ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

ทำไมนิ้วเราย่นเมื่อแช่น้ำ...กันแน่?

เชื่อว่าทุกคนต้องผ่านวัยชอบเล่นน้ำมากันทั้งนั้น เรียกว่าตั้งแต่ตัวเล็กตัวน้อยที่แช่น้ำในกะละมังจนตัวเปื่อย หรือไปเล่นน้ำลงกรานต์กันจนเปียกซ่ก... สิ่งหนึ่งที่เราเห็นกันเสมอเวลาเราเปียกน้ำอยู่เป็นเวลานานก็คือ ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าที่เหี่ยวย่นจนดูไม่ได้

ทำไมนิ้วถึงเหี่ยวเวลาแช่น้ำนานๆ?

เชื่อว่าหลายๆคนจนถึงระดับนักวิชาการสมัยหนึ่งเคยเชื่อว่า สาเหตุของความเหี่ยวย่นมาจากผิวหนังชั้นนอกของเราซึมน้ำเข้าไปจนขยายตัวออก เมื่อผิวชั้นนอกขยายขึ้นในขณะที่นิ้วยังมีขนาดเท่าเดิม มันก็เลยยับย่นแบบที่เห็น...

...ซึ่งความเชื่อนั้น ไม่จริงครับ

มีบันทึกทางการแพทย์ตั้งแต่สมัยปี 1930 เกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท ผู้ป่วยที่หมดความรู้สึกที่นิ้วมือนั้นพบว่า ต่อให้เอามือแช่น้ำไว้นานแค่ไหน นิ้วก็ไม่เหี่ยวย่นครับ สร้างความประหลาดใจและล้มล้างความเชื่อที่ว่า นิ้วย่นเพราะผิวอุ้มน้ำไปตั้งแต่นั้น ซึ่งเราก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าแล้วทำไมนิ้วของเราถึงได้มีลักษณะพิเศษที่ว่านี้

ซึ่งต่อมาเมื่อไม่นานนี้ ได้มีผู้เสนอแนวคิดใหม่ ว่าการที่ปลายนิ้วของเราย่นเมื่อแช่น้ำนั้นเป็นวิวัฒนาการในการเพิ่มประสิทธิภาพของนิ้วมือของเราครับ และจัดให้ลักษณะของนิ้วที่ว่านี้ อยู่ในกลุ่มการทำงานที่อยู่นอกเหนือการควมคุมเช่นเดียวกับการหายใจ หรือการทำงานของหัวใจอีกด้วย

ข้อมูลจากการวิจัยพบว่า การเหี่ยวของนิ้วนั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดจับพื้นผิวที่เปียกลื่นได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยทดลองให้กลุ่มตัวอย่างเอามือแช่น้ำจนนิ้วเหี่ยว แล้วให้ลองหยิบลูกหินเรียบลื่นขนาดใหญ่ที่แช่น้ำไว้ขึ้นมา ซึ่งนิ้วที่เหี่ยวย่นสามารถหยิบลูกหินได้ "ติดมือ" กว่านิ้วที่ไม่ย่นครับ

คำอธิบายของประสิทธิภาพการหยิบจับของเปียกลื่นที่เพิ่มขึ้นนี้ นักวิจัยให้ทัศนะว่า นิ้วที่ย่นนั้นทำหน้าที่เช่นเดียวกับดอกยางรถยนต์เวลาวิ่งบนถนนที่มีน้ำขัง คือมันจะรีดน้ำออกตามรอยย่นของนิ้วเปิดทางให้ผิวของเรามีหน้าสัมผัสกับผิวของวัตถุเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสียดทานให้เราหยิบจับของในขณะที่เปียกได้ดีขึ้นนั่นเองครับ

กลไกของการเหี่ยวย่นนั้น ข้อมูลใหม่เชื่อว่า เมื่อนิ้วของเราเปียกชื้นเป็นเวลานาน น้ำจะซึมเข้าในต่อมเหงื่อ ซึ่งจะไปรบกวนสมดุลของอิเลคโตรไลต์ในผิวหนัง การเสียสมดุลนี้มีผลให้ปลายประสาทที่นิ้วยิงสัญญาณประสาทออกไปถี่ขึ้นกว่าภาวะปกติ ร่างการจะตอบสนองสัญญาณประสาทผิดปกตินี้โดยการสั่งให้หลอดเลือดฝอยที่ปลายนิ้วคอดตัวลง เมื่อหลอดเลือดฝอยทั้งหลายคอดเล็กลง ของเหลวต่างๆที่เคยนำส่งผ่านหลอดเลือดฝอยที่ว่านี้ก็มาได้น้อยลง ส่งผลให้ปริมาณของเหลวในผิวหนังที่ปลายนิ้วลดลง ความดันของผิวก็ลดลง นิ้วที่เคยเต่งด้วยของเหลวภายในก็เหี่ยวลงด้วยประการที่เล่ามานี้ครับ(นึกถึงผลไม้แห้งที่เมื่อน้ำระเหยออกไปแล้วมันก็จะเหี่ยวย่น) ดังนั้นจึงเป็นเหตุว่า ทำไมผู้ป่วยที่หมดความรู้สึกที่นิ้วมือ จึงไม่มีปรากฎการณ์ "นิ้วเหี่ยว" เหมือนคนปกติ

คำถามที่น่าสงสัยก็คือ ในเมื่อนิ้วที่เหี่ยวย่นมีประสิทธิภาพในการหยิบจับในสภาวะที่เปียกลื่นได้ดี ทำไมธรรมชาติไม่เลือกให้เรามีนิ้วที่เหี่ยวย่นล่ะ? ทัศนะจากนักวิจัยให้คำตอบไว้ว่า ในเมื่อสภาวะปกติ(คือแห้ง) นิ้วที่เหี่ยวย่นทำงานได้ไม่ต่างจากนิ้วที่เต่งตึง (ประสิทธิภาพเท่ากัน) แต่นิ้วที่เหี่ยวย่นนั้นต้องแลกมาด้วยความรู้สึกที่ลดลง(ไม่รู้สึกไวเท่านิ้วเต่งๆ) แถมด้วยนิ้วที่เหี่ยวย่นนั้นเสี่ยงจะได้รับความเสียหายง่ายกว่านิ้วเรียบๆ(คือมันเกี่ยวโน่น บาดนี่ได้ง่ายขึ้น เพราะมันมีร่องมีสันชัดเจน) ธรรมชาติจึงเลือกแบบของนิ้วมือที่"ปรับเปลี่ยน"รูปแบบได้ตามสภาพแวดล้อมอย่างที่เราเป็นอยู่ทุกวันนี้นั่นเองครับ




Create Date : 27 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2557 21:43:59 น. 0 comments
Counter : 1237 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tukdee
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]