นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

การเตรียมบ่อในการเลี้ยงกุ้งแบบปลอดสารพิษ

หลังจากที่มีข่าวดีในเรื่องเกี่ยวกับกุ้งของไทยเราในเรื่องของตลาดส่งออกไปยัง 3 ตลาดหลัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป ส่งสัญญาณบวกเกือบทั้งหมด ทำให้การส่งออกกุ้งปี 51 ส่อแววสดใส 3 ตลาดใหญ่สหรัฐ ญี่ปุ่น อียูส่งสัญญาณบวก ยักษ์ใหญ่ทียูเอฟตั้งเป้ายอดขาย 17,000 ล้านบาท สหรัฐก็มีการทบทวนภาษีเอดีซึ่งจะมีโอกาสลดลง ไทย-ญี่ปุ่นมีข้อตกลง JTEPA เงินยูโรอ่อนช่วยดันยอด ก็นับว่าเป็นอานิสง์ของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ควรจะต้องเริ่มต้นอย่างถูกทาง ถูกวิธี เพื่อให้ผผลิตภัณฑ์ที่สะอาด ปลอดภัย จากสารพิษ ไม่มีสารตกค้างไปยังประเทศผู้ซื้อสินค้าเหล่านี้ให้เป็นจุดด่างแก่วงการเกษตรของประเทศเราได้ การเริ่มต้นที่ดีและมีสติก็จะต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ปัญหาส่วนใหญ่ในการเลี้ยงกุ้งหรือสัตว์น้ำทั่วไปที่พี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่พบก็คือปัญหา กุ้งเป็นโรค, กุ้งลอยหัว, น้ำหนืด น้ำเขียวเข้มมากเกินไปเนื่องจากมีปุ๋ยไนโตรเจนสูง, น้ำเน่าเสียซึ่งเกิดจากก๊าซแอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท, ไฮโดรเย่นซัลไฟด์, มีเธน และก๊าซของเสียอื่นๆ , กุ้งลอย กุ้งล่อง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เลยก็จะเกิดมาจากการเตรียมบ่อที่ขาดความประณีต จึงทำให้มีอินทรียวัตถุ, ขี้เลน, ขี้กุ้ง, ขี้ปลา และเศษอาหารที่ตกค้างหลงเหลืออยู่ที่พื้นบ่อมีการสะสมหมักหมมต่อๆ กันมาตลอดฤดูการเลี้ยง ซึ่งส่วนมากก็เกิดจากการที่เราไม่มีเวลาดูแลบริหารจัดการให้ดีนั่นเอง จึงปล่อยให้มีการสะสมของเสียที่พื้นบ่อตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงระยะจับไปขาย ไม่มีการดูดหรือล้างขี้เลนออกให้สะอาดเสียก่อนที่จะเริ่มทำการเลี้ยงใหม่ จึงทำให้เศษซากอินทรียวัตถุทั้งหลายหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก บางคนตากบ่อไว้เพื่อที่จะให้แสงแดดช่วยทำให้เชื้อโรคตายแต่ก็จะช่วยได้เฉพาะผิวหน้าดินเท่านั้น ข้างล่างก็ยังคงมีอยู่ เมื่อนำน้ำเข้ามาอีก เศษอินทรียวัตถุที่มีและตกค้างอยู่ก็กลับมาเน่าเหมือนเดิมอีก จึงทำให้เกิดปัญหาแบบเดิมวนไปเวียนมาไม่จบสิ้น ฉะนั้นจึงต้องมาให้ความสนใจในวิธีการเตรียมบ่อที่ดีและประณีตนั้นควรทำอย่างไร ก่อนอื่นก็หลังจากมีการจับกุ้งหรือปลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการดูดขี้เลนออกไปเสียจากบ่อให้สะอาดหมดจดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับ แล้วทำการตากบ่อทิ้งไว้อีกประมาณ 3-4 วัน