นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

โรคตายด่วน EMS ป้องกันได้ ถ้าทำให้บ่อสะอาดปราศจากขี้เลน

ปัญหาที่เกิดการตายของกุ้งขาวแวนนาไมจำนวนมากในพื้นที่เพาะเลี้ยงจังหวัดสงขลาซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจาก จังหวัดสุราษฎร์ธานีทำให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทั้งรายใหญ่รายเล็กได้รับความเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้นอกจากปัญหาเรื่องโรคตายด่วนหรือ EMS (Early Mortality Syndrome) แล้วยังมีปัญหาเรื่องคราบน้ำมันที่เกษตรกรในพื้นที่คาดการณ์กันว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากแท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของประเท              ศไทยเราเองนั่นก็คือ ปตท. ซึ่งเรื่องนี้ไม่น่าจะปล่อยให้คลางแคลงไปยาวนานควรจะมีนักวิชาการในพื้นที่หรือผู้เชี่ยวชาญออกมาตรวจสอบและให้ข้อมูลที่ชัดเจนเพื่อที่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งจะได้ทำการแก้ไขปรับตัวได้ทันการณ์มิฉะนั่นจะสร้างปั่นป่วนเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงได้

จากผลการศึกษาของคณะผู้วิจัยจากศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยดูการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อต่าง ๆของกุ้งป่วย เปรียบเทียบกับกุ้งปกติ พบว่าสาเหตุที่ทำให้กุ้งตายด่วนเกิดเนื่องจากภาวะขาดเลือดหรือเลือดจาง (Heamocytopenia) เพราะมีพยาธิคล้ายโปรโตซัวอยู่ในกระแสเลือดกุ้ง(Hemocytic Parasitosis) เมื่อกุ้งมีปริมาณเม็ดเลือด (Hemocyte)ลดลง ทำให้กุ้งขาดออกซิเจน (Hypoxia) อวัยวะต่างๆ ของกุ้งจะขาดออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยง (Ischemia) ทำให้ตับตับอ่อน กล้ามเนื้อ รังไข่ ปมประสาทต่อมสร้างเม็ดเลือดเกิดการอักเสบและตายอย่างรุนแรง (Severe Necrosis) ส่งผลให้กุ้งแสดงอาการทางประสาทคือการว่ายวนเสียการทรงตัว แล้วตายอย่างรวดเร็ว จมลงพื้นบ่อ ตัวกุ้งเน่าเปลือกเปลี่ยนเป็นสีแดง รวมถึงการลอยตายที่ผิวน้ำ อัตราการตายมากกว่า 50%ส่วนกุ้งที่ไม่ตายจะเติบโตช้ามาก ทำให้สิ้นเปลืองค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่น ๆมากขึ้น

สำหรับโรคตายด่วนหรืออีเอ็มเอสนั้น สามารถดูแลแก้ไขปัญหาได้ด้วยการทำให้สภาพบ่อและน้ำมีความสะอาดอยู่เสมอด้วยการขจัดสิ่งปฏิกูล ขี้กุ้ง เศษอาหารที่ตกค้าง และอินทรียวัตถุต่างๆที่จะก่อให้เกิดน้ำเน่า น้ำเสีย อินทรียวัตถุต่างๆ เหล่านี้เมื่อบูดเน่าแตกตัวย่อยสลายก็จะเกิดก๊าซของเสียต่างๆออกมา ทั้ง แอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ และก๊าซมีเทนจึงทำให้ก๊าซออกซิเจนที่กุ้งและสิ่งมีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศน์จะต้องใช้พลอยลดน้อยถอยลงไปทีละน้อยเมื่อสะสมอมเชื้อโรคมากๆเข้าเมื่อเทียบกับจำนวนกุ้งหลายหมื่นหลายแสนตัวและเจริญเติบโตมีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นทุกวันทุกอาทิตย์ ทุกเดือน จึงทำให้ออกซิเจนไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดความเครียด กุ้งล่องเกิดปัญหาทำให้เกิดการตายจำนวนมากและรวดเร็ว มีรายงานจากคุณประสิทธิ ทรทรัพย์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งแบบปลอดสารพิษมากกว่า15 ปี อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ 3 ต. เขาแดง อ.กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ 77150 ได้แนะนำว่า เกษตรกรควรที่จะต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องความสะอาดที่พื้นบ่อโดยคุณประสิทธิ์ นั้นจะใช้ บาซิลลัส MTและไคลน็อพติโลไลท์ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ในการย่อยสลายของเสียและจับก๊าซแอมโมเนียทุก 7 วันและ 15วันโดยไม่รอให้เกิดการหมักหมมของขี้กุ้งและอาหารกุ้งที่เหลือตกค้าจนทำให้กุ้งมีสภาพน้ำที่เขียว ใส สวยสดอยู่เสมอกุ้งของคุณประสิทธิ์จึงไม่ประสบปัญหาเรื่องโรคอีเอ็มเอสเหมือนบ่อของเพื่อนบ้านปัจจุบันมีผู้ที่นิยมชมชอบในวิธีการเลี้ยงของคุณประสิทธิ์ ทรทรัพย์อยู่ค่อนข้างมากเกษตรกรท่านใดสนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 081-398-3128 นะครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com




Create Date : 07 ธันวาคม 2556
Last Update : 7 ธันวาคม 2556 18:28:29 น. 0 comments
Counter : 775 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]