อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ใช้ลายมือไก่เขี่ยเป็นพาสเวิร์ดในอนาคต

ใช้ลายมือไก่เขี่ยเป็นพาสเวิร์ดในอนาคต

WRITTEN BY NATTY_SCI ON . POSTED IN ALGORITHM, คอมพิวเตอร์, วิทยาศาสตร์, วิทย์ทั่วไป

04

ธุรกรรมทางการเงินบนสมาร์ตโฟน แท็บเบล็ต หรือุปกรณ์อื่นๆต้องการการมี"พาสเวิร์ด"หรือรหัสผ่านที่มีความปลอดภัยมากเพียงพอ ล่าสุด นักวิจัยได้สาธิตวิธีการใช้การลากเส้นแบบอิสระมาเป็นพาสเวิร์ดสำหรับอุปกรณ์เหล่านี้

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส มลรัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา สาธิตการลากเส้นอิสระบนหน้าจอของสมาร์ตโฟนหรือแท็บเบล็ตเพื่อปลดล็อกโทรศัพท์มือถือหรือขออนุญาตเข้าใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆ การลากเส้นเหล่านี้ไม่เหมือนกับพาสเวิร์ดแบบเก่าๆหรือยุคใหม่ที่เป็นการลากเส้นตรงจุดต่อจุด ตรงที่สามารถป้องกัน"การแอบดู"(shoulder surfers)จากคนอื่นๆได้

"ถ้าจะขโมยพาสเวิร์ดได้จะต้องมีตาที่เร็วมากเท่านั้น" ผศ.ดร.เจน ลินด์ควิสต์ แห่งภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตเจอร์ส หนึ่งในนักวิจัยหลักเผย

"ปัจจุบันเรามีข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางธุรกรรมจำนวนมาก การพัฒนาระบบความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่จึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้น"

ดร.ลินด์ควิสต์เชื่อว่า งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาครั้งแรกที่พยายามจะนำเอาลายเส้นอิสระมาเป็นพาสเวิร์ด นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยนี้ในงานประชุมวิชาการ MobiSys '14 แล้ว

ในการพัฒนาระบบความปอลดภัยนั้น ดร.ลินด์ควิสต์และนักวิจัยอื่นๆจากมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งสถาบันวิจัยสารสนเทศแม็กซ์แพลงค์ และนักวิจัยจากฟินแลนด์ ได้ศึกษาการใช้ลายเส้นอิสระเป็นตัวยืนยันตัวตัน ลายเส้นที่สามารถสร้างให้มีขนาดและตำแหน่งใดก็ได้บนหน้าจอ ลายเส้นจึงมีความน่าสนใจที่จะนำมาทำเป็นพาสเวิร์ด เนื่องจากว่าผู้ใช้สามารถสร้างได้โดยไม่ต้องมีรูปแบบอะไรที่กำหนดไว้ก่อน นักวิจัยจึงเชื่อว่า ลายเส้นอิสระจะทำให้เกิดความซับซ้อนมากกว่าการลากเส้นที่กำหนดกรอบไว้เป็นกริดๆ

"คุณสามารถสร้างรูปร่างแบบใดฏ็ได้โดยใช้นิ้วกี่นิ้วก็ได้ ขนาดเท่าไหร่และตำแหน่งไหนบนหน้าจอก็ได้" ดร.ลินด์ควิสต์กล่าว

"เราเห็นว่าแนวคิดเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยแบบนี้ไม่ค่อยจะมีการศึกษาในวงการวิชาการ และในชีวิตจริงก็ไม่ค่อยจะมีใครใช้ เราจึงจำเป็นต้องศึกษาเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ที่ว่านี้"

ในการศึกษานั้น นักวิจัยได้สร้างขั้นตอนวิธีการสร้าง-ทดสอบ-ทดสอบซ้ำ โดยมีผู้เข้าร่วมทดลอง 63 คน อาสาสมมัครจะต้องวาดลายเส้นอิสระ วาดใหม่อีกครั้ง และวาดอีกครั้งในอีก 10 วันต่อมา ลายเส้นจะถูกบันทึกเอาไว้บนระบบรู้จำที่ทีมวิจัยได้ออกแบบไว้ นักวิจัยใช้ข้อมูลเหล่านี้มาทดสอบว่าอาสาสมัครสามารถจำเส้นวาดอิสระนี้ได้หรือไม่ จากนั้นทีมวิจัยก็ได้สร้างวิธีการใหม่ในการวัดความซับซ้อน(complexity)และความถูกต้อง(accuracy)ของแต่ละเส้นวาด ผ่านทางหลักการในเรื่องทฤษฎีข้อมูล ผลจากการวิเคราะห์พบว่า เราสามารถใช้ลายเส้นเหล่านี้จากผู้ใช้มาเป็นพาสเวิร์ดได้

ในการนำไปสู่การใช้งานจริงนั้น ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัตเจอร์สได้ให้นักเรียนคอมพิวเตอร์และวิศวกรที่มีประสบการณ์เรื่องการใช้หน้าจอทัชสกีนมาก่อน มาทดลองขโมยพาสเวิร์ดจากการแอบดู นักวิจัยพบว่า ไม่มีอาสาสมัครคนใดที่สามารถวาดเส้นที่มีความถูกต้องมากเพียงพอที่จะปลดล็อกได้ ดังนั้น เพียงขั้นตอนการทดสอบแรกก็สามารถบกบ่องให้ทราบถึงประสิทธิภาพที่สามารถต้านทานการบุกรุกจากภายนอกได้เป็นอย่างดี

เทคโนโลยีนี้มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย และทีมวิจัยก็ตั้งใจจะวิเคราะห์เรื่องความปลอดภัยและการบริหารจัดการพาสเวิร์ดจากรูปวาดอิสระนี้ต่อไปในอนาคต

อ้างอิง: Rutgers University. (2014, June 4). Are squiggly lines the future of password security?. ScienceDaily. Retrieved June 8, 2014 from //www.sciencedaily.com/releases/2014/06/140604203259.htm





Create Date : 09 มิถุนายน 2557
Last Update : 9 มิถุนายน 2557 9:35:07 น. 2 comments
Counter : 2584 Pageviews.

 

แวะมาอ่านค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 9 มิถุนายน 2557 เวลา:10:45:47 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3762148 วันที่: 24 มีนาคม 2560 เวลา:18:00:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.