Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
31 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
Sovereignty / Nationalist Sovereignty (Chaatiyaathipatai) พื้นที่โจร พื้นที่รัฐ และชาติยาธิปไตย

Sovereignty / Nationalist Sovereignty (Chaatiyaathipatai)
Robert Holliday : แปล


1. Sovereignty
Since I've never studied either political science or law I can write about the subject of sovereignty very easily, unburdened by the "power and authority" of an academic degree. Almost ten years ago I was asked by a lawyer who is widely admired, including by me, where the difference lay between an order given by the government and one given by a bandit. He had explained that, from the stand point of legal philosophy (or perhaps some schools of it), there is no difference at all. I've been unable to answer his question for almost ten years. Even though the government had been taken over again and again, sometimes using weapons, sometimes using ballot boxes, I wasn't able to come up with an answer. It has only been recently, after the government was seized once again, that I've been able to answer it to myself clearly.

I think there are two different meanings to the question put to me by the attorney mentioned above, but both of them point to a difference between an order given by a bandit and one given by the State.

1. First I'd like to discuss the order given by the bandit. When he approaches us with his knife or gun in a secluded place and commands us to hand over our valuables, we (or at least I) would do best to do what he says and in that way, stay alive.

2. When you think about it, this situation seems no different from that of a command that comes from the government. Someone has been living on a piece of land for many years and all of a sudden the government shows up armed with the Forestry Department, the police, a prosecuting attorney, and the courts and says, "Get your rice the hell off my property, because this land belongs to me and I'm going to do what I want with it. Whether it gets made into a forest or a night safari is up to me." If he wants to stay free and alive the farmer (or at least me, if I'm in his shoes) will collect my rice and belongings and get the hell out of there.

But there are some important differences between these two kinds of orders, and they are important enough to deserve close attention.

First, the government can't issue its orders in obscure, hidden places. The police who abducted Mr. Somchai Nilaphaijitr were following bandits' orders, not government ones. Those who were behind this deed, no matter how much official state authority they may have had, wouldn't dare say that the police who did it were following government orders.

The fact that the government can't issue commands in secluded, out-of-the-way places is what makes the orders it gives very different from those given by bandits. When a bandit orders us to hand over our belongings we have no one to help us, because the order was given to us alone. No one else is involved. But when the State orders us to clear off of land that our ancestors farmed, we have plenty of friends on our side: others who have been ordered off their land and still others who area afraid that the government is getting too unruly and poses a threat to them, too. Another way of saying it is that a State order is a social act, not an individual one as in the case of an order given by a bandit.

This very fact imposes a partial limit on the power of the State, because its true authority does not reside in the barrel of a gun (not all of the people standing in front of the gun barrel can be shot). It is found in the shared assent of the State's citizens, regardless of whether this assent has been obtained through trickery, bribery, psychological bullying, or the offering of bait in the form of deceptive promises of material benefits, prestige, rewards connected with tradition or religion, etc. Orders issued by the State, even deceptive or fraudulent ones, most receive the assent of others in society.

Secondly, for the reasons given above state orders may be subject to negotiation, and not only in parliament but on the street as well. It is possible to evade the government's surveillance (by disappearing into the forests of Thailand, for example, or the concrete jungles of California) or to bribe state officials. This means that laws are government orders (and this includes those issued by governments established through a coup d'etat) that can only have effect with the assent of society, while orders given by bandits are not required to.

Considering this, to anyone who thinks that, when a government has been seized, the party who seized it has full sovereignty, and that any orders given by that party are the same as orders issued by the State as a whole, I have to ask, is that really true? Isn't it a little too simplistic and shallow?

The explanation given by the lawyer mentioned above most likely had the secondary meaning that a command given by a bandit in his hideout is no different from an order given by the government.

When a bandit orders his gang to get ready to rob a rich household, his command is in no way different from an order given by the government to a garlic farmer to grow something else because a new F.T.A. with China forbids garlic to be cultivated for sale. The bandit thinks of the benefits that the whole gang stands to gain. Even though robbing the house is risky and some of the gang members may be killed, the income of the gang as a whole will increase and its continued existence will be assured. Is this any different from sacrificing a garlic farmer so that others can benefit in the name of the security and long life of the State?

But even so, I still think that there are important differences between the State and a bandits' hideout (which make for a difference between an order given by the government and one coming from a bandit).

Why does a bandits' hideout exist, and how does it sustain itself?
I would guess that a bandits' hideout exists to make its living by robbery (plundering livestock, crops, land and other property was a common way to get food and stay alive in the times before there were states and governments), and for that reason is surrounded by enemies. First among these is the State, whose duty it is to eliminate rebellious elements, including bandits who make their living in ways it forbids. Then there are those whom the bandits have already robbed, and others who are afraid of becoming their victims. As a result, an important part of the bandit's existence is protecting himself from a world of people who are not his friends. He has to be ready at all times to fight to defend himself.

For this same reason, neither Sriprach nor Sunthon Phu was born and raised in a bandits' hideout. Creativity, whether it be in the arts or in other areas of knowledge, does not flourish in such places, and this isn't because the bandits lack intelligence. It is because the conditions under which they live are not conducive to the development of creativity. The governing of a hideout leaves no opportunity for developing anything other than the greatest striking force possible, or to put it another way, the raw power of a bandit gang is based on its collective "fist". The bandit must be constantly alert to the striking force of everyone around him, and to limit it. If he sees someone getting too strong he must kill him, just as Khun Paen became the victim of Nang Buakhlee's murderous plan.

On the other hand, the State relieves all of us of the burden of such warfare, clearing the way for us to make our living in other ways. It allows us to nurture the talents of a Sriprach, a Sunthon Phuu, or an Einstein. Of course, we might also use our resources to nurse tyrants. Tyrants do not get their power exclusively from their ability to hurt or punish. They are dependent on many government mechanisms, including the educational system, television, and a variety of shared ideals that are used as tools. And it is these same tools that the population uses to take away the tyrant's power later, while the State continues to exist, with the opportunity still there to reduce the importance of force in the formation of the new center of authority.

So I can't see the State and a bandits' hideout as being the same thing, and I think that many people will feel the same way. The government is most definitely not a bandits' lair, and the most important reason is that the bases upon which they stand are different. The foundation upon which the State rests is (to put it in a word) morality. Even when a state acts in a way that is immoral, it must offer moral reasons for its actions. A gang of bandits is under no obligation to cite moral reasons for what it does, or to base its existence on morality.

In using the word "morality" I don't mean anything deeper or more complex than being aware of other people and things rather than simply of personal benefit when deciding upon one's actions. In ancient times, the Thai state referred to the idea of being a bridge to a world that approached Nirvana. Western governments of the past had something similar in mind when the spoke of the "celestial city". Even today there are references to things that benefit the world but what they mean by "the world" is "the State", all of its citizens, not any particular person. For the state of the future, morality should encompass the perfect and lasting well-being of the world.

For bandit gangs and mafias, the benefits they are interested in are material gains for their members only, so the word "morality" isn't really appropriate.

Morality (at least in the sense given above) is something that cannot be absent from the State. A government will claim to assign greater importance to it than it does to it capacity for force, whether sincerely or not. This stress on morality gives the population a deep and comforting feeling of confidence that their lives will continue on smoothly. But if the government is taken over by force, those feelings may disappear because the people are no longer sure if the moral that had been the basis of their state still exists. The way in which a government is seized is therefore more important than who it is that has taken it over.

If sovereignty resides in the hands of those who have seized the country by whatever means, where will the difference lie between the State and a bandits' hideout? Because in such a case the power upon which the state is based is no longer a moral one. In my view, simply considering that sovereignty rests with the party who have taken over the government is extremely dangerous to the country in the long term. I understand that when a bandit holds us a gunpoint he usually wants our material possessions, and concede we must hand them over to him. But if he forces us to announce publicly that robbery is a righteous act, I don't think that we have to comply, because as I stated at the beginning, a bandit's power has its place secluded environments, and can't operate in a public.


2. Nationalist Sovereignty (Chaatiyaathipatai)
Sunitsuda Ekachai, in her column in the Bangkok Post, has asked what flaw it is in Thailand's culture that makes us always wind up, if not with crooked politicians, then with military dictators.

I am trying to cure a case of the hiccups by pondering an answer. The first ones that flooded into my head were the ones that we hear so often:

Thais lack patience and endurance.

Thais prefer to look for quick, superficial solutions rather than principles that offer long-term benefits.

Thai society is too weak to find political solutions to big problems on its own, so we elect leaders to act as bosses rather than servants. Then, when the boss misbehaves we have to find a new boss by way of the ballot box.

Democracy is a culture of which Thais are not a part. And so on.

This seems to be working. My hiccups are going away, so I've been able to focus my mind enough to formulate some questions and answers of my own. The answers are all true, but at the same time each one invites a lot of new questions. I'll start with a simple one: Are the traits mentioned above part of a permanent, unvarying Thai culture or of one that changes in response to the prevailing situation?

I think that some Thais would answer one way and some the other. I myself would say that there is change because I believe that culture is the product of relationships that are always changing according to what is taking place around it. But believing that, I then have to ask when these traits appeared, and under the influence of what situation. I will try to answer just this question, without mentioning the many others that it invites.

But before answering I'd like to point out that the cultural traits cited above can't be explained in terms of Thai history once you go back a certain distance into the past. In fact, sometimes we encounter their opposites. For example, it is said that Thai lack endurance, but we have put up with many ineffectual or oppressive monarchs. King Prasatthong, for example, is said to have been extremely cruel, but he died naturally on his sickbed.

At the same time it can be said that patience and endurance haven't been pushed to excessive levels by the Thais of the past. Thai history provides more than a few examples of public uprisings against resented rulers, especially in the North and in Isan. And cases of citizens simply walking away from public registry districts without notification to the authorities were common throughout Thailand.

Before saying that Thais prefer the quick and superficial it is important to specify the situation. There are people who use a large part of their income to make merit and offer charity in hope of rewards in their next life, or of attaining Nirvana. How can they be called impatient or interested only in quick fixes and superficial measures?

Nor can it be said that democratic principles are absent from Thai culture. Thai tradition has great respect for the minority voice, especially in the countryside. Even when the wishes of the majority are being followed, care is taken to ensure that the minority do not lose face. This respect for the minority opinion can be called the soul of Thai-style democracy. Otherwise we would have a tyrannical system where 19 million or 16 million voices always decided everything. On the other hand, it is true that so much consideration is given to the minority opinion because the channels that Thai culture offers for dissent are traditionally very narrow, so it is necessary to try to "swallow" the minority view and counter it gently.

This is why it is difficult to talk in absolute terms about a democratic culture. I doubt that a culture that is purely democratic exists in any society. We admire the idea of a culture founded on democratic principles, but in trying to create it we only choose those features of western-style democracy that we want and casually discard those that don't fit our specific case.

Therefore, I think it is necessary to understand the conditions facing Thai culture as it is now and what it is that makes us fall victim to the destiny that Sunitsuda speaks of. Even if some aspects of it are the same as they were in the ancient past, the conditions in which it exists now are different. The force that sustains the culture consists exclusively of the conditions that we happen to encounter now, and is not a heritage that we have been handed down from the past. I believe that the culture that does not allow us to govern ourselves as a democracy is entirely one that came into being together with the formation of our nation state in the recent past. Consequently it can be called a "national culture", and this Thai "national culture" does run well on the track of the democratic system. This is the reason why Thailand's progress on the road of democracy has always been one of fits, starts, and jolts.

Thailand's attainment of nationhood occurred gradually under a system of absolute monarchy, beginning during the reign of King Rama V, and it did not come into being independent of the absolute monarchical system. On the contrary, it was constantly directed, guided, and managed by that system. Thai nationalism is of a kind that has spread down from above. The upper strata of the social structure were the first be assigned importance in the nation, and the phenomenon gradually spread downward to the lower strata of the social structure, the common people.

This process was the direct opposite of the pattern nationalism has followed in many other societies, where the lower levels of the structure are the first to acquire importance.

As a result, when the Thai people began to realize that there was a new entity - the Thai Nation - that they were a part of, and that it was an important aspect of their identity, the nation was already had an anti-democratic nature. Since then the ideals of nationalism in Thailand have been used to obstruct or oppose the attainment of democratic ideals right up until the present.

The Thai revolution of 1932 changed the system of government, but it wasn't a genuine populist revolution. It opened the way for politicians, and especially military leaders, to use the nation as a tool to destroy the democratic rights and freedoms of the people, and with assent, or at least an unwillingness to resist on their part, too. I think that this cultural weakness in Thai society under the democratic system that we hear about so often is partially the result of the newness of the nation that has shaped itself in Thailand only recently, and not a national trait that has been passed down through the ages.

At the same time, there are any more aspects of this weakness whose causes I suspect can be found in Thai nationalism. For example, our impatience in the area of politics - our unwillingness to allow democracy the time it needs to correct and stabilize itself. This tendency is connected with the national "spirit" that we have conceived.

What do we mean when we talk about a national spirit? I think it is primarily a memory connected with the country's past or, to put it another way, the nation's history. And as we well know, memories of a nation's history, any nation's history, are entirely fabricated. I think that the Thai history that we remember teaches us that Thais are incapable of waiting.

This is because Thai history is a record of leaders and great men, not of the nation as a whole. So people infected with this kind of national spirit always look to leaders to solve problems. They don't think that they themselves have the potential to solve national problems. I've already said a lot about this issue, and don't want to say any more.

There is one more area of Thai history that I would like to discuss, and I wonder if there are others who will agree with me: When we read Thai history, I get the sensation that it always moves directly ahead in a straight line with no meandering or a zigzagging off to the sides. No matter what part of history is taken as a starting point, development is seen to take place in stages. Beginning with the unification of the country there is incessant advancement: the consolidation of power at a central point, contact and trade with foreign countries. If an enemy sacks the capital, after a short time sovereignty is restored and the country is back on its way ahead. Make some adjustments to bring things up to date and you have the modern and progressive country that we see today.

Whatever wanderings that do occur in the line of history are very short-term and are caused by the harmful actions of outsiders. Those who embrace the Thai national spirit therefore have no awareness of long periods of suffering. They count on a process of change in which they move ahead into the future together with a population strong in body and mind. I think that anyone possessed by a spirit of this kind will not have the patience to deal with problems, because he will feel that any problem that persists over time is unnatural.

(Compare this view with the history of China, especially that of the Warring States Period, before there was a single Chinese emperor, which went on for centuries. The annals of China record much more misery than happiness among the Chinese people. Problems were more natural than the lack of them.)

Unnatural events are portents of bad things to come, and must quickly be set right. Any method can be used to put them straight, just as long as they are corrected. Other matters can be dealt with later.

In conclusion, it may make some people uncomfortable, but it has to be said that if democracy is to be securely established in Thai society, we will have to revise our concepts of nationhood and of nationalism, because our nation, as we have been taught to embrace it, is an enemy of democracy, and has always subverted it.

(I also think that if anyone has read this far I can conclude one more thing: Protect our "nation", and don't get all caught up with democracy.)


พื้นที่โจร พื้นที่รัฐ และชาติยาธิปไตย (รวบรวมบทความการเมืองของนิธิ เอียวศรีวงศ์)
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
สนใจอ่านบทความชิ้นนี้ในภาษาอังกฤษคลิก

๑. รัฏฐาธิปัตย์
เนื่องจากผมไม่เคยเรียนทั้งรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ผมจึงเขียนเรื่องเกี่ยวกับรัฏฐาธิปัตย์ได้สบายมาก เพราะไม่มีพันธะของ "ศักดิ์และสิทธิ์" แห่งปริญญาบัตรไว้แบก. เกือบสิบปีมาแล้ว ผมถูกนักกฎหมายมหาชนซึ่งเป็นที่นับถือกันอย่างกว้างขวางรวมทั้งตัวผมเองด้วย ถามว่า กฎหมายหรือคำสั่งของรัฐกับคำสั่งของโจร ต่างกันตรงไหน? คำอธิบายของท่านคือในทางปรัชญานิติศาสตร์ (บางสำนักกระมัง) แล้ว สองอย่างนี้ไม่ได้ต่างอะไรกันเลย. ผมก็อึ้งมาเกือบสิบปี ตอบไม่ได้ครับ จนกระทั่งรัฐถูกยึดไปทั้งด้วยอาวุธและหีบบัตรเลือกตั้งมาหลายครั้งหลายหน ผมก็ตอบไม่ได้สักที เพิ่งมาตอบได้กระจ่างแก่ใจตัวเองเมื่อรัฐเพิ่งถูกยึดไปเมื่อเร็วๆ นี้เอง

คำถามของท่านนักกฎหมายมหาชนที่ว่าข้างต้นนั้น ผมคิดว่ามีสองความหมาย แต่ทั้งสองความหมายล้วนทำให้คำสั่งของโจรแตกต่างจากคำสั่งของรัฐทั้งคู่

๑. ผมจะขอเริ่มพูดถึงความหมายที่หนึ่งก่อน ตอนที่โจรเอามีดหรือปืนจี้เราในที่เปลี่ยว แล้วบอกให้ปลดทรัพย์ทั้งหมดยกให้แก่มันไป เรา (อย่างน้อยก็ผมล่ะครับ) ควรทำตามมัน รักษาชีวิตไว้ทำอย่างอื่นน่าจะดีกว่า

