นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

กุ้งตายเกาะขอบบ่อหนวดกุดหางแหว่ง ดัดแปลงแก้ไขแบบไม่ใช้ปูนใช้ยา

อากาศที่เริ่มหนาวเย็นลง (ถึงแม้ว่าจะไม่มากนักเหมือนทุกๆปีก็ตาม)แต่ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อยู่ในน้ำอย่างเช่นกุ้ง หอย ปู ปลาซึ่งเป็นไปตามกระบวนการทางธรรมชาติคือกระบวนการเมทาบอลิสมของสัตว์ต่างๆเหล่านี้จะไม่ทำกิจกรรมไปในรูปแบบปรกติ คือจะกินอาหารน้อยลง เฉกเช่นเดียวกับสภาพภูมิอากาศที่มีลักษณะ หลัวอากาศปิด มึดครึ้ม ก็เช่นเดียวกัน กุ้งจะหยุดการกินอาหาร เมื่อกินอาหารน้อยแต่ผู้เลี้ยงยังคงให้อาหารตามปรกติ ก็จะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียบูดเน่าได้ง่าย

โดยเฉพาะที่พื้นบ่อนั้นจะเกิดการหมักหมมของเศษอาหารและขี้กุ้งทับถมบูดเน่าจนก่อให้เกิดจุลินทรีย์ที่สร้างปัญหาการเน่าเสียแก่กุ้งที่มักจะอาศัยอยู่ที่พื้นบ่อตามสัญชาตญาณการหลบเลี่ยงศัตรูจากบนบกเช่น นกมิให้มาจิกกินโฉบเฉี่ยวโดยง่าย

อาหารกุ้ง ขี้กุ้งถือว่ามีส่วนประกอบโปรตีนค่อนข้างมากจากบริษัทผลิตอาหารที่แข่งขันกันเพิ่มเปอร์เซ็นต์โปรตีนให้มากยิ่งขึ้นเพื่อจูงใจให้พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งให้ความสนใจใคร่ซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นอันนี้จึงเป็นผลเสียเมื่อตกค้างอยู่ที่พื้นบ่อเพราะการบูดเน่าแตกตัวของโปรตีนนั้นก็จะเกิดแก๊สแอมโมเนีย ไนไตรท์ แก๊สไฮโดเย่นซัลไฟด์ และมีเทนได้ง่าย น้ำที่เขี้ยว ข้นหนืด และส่งกลิ่นเหม็น นั้นแก๊สพิษที่เป็นอันตรายตัวตัวกุ้งจะมีมาก และยิ่งมีพรายฟองเดือดปุดๆ ขึ้นมานั้นบ่งบอกถึงพื้นที่บริเวณนั้นขาดอ๊อกซิเจน ไม่มีออกซิเจน จนเกิดแก๊สมีเทนขึ้นมา(แก๊สที่มีน้ำหนักเบา ติดไฟง่าย ที่เขาเอาไปทำแก๊สชีวภาพหรือไบโอแก๊สจากเล้าหมูคอกไก่นั่นเองครับ)

พี่น้องเกษตรกรที่ประสบพบเจอปัญหาในลักษณะนี้ อย่าใช้ปูนร้อน ปูนเผาปูนขาว และยาฆ่าเชื้อเข้ามาใช้อย่างเด็ดขาดนะครับเพราะจะยิ่งเป็นการกระหน่ำซ้ำเติมให้กุ้งตายเร็วขึ้นเพราะปูนจะไปเพิ่มพีเอชอย่างฉับพลัน ไปไล่แอมโมเนียที่พื้นบ่อให้ฟุ้งกระจัดกระจายคละคลุ้งไปทั่วทำให้กุ้งมึนงง เมาแก๊ส บ้างก็อาจจะล้มตายเป็นจำนวนมากโดยง่ายเพราะแอมโมเนียเมื่อรวมตัวกับน้ำก็จะเป็นแอมโมเนียมไอดรอกไซด์ซึ่งเป็นด่างปูนก็เป็นด่าง ด่างกับด่างเจอกันแทนทีขับไล่กันคละคลุ้งฟุ้งกระจายดังที่ได้เล่าให้ฟังไปก่อนหน้านั่นเองครับ

ที่ถูกต้องควรต้องเพิ่มระดับน้ำเจือจางความเข้มข้นของแก๊สพิษและของเสียที่พื้นบ่อใช้จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายโปรตีนจากอาหารกุ้งอาหารปลาโดยตรงอย่างเช่น บาซิลลัสMTในอัตราครึ่งกิโลกรัมต่อพื้นที่บ่อหนึ่งไร่ทุกๆ 7 วัน และใช้หินแร่ภูเขาไฟ สเม็คโตไทต์จับแก๊สพิษของเสียในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อพื้นที่บ่อหนึ่งไร่ ทุก 15 วันต้นทุนในการใช้จุลินทรีย์และหินแร่ภูเขาไฟ จะอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทต่อไร่ต่อเดือนถ้าท่านคำนวณเปรียบเทียบแล้วกับรายได้จากการจับกุ้งที่ได้เป็นหมื่นเป็นแสนต่อไร่แล้วคุ้มค่ากว่าก็ควรจะต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจะดีกว่านะครับและที่สำคัญช่วยให้กุ้งอยู่รอดปลอดภัยไปตลอดอายุการจับไม่ต้องเกิดความเสี่ยงว่ากุ้งจะป่วย จะเจ็บ เมื่อใด ถ้าปล่อยไปตามยถากรรมหรือเลี้ยงแบบไม่รู้ไม่เข้าใจปล่อยให้บ้านของกุ้งมีกลิ่นเหม็น บูดเน่า มึนงงทำให้กุ้งอ่อนแอ เจ็บป่วยง่ายสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทรศัพท์สอบถามไปยังชมรมเกษตรปลอดสารพิษสำนักงานส่วนกลางบางเขน กรุงเทพฯ โทร. 029861680-2 นะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreengro.com




Create Date : 29 กันยายน 2558
Last Update : 29 กันยายน 2558 14:39:43 น. 0 comments
Counter : 558 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]