Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
18 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
การครอบงำการเมืองไทยของฝ่ายอนุรักษ์นิยมผ่านวาทกรรม “คุณธรรมจริยธรรม”



วีระ สมความคิด
เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.)





การออกแบบการเมืองไทยภายหลังรัฐประหารหลงยุคโดยพลังอนุรักษ์นิยม ในคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 มีพื้นฐานจากความหวาดกลัวระบบการเมืองแบบเลือกตั้งและผู้นำการเมืองจากระบบเลือกตั้งที่สามารถแข่ง “บารมี” กับสถาบันสำคัญในสังคมไทยได้เป็นครั้งแรก ดังนั้นภารกิจเร่งด่วนของการกำหนดรูปโฉมการเมืองไทยก็คือการกำจัด “เสี้ยนหนาม” ที่อาจสั่นคลอนเสถียรภาพของ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ไม่ให้บังเกิดขึ้นได้อีกต่อไป

.
ดังจะเห็นได้ว่าภายหลังรัฐประหาร คณะรัฐประหารพยายามครอบงำการเมืองไทยโดยลดทอนความสำคัญของ “รัฐสภา” ซึ่งเป็นสถาบันที่สามารถผูกโยงที่มาทางอำนาจกับ “ปวงชน” ตามคติของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ (อย่างน้อยในทางทฤษฎี) โดยกระทำผ่านการโจมตีระบอบการเมืองดังกล่าวว่าเป็นของตะวันตก กล่าวหานักการเมืองว่าคอร์รัปชัน ซื้อเสียง มีผลประโยชน์ทับซ้อน ขาดคุณธรรมจริยธรรม และพยายามกำหนดและควบคุมทิศทางการเมืองไทยโดยอาศัยระบบราชการเป็นเครื่องมือ โดยออกแบบระบบการเมืองที่ผู้นำไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่านายกรัฐมนตรี วุฒิสภา องค์กรอิสระต่างๆที่มาจากการ “สรรหา” โดยกระทำผ่านการสร้างวาทกรรม “คุณธรรมจริยธรรม” หรือ “คนดี” โดยผ่านการการันตีจาก
“ผู้มีบารมี” โดยไม่จำเป็นว่าประชาชนจะต้องตรวจสอบเพราะ “คนดี” เหล่านี้คู่ควรกับการปกครองบ้านเมืองแบบไทยๆ

.

จากปัญหาดังกล่าวบทความนี้จึงต้องการพิจารณาว่า “คุณธรรม” และ “คนดี” ที่ไม่สามารถตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ได้นั้นแท้จริงแล้วมีผลประโยชน์ “ทับซ้อน” เฉกเช่นเดียวกับนักการเมืองในระบบรัฐสภาหรือไม่ วิถีทางได้มาซึ่งอำนาจของบุคคลเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสังคมไทยเพียงใด

.

ในประเด็นการครอบงำการเมืองไทยโดยระบบราชการภายหลัง 19 กันยา นั้นมีผู้กล่าวถึงแล้วเป็นจำนวนมากจึงไม่ขอกล่าวซ้ำในที่นี้ แต่จะขอรวบยอดคุณลักษณะเด่นๆ ของการหวนกลับของระบบราชการในครั้งนี้ตามคำกล่าวของ อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ ที่เรียกว่า “รัฐบาล เปรม 6 ” เพราะบุคคลในคณะรัฐประหารและรัฐบาลล้วนมีความเกี่ยวพันกับพลเอกเปรมในทางใดทางหนึ่ง และหากพิจารณาจำเพาะลงไปอีกจะพบว่าผู้ที่มีบทบาทควบคุมการเมืองไทยในปัจจุบันมีอยู่ 3 กลุ่มได้แก่ องคมนตรี ศาล ทหาร และที่สำคัญสถาบันหรือกลุ่มการเมืองทั้งสามกลุ่มไม่สามารถหรือไม่พยายามยึดโยงตนเองกับปวงชนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามสถาบันทั้งสามต่างอ้างอิงตนเองเข้ากับ “พระราชอำนาจ” อยู่เสมอ กล่าวคือ องคมนตรีนั้นมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ ศาลก็อ้างอยู่เสมอว่ากระทำการภายใต้พระปรมาภิไธย ส่วนทหารนั้นก็ประกาศตนผ่านพลเอกเปรม (ซึ่งมีอีกสถานะหนึ่งคือองคมนตรี) ว่าเป็น “ทหารพระราชา” และที่พิเศษยิ่งกว่านั้นรัฐประหารครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่องคมนตรีและศาลเข้าแทรกแซงการเมืองอย่างเปิดเผย และภายหลังบทบาทของศาลยิ่งสูงเด่นขึ้นในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งกรรมการสรรหาองค์กรอิสระทุกองค์กรซึ่งฝ่ายตุลาการมีเสียงถึงสามในห้าของกรรมการสรรหา และยังเป็นคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ที่สำคัญคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภานั้นประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาฯ จำนวน 1 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฯ จำนวน 1 คน ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าประธานองค์กรอิสระล้วนมาจากการ “สรรหา” ของศาลเช่นเดียวกัน
.

