อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
เครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติสามารถสร้างหลอดเลือดเทืยมที่ดีกว่าได้

  เครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติสามารถสร้างหลอดเลือดเทียมที่ดีกว่าได้
WRITTEN BY PIYAWANEE ON JUNE 17, 2014. POSTED IN ชีววิทยา, ทั่วไป, วิทยาศาสตร์, สุขภาพ, เทคโนโลยี, เทคโนโลยีชีวภาพ, โรคภัยไข้เจ็บ
หลอดเลือดที่ขดไปขดมาพันกันยุ่งในร่างกายของพวกเรา ซึ่งมีหน้าที่นำส่งสารอาหารที่จำเป็นไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายและกำจัดสิ่งที่เป็นพิษออกจากร่างกายของเรา เพื่อให้อวัยวะของเราสามารถทำงานได้ตามปกตินั้น เป็นปัญหาที่ยากเย็นต่อนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายที่พยายามจะสร้างหลอดเลือดเทียมขึ้นด้วยความยากลำบาก

ขณะนี้คณะวิจัยจากโรงพยาบาล Brigham and Women’s Hospital (BWH) มีความคืบหน้าในการสร้างหลอดเลือดเทียม โดยอาศัยเทคนิคเครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติ*

การศึกษานี้ได้ถูกเผยแพร่ทางออนไลน์ใน Lab on a Chip ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา



หลอดเลือดเทียมที่ถูกสร้างขึ้นด้วยไฮโดรเจล ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีการพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติกับวัสดุทางธรรมชาติ

ที่มาของรูป: Image courtesy of Khademhosseini Lab

ดร. Ali Khademhosseini หัวหน้าของคณะวิจัย ซึ่งเป็นนักวิศวกรรมชีวการแพทย์และผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยนวัตกรรมวัสดุทางธรรมชาติ (BWH Biomaterials Innovation Research Center) ได้กล่าวว่า “วิศวกรได้ก้าวข้ามปัญหาที่ยุ่งยากได้อย่างเหลือเชื่อในการสร้างเนื้อเยื่อเทียม อย่างเช่น เนื้อเยื่อของหัวใจ ตับและปอด เป็นต้น อย่างไรก็ตามการสร้างหลอดเลือดเทียมยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับวิศวกรรมเนื้อเยื่อ พวกเราได้พยายามที่จะจัดการกับปัญหาที่ท้าทายนี้โดยอาศัยกลยุทธ์ที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับการสร้างหลอดเลือดด้วยไฮโดรเจล ซึ่งเป็นการรวมเอาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติกับวัสดุทางธรรมชาติ”

ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่คณะวิจัยได้ใช้เครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติในการสร้างแม่แบบด้วยเส้นใยอะกาโรสหรือวุ้น (โมเลกุลของอนุพันธ์ที่มีน้ำตาลเป็นพื้นฐาน ที่มีในธรรมชาติ) เพื่อที่จะใช้เป็นโครงแม่พิมพ์ของหลอดเลือดเทียม หลังจากนั้นพวกเขาได้ใช้สารที่มีลักษณะคล้ายเจลาตินที่เรียกว่า ไฮโดรเจล ในการเคลือบแม่พิมพ์เพื่อหล่อขึ้นรูปเป็นหลอดเลือดเทียม ซึ่งไฮโดรเจลนี้ได้ถูกทำให้แข็งแรงคงตัวโดยการเชื่อมขวางด้วยแสง

ดร. Khademhosseini ได้กล่าวว่า “หนทางของพวกเรานี้เกี่ยวข้องกับการนำเอาเส้นใยอะกาโรสมาพิมพ์ขึ้นรูปให้กลายเป็นช่องของหลอดเลือดเทียม แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของพวกเราก็คือ แม่พิมพ์ที่มาจากเส้นใยนี้มีความแข็งแรงเพียงพอที่เราจะสามารถเอาออกเพื่อให้เกิดเป็นช่องของหลอดเลือดเทียมได้ สิ่งนี้ก็เพื่อป้องกันการละลายของชั้นแม่พิมพ์เหล่านี้ซึ่งอาจจะไม่ดีต่อเซลล์ โดยเซลล์อาจจะไปติดอยู่รอบๆของเจลได้”

ดร. Ali Khademhosseiniและคณะสามารถสร้างโครงสร้างร่างแหของช่องทางเล็กๆให้มีรูปร่างหน้าตาที่หลากหลายได้ พวกเขาประสบความสำเร็จในการฝังช่องทางขนาดเล็กที่มีหน้าที่เป็นหลอดเลือดและสามารถแผ่กระจายตัวออกให้เข้าไปอยู่ในไฮโดรเจลที่ใช้กันทั่วไปอย่างกว้างขวาง อาทิเช่น เจลาตินจากเมธา อะคริเลต หรือไฮโดรเจลที่มีพอลิเอทิลีนไกลคอลเป็นฐาน ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ที่บรรจุเจลาตินเมธา อะคริเลตได้ถูกใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าหลอดเลือดเทียมที่มีโครงสร้างแบบร่างแหที่ถูกสร้างขึ้นนี้ทำงานอย่างไร มันให้ผลอย่างไรต่อการปรับปรุงการนำส่งสาร ความอยู่รอดของเซลล์ และกระบวนการการเปลี่ยนชนิดของเซลล์ (cellular differentiation) ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังประสบความสำเร็จในการสร้างผนังเยื่อบุภายในแบบชั้นเดียวในหลอดเลือดเทียมที่สร้างขึ้นนี้อีกด้วย