๒. ดูๆ ไปก็ไม่ต่างจากคำสั่งของรัฐนะครับ คนเขาอาศัยทำกินอยู่มาบนที่ดินหลายชั่ว อยู่ๆ รัฐก็เอาป่าไม้, ตำรวจ, อัยการ, และศาลมาจี้ แล้วบอกว่ามึงขนข้าวของออกไปจากที่กู เพราะกูสั่งแล้วว่าตรงนี้เป็นพื้นที่ซึ่งกูเท่านั้นจะเป็นผู้ดูแลรักษาตามใจกู จะให้เป็นป่าหรือเป็นไนท์ซาฟารีก็เรื่องของกู เพื่อรักษาชีวิตหรืออิสรภาพไว้ทำอะไรอื่นที่ดีกว่านั้น เรา (อย่างน้อยก็ผมด้วยคนหนึ่งละครับ) ย่อมเก็บข้าวของแล้วขยับตูดไปอยู่ที่อื่นเหมือนกัน

แต่มันมีความแตกต่างที่สำคัญในคำสั่งสองประเภทนี้ สำคัญเสียจนเราต้องสำเหนียกไว้ให้ดีด้วย
ประการแรก รัฐไม่สามารถออกคำสั่งในที่เปลี่ยวได้ ตำรวจที่อุ้ม คุณสมชาย นีละไพจิตร หายไปนั้นไม่ได้ใช้คำสั่งของรัฐนะครับ แต่เป็นคำสั่งของโจร คนที่รู้เห็นเป็นใจแก่การกระทำนั้น แม้จะคุมอำนาจรัฐไว้มากน้อยแค่ไหน ก็ไม่กล้าพูดได้ว่าตำรวจเหล่านั้นทำตามคำสั่งของรัฐ

การที่รัฐไม่ออกคำสั่งในที่เปลี่ยวได้ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างคำสั่งของรัฐกับโจรมากทีเดียว เช่นเมื่อโจรสั่งให้เราปลดทรัพย์นั้น เราไม่มีเพื่อนนะครับ เพราะโจรสั่งเราคนเดียว คนอื่นไม่เกี่ยว ในขณะที่เมื่อรัฐออกคำสั่งให้เราย้ายตูดไปจากที่ดินของบรรพบุรุษนั้น เรามีเพื่อนแยะ ทั้งคนที่ถูกไล่เหมือนเรา และคนที่กลัวว่ารัฐจะเป็นอันธพาลมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อเขาไปด้วย พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คำสั่งของรัฐเป็นปฏิบัติการทางสังคม ไม่ใช่ทางบุคคลเหมือนคำสั่งของโจร

เพียงแค่นี้ก็ทำให้อำนาจของรัฐถูกกำกับไปส่วนหนึ่งแล้ว เพราะอำนาจที่แท้จริงของรัฐนั้นไม่ใช่จะอยู่ที่ปากกระบอกปืน (ซึ่งยังไงๆ ก็ไม่สามารถยิงคนที่ยืนอยู่หน้ากระบอกปืนได้หมด) แต่อยู่ที่การยินยอมพร้อมใจของพลเมืองต่างหาก ไม่ว่าความยินยอมพร้อมใจนั้นจะมาจากการถูกล่อหลอก, ติดสินบน, ครอบงำทางความคิด, หรือวางเหยื่อทางโภคทรัพย์และเกียรติยศล่อ, ประเพณี หรือความเชื่อ ฯลฯ ก็ตาม ฉะนั้น คำสั่งของรัฐ แม้แต่คำสั่งที่ฉ้อฉล ก็ยังต้องได้รับคำยินยอมพร้อมใจของคนอื่นๆ ในสังคม

ประการที่สอง ด้วยเหตุดังที่กล่าวข้างต้น คำสั่งของรัฐจึงอาจต่อรองได้ ไม่จำเป็นต้องต่อรองในสภาอย่างเดียว บนท้องถนนก็ได้, หลบให้พ้นหน้ารัฐเสียก็ได้ (เช่นหนีเข้าป่าต้นไม้เมืองไทยหรือป่าคอนกรีตแคลิฟอร์เนีย) หรือติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐเสียก็ยังได้ (อยู่บ่อยๆ เสียด้วย) กฎหมายจึงเป็นคำสั่งที่รัฐ (แม้แต่รัฐรัฐประหาร) ต้องแสวงหาความเห็นชอบจากสังคม ในขณะที่คำสั่งของโจรไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น

ฉะนั้นใครที่คิดว่า เมื่อรัฐถูกใครยึดไปได้คนนั้นก็คือรัฏฐาธิปัตย์ จะออกคำสั่งอะไรก็ล้วนเท่ากับคำสั่งของรัฐหมด ผมจึงออกสงสัยว่า จริงเร้อ ไม่ง่ายและตื้นไปหน่อยหรือ

คำกล่าวของนักกฎหมายมหาชนท่านนั้นยังน่าจะมีความหมายที่สองอยู่ด้วย คือคำสั่งของนายโจรในซ่องโจรกับคำสั่งของรัฐก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกัน

นายโจรสั่งให้เตรียมตัวไปปล้นบ้านเศรษฐี กับรัฐสั่งให้คนปลูกกระเทียมไปหาพืชอื่นมาปลูก เพราะเขาได้ทำเอฟทีเอกับจีนไปแล้ว ปลูกกระเทียมไปก็ขายใครไม่ได้ ดูจะไม่ต่างอะไรกันนัก นายโจรย่อมคิดถึงประโยชน์ของหมู่คณะเป็นที่ตั้ง แม้การปล้นบ้านเศรษฐี อาจเสี่ยงอันตรายมากหน่อย อาจมีโจรบางคนต้องตาย แต่ก็ทำให้มีรายได้เข้าซ่องมากขึ้น อันเป็นความจำเป็นที่จะทำให้ซ่องดำรงอยู่ต่อไปได้ ไม่ต่างอะไรใช่ไหมครับกับการสังเวยคนปลูกกระเทียมให้แก่ผลประโยชน์ของคนอื่น ในนามของความมั่งคั่งและวัฒนาถาวรของรัฐ

แต่ผมคิดว่ายังมีความแตกต่างที่สำคัญอย่างมากระหว่างรัฐและซ่องโจร (ซึ่งทำให้คำสั่งของรัฐและนายโจรต่างกัน)

