นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

อากาศหนาว ปลากินอาหารน้อย ชะลอการให้อาหาร

สภาพอากาศที่หนาวเย็น บนบกว่าหนาวแล้วในน้ำก็คงหนาวกว่าหรือก็ไม่แตกต่างกันเลย (สงสัยต้องถามน้องปลา)อุณหภูมิของน้ำที่เย็นลงตามสภาพของฤดูกาลจะส่งผลกระทบให้ปลาหยุดกิจกรรมต่างๆรวมถึงการกินอาหารด้วย เมื่อพลังงานถูกใช้น้อยลง พลังงานก็สูญเสียน้อย การเติมพลังงานหรือการกินอาหารของปลาก็น้อยตามลงไปด้วย แต่ถ้ายังมีการให้อาหารอยู่เท่าเดิมเศษอาหารก็จะตกค้างสะสมบูดเน่าอยู่ที่พื้นบ่อมากเกินไป เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั่วไปต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้อาหารในจำนวนที่น้อยกว่าเดิมในสภาพอากาศหนาวเย็น หรือแม้กระทั่งบรรยากาศฟ้าหลัวฟ้าปิด หรือจะใช้วิธีการสังเกตุโดยการเช็คหรือตรวจสอบจากยอ ว่ามีเศษอาหารเหลือตกค้างในยอมากน้อยเป็นอย่างไร แล้วปรับปริมาณการให้อาหารตามความเหมาะสมจากเศษอาหารที่เหลือในยอ จะช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร ช่วยลดจำนวนปลาตาย ช่วยลดภาวะน้ำหนืดสีน้ำเขียวเข้มจากแพลงค์ตอนบลูมได้มาก

เศษอาหาร เศษอินทรีย์วัตถุที่ร่วงหล่นตกค้างอยู่ที่พื้นบ่อจะค่อยๆบูดเน่าย่อยสลายกลายเป็นก๊าซของเสีย อย่างเช่น ก๊าซไฮโดรเย่นซัลไฟด์ (ก๊าซไข่เน่า),ก๊าซแอมโมเนีย, ก๊าซมีเทน ก๊าซต่างๆเหล่านี้ถ้ามีการสะสมจนเพิ่มปริมาณมากขึ้น ก๊าซอ๊อกซิเจนที่สิ่งมีชีวิตในน้ำรวมทั้งปลาใช้ในการดำรงชีวิตจะถูกแทนที่ด้วยก๊าซของเสีย ทำให้มีจำนวนลดน้อยลงอย่างมาก ปลาจะลอยหัวฮุบอากาศที่ผิวน้ำเกิดภาวะเครียด เบื่อไม่กินอาหาร ถ้าปริมาณก๊าซของเสียมากโดยเฉพาะแอมโมเนียจะส่งผลให้ปลาตาบอด ขับถ่ายของเสียออกมาได้ยากเนื่องจากปริมาณก๊าซแอมโมเนียในน้ำมีสูงกว่า ถ้าปล่อยทิ้งไว้ยาวนานปลาจะมีการเจริญเติบโตช้า จำนวนการตายเพิ่มสูงยิ่งขึ้น ต้องวิดบ่อจับก่อนกำหนดปลาไม่ได้ขนาด ราคาเสีย ส่งผลให้ไม่ประสบความสำเร็จขาดทุนจากการประกอบอาขีพโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

การบรรเทาแก้ไขปัญหาสามารถทำได้โดยส่วนหนึ่งให้ทำการเพิ่มระดับน้ำให้สูงอยู่ที่ระดับ 1.8 - 2.0 เมตรพยายามรักษาระดับของน้ำให้คงที่อย่าให้ลดต่ำลงกว่านี้ คือจะได้ช่วยบรรเทาก๊าซพิษให้เจือจาง ลดปริมาณการปล่อยปลาให้น้อยลงอย่าปล่อยหนาแน่นมากเกินไป เพราะจะยิ่งดูแลเลี้ยงดูลำบาก ให้อาหารแต่พอดีอย่ามีเศษอาหารเหลือตกค้างมาก โดยเฉพาะในฤดูกาลนี้ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ ควรเพิ่มจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายโปรตีนโดยตรงอย่างเช่น บาซิลลัสMT ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการย่อยสลายวัสดุที่ตกค้างจากอาหารปลาโดยตรง ไม่ใช่จุลินทรีย์หลากหลายสายพันธุ์ที่เต็มไปด้วยยีสต์ รา โปรโตซัว ฯลฯ ที่ส่วนใหญ่จะย่อยสลายได้แต่กลุ่มของแป้งอ่อนๆ และอินทรีย์วัตถุทั่วไปเหมาะต่อการนำไปทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ไม่ทำงานเฉพาะเจาะจงโดยตรงไปที่ขี้ปลาและเศษอาหารที่ผลิตมาจากวัสดุที่คัดเลือกมาอย่างดีมีโปรตีนสูงมากจนกระบวนการย่อยสลายของปลาไม่สามารถย่อยสลายได้ทั้งหมด ประชากรปลาที่มีมากกว่าปรกติต่างจากแม่น้ำลำคลองเมื่อเทียบกันจำนวนหัวต่อตารางเมตรของเสียย่อมมากเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงควรต้องเพิ่มประชากรทำความสะอาดให้เท่าเทียมกันด้วยจึงจะเหมาะสม จุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลายต้นเหตุของของเสียให้น้อยลง แต่ในรูปของก๊าซจุลินทรีย์ไม่สามารถจับตรึงได้ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องไม่ลืม สเม็คโตไทต์ หินแร่ภูเขาไฟที่มีรูพรุนมหาศาลผ่านการเดือดพล่านจากอุณหภูมิเป็นล้านๆองศาจะช่วยจับสารพิษ จับตรึงก๊าซของเสียไม่ให้เป็นอันตรายต่อปลา (ในอดีตเป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลาคาร์ฟ) จะช่วยลดอัตราการตายของปลาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในฤดูกาลที่หนาวเย็นนี้

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




Create Date : 13 มกราคม 2555
Last Update : 13 มกราคม 2555 6:46:54 น. 0 comments
Counter : 642 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]