อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
เทื่ยวมะละกา จุดเรี่มต้นของมาเลเซีย

เมืองมะละกา ประวัติศาสตร์มาเลเซียเริ่มต้น ณ ที่นี้ ทำไมถึงบอกว่าประวัติศาสตร์มาเลเซียเริ่มต้นที่นี่?

นั่นเป็นเพราะที่นี่เป็นสถานที่ประกาศเอกราชจากการยึดครองของชาวต่างชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1956 โดย ตุนกูอับดุล รามัน พุตรา อัล-ฮัจ นายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย หลังจากที่ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครอง จากชนชาติอังกฤษมาเป็นเวลานาน

เที่ยวมะละกา จุดเริ่มต้นของมาเลเซีย

Town-square-654x363

ประวัติศาสตร์ของเมืองนี้เริ่มต้นแบบตำนานที่ชาวตะวันออกเฉียงใต้คุ้นชิน คล้ายคลึงกับตำนานของเกาะสิงคโปร์ เมื่อเจ้าชายปรเมศวรแหรือปาราเมิสวาราเดินทางมาจากเกาะสุมาตรา เพื่อจะหาที่ลงหลักปักฐานสร้างเมืองใหม่ เมื่อมาถึงบริเวณเมืองมะละกาในปัจจุบัน ขณะเจ้าชายกำลังนั่งพิงต้นมะขามป้อมอย่างเหนื่อยอ่อน หมาล่าสัตว์ของพระองค์ก็ถูกเจ้ากระจงตัวเล็กนิดเดียวแยกเขี้ยวกระโจนเข้าใส่อย่างอาจหาญ จนหมาของพระองค์ตกลงไปในน้ำ

UNESCO-World-Heritage-site-of-Melaka-in-Malaysia

ภาพเหตุการณ์นั้น กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าชายตัดสินพระทัยสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่นี่ เพราะแม้แต่ตัวกระจงยังแข็งแรงและมีความหาญกล้าได้ขนาดนั้น จากนั้นพระองค์จึงตั้งชื่อเมืองนี้ว่า มะละกา ซึ่งเป็นภาษามาเลย์แปลว่าต้นมะขามป้อม

เมืองมะละกา ยังเป็นดินแดนที่สายลมตะวันออกกับสายลมตะวันตกมาบรรจบกัน เอื้อให้ดินแดนแห่งนี้มีชัยภูมิเหมาะแก่การเป็น เมืองท่าค้าขาย เรือจากอาหรับและอินเดียสามารถล่องมาตามลมสินค้าตะวันตกเฉียงใต้ ขณะเดียวกันในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเวลาแล่นเรือของพ่อค้าจีนและพ่อค้าจากหมู่เกาะเครื่องเทศ (หมู่เกาะโมลุคกะ อินโดนีเซีย)

street_scene_of_malacca_town_malaysia_photo_cia

จนถึงต้นศตวรรษที่ 16 เมืองมะละกา รุ่งเรืองในฐานะเมืองจัดเก็บสินค้า แต่ก็เพราะชัยภูมิที่เหมาะสมเช่นนั้น มะละกาจึงถูกช่วงชิงและยื้อแย่งจากประเทศเจ้าอาณานิคม มาโดยตลอด

จากที่เคยรุ่งเรืองที่สุดในยุคสมัยของสุลต่านแห่งมะละกาในช่วงคริสตวรรษที่ 15 ถึงปี 1511จากนั้นก็ถูกครอบครองโดยโปรตุเกส ตั้งแต่ปีค.ศ.1511-1641 ตามด้วยดัชท์ในปีค.ศ.1641-1795 และอังกฤษในปีค.ศ.1795-1941 ก่อนที่ญี่ปุ่นจะเข้าครอบครองในระยะเวลาอันสั้น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปีค.ศ.1941-1945 และอังกฤษได้กลับเข้ามาครอบครองอีกครั้งในปี ค.ศ.1945-1957 จนกระทั่งมาเลเซียได้ประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ.1957 จนถึงปัจจุบัน

หลักฐานการล่าเมืองมะละกา ได้ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วตามพื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมือง

red-square-dutch-square (1)

