อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
การตรวจคัดกรองโรคหัวใจอาจจะช่วยตัดสินว่าใครควรจะได้รับแอสไพรินเพื่อป้องกันหัวใจวายได้

การตรวจคัดกรองโรคหัวใจอาจจะช่วยตัดสินว่าใครควรจะได้รับแอสไพรินเพื่อป้องกันหัวใจวายได้

WRITTEN BY PIYAWANEE ON . POSTED IN วิทยาศาสตร์, สุขภาพ, โรคภัยไข้เจ็บ

เมื่อ พฤษภาคม 2557

แหล่งข่าว: Minneapolis Heart Institute Foundation

เป็นเวลากว่า 30 ปีมาแล้วที่เป็นรู้กันดีว่าแอสไพรินสามารถป้องกันอาการหัวใจวายและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตันได้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้กันอย่างแน่ชัดว่าผู้ป่วยแบบไหนกันแน่ที่ควรได้รับแอสไพรินเป็นประจำทุกวัน งานวิจัยชิ้นใหม่นี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Circulation: Cardiovascular Quality and Outcomes ในวันนี้ โดยมีใจความว่า การใช้ผลการตรวจระดับแคลเซียมที่หัวใจอาจจะช่วยตัดสินได้ว่าคุณจะเป็นคนที่เหมาะสมที่ต้องได้รับแอสไพรินหรือไม่

คุณหมอ Michael D Miedema ซึ่งเป็นผู้เขียนหลักของงานวิจัยชิ้นนี้ได้กล่าวว่า “หลายคนที่มีอาการหัวใจวายและเส้นโลหิตไปเลี้ยงสมองตีบกำเริบนั้น จะเป็นบุคคลที่ไม่ปรากฏความเสี่ยงสูงให้เห็นมาก่อน  ทุกวันนี้เป็นที่รู้กันดีว่าผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองควรได้รับแอสไพรินทุกวัน แต่มันเป็นหนทางที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ไม่มีอาการป่วยของโรคเหล่านี้มาก่อนหรือไม่นั้น ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัด ถ้าพวกเราได้ใช้แอสไพรินในการรักษาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงแต่เพียงอย่างเดียว พวกเราก็จะพลาดผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากอาการหัวใจวายเฉียบพลันที่ไม่ได้แสดงความเสี่ยงสูงมาก่อน อย่างไรก็ตาม การสั่งจ่ายยาแอสไพรินได้เพิ่มความเสี่ยงของอาการเลือดไหลไม่หยุดในผู้คนจำนวนหนึ่งที่ไม่เคยมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อนได้เช่นกัน ในการศึกษาครั้งนี้ พวกเราอยากจะเห็นหนทางที่ดีขึ้นที่มีศักยภาพในการตัดสินว่าใครที่ควรจะได้รับแอสไพริน นอกเหนือจากการอาศัยปัจจัยเสี่ยงทั่วไปอย่างง่ายๆอย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน”

แอสไพรินช่วยป้องกันอาการหัวใจวายและเส้นโลหิตไปเลี้ยงสมองอุดตันได้ โดยการป้องกันการจับตัวกันเป็นลิ่มของเลือดที่เกิดขึ้นในเส้นเลือดแดงด้วยการก่อตัวของหินปูน อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ป่วยนอกเหนือจะได้ประโยชน์จากแอสไพรินแล้ว พวกเขายังได้รับความเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดจากการที่เลือดออกไม่หยุดได้ด้วย ซึ่งเลือดไม่สามารถแข็งตัวได้เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นหรือการฉีกขาดของเนื้อเยื่อในร่างกายขึ้นได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ปัจจุบันสมาคม American Heart Association ได้เสนอแนวทางปฏิบัติ โดยให้ใช้แอสไพรินเพื่อป้องกันโรคที่เกี่ยวกับหัวใจหรือหลอดเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเป็นโรคเหล่านี้และมีอัตราเสี่ยงสูงในการที่จะเกิดภาวะหัวใจวายและเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน โดยแอสไพรินจะไม่ถูกจ่ายให้กับคนทั่วไปที่มีอัตราเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายในระดับปานกลางหรือต่ำ

ในการศึกษาย้อนหลังนี้ คณะวิจัยได้ศึกษาจากผู้เข้าร่วมใน MESA* จำนวน 4,229 คนจากทั้งหมด 6 รัฐที่เป็นศูนย์กลางทั่วประเทศ ผู้เข้าร่วมในการวิจัยนี้จะเป็นผู้ที่ไม่มีอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเบาหวาน ซึ่งพวกเขาไม่เคยได้รับแอสไพรินเลยในการป้องกันภาวะหัวใจวายและถูกติดตามผลการศึกษาเป็นเวลาประมาณ 7 ปี