ซ่องโจรดำรงอยู่เพื่ออะไรครับ และดำรงอยู่อย่างไร
ผมเดาว่าซ่องโจรย่อมดำรงอยู่เพื่อการปล้นสะดมเลี้ยงชีพ (อันเป็นอาชีพที่สังคมมนุษย์ในยุคสมัยหนึ่งก่อนจะมีรัฐเคยใช้เป็นส่วนหนึ่งของการทำมาหากินทั้งนั้น - จะปล้นสะดมฝูงสัตว์, พืชผล, ที่ดิน หรือทรัพย์อื่นก็ตาม) และด้วยเหตุดังนั้น ซ่องโจรจึงตั้งอยู่ท่ามกลางศัตรู นับตั้งแต่ศัตรูกับรัฐ ซึ่งย่อมมีหน้าที่และความจำเป็นจะต้องปราบปรามการแข็งข้อทุกประเภท รวมทั้งโจรซึ่งประกอบอาชีพที่รัฐสั่งห้ามด้วย ยิ่งกว่านั้นซ่องโจรยังต้องอยู่ท่ามกลางศัตรูคือคนที่ตัวปล้นสะดมมาแล้ว และคนที่กลัวว่าจะถูกปล้นสะดมอีกมากมาย ด้วยเหตุนั้น วิถีชีวิตของคนในซ่องโจรคือการป้องกันตนเองในท่ามกลางโลกที่ไม่เป็นมิตร จะว่าต้องเตรียมพร้อมในการต่อสู้ป้องกันตนเองอยู่ตลอดเวลาก็ได้

และด้วยเหตุดังนั้น ศรีปราชญ์กับสุนทรภู่จึงไม่ได้เกิดและโตในซ่องโจร ไม่มีการสร้างสรรค์อะไรเกิดขึ้นได้ในซ่องโจร ไม่ว่าจะเป็นศิลปะหรือวิทยาการ ไม่ใช่เพราะโจรไม่ฉลาดนะครับ แต่เงื่อนไขในชีวิตของโจรไม่อำนวยให้เกิดการสร้างสรรค์ได้ ระบอบปกครองของซ่องโจรจึงไม่มีโอกาสพัฒนามากไปกว่ากำปั้นที่โตที่สุด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคืออำนาจดิบ อธิปัตย์ในซ่องโจรตั้งอยู่บนกำปั้น นายโจรย่อมหวาดระแวงต่อกำปั้นอื่นๆ ทั้งหมด ต้องหาทางทำให้กำปั้นของคนอื่นโตไม่ได้ตลอดเวลา หากเห็นกำปั้นของใครทำท่าจะโตเกินไปก็ต้องฆ่าเสีย อย่างที่ขุนแผนโดนนางบัวคลี่วางแผนสังหาร

ตรงกันข้าม รัฐนำเราทุกคนออกมาจากสภาวะสงคราม เกิดช่องทางที่จะทำมาหาเลี้ยงชีพได้อีกหลายอย่าง และทำให้เราสามารถหล่อเลี้ยงศรีปราชญ์, สุนทรภู่ และไอน์สไตน์ได้ แน่นอนว่าเราต้องนำเอาทรัพยากรไปหล่อเลี้ยงทรราชด้วย แม้กระนั้นทรราชก็ไม่ได้มีอำนาจอยู่ได้เพราะกำปั้นเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยกลไกของรัฐอีกหลายอย่างนับตั้งแต่การศึกษา, ทีวี, ไปจนถึงอุดมการณ์นานาชนิดเป็นเครื่องมือ และด้วยกลไกเหล่านี้เองที่เป็นเครื่องมือให้ประชาชนใช้ล้มอำนาจของทรราชได้ในภายหลัง โดยที่รัฐยังอยู่ และโอกาสที่จะลดความสำคัญของกำปั้นในการเถลิงอำนาจในอนาคตก็ยังอยู่

ผมจึงมองไม่เห็นว่ารัฐกับซ่องโจรนั้นเหมือนกัน และผมเชื่อว่าคนอื่นอีกมากก็คงมองไม่เห็นเหมือนกันกับผม รัฐไม่ใช่ซ่องโจรแน่ และเหตุผลสำคัญที่รัฐไม่ใช่ซ่องโจรก็เพราะรัฐตั้งอยู่บนรากฐานที่ต่างจากซ่องโจร รากฐานของรัฐนั้นคือ (ขอเรียกสั้นๆ ว่า) ศีลธรรมครับ กล่าวคือ เรามีรัฐด้วยเหตุผลทางศีลธรรมแม้ว่ารัฐอาจทำอะไรที่ไร้ศีลธรรมก็ตาม แต่รัฐต้องอ้างเหตุผลทางศีลธรรมในการดำรงอยู่ ในขณะที่ซ่องโจรไม่จำเป็นต้องอ้างศีลธรรมและไม่ต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน

ที่ผมใช้คำว่าศีลธรรมนั้น ไม่ต้องการให้มีความหมายลึกซึ้งอะไรมากไปกว่า การคำนึงถึงคนอื่นหรือสิ่งอื่นนอกจากผลประโยชน์ของตัวเอง รัฐไทยโบราณอ้างความเป็นสะพานเชื่อมต่อไปยังชาติภพที่เข้าใกล้พระนิพพาน รัฐโบราณของฝรั่งอ้างทำนองเดียวกันคือชาติภพใน "เทวนคร" แม้รัฐสมัยปัจจุบันอ้างผลประโยชน์ในทางโลกย์ แต่ก็เป็นผลประโยชน์ของ "ชาติ" ซึ่งเป็นนามธรรมอันรวมพลเมืองทั้งหมด ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง รัฐในอนาคตน่าจะมี "ศีลธรรม" ที่หมายถึงระบบนิเวศน์ของโลกซึ่งอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน

ซ่องโจรและมาเฟียอ้างผลประโยชน์ทางวัตถุร่วมกันของบุคคลที่มารวมกลุ่มกันเท่านั้น อันเราไม่อาจนับว่าเป็น "ศีลธรรม" ได้

