เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย

ติดตามข้อมูลเว็บทาง Google+ กด
FaceBook สาว ๆ เซ็กซี่

ผิดกฎจราจร..ถูกจับถูกปรับ เธอห่วงฉัน หรือแค่ล่าหัวคิว!?

 ผิดกฎจราจร..ถูกจับถูกปรับ  เธอห่วงฉัน หรือแค่ล่าหัวคิว!?
รอบปีที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติเอาจริงเอาจังด้านงานจราจร คลอดมาตรการกระตุ้นวินัยการใช้รถใช้ถนนเพื่อลดอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่อง ทว่า อัตราโทษปรับที่สูงกลับกลายเป็นประเด็นให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่าท้ายที่สุดแล้ว 'ค่าปรับ' จำนวนมากที่ต้องจ่ายเพราะกระทำผิดกฎจราจร มีที่ไปอย่างไรหลังจากส่งถึงมือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เรียบร้อยแล้ว

ไม่ว่าจะขับขี่รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ก็ต้องปฏิบัติตามวินัยจราจรอย่างเคร่งครัด ล่าสุด ถึงคิวผู้ขับขี่และซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ต้องสวมใส่หมวกกันน็อก มิเช่นนั้น มีโทษปรับสูงถึง 1,000 บาท โดยบังคับใช้กฎหมายเข้มงวด 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ห้ามเมาแล้วขับ, ความเร็วของการขับขี่ และการสวมหมวกนิรภัย

จัดหนักโทษปรับ ทะลุหลักหมื่น
'เมาไม่ขับ' หนึ่งในนโยบายที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเล็งเห็นความสำคัญ เพราะหากผู้ขับขี่ไม่มีสติขณะขับรถอาจเป็นต้นตอของอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ซึ่งทาง พล.ต.ท. ประวุฒิ ถาวรศิริ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับแก้กฎหมายเพิ่มโทษคอทองแดงเมาแล้วขับรถ รวมทั้งกรณีไม่ยอมเป่าเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอร์ มีโทษปรับ 5,000-20,000 บาท และจำคุกไม่เกิน 1 ปี

'มาตรการจับจริงจอมแชต' ขณะขับรถงดแชตเด็ดขาด มิเช่นนั้น มีโทษปรับ 400 - 1,000 บาท โดนขั้นต่ำ 400 บาทต่อราย หรือปฏิบัติการ 'ล็อกล้อ ทั่วกรุง' ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการล็อคล้อผู้กระทำผิดกฎ ทุกเส้นทางที่ห้ามจอดรถ กรณีฝ่าฝืนโดนล็อคล้อมีโทษปรับตามกฎหมาย

นอกจากนั้นยังมี 'มาตรการ 5 จริง ยกจริง ล็อคจริง จับจริง ขังจริง สุภาพจริง' และ 'มาตรการจับจริง 5 จอม จอมปาด จอมล้ำ จอมย้อน จอมขวาง จอมปลอม' โดยมีโทษปรับดังนี้ 1.จอมปาด (ขัดปาดแซงเส้นทึบ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท) 2. จอมล้ำ (หยุดรถล้ำเส้นหยุดปรับไม่เกิน 1,000 บาท) 3.จอมขวาง (หยุดรถขวางทางแยกปรับไม่เกิน 500 บาท) 4.จอมย้อน (ขับย้อนศรปรับไม่เกิน 500 บาท) และ 5.จอมปลอม (ป้ายทะเบียนปลอม ปรับไม่เกิน 2,000 บาท)

อย่างไรก็ตาม มาตรการเด็ดขาดเหล่านี้ เป็นข่าวสร้างการรับรู้ต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทว่า ภาพลบของตำรวจจราจรนอกรีดในอดีต ก็ยังสร้างความไม่เชื่อมั่นต่อประชาชนว่าโทษปรับในฐานความผิดกฎจราจรเหล่านี้จะทำเพื่อสร้างวินัยประชาชน และลดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง

สำรวจเส้นทางเงินค่าปรับ
“เรื่องของค่าปรับจราจรก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำให้ภาพลักษณ์ของตำรวจจราจรเสียหาย เนื่องจากมันเป็นวิธีคิดที่ผิดพลาดของตำรวจ คือตำรวจเขาก็ทำงานแบบนักรัฐศาสตร์ ไม่ได้ทำงานแบบนักนิติศาสตร์ เพราะฉะนั้นเขาจะยืดหยุ่นตามวัฒนธรรมของชุมชน ค่าปรับจึงเป็นลักษณะอัตราขั้นต่ำ เช่น 100 บาท ยืดหยุ่นไปแต่ละที่และร้อยเวรแต่ละคนด้วย มันไม่ได้มีสแตนดาร์ดเดียวกันเหมือนต่างประเทศ ทำให้ประชาชนผู้ถูกปรับไม่สามารถรับรู้ได้ถึงความยุติธรรม” รศ.ดร. ปนัดดา ชำนาญสุข จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในคณะทำงานศูนย์วิจัยป้องกันอุบัติเหตุทางถนน กล่าว

