นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

น้ำเขียว น้ำหนืดในบ่อเลี้ยงปลา กลางคืนกลางวันมีผลต่ออ๊อกซิเจน ส่งผลให้พีเอชแกว่งปลาตาย

บ่อเลี้ยปลาไม่ว่าจะเป็นปลาดุก ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาสลิด ปลาทับทิม ปลายี่สก ปลาสวาย ฯลฯ เมื่อเลี้ยงไปสักระยะหนึ่งจะเกิดอาการ น้ำเขียวน้ำหนืดโดยสีของน้ำจะเข้มมาก ยิ่งเป็นบ่อเก่าค้างปีหรือบ่อที่ผ่านการเลี้ยงมาเป็นระยะเวลานานแต่ไม่เคยล้างบ่อฉีดเลนเลย ยิ่งจะทำให้น้ำเกิดอาการเน่าเสียได้เร็ว ปลาจะเครียดขาดอากาศหายใจโตช้าตายเร็ว ส่วนบ่อที่เลี้ยงแบบคละเคล้าผสมผสานหรือแบบเบญจพันธุ์ที่ปล่อยปลากินพืชลงไปด้วยเช่น ปลากระดี่ ปลานิล ปลาตะเพียนฯลฯอาการเน่าเสียก็จะน้อยหรือช้ากว่าบ่อที่เลี้ยงปลาที่กินโปรตีนเพียงอย่างเดียว

สีของน้ำที่หนืดเขียวเข้มเกิดจากแพลงค์ตอนขยายและเพ่ิมจำนวนในปริมาณมากหรือที่ชาวบ้านเรียกกันคือแพลงค์ตอนบลูม แพลงค์ตอนพืชเมื่อรวมตัวเป็นจำนวนมากก็ทำให้สีของพื้นผิวน้ำสามารถที่จะสังเกตุเห็นสีที่มีลักษณะเขียวเข้มได้อย่างชัดเจน และเมื่อได้รับแสงแดดก็จะสังเคราะห์แสง (photosynthesis) โดยดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำออกไปใช้เป็นจำนวนมาก ทำให้ค่าพีเอชของน้ำเป็นด่างกลับกันถ้าเป็นเวลากลางคืนแพลงค์ตอนพืชจะคายก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์กลับลงไปและแย่งใช้ออกซิิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่พืชหรือแพลงค์ตอนพืชจำนวนมากปล่อยออกมาเมื่อรวมตัวกับน้ำกลายเป็นกรดคาร์บอนิค ทำให้น้ำมีค่าพีเอชเป็นกรดจัด การที่แพลงค์ตอนปล่อยและดึงก๊าซคาร์บอนไดเป็นเรื่องปรกติ แต่ถ้าปล่อยให้แพลงค์ตอนมากเกินไปก็จะมีผลต่อค่าพีเอชของน้ำ กลางคืนน้ำเป็นกรด กลางวันเป็นด่าง หรือส่วนใหญ่เรียกว่าค่าพีเอชแกว่ง ทั้งพีเอชแกว่ง อ๊อกซิเจนน้อยปลาจะเครียด กินอาหารได้น้อย ลอยฮุบอากาศผิวน้ำ หนักมากๆปลาจะตาบอดและตาย

แพลงค์ตอนพืชก็เปรียบได้ดังพืชทั่วไปที่สามารถเจริญเติบโตดีเมื่อมีปุ๋ยอันอุดมสมบูรณ์ บางท่านอาจจะแปลกใจในบ่อเลี้ยงปลาจะมีปุ๋ยอยู่ได้อย่างไร ปุ๋ยมาจากมูลของปลา และเศษอาหารที่เหลือตกค้างโดยยิ่งถ้าไม่มีการเช็คยอเช็คปริมาณอาหารว่าปลากินเหลือมากน้อยเพียงใดก็จะยิ่งเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำเขียวเข้มและบูดเน่าได้ง่าย ปลาเมื่อมีอายุการเลี้ยงมากขึ้นสองหรือสามเดือนความหนาแน่นเริ่มมากขึ้น มูลก็มากขึ้นบวกกับเศษอาหารที่เหลือส่งผลให้มีปริมาณของเสียมากขึ้นตามไปด้วย มูลปลาและเศษอาหารเป็นโปรตีนเมื่อถุูกย่อยสลายแตกตัวเป็นแอมโมเนีย ไนไตรท์(สองตัวนี้มีมากเกินไปปลาจะตาบอดขาดอ๊อกซิเจนปลาขับถ่ายของเสียออกมาได้ลำบาก หรือพูดง่ายๆว่าปลาฉี่ไม่ออก) ต่อมาแตกตัวเป็นไนเตรทและไนโตรเจนตามลำดับ ไนโตรเจน ถ้าเปรียบเทียบกับปุ๋ยที่ชาวบ้านใช้อย่างคุ้นเคยก็คือปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 นั่นเอง ทีนี้พอเข้าใจได้ในระดับหนึ่งแล้วไช่ไหมครับว่าทำไมแพลงค์ตอนพืชในบ่อเลี้ยงปลาจึงเจริญงอกงามดีเหลือเกิน