ดร. Khademhosseini ได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ในอนาคตเทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติอาจจะถูกใช้เพื่อพัฒนาการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อให้ได้ตามที่ผู้ป่วยต้องการหรือถูกใช้ภายนอกร่างกายเพื่อการพัฒนาตัวยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2557

ที่มาข้อมูล Brigham and Women's Hospital

ที่มาของบทวาม: //www.sciencedaily.com/releases/2014/05/140530190554.htm

——————————————————————————–

*3D Bioprinting เครื่องพิมพ์ชีวภาพ 3 มิติ ในอนาคตลองผู้ป่วยที่ต้องเปลี่ยนอวัยวะ อาจจะไม่ต้องพบกับปัญหาการหาอวัยวะบริจาคได้ยากเย็นมากเช่นปัจจุบัน วิธีการก็คืออาศัยเทคโนโลยีการผลิต “โครงแม่พิมพ์อวัยวะ” ก่อนปลูกสเต็ม เซลล์จากผู้ป่วยเองลงไป แล้วเลี้ยงจนได้อวัยวะก่อนผ่าตัดกลับไปให้กับผู้ป่วยเองในที่สุด เรื่องแบบนี้อาจจะไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์อีกต่อไป ! ลองมาดูในรายละเอียดแง่มุมทางเทคโนโลยีกันเพิ่มอีกนิด เทคโนโลยีด้านการพิมพ์ 3 มิติ ก้าวหน้าไปมากในหลายปีที่ผ่านมา แต่ความก้าวหน้าที่แท้จริงของเทคโนโลยีนี้ จะขึ้นอยู่กับความรู้เรื่องการสร้าง หมึกพิมพ์ชีวภาพ หรือ bioink องค์ประกอบหลักของหมึกพิมพ์ชีวภาพ คือ สเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกําเนิด รวมกับโปรตีนเร่งการเจริญเติบโต และ สารเชื่อมโยงที่เป็นไฮโดรเจล เช่น ไฟบริน คอลลาเจน เจลาติน และสารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่ทําให้เซลล์เติบโตได้ดี ในโครงร่าง (scaffold) ของอวัยวะที่พิมพ์ออกมา เทคโนโลยีแบบนี้ยังอาจจะสร้าง โมเดลใหม่ของการทดสอบต้นแบบยา ได้อีกด้วย ปกติงานวิจัยยาใหม่นั้นต้องทดสอบประสิทธิภาพและความเป็นพิษ ทั้งในหลอดทดลอง ในสัตว์ทดลอง และในมนุษย์ แต่หากเราสร้างเนื้อเยื่อหรืออวัยวะแบบ 3 มิติได้ ก็น่าจะลดเวลาทดลองในมนุษย์ลงได้ ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้พัฒนาตัวแบบที่จะสร้างขึ้นก็สําคัญมาก มักอาศัยเครื่อง MRI หรือ CT scan ร่วมกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เช่น CAD/CAM เป็นต้น ปัจจุบันมีเครื่อง 3D printer ราคาไม่แพงนักจําหน่ายแล้ว ส่วนงานวิจัยก็ถึงระดับลองใช้เทคโนโลยี 3D printing สร้างเนื้อเยื่อผิวหนังและอวัยวะที่ซับซ้อนไม่มาก เช่น หลอดเลือด ใบหู กะโหลก และกระเพาะปัสสาวะ แล้ว สวทช. ก็มีนักวิจัยคือ ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป จากศูนย์ MTEC ที่วิจัยเกี่ยวกับส่วนของกะโหลกศีรษะและหลอดเลือด อยู่เช่นกัน จุดเด่นที่สุดของเทคโนโลยีนี้คือ ช่วยลดปัญหาจากการไม่เข้ากันของเนื้อเยื่อที่ได้จากผู้บริจาค เพราะเซลล์ตั้งต้นที่ใช้เป็นเซลล์ของผู้ป่วยเองจึงเข้ากันได้สมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ในทางทฤษฎีแล้ว อาจตั้งต้นจากเซลล์ทั่วไปที่ไม่ใช่สเต็มเซลล์ ก่อนมากระตุ้นให้เป็นสเต็มเซลล์ ซึ่งจะทําให้มีเซลล์ตั้งต้นสําหรับใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างมากมายไม่จํากัด

//wuttichai1995.blogspot.com/2013/09/3-3d-bioprinting.html



Create Date : 21 มิถุนายน 2557
Last Update : 21 มิถุนายน 2557 6:38:46 น. 2 comments
Counter : 1993 Pageviews.

 
วันนี้คนตามอ่านคึกคักจังเลยค่ะคุณหนึ่งหน่อง
ยอดวิวเยอะเลย

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่า
มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ



โดย: lovereason วันที่: 22 มิถุนายน 2557 เวลา:0:35:58 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:18:05:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.