัทไฟแนนซ์ ดำเนินคดีอาญาข้อหารับของโจ
 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352
  ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย
ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์
อันได้มาโดยการกระทำความผิด
ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์
 กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง
 ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกด้วยก็ได้
ดังนั้น โปรดคิดให้ดีก่อนที่จะซื้อหรือขายดาวน์รถนะครับ
ขอบคุณที่มา fb. ทนายพรชัย รังสรรค์









Create Date : 18 ตุลาคม 2557
Last Update : 18 ตุลาคม 2557 11:31:19 น.
Counter : 4623 Pageviews.

1 comment
### รถหายขณะยังติดผ่อนไฟแนนซ์อยู่ต้องส่งต่อหรือไม่ ###







เห็นข่าวขโมย รถป้ายแดงข้ามแดน

น่าเป็นห่วง แทนเจ้าของรถยนต์ ที่ถูกขโมยไป

ในระหว่างที่กำลังผ่อนกับไฟแนนซ์

ว่าจะต้องผ่อนกุญแจรถต่อ หรือไม่ ? ขอทำตัวเป็นทะแนะ ว่า

ให้แจ้งความเป็นหลักฐานกับตำรวจ

แล้วนำสำเนาการแจ้งความ ไปมอบให้ บ.ประกันภัย และ ไฟแนนซ์

 ไม่ต้องผ่อนต่อ เพราะ กฎหมายเช่าซื้อ คือ

การให้เช่า + คำมั่นว่าจะขาย

ดังนั้นเมื่อทรัพย์ ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาย่อมระงับ

ผู้เช่าซื้อไม่ต้องส่ง ค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ

 มีหลายคนโดนไฟแนนซ์ หลอกให้ผ่อนกุญแจ

ทั้งๆที่สัญญาระงับไปแล้ว...


ในทางกฎหมาย ควรต้องหยุดจ่าย ค่างวดทันที

เพราะรถที่เช่าซื้อสูญหายไปแล้ว สัญญาเช่าซื้อก็ต้องระงับ

 เงินประกันรถหายก็ได้ไปแล้ว

ปกติวงเงินประกัน 80 % ของราคาเต็ม

ดังนั้น จึงเหลือประเด็นเดียวว่า ค่าเสียหายมีเท่าไหร่ ?

เรื่องนี้ศาลฎีกาเคยวางบรรทัดฐานว่า

ถ้ารถที่เช่าซื้อสูญหาย ก็ต้องมาคำนวณว่า

รถราคาเท่าใด ผู้เช่าซื้อจ่ายเงินค่างวดมาแล้ว เป็นเงินเท่าใด

 บริษัทประกันได้จ่ายค่าสินไหมทดแทน

ให้แก่บริษัทลิสซิ่งเนื่องจากรถหาย เป็นเงินเท่าใด

ถ้า 2 จำนวนนี้รวมกันแล้วเกินกว่าราคารถที่บริษัทลิสซิ่งซื้อมา

อย่างนี้ผู้เช่าซื้อ ก็ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย

ถ้าสัญญาเช่าซื้อ มีข้อตกลงให้บริษัทเรียกค่าเช่าซื้อ

ที่ยังขาดอยู่ได้ แม้ว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อ จะสูญหายก็ตาม

เรื่องนี้ ศาลมีอำนาจ ที่จะกำหนดให้ ผู้เช่าซื้อชำระหรือไม่ก็ได้

ศาลก็จะกำหนดความเสียหาย ให้ตามสมควร

 แต่มิใช่ให้ชำระค่าเช่าซื้อ จนครบเต็มตามสัญญา

หากบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งทราบดีว่า รถยนต์เช่าซื้อหาย

แล้วยังยังนำฟ้องคดีอีก ถือเป็นการช้สิทธิไม่สุจริต

 เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยไม่เป็นธรรม สู้ในศาลได้เลยคะ



ขอขอบคุณที่มา fb. Anna Jill








Create Date : 17 สิงหาคม 2557
Last Update : 17 สิงหาคม 2557 15:43:00 น.
Counter : 1191 Pageviews.

0 comment
### พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ ###




ขณะขับรถห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ













....การที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีนโยบาย จับจริง จอมแชต

คือการจับกุมผู้ขับขี่รถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่

เป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการป้องกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้ขับขี่รถ

และผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนทุกคน รวมทั้งจะฝึกให้ผู้ขับขี่รถมีวินัย

ในการขับขี่รถและปฏิบัติตามกฎหมายจราจร

ซึ่งจะช่วยให้การจราจรลดการติดขัดลงได้มาก

.....ผู้ใช้รถใช้ถนนส่วนใหญ่คงเห็นด้วย อย่างไรก็ดี

 การปฏิบัติงานหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ก็ต้องเป็นตามบทบัญญัติของกฎหมาย

.....พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒

บัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คือ

.....มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ ฯลฯ (๒๘)

 “ผู้ขับขี่” หมายความว่า ผู้ขับรถ

.....มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ

.......ฯลฯ

.......(๙) ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่

การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา

โดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น

.....มาตรา ๑๕๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๔๓ (๙)

 ฯลฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ ๔๐๐ บาทถึง ๑,๐๐๐ บาท

.....เนื่องจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก ไม่ได้ให้คำนิยาม

 คำว่า ขับ และ ขับขี่ ไว้ จึงต้องดูความหมายจากพจนานุกรม

ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔

.....คำว่า ขับ หมายความว่า บังคับให้ไป,

บังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ

.....คำว่า ขับขี่ หมายความว่า สามารถบังคับเครื่องยนต์

ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปได้

.....เมื่อดูบทบัญญัติของกฎหมายและพจนานุกรมแล้ว

 ก็สรุปได้ดังนี้
.

