นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

พีเอชแกว่ง กุ้งอ่อนแรง กินอาหารน้อย อ่อนแอเจ็บป่วย

การเจ็บป่วยของกุ้งนั้น สามารถเกิดได้มากมายหลายสาเหตุ ใช่ว่าจะมาจากเชื้อโรคเพียงอย่างเดียว การที่น้ำและพื้นบ่อสกปรกก็เกิดปัญหาที่ทำให้กุ้งเจ็บป่วยได้เช่นกัน เพราะเมื่อขี้กุ้งและอาหารกุ้งที่ตกค้างบูดเน่าก็ส่งผลทำให้แก๊สพิษต่างๆ อย่างแอมโมเนียไนไตรท์ ไฮโดรเย่นซัลไฟด์ มีเทน สามารถแทนที่ก๊าซออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดอากาศหายใจ เปรียบเหมือนเราอยู่อาศัยใกล้บ่อขยะ ใกล้แหล่งชุมชนเสื่อมโทรมที่มีน้ำเน่าเสีย เมื่อจะรับประทานหรือหลับนอนแล้วมีกลิ่นเหม็นที่หลากหลายรูปแบบจากขยะหลากหลายชนิด บางครั้งก็ทำให้การกินอยู่หลับนอนและสุขภาพจิตเสื่อมโทรมได้เช่นกัน

การเจ็บป่วยอ่อนแอของกุ้งอีกสาเหตุหนึ่งก็คือเกี่ยวกับเรื่องความความเป็นกรดและด่างของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วกลับไปกลับมา บางครั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก็เรียกกันว่าพีเอชแกว่ง ซึ่งก่อปัญหาให้กุ้งเครียด ไม่กินอาหาร อ่อนแอ เนื่องจากบรรยากาศสภาพแวดล้อมแปรปรวนสร้างความมึนงงคล้ายดังมนุษย์อยู่บนเรือที่โคลงเคลง ทำให้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศรีษะ ส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยเอาง่ายๆ ได้เช่น ส่วนกุ้งนั้นเมื่อเครียดและอ่อนแอก็เจ็บป่วยตามรูปแบบและสไตล์ของกุ้ง คืออาจจะเกาะขอบบ่อ วิ่งล่อง (กุ้งล่อง) ซึ่งถือว่าผิกปรกติผิดวิสัยของกุ้งที่เป็นสัตว์หากินอยู่ที่พื้นบ่อจะไม่ขึ้นมาเหนือน้ำให้นกกาจับกินง่ายๆ


เกษตรกรผู้เลี้ยงท่านใดที่มีปัญหานี้สามารถแก้ไขได้นะครับ เพราะสาเหตุเกิดจากปล่อยให้มีขี้เลน ขี้กุ้ง อาหารกุ้งที่ตกค้างหลงเหลือมาก ขาดการตีน้ำ ขาดการเช็คยอ ไม่มีบ่อพักน้ำ ปล่อยให้น้ำในบ่อมีระดับความลึกที่น้อยเกินไป จึงทำให้ปัญหาแพลงค์ตอนบลูมจากไนโตรเจนส่วนเกินจากก๊าซแอมโมเนียในบ่อ แพลงค์ตอนพืชที่มีสีเขียวก็เปรียบได้กับว่าเป็นพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งในอดีตเราอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวอย่าอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ในเวลากลางคืน เพราะพืชจะคายก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ออกมาแล้วยังแย่งใช้ก๊าซอ๊อกซิเจนด้วย เมื่อพืชจำนวนมากอาศัยเจริญเติบโตอยู่ในบ่อกุ้งของเรา ยิ่งมีความหนาแน่นมากจนสีน้ำหนืดก็ยิ่งสร้างปัญหาสร้างผลกระทบ


เมื่อเขาปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา รวมตัวกับน้ำจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิคทำให้ในเวลากลางคืนน้ำจะเป็นกรดมาก ในเวลากลางตรงกันข้ามคือพืชจะดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เจือจาง และพีเอชความเป็นกรดลดน้อยถอยลงตามไปด้วย แต่ถ้าถูกดูดไปใช้งานมากเข้าๆ ค่าความเป็นด่างในน้ำก็จะมีสูงขึ้น ทำให้เกิดภาวะกลางคืนเป็นกรดกลางวันเป็นด่างหรือเรียกว่าพีเอชแกว่ง แนวทางการแก้ปัญหาต้องลดปริมาณของเสียโดยที่ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายโปรตีนโดยเฉพาะ (บาซิลลัส MT) และจับก๊าซของเสียด้วยกลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ (สเม็คโตไทต์) ก็จะช่วยตัดขั้นตอนของการเกิดไนโนตรเจนไปเลี้ยงพืช เพราะธาตุไนโตรเจนก็คล้ายๆกับปุ๋ยพืชในชื่อสูตรยูเรีย 46-0-0 ซึ่งเน้นให้พืชงอกงามเจริญเติบโตได้รวดเร็วโดยเฉพาะใบ


มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com





Create Date : 09 กันยายน 2557
Last Update : 9 กันยายน 2557 15:52:24 น. 0 comments
Counter : 798 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]