เพื่อทำลายเชื้อโรคบางส่วนให้หมดไป ต่อมาทำการตรวจวัดสภาพความเป็นกรด-ด่างของดินแล้วทำการปรับปรุงให้เหมาะสม ถ้าดินเป็นกรด (ดินเปรี้ยว) จะต้องทำการปรับปรุงดินเสียก่อนโดยการเติมกลุ่มของวัสดุปูนลงไปเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงให้พื้นบ่อเรามีสภาพที่ดีและเหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ และถ้าเป็นด่างให้ใช้ภูไมท์ซัลเฟตถุงสีแดงหว่านให้ทั่วบ่อ ประมาณ 40 – 60 ก.ก.ต่อไร่เพื่อแก้ไข ถ้าสภาพพื้นดินมีความเหมาะสมอยู่แล้วก็ไม่ควรใช้กลุ่มวัสดุปูนหว่านลงไปอย่างเด็ดขาด เพราะจะไปสร้างปัญหาในอนาคตให้กับกุ้งหรือปลาของเราได้ อาจจะทำให้เกิดความเครียดจากค่าของน้ำที่ไม่เหมาะสม ทำให้เราต้องไปซื้อ ยา และวิตามิน มาบำรุงอีก ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น หลังจากนั้นให้ใช้ สเม็คไทต์ หรือไคลน็อพติโลไลท์ หว่านเพื่อจับก๊าซแอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท และสารพิษต่าง ๆ ที่หลงเหลือในบ่อ เพราะหินแร่ในกลุ่มของหินภูเขาไฟ เขามีคุณสมบัติเป็นท๊อกซินไบเดอร์ด้วย (จับสารพิษ) จึงทำให้พื้นบ่อของเราค่อนข้างที่จะปลอดภัย อัตราการใช้ก็ ประมาณ 1 – 2 กระสอบต่อไร่ ทุก ๆ 15 วันนะครับ หลังจากนั้นน้ำเข้าประมาณ 60 -70 เซนติเมตร นำจุลินทรีย์ บาซิลลัส MT ครึ่งกิโลกรัม นำมาผสมน้ำสาดให้ทั่วบ่อหนึ่งไร่ เพื่อเป็นการสร้างอาหารให้แก่สัตว์หน้าดินและเพื่อเตรียมตัวในการย่อยสลายอินทรียวัตถุต่างๆ อีกด้วย หลังจากนั้นจึงทำการสร้างน้ำเขียว โดยการนำมูลสัตว์ที่คิดว่าไม่มี สารพิษปนเปื้อนนะครับ เช่นโซดาห์ไฟ หรือสารพิษอื่นๆ ก็ตาม นำมาใส่ผ้ามุ้งเขียวแล้วนำไปปักไว้ตามจุดต่าง ๆ มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของบ่อ เพื่อสร้างน้ำเขียวให้เกิดขึ้น เมื่อเตรียมบ่อทั้งหมดอย่างประณีตแล้วให้ทำการวัดค่าพีเอชของน้ำอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีความเหมาะสมกับกุ้งหรือปลาที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ถ้าเป็น กุ้งกุลาดำ ก็ต้องปรับสภาพพีเอชของน้ำให้ได้ 7.5-8.5 แต่ถ้าเป็นกุ้งขาวหรือกุ้งก้ามกรามหรือปลาให้ปรับค่าพีเอชอยู่ที่ 7.0 นะครับจึงจะถือว่าเหมาะสมที่สุดครับ หลังจากนั้นจึงค่อยนำกุ้งหรือสัตว์นำที่เราต้องการนำมาเลี้ยงปล่อยลงไป หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ทำการเพิ่มระดับน้ำขึ้นมาตามลำดับจนถึง 1.8 – 2 เมตร จึงดีที่สุดครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com



Create Date : 12 สิงหาคม 2552
Last Update : 12 สิงหาคม 2552 15:29:01 น. 0 comments
Counter : 1899 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]