จำนวนเงินค่าปรับจากใบสั่งที่ประชาชนทำผิดกฎจราจร ส่วนหนึ่งเป็นรางวัลให้ตำรวจจราจรผู้จับ
เพื่อสร้างแรงจูงใจกระตุ้นการบังคับใช้กฎหมาย สัดส่วนประมาณ 40 - 50 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนเต็ม และส่วนที่เหลือถูกนำส่งเข้าท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งค่าปรับไม่ได้หมายความตำรวจจะได้จากผู้กระทำผิดทุกราย เพราะจะมีเพดานอยู่ ยกตัวอย่าง สมมุติว่าทุกคนจะอยู่ที่ 10,000 บาท ต่อเดือน (ไม่รวมฐานเงินเดือน) ถ้าตำรวจผู้นั้นจับกุมผู้กระทำความผิดเพิ่มเติมก็ไม่ได้รับเงินในส่วนนี้ จะได้สูงสุดอยู่ที่ยอดเดิมเท่านั้น

สอบถามในประเด็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกวดขันงานจราจรอย่างเข้มข้น รศ.ดร. ปนัดดา อธิบายว่า เพราะหลายองค์กรมาจี้ที่ปลายทางของการแก้ปัญหา คือการบังคับใช้กฎหมายนั่งเอง การบังคับใช้กฎหมายของตำรวจ จึงเป็นที่จับจ้อง และเกิดนโยบายจัดระบบการจราจรที่เข้มงวดมาตลอดปี 2557

ทว่า ต่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนกรานว่าจะจัดการอย่างจริงจัง แต่ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถทำได้ครอบคลุม ซึ่งมันต้องอาศัยทั้งองคาพยพ

“การลงโทษมันก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประชาชนละเมิดวินัย การลงโทษก็เพื่อหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นถูกไหม? แต่มันต้องมีความสม่ำเสมอไงคะ ..ลูกเกเรทุกครั้ง ลูกต้องโดนตีทุกครั้ง ยกตัวอย่าง ครั้งนี้แม่อารมณ์ดีแม่ไม่ตี ครั้งนี้แม่ไม่อยู่ก็รอดไป เหมือนกันค่ะ..การบังคับใช้กฎหมายเป็นลักษณะเช่นนั้น ตรงนี้มันสะท้อนว่าการออกกฎมาบังคับจริงๆ มันก็เป็นคำขู่ไงคะ แต่คำขู่นั้นไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยการจัดการที่บริหารอ่อนแอ ไม่ได้รับการสนับสนุนต่างๆ”

ที่แท้แค่ปรับภาพลักษณ์ตำรวจ
รศ.ดร. ปนัดดา เปิดเผยข้อเท็จจริงที่กระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคลอดมาตรการควบคุมวินัยจราจรอย่างเข้มงวด เนื่องจากโดนติงมาว่าอุบัติเหตุการบาดเจ็บ และเสียชีวิตบนท้องถนนเป็นผลพวงจากการบังคับใช้กฎหมายที่อ่อนแอ โครงการต่างๆ ที่ทางตำรวจคลอดออกมานั้น บ่งชี้ถึงความพยายามกู้ภาพลักษณ์ และพยายามใช้อำนาจกฎหมายจัดระเบียบประชาชนเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ทว่า อัตราโทษปรับที่นำมาเป็นตัวชูโรงก็ส่งผลให้ประชาชนรู้สึกด้านลบต่อเจ้าหน้าที่เอง เพราะผลงงานที่ผ่านมาของตำรวจจราจรก็ไม่สู้ดีนัก

อย่างไรก็ตาม ความพยายามจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ตำรวจจราจรให้เป็นที่ศรัทธาของประชาชน ส่งผลให้มีการกวดขันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเข้มงวดเช่นกัน เพราะหากผู้ใดทำผิดวินัย อาจถูกปลดได้ทันที

รศ.ดร. ปนัดดา กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากด้วยอุบัติเหตุทางท้องถนน ปีละ 25,000 ราย ติดอันดับ 2- 3ของโลก เป็นที่ 1 ของอาเซียน “ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีศูนย์ดูแลความปลอดภัยบนท้องถนน กระทรวงมหาดไทย มากว่า 1 ทศวรรษแล้ว แต่การที่สถิติทวีความรุนแรงขึ้น เราต้องกลับมาทบทวนการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุให้มากขึ้น ทุกภาคส่วนคาดหวังกับตำรวจในการใช้กฎหมายที่เข้มข้น การที่สถิติมันไม่ลดลง และทวีความรุนแรงที่มากขึ้น เป็นเพราะตำรวจอ่อนแอในการบังคับใช้กฎหมาย เพราะฉะนั้นตำรวจก็เลยกลายเป็นเหยื่อมาตลอด”

ในประเด็นโทษจับ-ปรับนั้น รศ.ดร. ปนัดดา กล่าวว่าเป็นหลักที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมคนให้อยู่ในระบบระเบียบของสังคม การออกกฎบังคับใช้ถือเป็นหลักการสากล เพราะการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิผลที่ค่อนข้างสูงสร้างระเบียบวินัยจราจรสำหรับๆ นานา ประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยการบังคับใช้กฎหมายนั้นเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

….....................
เรื่องโดย Astv ผู้จัดการ Live
       ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต



Create Date : 26 ธันวาคม 2557
Last Update : 26 ธันวาคม 2557 15:37:30 น. 0 comments
Counter : 1880 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

karnoi
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 57 คน [?]




เลขเด็ด เลขดัง กาน้อย






ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add karnoi's blog to your web]