จตุรัสแดง ถนน Laksamana สิ่งก่อสร้างที่รายล้อมแสดงถึงสถาปัตยกรรมของชนชาติตะวันตก ที่นี่เคยเป็นแหล่งชุมชนดัชท์เมื่อราวศตวรรษที่ 16-17 อาคารสถานที่ล้วนเป็นสีแดงอิฐขานรับกับชื่อจตุรัส ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์คริสต์ หอนาฬิกา พิพิธภัณฑ์เยาวชน และอาคารสตัดธิวท์ (Stadthuys) ซึ่งเป็นศาลาว่าการ ประวัติของสถานที่ขานไขอย่างย่นยอบนแผ่นป้าย

melaka8

โบสถ์คริสต์ ดูจะเป็นจุดสนใจดึงดูดให้เข้าไปเยี่ยมชมเป็นจุดแรก โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นในปีค.ศ.1753 โดยนำอิฐสีชมพูจากเนเธอร์แลนด์มาก่อสร้างและเชื่อมด้วยดินสีแดงของที่นี่ อาคารสตัดธิวท์ ที่อยู่ใกล้ๆ ก่อสร้างขึ้นในปีค.ศ.1650 สำหรับเป็นที่พักของผู้ว่าการ และคณะเจ้าหน้าที่ชาวดัชท์ เชื่อกันว่าอาคารนี้เป็นอาคารของชาวดัชท์ที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนตะวันออก ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติศาสตร์ของเมืองและผู้คน

historical-malacca-full-day-tour-from-kuala-lumpur-including-lunch-in-kuala-lumpur-148926

บริเวณใจกลางจตุรัสเป็น ลานน้ำพุ สร้างขึ้นในปีค.ศ.1904 เพื่อถวายแด่ราชินีวิคตอเรียของอังกฤษ ที่ครองราชย์ในปีค.ศ.1837 และ หอนาฬิกา ที่สร้างขึ้นในปีค.ศ.1886? ปัจจุบันนาฬิกาที่ติดตั้งบนหอนาฬิกาไม่ได้เป็นนาฬิกาดั้งเดิมของอังกฤษ แต่เป็นนาฬิกายี่ห้อไซโก้ของญี่ปุ่น ซึ่งนำมาติดตั้งแทนของเดิมในปีค.ศ.1982 ซึ่งมีกระแสความไม่พอใจปรากฏในหน้าหนังสือแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่นฉบับหนึ่งว่ากองทัพญี่ปุ่นเคยตัดหัวชาวเมืองมะละกาเสียบประจานที่จตุรัสนี้เพื่อข่มขวัญชาวเมือง แล้วเหตุใดจึงนำนาฬิกาญี่ปุ่นมาติดตั้งบนหอนาฬิกาแทนนาฬิกาดั้งเดิม

Trishaw Mardi Gras

ขณะที่ฉากสถานที่ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก แต่องค์ประกอบที่เคลื่อนไหวไปมา และสิ่งประกอบฉากกลับเป็นเอเชียรอบๆ ลานน้ำพุเป็นที่ชุมนุมของ รถสามล้อ จอดคอยให้บริการนักท่องเที่ยว บางคันตกแต่งสวยสะด้วยพู่ห้อย บางคันติดม่านห้อยระย้า แต่บางคันก็แสนเรียบง่าย และถ้าเดินเลยไปตรงซอกระหว่างโบสถ์คริสต์กับตึกสตัดธิวส์ จะเห็นแผงขายของที่ระลึกอย่างเกี๊ยะ เสื้อพื้นเมืองที่ตัดจากผ้าฝ้ายใส่สบายๆ …

นี่เป็นลักษณะเฉพาะของมะละกา สายลมตะวันออกกับตะวันตกนำพาเรือสินค้า ผู้คน วิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมารวมไว้ที่นี่

ข้อมูลและภาพ : wiki / tlcthai.com / flickr / tripadvisor




Create Date : 02 สิงหาคม 2557
Last Update : 2 สิงหาคม 2557 6:21:44 น. 5 comments
Counter : 2340 Pageviews.

 
Best Site good looking //www.frisbee.nl/www.startnewgame.nl/ generic minoxidil same rogaine Describe how to conduct outcomes research and how it can benefit this practice


โดย: Thomas IP: 94.23.252.21 วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:7:22:02 น.  

 

Like ให้เป็นคนที่ 1
นึกว่าไปเที่ยวมาเองซะอีก อิอิอิ
รีวิวได้น่าไปเที่ยวมากค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:12:39:53 น.  

 
The manager //www.nuffield.ie/sponsors/aurivo motilium generic 1 68-68 Value = @ (Used to separate


โดย: Aiden IP: 94.23.252.21 วันที่: 2 สิงหาคม 2557 เวลา:17:42:39 น.  

 
มะละกา น่าไปมากเลยค่ะ
เสียแต่ว่าต้องมีเวลาเพราะนั่งรถจากบ้านนุ่นไป
ก็ 12 ชมแล้ว

แต่สวยมาก ชอบเลยคะ่
อยากไปปุตราจายาด้วยสิ

ขอบคุณมากๆนะคะ



โดย: lovereason วันที่: 3 สิงหาคม 2557 เวลา:10:43:52 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:13:33:55 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.