ศีลธรรม (อย่างน้อยก็ในความหมายที่ผมนิยามข้างต้น) จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในความเป็นรัฐ และรัฐทำให้ "ศีลธรรม" มีความสำคัญกว่ากำปั้น ไม่ว่าจะด้วยความจริงใจหรือไม่ก็ตาม และศีลธรรมในความหมายนี้ที่ทำให้คนในรัฐรู้สึกอุ่นใจว่า วิถีชีวิตของตนจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แต่เมื่อใดก็ตามที่รัฐถูกยึดไปด้วยกำปั้น ความอุ่นใจที่ว่านั้นย่อมหายไป เพราะไม่แน่เสียแล้วว่าศีลธรรมซึ่งเป็นรากฐานของรัฐยังอยู่หรือไม่ วิถีทางที่คนจะยึดรัฐได้จึงมีความสำคัญกว่ารัฐตกอยู่ในมือใคร

ถ้ารัฏฐาธิปัตย์ย่อมอยู่ในมือของผู้ที่ยึดเอารัฐไปแล้วด้วยวิถีทางใดๆ ก็ได้ จะมีความแตกต่างระหว่างรัฐและซ่องโจรตรงไหนล่ะครับ เพราะในที่สุดกำปั้นต่างหากที่เป็นรากฐานของรัฐไม่ใช่ศีลธรรมอีกต่อไป ในทัศนะของผม การพิจารณาอย่างง่ายๆ ว่าใครยึดรัฐได้คนนั้นคือรัฏฐาธิปัตย์จึงมีอันตรายต่อรัฐในระยะยาวเป็นอย่างยิ่ง

ผมเข้าใจนะครับว่า เมื่อโจรเอาปืนจี้เรา โจรอยากได้สมบัตินอกกายอะไรของเราก็ต้องมอบให้เป็นธรรมดา แต่จะหากโจรบังคับให้เราประกาศในที่สาธารณะว่า การปล้นสะดมเป็นความชอบธรรม ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องให้แล้วล่ะครับ เพราะอย่างที่พูดในตอนต้น อำนาจของโจรนั้นมีเฉพาะในที่เปลี่ยวครับ ไม่มีในที่สาธารณะหรอก

๒. ชาติยาธิปไตย
คุณสนิทสุดา เอกชัย ถามปัญหาชวนสะอึกเอาไว้ในคอลัมน์ประจำของเธอในบางกอกโพสต์ ว่า มีอะไรที่บกพร่องในระดับวัฒนธรรมของไทยหรือ ที่ทำให้เราไม่ลงเอยกับนักการเมืองขี้ฉ้อ ก็ต้องลงเอยกับเผด็จการทหาร

ผมพยายามแก้อาการสะอึกด้วยการนึกหาคำตอบ แวบแรกคำตอบที่ได้ยินบ่อยๆ พรั่งพรูเข้ามา เช่น คนไทยขาดความอดทน, คนไทยเป็นนักสัมฤทธิคติย่อมเอาประโยชน์เฉพาะหน้าก่อนหลักการที่เป็นประโยชน์ระยะยาว, สังคมไทยอ่อนแอเกินกว่าจะแก้ปัญหาใหญ่ๆ ทางการเมืองได้ด้วยตัวเอง เราจึงเลือกตั้งคนมาเป็นนาย แทนที่จะมาเป็นบ่าว ครั้นนายทำไม่ดี ก็ต้องไปหานายใหม่นอกหีบบัตรเลือกตั้ง, ประชาธิปไตยเป็นวัฒนธรรมและคนไทยไม่ได้อยู่ในวัฒนธรรมนี้ ฯลฯ เป็นต้น

ดูเหมือนได้ผลครับ คืออาการสะอึกเบาลงไป และด้วยเหตุดังนั้น จึงได้สติกลับคืนมาพอจะตั้งคำถามกับคำตอบของตัวเองได้ คำตอบเหล่านั้นก็จริงทั้งนั้นนะครับ แต่ในขณะเดียวกันก็่ก่อให้เกิดคำถามตามมาอีกมากมาย เริ่มด้วยคำถามง่ายๆ ก่อนก็ได้ว่า ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะทางวัฒนธรรมที่ถาวรประจำชาติ หรือแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขแวดล้อม

ผมเชื่อว่าคนไทยบางคนตอบอย่างหนึ่ง บางคนก็ตอบอีกอย่างหนึ่ง ตัวผมเองตอบว่าแปรเปลี่ยน เพราะผมเชื่อว่าวัฒนธรรมเป็นผลผลิตของความสัมพันธ์ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขแวดล้อมเสมอ เพราะเชื่ออย่างนี้จึงทำให้เราต้องถามต่อไปว่า ถ้าอย่างนั้นลักษณะทางวัฒนธรรมที่กล่าวนั้นเพิ่งเกิดเมื่อใด ภายใต้เงื่อนไขความสัมพันธ์อะไร และในที่นี้ผมจะพยายามตอบเฉพาะคำถามนี้ โดยไม่พูดถึงคำถามอื่นๆ อีกมากที่คำตอบดังกล่าวก่อให้เกิดขึ้น

ก่อนตอบ ผมอยากชี้ให้เห็นด้วยว่า ลักษณะทางวัฒนธรรมดังที่กล่าวนั้นอธิบายย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์ไม่ได้ไกลนัก หรือบางทีก็ขัดแย้งกันเอง เช่น จะบอกว่าคนไทยขาดความอดทน แต่เราก็ทนอยู่กับพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้เรื่องหรือกดขี่ข่มเหงอาณาประชาราษฎรมาได้หลายพระองค์ด้วยกัน เช่น เขาว่ากันว่าพระเจ้าปราสาททองนั้นร้ายกาจเหลือกำลัง แต่ท่านก็สวรรคตลงด้วยอาการประชวรตามธรรมชาตินั่นเอง