ยิ่งกว่านั้นศาลยังเป็นกรรมการในองค์กรแก้วิกฤติชาติ ซึ่งประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานองค์กรอิสระ ซึ่งความจริงที่ควรตระหนักก็คือว่าประธานองค์กรอิสระเหล่านี้ล้วนมาจากฝ่ายตุลาการทั้งหมด จากเนื้อหาสำคัญๆของร่ารัฐธรรมนูญเห็นได้ชัดว่าการเมืองอยู่ภายใต้การครอบงำของศาลอย่างไม่มีทางปฏิเสธได้

.

อาจมีผู้แย้งว่าศาลเป็นองค์กรที่เป็นกลาง ปราศจากซึ่งผลประโยชน์ ฯลฯ (ตรงตามสโลแกน “คุณธรรมจริยธรรม”) แต่ทั้งนี้การที่สังคมไทยมีความเชื่อเช่นนั้น เนื่องมาจากสังคมไม่สามารถตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ศาลได้ ที่สำคัญที่สุด ศาลเป็นองค์กรเดียวที่ใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนแต่ไม่ถูกตรวจสอบจากองค์กรอื่น (ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการตรวจสอบผู้พิพากษาเป็นรายบุคคลโดย ป.ป.ช. และวุฒิสภา) ดังนั้นกระบวนการพิจารณาคดีและการวินิจฉัยของศาลไม่ว่ากรณีใดจึงไม่อาจถูกตรวจสอบหรือคัดค้านได้ เพราะมีกฎหมาย “หมิ่นศาล” เป็นเกราะที่สำคัญทั้งที่ความจริงแล้วศาลเองก็ไม่ได้แตกต่างไปจากองค์กรอื่น ในเรื่องนี้ผู้เขียนขอยกเอาคำกล่าวของ ไพสิฐ พาณิชย์กุล มาเพื่อให้เห็นภาพภายในแวดวงตุลาการดังนี้
.

“จริงๆ แล้ว ภาพของศาลเองก็ไม่ได้ต่างไปจากรัฐสภา มีกรณีผู้พิพากษาแย่งกันไปดูงานเมืองนอกก็มี มีกรณีที่อำนาจทุนแบบ Rent Seeker ชนะคดีฟ้องร้องเพราะตนมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายว่าความ มีล็อบบี้ก็มี เพียงแต่ศาลมีอำนาจตัดสินให้คนติดคุก เราก็เลยไม่ไปข้องแวะ ไม่ไปแฉ”
.
โดยพื้นฐานดังกล่าวทำให้การเข้าแทรกแซงของศาลจึงไม่มีความชอบธรรม เพราะเป็นผู้ใช้อำนาจทั้งสามฝ่ายแทนปวงชน แต่ไม่ยอมให้ปวงชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตรวจสอบ เพราะแท้จริงการก้าวเข้ามาในปริมณฑลการเมืองย่อมอยู่ในสถานะของ “นักการเมือง” ที่สังคมสามารถตรวจสอบวิจารณ์ได้ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันกลับเป็นว่าฝ่ายตุลาการเองได้ออกมาข่มขู่ผู้ที่กังขาและคิดจะตรวจสอบโดยการอ้างพระราชดำรัส
.
ในส่วนขององคมนตรีนั้นเมื่อมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ก็จะมีบรรดา “ลูกหาบ” ออกมาปกป้องและห้ามปรามว่าเป็นการกระทำที่มิบังควร หมิ่นเหม่ต่อการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท และเลยเถิดไปถึงว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งที่องคมนตรีไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่อย่างใด บางคนถึงกับกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอยว่าไม่ควรวิจารณ์เปรมเพราะเป็นตัวแทนของ “คุณธรรม” โดยไม่อธิบายบริบทใดๆ รองรับ และตามข้อเท็จจริงปรากฏว่าองคมนตรีทั้งหลายต่างพากันเป็นกรรมการในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนคนละหลายๆ แห่ง น่าคิดว่า “ผลประโยชน์” ที่คนเหล่านี้ได้รับจะมหาศาลขนาดไหน
.
ส่วนกองทัพนั้นเล่ายิ่งไม่ต้องพูดถึง งบประมาณที่เป็นค่าใช้จ่ายในการรัฐประหารรวมถึงงบลับและงบประมาณของกองทัพรวมถึงเงินเดือนของ คมช. ก็ไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ยังไม่ต้องพูดถึงการที่บรรดานายทหาร “ตบเท้า” เข้าไปเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจทั้งก่อนและหลังการรัฐประหารแต่ห้ามไม่ให้สังคมตั้งคำถามในเรื่องดังกล่าว (และเป็นที่คาดหมายกันว่าทหารจะเข้าไปครอบงำวุฒิสภาเฉกเช่นในอดีต ถึงแม้จะต้องแบ่งสัดส่วนกับตุลาการก็ตาม) หนำซ้ำองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาสางทุจริตอย่าง คตส. ก็ปฏิเสธที่จะเข้าไปตรวจสอบ ทั้งที่บุคคลเหล่านี้อวดอ้างว่าตนเองรังเกียจการทุจริตคอร์รัปชั่นและยึดมั่น “คุณธรรมจริยธรรม” เป็นสรณะ เมื่อตระหนักถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวรวมถึงเข้าใจว่าการเมืองเป็น เรื่องของการต่อสู้แย่งชิงผลประโยชน์และทรัพยากรของคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม เราก็จะเข้าใจสถานะของสถาบันการเมืองทั้งสามว่าแท้จริงแล้วก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์หนึ่ง ซึ่งย่อมตอบสนองผลประโยชน์ให้แก่สถาบันการเมืองของตนเองและผู้ที่ผลักดันให้ตนเองเข้ากุมอำนาจรัฐเช่นกัน และเมื่อตระหนักว่าสถาบันทั้งสามอ้างอิงหรือยึดโยงตนเองเข้ากับ “พระราชอำนาจ” นั่นหมายความว่าระบบราชการและกองทัพเป็นฐานอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่านี่เป็นกาเข้าควบคุมสถาบันการเมืองในระบบประชาธิปไตยรัฐสภาโดย “พระราชอำนาจ” อย่างเปิดเผย หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่านี่เป็นชัยชนะของ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เหนือประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรตามหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยและเจตนารมณ์ของคณะราษฎร
.