วิธีการแก้ไขแบบง่ายๆต้องหมั่นดูแลให้มีเศษอาหารตกค้างน้อย หมั่นเช็คยอ ปล่อยปลาอย่าให้หนาแน่นมากเกินไป หมั่นดูดขี้เลน เพิ่มระดับน้ำให้อยู่ที่ 1.80 - 2.00 เมตร ทำความสะอาดบ่อหลังจับหรือก่อนที่จะเริ่มเลี้ยงปล่อยลูกปลาลงไปใหม่ ใช้เครื่องตีน้ำช่วยอาจจะไม่ต้องมากเหมือนผู้เลี้ยงกุ้งก็ได้ และผู้ที่เลี้ยงเป็นธุรกิจอาจจะใช้บาซิลลัสmt (บาซิลลัส ซับธิลิสสายพันธุ์ที่ย่อยสลายโปรตีนจากอาหารปลาและขี้ปลาโดยเฉพาะ)ตัวนี้จะช่วยย่อยสลายต้นเหตุของการเกิดปุ๋ยและก๊าซของเสียต่างๆ และควรใช้ สเม็คโตไทต์ (หินแร่ภูเขาไฟ) ช่วยจับสารพิษในน้ำและอฟลาท๊อกซินในอาหารปลาอีกทั้งช่วยจับก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์(ก๊าซไข่เน่า), ก๊าซแอมโมเนียและก๊าซมีเธนในจุดที่่อ๊อกซิเจนน้อยได้เป็นอย่างดี สองตัวนี้จะช่วยนักธุรกิจผู้เลี้ยปลาให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุด

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com



Create Date : 20 มกราคม 2555
Last Update : 20 มกราคม 2555 11:08:56 น. 3 comments
Counter : 6455 Pageviews.  

 
ที่บ้านเลี้ยงปลาคราฟ บ่ออยู่กลางแดด น้ำเขียวปี๋เลย
ควรแก้ไขอย่างไร จะเลี้ยงปลาชนิดอื่นคู่กันด้วย แต่ยังไม่รู้จะเป็นชนิดไหนดี แนะนำด้วยครับ


โดย: ON THE WAY (MyEos50 ) วันที่: 20 มกราคม 2555 เวลา:12:56:05 น.  

 
ใช้หินแร่ภูเขาไฟ สเม็คโตไทต์ ช่วยจับก๊าซแอมโมเนียเพื่อลดจำนวนปุ๋ยไม่ให่ส่งไปเลี้ยงแพลงค์ตอน แพลงค์ตอนก็จะไม่บลูม. และควรใช้จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายโปรตีนและของเสียโดยตรงเช่น บาซิลลัสMT ช่วยลดจำนวนขี้ปลาและเศษอาหารที่ตกค้างลดการเกิดก๊าซ


โดย: greenagro วันที่: 7 มีนาคม 2555 เวลา:7:03:39 น.  

 
บ่อผมเลี้ยงปลานิลหมัน ไห้อาหารปลาดุก น้ำเขียวมากคับ ปลาก้อตาย น้ำก้อไม่มีเติมคับ จะทำยังไงคับ ช่วยที มือไหม่คับ


โดย: เอกพันธ์ IP: 1.47.199.226 วันที่: 12 กันยายน 2558 เวลา:15:02:37 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]