แต่ในทางตรงกันข้าม จะบอกว่าอดทนเป็นบ้าเป็นหลังก็ไม่ได้อีก เพราะที่จริงแล้ว ในประวัติศาสตร์ไทยมีเรื่องของการลุกขึ้นสู้กับผู้ปกครองของประชาชนอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน ส่วนการเดินหนีไปเฉยๆ จากทะเบียนไพร่นั้น ทำกันเป็นปรกติในทุกภาคของประเทศไทย

จะว่าคนไทยเป็นนักสัมฤทธิคติ ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าพูดในเงื่อนไขอะไร เราจะเรียกคนที่มีประเพณีเอารายได้ก้อนใหญ่ของตัวไปทำบุญทำทานเพื่อหวังผลในชาติหน้า หรือหวังพระนิพพานว่านักสัมฤทธิคติก็ดูกระไรอยู่นะครับ หรือว่าขาดความอดทนเห็นประโยชน์เฉพาะหน้าอย่างเดียว ก็คงไม่ได้ใช่ไหมครับ

จะว่าวัฒนธรรมไทยไม่มีส่วนของประชาธิปไตยเลยก็ไม่ได้ วัฒนธรรมไทยเคารพเสียงส่วนน้อยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในชนบท แม้แต่จะทำอะไรตามเสียงส่วนใหญ่ยังต้องคิดถึงหน้าของคนส่วนน้อยว่า ทำอย่างไรไม่ให้เขาเสียหน้า การให้ความเคารพต่อเสียงส่วนน้อยนั้น จะเรียกว่าเป็นจิตวิญญาณของประชาธิปไตยก็ได้ ไม่งั้นเราก็จะมีทรราชที่เผด็จอำนาจด้วย 19 ล้านเสียง 16 ล้านเสียงตลอดไป แต่จะมองตรงกันข้ามก็ได้อีกว่า ความเคารพที่ให้ต่อเสียงส่วนน้อยนั้นที่จริงเพราะวัฒนธรรมไทยเปิดพื้นที่ให้แก่การนอกคอก (dissent) แคบมาก จึงต้องพยายาม "กลืน" เอาเสียงส่วนน้อยไว้ด้วยการขืนใจแบบนุ่มนวล

นี่ล่ะครับที่ทุกครั้งที่เราพูดถึงวัฒนธรรมประชาธิปไตยมันจึงไม่ง่าย และผมสงสัยว่าไม่มีวัฒนธรรมของสังคมอะไรที่เป็นประชาธิปไตยเต็มร้อยสักสังคมเดียว เพราะเรานิยามวัฒนธรรมประชาธิปไตย โดยการเลือกหยิบเอาเพียงบางส่วนของวัฒนธรรมในสังคมฝรั่งมายัดลงไป แล้วทิ้งส่วนที่ไม่เข้าร่องเข้ารอยไปหน้าตาเฉย

ฉะนั้น ผมจึงคิดว่าเราต้องเข้าใจเงื่อนไขของวัฒนธรรมไทยปัจจุบัน ว่าอะไรทำให้เราตกอยู่ในชะตากรรมที่คุณสนิทสุดาพูดไว้ เพราะวัฒนธรรมเหล่านี้แม้บางอย่างอาจตรงกับที่เคยมีในสมัยโบราณ แต่ก็ดำรงอยู่คนละเงื่อนไข พลังที่ทำให้ดำรงอยู่ได้ล้วนเป็นเงื่อนไขที่เราเผชิญในปัจจุบันทั้งนั้น ไม่ใช่มรดกตกทอดมาจากอดีตล้วนๆ

และผมคิดว่าวัฒนธรรมที่ทำให้เราไม่สามารถใช้ประชาธิปไตยเพื่อปกครองตนเองได้นั้น ล้วนเป็นวัฒนธรรมที่เกิดมาพร้อมกับการสร้างรัฐชาติของเราเมื่อไม่นานมานี้เอง จนอาจเรียกได้ว่า "วัฒนธรรมชาติ" และ "วัฒนธรรมชาติ" ของไทยนี่เอง ที่ไม่ลงรอยกับระบอบประชาธิปไตย จนทำให้เราต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ในเส้นทางประชาธิปไตยตลอดมา

สำนึกความเป็นชาติของไทยค่อยๆ ก่อกำเนิดมาภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ลงมา และอันที่จริง สำนึกนี้ไม่ได้ก่อกำเนิดเป็นอิสระจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ด้วยซ้ำ แต่มีการกำกับชี้นำ ควบคุมและจัดการโดยอำนาจของระบอบอยู่ตลอดมา ชาตินิยมไทยจึงมีลักษณะเป็นชาตินิยมแบบสั่งการลงมาจากเบื้องบนสูง ส่วนบนๆ ของโครงสร้างได้รับความสำคัญในชาติลำดับต้นๆ แล้วค่อยๆ ลดหลั่นลงมาถึงส่วนล่างๆ ในโครงสร้าง นั่นก็คือประชาชน

ตรงกันข้ามกับชาตินิยมของสังคมอื่นอีกหลายสังคม ที่ประชาชนหรือส่วนล่างๆ ของโครงสร้างกลับได้รับความสำคัญลำดับต้น

ฉะนั้น เมื่อคนไทยเริ่มสำนึกว่ามีหน่วยใหม่ที่ตัวสังกัดอยู่ อันเป็นสิ่งสำคัญในอัตลักษณ์ของตัวคือ "ชาติไทย" ชาติก็มีธรรมชาติที่เป็นอริกับประชาธิปไตยเสียแล้ว และนับจากนั้นมา อุดมการณ์ชาตินิยมในเมืองไทยจะถูกใช้เพื่อขัดขวางหรือเป็นขั้วตรงข้ามกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยสืบมาจนปัจจุบัน

การปฏิวัติประชาชาติใน พ.ศ.2475 เปลี่ยนเฉพาะระบอบการปกครองแต่ไม่ได้ปฏิวัติ "ประชาชาติ" จริง จึงเปิดโอกาสให้นักการเมือง โดยเฉพาะที่เป็นผู้นำกองทัพ ใช้ชาติเป็นเครื่องมือทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยตลอดมา โดยความยินยอมพร้อมใจหรือไม่ต่อต้านคัดค้านโดยประชาชนส่วนใหญ่ด้วย ผมจึงคิดว่าความอ่อนแอทางวัฒนธรรมของสังคมไทยที่จะอยู่ในระบอบประชาธิปไตยที่ได้ยินบ่อยๆ นั้น เป็นผลผลิตส่วนหนึ่งของความเป็นชาติที่เพิ่งก่อตัวในเมืองไทยไม่นานมานี้เอง ไม่ใช่ลักษณะเด่นประจำชาติที่ตกทอดมาแต่โบราณกาลที่ไหน

ในขณะเดียวกัน อีกหลายส่วนของความอ่อนแอนั้นผมก็สงสัยว่าจะหาได้จากชาตินิยมไทยอีก เช่น การที่คนไทยขาดความอดทนทางการเมือง ไม่ปล่อยให้กระบวนการประชาธิปไตยได้มีโอกาสแก้ไขตัวของมันเอง นั่นก็เป็นไปตาม "จิตวิญญาณ" ของชาติแบบที่เราสร้างขึ้นมานั่นแหละ

เมื่อพูดถึง "จิตวิญญาณ" ของชาติ เรากำลังหมายถึงอะไร ผมคิดว่าส่วนสำคัญที่สุดของ "จิตวิญญาณ" คือความทรงจำเกี่ยวกับความเป็นมาของชาตินั่นเอง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือประวัติศาสตร์ของชาติ และอย่างที่ทราบอยู่แล้วนะครับว่า ความทรงจำร่วมกันหรือประวัติศาสตร์แห่งชาตินั้นถูกสร้างขึ้นมาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นของชาติอะไรก็ตาม และผมคิดว่าประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เราเรียกกันมานั้น สอนให้คนไทยเป็นคนที่รอไม่ได้หรือรอไม่เป็น

เพราะประวัติศาสตร์ชาติไทยเป็นประวัติศาสตร์ของผู้นำหรือของมหาบุรุษ ไม่ใช่ของประชาชาติ ฉะนั้น คนที่มีจิตวิญญาณของชาติแบบนี้จึงมองหาผู้นำมาแก้ปัญหาเสมอ ไม่คิดว่าตัวเองมีศักยภาพจะแก้ปัญหาอะไรที่เป็นปัญหาของชาติได้ เรื่องนี้มีผู้พูดไว้มากแล้ว ผมไม่ขอพูดมากไปกว่านี้

ยังมีอีกด้านหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ผมอยากพูดถึงคือ จะมีใครรู้สึกเหมือนผมหรือไม่ก็ไม่ทราบ ว่า อ่านประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้ว รู้สึกว่าเส้นทางเดินผ่านกาลเวลาของชาตินี้ช่างเป็นเส้นตรงเสียจริง ไม่ยอกย้อน วกวน เลี้ยวลดบ้างเลย จุดเริ่มต้นจะอยู่ที่ไหนก็ตาม แต่มันมีพัฒนาการเป็นขั้นๆ จากรวมประเทศ แล้วก็ "ก้าวหน้า" ต่อมาสู่การรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ทำการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ แล้วถูกข้าศึกทำลายราชธานี ในช่วงเวลาอันสั้น ก็กอบกู้เอกราชได้ใหม่แล้วก็เดินต่อมา ปรับปรุงแก้ไขให้สมสมัยแล้วก็เป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองอย่างที่เราเห็นในทุกวันนี้

ความเลี้ยวลดวกวนของเส้นทางเดินหากจะมีบ้างก็เป็นชั่วระยะเวลาสั้นๆ ซ้ำเป็นการประทุษร้ายของคนภายนอก จิตวิญญาณของไทยจึงไม่มีสำนึกถึงความทุกข์เข็ญอันสืบเนื่องยาวนาน ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่มีแรงกายแรงใจของผู้คนหลากหลายกลุ่มเข้ามามีส่วนร่วม ผมคิดว่าคนที่มีจิตวิญญาณแบบนี้ไม่อดทนต่อปัญหาหรอกครับ เพราะรู้สึกว่าปัญหาอะไรที่ดำรงอยู่นานๆ นั้นผิดธรรมชาติ

(ลองเปรียบเทียบกับสำนึกประวัติศาสตร์ของจีนสิครับ เฉพาะยุคที่เรียกว่ายุครัฐขุนศึก-Warring States- ก่อนสมัยราชวงศ์จิ๋นอย่างเดียวก็ว่ากันไปเป็นศตวรรษ และว่าที่จริง พงศาวดารจีนมีแต่เรื่องความทุกข์เข็ญของประชาชนเสียมากกว่าความสุขเสียอีก - ปัญหาจึงเป็นธรรมชาติกว่าไม่มีปัญหาเสียอีก)

ผิดธรรมชาติคืออาเพศ และต้องแก้โดยเร็ว จะแก้อย่างไรก็ได้ ขอให้แก้เสียก่อนแล้วกัน เรื่องอื่นไว้ค่อยว่ากันทีหลัง

สรุปก็คือ จำเป็นต้องพูดผิดหูคนจำนวนหนึ่งว่าประชาธิปไตยจะตั้งมั่นในสังคมไทยได้ จำเป็นที่เราต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนสำนึกความเป็นชาติและชาตินิยมกันใหม่ด้วย เพราะ "ชาติ" อย่างที่เราถูกสอนให้ยึดถืออย่างนี้แหละที่เป็นศัตรูกับประชาธิปไตย รวมทั้งบ่อนทำลายประชาธิปไตยตลอดมา

(ผมเชื่อด้วยว่า มีคนที่อ่านถึงตรงนี้แล้วก็สรุปอีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าอย่างนั้น รักษา "ชาติ" ของเราไว้ แล้วอย่าเป็นมันเลยประชาธิปไตย)



ที่มา มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๙


Create Date : 31 กรกฎาคม 2550
Last Update : 31 กรกฎาคม 2550 14:43:48 น. 0 comments
Counter : 809 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.