และเมื่อพระราชอำนาจเป็นสิ่งที่ตรวจสอบไม่ได้ในสังคมไทยดังนั้นองค์กรที่มีฐานมาจากพระราชอำนาจย่อมอาศัยเรื่องดังกล่าวบวกกับ “คุณธรรมจริยธรรม” เพื่อที่จะอยู่เหนือการตรวจสอบนั้นนับว่าอันตรายยิ่งกว่าระบบเลือกตั้ง ไม่ว่าในทางทฤษฎีหรือปฏิบัติ เพราะนอกจากขัดกับหลักที่ว่า “อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชน” แล้วยังขัดกับหลักการพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลในเรื่องการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยปวงชน
.

นับจากนี้สิ่งที่น่าจับตาก็คือว่าการเมืองภายใต้นักการเมือง “คุณธรรมจริยธรรม” จะสามารถชำระความโสมมของนักการเมืองเลือกตั้งได้มากน้อยเพียงใด หรือท้ายที่สุดกาลเวลาจะเป็นผู้กระชากหน้ากาก “นักประชาธิปไตยจอมปลอม” ออกมาให้สังคมรับรู้ ในเรื่องนี้กาลเวลาเท่านั้นจะเป็นผู้ให้คำตอบ




หมายเหตุ : บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนมิใช่ความคิดเห็นของสถาบันพระปกเกล้า

ที่มา สถาบันพระปกเกล้า //www.kpi.ac.th/mod_news/news_view.asp?id=MTYg&g=NSAg&rand=1187415458062


Create Date : 18 สิงหาคม 2550
Last Update : 18 สิงหาคม 2550 12:53:09 น. 0 comments
Counter : 868 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darksingha
Location :
สมุทรสงคราม Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





Click for use Graphics comment


Darksingha ที่แสดงถึงอำนาจและความมืดมัว ผมให้แทนคำว่า Age of Doubt หรือยุคแห่งความสงสัยก็แล้วกัน ดังนั้นBlogนี้จึงเป็นแดนสนธยาที่เต็มไปด้วยหมอกควันแห่งคำถาม และการละเล่น เพื่อแสวงหา ?


TV3 Live CH5 Live CH7 Live Modernine TV Live NBT LIVE - CH11 TPBS - Public Channel ASTV1 New11 - Online News 24 hours Nation Channel DMC.TV - Buddhistic Television ASTV5 - Suvarnbhumi ASTV7 - Buddhistic Television  True New 24 Channel  skynew  cnnibn Channel  cnn Channel  bbcnews_island Channel  cctv  Channel  bfmtv  Channel  ntv  Channel  fox8 Channel  foxnews5 Channel  cspan  Channel  france24 Channel  world_explorer Channel  discovery_channel Channel  nasa  Channel kimeng-channel dmc-channel ebr-channel research-channel utv-channel michigan-channel at-florida-channel islam-channel peace-usa-channel bbc-panorama-channel CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live CH7 Live

music is life

ชุมทางเพลงเพื่อชีวิต

Friends' blogs
[Add Darksingha's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.