ผู้เข้าร่วมได้ถูกจัดเป็นกลุ่มตามข้อมูลผลการตรวจแคลเซียมที่หัวใจ โดยแต่ละกลุ่มได้ถูกคำนวณอัตราการเกิดภาวะหัวใจวายเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้คณะวิจัยได้วิเคราะห์ คณะวิจัยได้วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของบุคคลที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้แอสไพริน (ศักยภาพของแอสไพรินที่ป้องกันภาวะหัวใจวาย) และความเป็นไปได้ของความเสี่ยงที่จะได้รับจากแอสไพริน (บทบาทของแอสไพรินที่เป็นสาเหตุหลักของอาการเลือดไหลไม่หยุด)

พวกเขากะประมาณได้ว่าผู้เข้าร่วมที่มีระดับแคลเซียมที่หัวใจมากกว่า 100 ขึ้นไป จะได้รับประโยชน์จากแอสไพรินมากกว่าจะได้รับความเสี่ยงจากการเลือดไหลไม่หยุดประมาณ 2-4 เท่า ถึงแม้ว่าผู้เข้าร่วมเหล่านั้นจะไม่ได้ใช้แอสไพรินตามที่สมาคม American Heart Association ได้แนะนำไว้ ในทางกลับกันนั้น ผู้เข้าร่วมจาก MESA ที่มีระดับแคลเซียมที่หัวใจเป็นศูนย์ จะได้รับความเสี่ยงในการที่เลือดไหลไม่หยุดมากกว่า 2-4 เท่า เมื่อเทียบกับประโยชน์จากการใช้แอสไพริน นอกจากนี้เมื่อรวมเอาปัจจัยเสี่ยงทั่วๆไปเข้าไปร่วมในการวิเคราะห์ด้วย ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังคงเหมือนเดิม

Miedema อธิบายว่า “พวกเราพบว่า ดูเหมือนว่าการใช้แอสไพรินในคนที่มีการสร้างของหินปูนขึ้นในเส้นเลือดแดงของหัวใจอย่างเห็นได้ชัดนั้นจะให้ผลในการป้องกันภาวะหัวใจวาย มากกว่าที่จะไปสร้างความทรมานในการที่เลือดออกไม่หยุด ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณไม่มีแคลเซียมสะสมอยู่ในเส้นเลือดของหัวใจอยู่เลย การคำนวณของพวกเราชี้ให้เห็นว่า การใช้แอสไพรินจะเป็นอันตรายมากกว่าให้ผลดี ถึงแม้ว่าคุณจะมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ อาทิเช่น ระดับคอเลสเตอรอลที่สูงหรือครอบครัวที่มีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจก็ตาม”

Miedema ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ระดับแคลเซียมที่หัวใจเป็นศูนย์นั้น บ่งบอกว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจนั้นมีต่ำมาก นั่นหมายความว่าคนที่มีระดับแคลเซียมที่หัวใจเป็นศูนย์อาจจะไม่ได้รับผลดีในการป้องกันภาวะหัวใจวายด้วยการใช้ยาอย่างเช่น แอสไพรินหรือยาลดคอเลสเตอรอลในกลุ่ม statins   ปัจจุบันนี้ประมาณ 50% ของชายและหญิงวัยกลางคนมีระดับแคลเซียมที่หัวใจเป็นศูนย์ ดังนั้นการใช้ระดับแคลเซียมที่หัวใจอาจจะเป็นการทดสอบที่มีศักยภาพในการจะเป็นหนทางในการป้องกันโดยเฉพาะบุคคล และยังทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการใช้ยาในการป้องกันมีจำนวนมากขึ้น แต่เรายังต้องทำการศึกษาต่อไปเพื่อพิสูจน์ว่าการทดสอบนี้สามารถทำซ้ำและได้ผลจริง ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่ดีสุดสำหรับผู้ป่วยของเรา”

*MESA หรือ Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis เป็นการศึกษาลักษณะของอาการก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดในเวลาต่อมา รวมถึงทำการศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะกลายเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในที่สุด โดยได้ทำการศึกษาในชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 45-84 ปี ที่ไม่แสดงอาการของโรคแต่อย่างใด

ที่มา: //www.sciencedaily.com/releases/2014/05/140509172919.htm

*//www.ncbi.nlm.nih.gov/projects/gap/cgi-bin/study

เอกสารอ้างอิง

M. D. Miedema, D. A. Duprez, J. R. Misialek, M. J. Blaha, K. Nasir, M. G. Silverman, R. Blankstein, M. J. Budoff, P.
Greenland, A. R. Folsom. Use of Coronary Artery Calcium Testing to Guide Aspirin Utilization for Primary
Prevention: Estimates From the Multi-Ethnic Study of Atherosclerosis. Circulation: Cardiovascular Quality and
Outcomes, 2014; DOI: 10.1161/%u200BCIRCOUTCOMES.113.000690





Create Date : 14 พฤษภาคม 2557
Last Update : 14 พฤษภาคม 2557 5:37:21 น. 1 comments
Counter : 1605 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:17:43:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.