....ห้ามไม่ให้ผู้ที่กำลังขับขี่รถใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่

การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริม

สำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับ

โทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น

.....การขับขี่รถก็คือการบังคับเครื่องยนต์ให้ยานพาหนะ

 คือ รถเคลื่อนที่ไป

.....ถ้ารถไม่เคลื่อนที่คือจอดอยู่เฉยๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ

 เช่น รถเสีย จอดรอผู้ที่นัดกันไว้ จอดรอสัณญาณจราจร

 หรือการจราจรติดขัดจนต้องจอดอยู่กับที่ ย่อมไม่ใช่การขับขี่รถ

.....การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ขณะจอดรถ จึงสามารถกระทำได้

เพราะในขณะนั้นไม่ใช่การขับขี่รถ ย่อมไม่มีความผิด

ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ครับ



ขอบคุณที่มา fb. Chuchart Srisaeng







Create Date : 11 สิงหาคม 2557
Last Update : 11 สิงหาคม 2557 16:03:42 น.
Counter : 3150 Pageviews.

0 comment
### อำนาจเจ้าพนักงานในการตรวจยึดใบขับขี่ ###








เรื่องกฎหมายนี้ได้คัดลอกมาจาก
fb.ของท่านอาจารย์ Chuchart Srisaeng
 ท่านเป็นอดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
ท่านได้โพสข้อความเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ
ที่พวกเรายังไม่รู้ควรรู้ไว้
  เจตนารมณ์ของท่านเยี่ยมมากสมเป็นอดีตท่านผู้พิพากษา
ท่านต้องการเผยแพร่ให้ทุกคนได้รู้ และยังได้อธิบาย
และยกตัวบทกฎหมายมากล่าวอ้างให้เราได้ทราบด้วย
เราได้อ่านคำอธิบายข้อกฎหมายของท่านมาโดยตลอด
 และเห็นว่ามีประโยชน์แก่ทุกท่านให้ได้รู้ จึงนำมาเผยแพร่ต่อ
เราได้ขออนุญาตท่านทุกครั้งที่จะนำมาเผยแพร่
 และขอกราบขอบพระคุณท่านมา ณ. ที่นี้เป็นอย่างสูง
ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวง
จงปกป้องคุ้มครองและดลบันดาลให้ท่าน
และครอบครัวให้พบแต่ความสุข





.....เรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจ
ในการขอตรวจและยึดใบอนุญาตขับขี่
มีผู้สนใจสอบถามและน่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ขับขี่รถทุกคน
....,พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๑๔๐ วรรคแรก
บัญญัติว่า เมื่อเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า
ผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้
หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ
จะว่ากล่าวตักเตือนผู้ขับขี่หรือออกใบสั่ง
ให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้
ในกรณีที่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ก็ให้ติด
หรือผูกใบสั่งไว้ที่รถที่ผู้ขับขี่เห็นได้ง่าย


.....วรรคสาม บัญญัติว่า
ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับ
ตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง
เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้
แต่ต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้
และเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ต้องรีบนำใบอนุญาตขับขี่ที่เรียกเก็บไว้
ไปส่งมอบพนักงานสอบสวนภายในแปดชั่วโมง
 นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง


.....ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า
ผู้ขับขี่คนใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พรบ จราจร
เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือน
หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ไปชำระค่าปรับก็ได้


.....ถ้ามีการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ไปชำระค่าปรับ
 เจ้าพนักงานจราจร
จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้ชั่วคราวได้

.....การเรียกเก็บหรือยึดใบอนุญาตขับขี่นั้น
เจ้าพนักงานจราจรต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่
ให้แก่ผู้ขับขี่ไว้ด้วย

.....เจ้าพนักงานจราจรต้องนำใบอนุญาตขับขี่ที่ยึดไป
ส่งมอบให้พนักงานสอบสวนภายใน 8 ชั่วโมง
 นับแต่เวลาที่ออกใบสั่ง


.....กล่าวโดยสรุปก็คือ

........1ต้องมีการกระทำผิด ก.ม จราจร
 เจ้าพนักงานจราจรจึงจะสามารถออกใบสั่งได้

........2 ถ้าเจ้าพนักงานจราจรจะยึดใบอนุญาตขับขี่
จะต้องออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ด้วย
หากไม่ออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้
ผู้ขับขี่ย่อมมีสิทธิที่จะไม่ยอมให้ใบอนุญาตขับขี่ได้

.....เจ้าพนักงานจราจรจะยึดใบอนุญาตขับขี่
โดยไม่ได้ออกใบสั่งไม่ได้
และจะยึดใบอนุญาตขับขี่โดย
ไม่ออกใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่ให้แก่ผู้ขับขี่ก็ไม่ได้ ครับ !























Create Date : 02 พฤศจิกายน 2556
Last Update : 1 พฤษภาคม 2558 12:57:33 น.
Counter : 1876 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