All Blog
ขี่ช้างจับตั๊กแตน


 

ตอนนี้ยังอยู่กับช้างอีกครั้งนะครับ
ความหมายของสุภาษิตบทนี้คือ ต้องการจะสอนว่า จะทำสิ่งใดก็ตาม ควรคิดให้เหมาะสม อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ เปรียบเสมือนการจะไปจับตั๊กแตน คงไม่สมควรที่จะขี่ช้างไปจับ นอกจากจะจับไม่ได้แล้ว ยังเป็นเรื่องวุ่นวายอีกด้วย



Create Date : 14 มีนาคม 2549
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2559 12:22:13 น.
Counter : 797 Pageviews.

0 comment
เห็นช้างขี้ อย่าขี้ตามช้าง


วันนี้ผมอาจจะเริ่มต้นด้วยคำไม่สุภาพคือขี้ความจริงคำนี้เป็นคำไทยแท้ๆ ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
มาวันนี้เรามีคำใหม่ใช้แล้ว จึงรังเกียจว่าเป็นคำไม่สุภาพ แต่เอาเถอะบางครั้งเราก็ต้องใช้บ้างเหมือนกันในบางโอกาส เพื่อสื่อความหมายให้ชัดเจน เช่นสุภาษิตไทยบทนี้

ความหมายที่แท้จริงของคนสมัยก่อน ผมไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรกันแน่ ผมเคยถามคนเฒ่าคนแก่ว่า สุภาษิตบทนี้ความหมายคืออะไร

ก็ได้รับคำตอบว่า คนเราต้องรู้จักสถานะภาพของตัวเองว่า เรามีสถานะภาพเป็นอย่างไร ฐานะร่ำรวยหรือยากจน ถ้าจะพูดให้ทันสมัยหน่อยก็ต้องพูดว่า ตัวเองมีศักยะภาพแค่ไหน เห็นคนอื่นเขาทำอะไร หรือเขามีอะไร ก็อย่าไปแข่งบารมีกับเขา เลยพูดสอนเป็นสุภาษิตว่า
เห็นช้างขี้ อย่าไปขี้ตามช้าง ความหมายค่อนข้างเป็นปรัชญา ไม่ใช่หมายความตามความเป็นจริง คือไปขี้แบบช้าง ท่านทั้งหลายก็คงเคยเห็นช้างขี้แล้ว มันมากมายกองเผนินเทินทึก

พบกันใหม่ตอนหน้าครับท่าน



Create Date : 03 มีนาคม 2549
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2559 12:20:56 น.
Counter : 4102 Pageviews.

4 comment
เจอไม้งามเมื่อขวานบิ่น


 

ผมคงไม่ต้องอธิบายขยายความให้ละเอียดลึกซึ้งนะครับว่าขวาน คืออะไร
ขวานเป็นอุปกรณ์สำหรับชาวบ้านใช้ในการตัดฟันต้นไม้ หรือสิ่งของต่างๆ ปัจุบันเราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นแล้ว

ความหมายของสุภาษิตบทนี้คือ คนเราบางครั้งอาจจะประมาท กระทำอะไรไปไม่ระมัดระวัง เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้วก็มานั่งเสียใจ เสีดายโอกาสดีๆ เมื่อพบโอกาสดีๆอีกก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้

เปรียบเสมือนคนตัดฟืนที่ทำขวานบิ่น เพราะความไม่ระมัดระวัง เมื่อมาพบต้นไม้งามๆสวยๆ ก็ไม่สามารถจะตัดฟันได้
เรื่องมันก็เป็นเช่นนี้แหละโยม ฮิ ฮิ



Create Date : 01 มีนาคม 2549
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2559 12:19:29 น.
Counter : 541 Pageviews.

3 comment
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง


โดยธรรมชาติของคนเรา มักจะชอบพูดชอบคุย บางครั้งก็พูดในสิ่งที่ไม่มีสาระ ไม่เกิดประโยฃน์อันใดกับผู้ฟัง และเป็นธรรมชาติของมนุษย์มาตั้งหลายพันปีแล้ว

ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงบัญญัติเกี่ยวกับการพูดไว้เป็นศีลข้อหนึ่ง ของศีลห้าที่ชาวพุทธคุ้นเคยกันดี

คนไทยสมัยโบราณก็มีวิธีสอนไม่ให้คนพูดเพ้อเจ้อ พูดเหลวไหลไม่มีสาระ เป็นสุภาษิตบทหนึ่งว่า

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

หมายความว่า บางครั้งบางเวลา หากเราพูดไปโดยไม่ไตร่ตรองให้ดีแล้ว อาจจะมีค่าเพียงสองไพเบี้ย (อัตราเงินสมัยโบราณ) แต่หากรู้จักนิ่งเสียบ้าง อาจจะมีคุณค่าเทียบเท่าทองคำน้ำหนักหนึ่งตำลึงทีเดียว (หนึ่งตำลึงเท่ากับสี่บาท)

อันนี้เป็นภูมืปัญญาของคนไทยสมัยโบราณ ที่มีกลวิธีการสอนอย่างแยบยลอย่างยิ่ง



Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2559 12:18:27 น.
Counter : 729 Pageviews.

9 comment
เผาผีประชดป่าช้า ย่างปลาประชดแมว


ความจริงผมไม่มีความประสงค์ที่จะพูดถึงเรื่องการบ้านการเมืองเลย เพราะเว็บบล็อกนี้จะไม่พยายามพูดเกี่ยวกับการเมือง เนื่องด้วยผมไม่สันทัดเกี่ยวกับการเมือง ขอบอก
แต่ ณวันนี้กระแสการเมืองมันรุนแรงมาก โดยเฉพาะประเด็นที่ฝ่ายค้านออกมาประกาศเจตนารมณ์ว่า จะไม่ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้ง วัตถุประสงค์จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่

ทำให้ผมคันไม้คันมือขอยกสุภาษิตบทหนึ่งของคนไทยสมัยโบราณมาเปรียบเทียบดังนี้ สุภาษิตบทนั้นกล่าวว่า "เผาผีประชดป่าช้า ย่างปลาประชดแมว" หมายความอย่างง่ายๆว่า อีกฝ่ายหนึ่งเขาไม่เดือดร้อนอะไร ป่าช้าไม่เคยรังเกียจผีฉันใด แมวก็ไม่เคยรังเกียจปลาย่างฉันนั้น แล โยม

หรือท่านมีความเห็นว่าอย่างไร Comment มาแลกเปลี่ยนความเห็นกันบ้าง ฮิ ฮิ



Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2549
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2559 12:17:13 น.
Counter : 1319 Pageviews.

3 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง