ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
เสียงสะท้อนจากลูกเรือ กรณีข่าวอุบัติเหตุเครื่องบินในปี 2557

เสียงสะท้อนจากลูกเรือ กรณีข่าวอุบัติเหตุเครื่องบินในปี 2557

นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com

ปีที่ผ่านมา อุบัติเหตุเกี่ยวกับเครื่องบินเกิดขึ้นบ่อยจนหลายๆ คนเริ่มแสดงอาการหลอนๆ เมื่อพูดถึงการโดยสารเครื่องบิน โดยเฉพาะสายการบินที่เพิ่งเป็นข่าว แต่ก่อนที่เราจะพูดถึงเสียงสะท้อนจากคนทำงานในสายอาชีพการบิน เรามาทบทวนความจำกันสักเล็กน้อยว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในปีที่ผ่านมา

หากนับเฉพาะข่าวดังๆ ก็จะเริ่มตั้งแต่ MH 370 ที่หายไป (และยังไม่รู้ว่าหายไปไหน) ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม ตามมาด้วย MH 17 สายการบินมาเลเชียแอร์ไลน์เช่นเดียวกัน ถูกยิงตกกลางอากาศ เหนือประเทศยูเครน ในเดือนกรกฎาคม

ไม่กี่วันถัดมา สายการบินทรานส์เอเชีย ประสบอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้ผู้โดยสารเสียชีวิต 48 คน จากทั้งหมด 58 คน ผ่านไปไม่ถึง 24 ชั่วโมง สายการบินอัลจีเรีย เที่ยวบิน 5017 ก็หายไปจากจอเรดาร์ของหอบังคับการบิน หลังนำเครื่องขึ้นได้เพียง 50 นาที จากนั้นไม่นาน ทีมค้นหาก็พบซากเครื่องบินลำดังกล่าวตกอยู่กลางทะเลทราย ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตทั้งหมด

ล่าสุด สายการบินแอร์เอเชียอินโดนีเซีย เที่ยวบิน QZ 8501 ตกกลางทะเลชวา ยังอยู่ในระหว่างการค้นหาผู้เสียชีวิตและกล่องดำบันทึกการบิน

แน่นอนว่าข่าวเหล่านี้สร้างความสลดหดหู่ใจ สำหรับบางคนก็อาจจะเลยเถิดไปถึงอาการกลัวเครื่องบิน แต่อย่างน้อย คนทั่วไปแบบเราๆ ที่นานๆ ครั้งจะได้ใช้บริการเครื่องบินก็ไม่ต้องเผชิญหน้ากับความกลัวนั้นโดยตรง

ต่างจากนักบินและลูกเรือที่มีเครื่องบินเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

ในฐานะนักบิน "ธาตรี สุคนธ์" ตำแหน่งผู้ช่วยนักบินประจำสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่มามากกว่า 10 ปี อธิบายว่า ตามสถิติแล้ว การเดินทางด้วยเครื่องบินก็ยังมีโอกาสที่จะประสบอุบัติเหตุน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่นๆ
ถึงแม้ว่าในช่วง 2 - 3 ปีมานี้ ธุรกิจการบินเติบโตอย่างรวดเร็ว มีจำนวนเที่ยวบินเพิ่มขึ้น เนื่องจากสายการบินต่างๆ สั่งซื้อเครื่องบินมากขึ้น แต่ก็ยังถือว่ามีตัวเลขอุบัติเหตุต่ำกว่ารถยนต์ เรือ หรือรถไฟอยู่ดี

"ด้วยวิทยาการใหม่ๆ ของเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ที่สร้างกันขึ้นมา มันจะมีการติดตั้งระบบที่ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเยอะมาก เพราะฉะนั้น อยากให้มั่นใจว่าเครื่องบินสมัยใหม่เนี่ยมันถูกพัฒนา มีฟังก์ชั่น ในการป้องกันอุบัติเหตุที่ดีขึ้น"

ถึงแม้ว่าจะมีหลายๆ ปัจจัยที่ทำให้เครื่องบินตกได้ แต่ด้วยมาตรฐานทางการบินที่ถูกกำหนดมาแล้ว จะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก หากปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และถ้าไม่สุดวิสัยจริงๆ สภาพอากาศแปรปรวนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เครื่องบินตกได้ นักบินธาตรีคอนเฟิร์ม!

"มั่นใจว่ากระบวนการตั้งแต่ก่อนเครื่องบินจะขึ้น มันทำให้เที่ยวบินนั้นปลอดภัยได้ เพราะเราจะรู้ตั้งแต่ก่อนบินว่าสภาพอากาศเป็นยังไง มีกลุ่มฝนตรงไหน เมฆเป็นยังไง เราก็วางแผนการบินล่วงหน้าได้ คนที่อยู่ตรงนี้จะรู้ดีว่าโอกาสที่เครื่องบินจะตกมันยากมาก"

ทางด้าน "พนัส วงศ์นนทิ" พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือที่เราเรียกกันว่า "สจ๊วต" จากสายการบินพาณิชย์แห่งหนึ่ง ได้บอกเล่าความรู้สึกเกี่ยวกับข่าวเครื่องบินตกที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในปีที่ผ่านมาว่า

"ส่วนตัวแล้วก็ไม่ได้จิตตกอะไรมากกับข่าวนี้นะครับ มันเป็นความรู้สึกเสียใจกับเพื่อนร่วมอาชีพมากกว่า คือเชื่อมั่นในระบบความปลอดภัย อย่างเวลาเจอสภาพอากาศแปรปรวน กัปตันก็จะมีวิธีรับมือ มันตัดความเสี่ยงออกไปได้เยอะ เพื่อนหลายๆ คนก็ยังโอเคกับการทำงานตรงนี้ มันเป็นความเสี่ยงที่เข้าใจได้ รับมือได้ แต่ก็ตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น"

นอกจากนี้ พนัสยังให้มุมมองที่น่าสนใจเอาไว้ด้วยว่า ข่าวลักษณะนี้ทำให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามกฎของการบินมากขึ้น

"จะเห็นได้ชัดว่าเมื่อก่อนก็จะมีคนไม่ยอมนั่งอยู่กับที่บ้าง ไม่ปิดมือถือ แชทตอนที่เครื่องกำลังจะขึ้นบ้าง จากข่าวที่ออกมา มันก็ทำให้ผู้โดยสารให้ความร่วมมือกับเราเยอะขึ้นนะครับ อย่างเวลาบอกให้ปิดมือถือ นั่งรัดเข็มขัดอยู่กับที่ ก็จะทำตาม ไม่ค่อยดื้อเท่าไร"

จะเห็นได้ว่า สำหรับคนทำงานในสายอาชีพนี้ ข่าวอุบัติเหตุจะทำให้ตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น ถึงแม้ว่าทุกสายการบินจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยอยู่แล้ว แต่ก็จะเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

"เรื่องความปลอดภัยบนเครื่องมีโอกาสแค่ครั้งเดียวครับ ต้องให้ความสำคัญให้มากที่สุด" พนัสกล่าวย้ำ

ทั้งนี้ ผู้โดยสารหลายๆ ท่านอาจจะเห็นบทบาทหน้าที่ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพียงแค่การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น ซึ่งนั่นก็เป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของความรับผิดชอบทั้งหมด แท้ที่จริงแล้ว หน้าที่ด้านการรับผิดชอบความปลอดภัยของผู้โดยสารต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

"เราถูกฝึกเรื่องความปลอดภัยมากกว่าเรื่องการบริการอื่นๆ นะครับ อย่างขึ้นเครื่องมาทุกคนก็ต้องเช็คอุปกรณ์ฉุกเฉินให้ครบตามขั้นตอน ก่อนที่จะลงมือทำงาน"

สำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องบิน จะรู้ดีว่าโดยมากแล้วอุบัติเหตุมีโอกาสจะเกิดได้มากที่สุดก็ตอนเอาเครื่องขึ้นกับนำเครื่องลงจอด เทคโนโลยีทางการบินอันทันสมัย ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากทุกๆ ปัจจัยที่ต้องเจอขณะทำการบิน เว้นเสียแต่ว่าจะถูกยิงตก เหมือนกรณี MH 17 ที่อยู่เหนือความคาดหมาย

หวังว่า "เสียงสะท้อนจากลูกเรือ" จะทำให้หลายๆ คนคลายความกังวลใจลงได้บ้าง แม้แต่คนที่อยู่กับเครื่องบินทุกวันยังไม่กลัว แล้วเราๆ ท่านๆ ที่นานๆ ครั้งจะได้มีประสบการณ์ "on board" ก็คงไม่จำเป็นต้องกลัวจนเกินเหตุ

แต่ถ้ายังไม่หายกลัว เรามีความคิดเห็นจากพนักงานต้อนรับหญิงสาวจากสายการบินต่างชาติอีกท่านหนึ่งมานำเสนอให้ฟัง

"การบินมันปลอดภัยมากค่ะ ยิ่งสายการบินที่ทำงานอยู่นี่ถือว่ามีมาตรฐานมาก ตั้งแต่บินมายังไม่เคยเจอประสบการณ์เที่ยวบินระทึกขวัญเลย ความฝันสูงสุดในตอนนี้ คืออยากเจอเครื่องตก ไฮแจ็ค หรือจี้ตัวประกันสักครั้ง จะได้มีสีสันในการทำงานบ้าง...ล้อเล่นนะคะ การบินมันปลอดภัยมากจริงๆ ค่ะ อยากให้มั่นใจ"




Create Date : 08 มกราคม 2558
Last Update : 8 มกราคม 2558 7:53:45 น. 0 comments
Counter : 1157 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.